“อนุพงษ์” แจงมั่วซื้อยานเกราะล้อยางยังไม่ถึงขั้นประมูล ทั้งที่ผ่านฉลุยไปจนถึงมือ ผบ.ทบ.แล้ว ก่อนดึงเรื่องกลับหลังข่าวปูดมีพิรุธ ฉุนลั่นไม่ซื้อเศษเหล็กรถยานเกราะเก่า ใครเสียประโยชน์ไล่ให้ไปฟ้องร้องกันเอง ด้านจัดซื้อฝูงบินขับไล่นายกฯติงตั้งงบสูงไปให้ลดจำนวนลง
กรณีที่มีข่าว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ลงนามเห็นชอบโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้าน ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกองทัพบก เพราะการเลือกซื้อยานเกราะล้อยาง BTR 3E1 ของยูเครนเป็นรถเก่าสมัยสงครามเย็นและขั้นตอนประมูลไม่โปร่งใส นั้น
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การจัดซื้อเป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี ซึ่งเป็นงบประมาณได้รับการอนุมัติเสริมสร้างกองทัพตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว
"เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็อาจจะโจมตีบ้างก็แล้วแต่ แต่โครงการดังกล่าวมีคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้รถที่ดีกว่านี้หรือแพงกว่านี้ก็มี แต่คำว่าดีคืออย่างไร อาจจะมีเนี๊ยบสวยกว่า แต่ถ้ารบกันจะเลือกรถที่ดีที่สุดและได้ผลประโยชน์ดีที่สุด และไม่มีใครได้ผลประโยชน์ซึ่งคณะกรรมการรับรองได้"
เมื่อถามว่า ทำไมต้องเป็นจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางของบริษัทยูเครน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ไม่เป็นไร บริษัทไหนก็ได้ บริษัทแอฟริกา บริษัทประเทศไหนก็ได้ดีที่สุด และได้ผลประโยชน์สูงสุด เมื่อถามว่า โรงงานผลิตรถเกราะล้อยางของประเทศยูเครนได้เลิกทำไปแล้ว พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบในส่วนไหน ว่าใครจะพูดอย่างไรให้ไปฟ้องร้องกันเอง แต่เราคงไม่ไปซื้อเศษรถมาก็แล้วกัน
ส่วนกรณีมีคนไปเรียกร้องที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าการจัดซื้อไม่โปร่งใส พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ต้องให้เขาว่าไปเอง แต่เรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นประมูลและทั้งหมดก็ยังไม่ได้มีการประมูลทั้งสิ้น ทั้งนี้ การจัดซื้อจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ (กมย.) กองทัพบก ซึ่งทาง กมย.ทบ.ก็พิจารณาแล้ว ก็รับได้ แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่ได้มีการประมูลทั้งสิ้น ใครจะประมูลก็ไปว่ากันเอง ถ้าใครบอกว่ารถเก่าก็ให้บริษัทฟ้องร้องกันเอง แต่เราไม่ซื้อรถเก่าแน่นอน
จากการสืบค้นของ “ผู้จัดการรายวัน” พบว่ากระบวนการเปิดประมูลในโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพบกมีโครงการจัดหายานเกราะล้อยางในวงเงิน 4 พันล้านบาท ตามปีงบประมาณ 2550 – 2552 และมีคำสั่งกองทัพบกที่ 2/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง เพื่อจัดหายานเกราะฯ เข้าประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) โดยมี พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ เป็นประธาน ลงนามโดย ผบ.ทบ. เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2550
ต่อจากนั้น ในวันที่ 9 พ.ค.2550 คณะทำงานฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนเสนอข้อมูลยานเกราะล้อยาง โดยระบุคุณสมบัติของผู้เสนอข้อมูลและกำหนดช่วงเวลาปิดรับข้อมูลในเวลา 16.30 น. วันที่ 16 พ.ค.2550 นอกจากนี้ คำสั่งดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้แทนของผู้ผลิตยานเกราะล้อยางส่งผู้แทนเข้ารับฟังรายละเอียดและขั้นตอนการพิจารณาการเลือกแบบในวันที่ 17 พ.ค. 2550 พร้อมทั้งนัดหมายพิจารณาเลือกแบบจากข้อมูลของผู้เสนอแต่ละรายในวันที่ 21 – 22 พ.ค.2550 ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์
ในการเสนอข้อมูลภายในเวลาที่กำหนดมีผู้เสนอข้อมูลเพียง 10 บริษัท แต่ตัวแทนของบริษัทจากประเทศยูเครนได้รับการเอื้อเฟื้อให้เข้ามานำเสนอข้อมูลเป็นรายสุดท้ายในวันที่ 22 พ.ค. 2550 ซึ่งนายวลาดิเมียร์ กราฟอฟ ผู้ช่วยทูตพาณิชย์รัสเซียประจำประเทศไทย ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจในการเสนอขายยานเกราะฯ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ทำหนังสือทวงถามความชัดเจนในกรณีดังกล่าวต่อ ผบ.ทบ.เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 อีกด้วย
ล่าสุด แหล่งข่าววงการค้าอาวุธ ระบุว่า หลังการจัดซื้อยานเกราะล้อยางตกเป็นข่าวขึ้นมา พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ได้ดึงเรื่องกลับมาพิจารณาใหม่หลังลงนามเห็นชอบไปเมื่อวันจันทร์ (2 ก.ค.) ที่ผ่านมา
ส่วนความคืบหน้ากรณีจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศ พล.ท. พิชษณุ ปุจฉาการ โฆษกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แล้ว บอกว่างบประมาณสูงเกินไปจะต้องลดจำนวนเครื่องบินขับไล่ลง
กรณีที่มีข่าว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ลงนามเห็นชอบโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้าน ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกองทัพบก เพราะการเลือกซื้อยานเกราะล้อยาง BTR 3E1 ของยูเครนเป็นรถเก่าสมัยสงครามเย็นและขั้นตอนประมูลไม่โปร่งใส นั้น
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การจัดซื้อเป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี ซึ่งเป็นงบประมาณได้รับการอนุมัติเสริมสร้างกองทัพตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว
"เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็อาจจะโจมตีบ้างก็แล้วแต่ แต่โครงการดังกล่าวมีคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้รถที่ดีกว่านี้หรือแพงกว่านี้ก็มี แต่คำว่าดีคืออย่างไร อาจจะมีเนี๊ยบสวยกว่า แต่ถ้ารบกันจะเลือกรถที่ดีที่สุดและได้ผลประโยชน์ดีที่สุด และไม่มีใครได้ผลประโยชน์ซึ่งคณะกรรมการรับรองได้"
เมื่อถามว่า ทำไมต้องเป็นจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางของบริษัทยูเครน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ไม่เป็นไร บริษัทไหนก็ได้ บริษัทแอฟริกา บริษัทประเทศไหนก็ได้ดีที่สุด และได้ผลประโยชน์สูงสุด เมื่อถามว่า โรงงานผลิตรถเกราะล้อยางของประเทศยูเครนได้เลิกทำไปแล้ว พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบในส่วนไหน ว่าใครจะพูดอย่างไรให้ไปฟ้องร้องกันเอง แต่เราคงไม่ไปซื้อเศษรถมาก็แล้วกัน
ส่วนกรณีมีคนไปเรียกร้องที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าการจัดซื้อไม่โปร่งใส พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ต้องให้เขาว่าไปเอง แต่เรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นประมูลและทั้งหมดก็ยังไม่ได้มีการประมูลทั้งสิ้น ทั้งนี้ การจัดซื้อจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ (กมย.) กองทัพบก ซึ่งทาง กมย.ทบ.ก็พิจารณาแล้ว ก็รับได้ แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่ได้มีการประมูลทั้งสิ้น ใครจะประมูลก็ไปว่ากันเอง ถ้าใครบอกว่ารถเก่าก็ให้บริษัทฟ้องร้องกันเอง แต่เราไม่ซื้อรถเก่าแน่นอน
จากการสืบค้นของ “ผู้จัดการรายวัน” พบว่ากระบวนการเปิดประมูลในโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพบกมีโครงการจัดหายานเกราะล้อยางในวงเงิน 4 พันล้านบาท ตามปีงบประมาณ 2550 – 2552 และมีคำสั่งกองทัพบกที่ 2/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง เพื่อจัดหายานเกราะฯ เข้าประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) โดยมี พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ เป็นประธาน ลงนามโดย ผบ.ทบ. เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2550
ต่อจากนั้น ในวันที่ 9 พ.ค.2550 คณะทำงานฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนเสนอข้อมูลยานเกราะล้อยาง โดยระบุคุณสมบัติของผู้เสนอข้อมูลและกำหนดช่วงเวลาปิดรับข้อมูลในเวลา 16.30 น. วันที่ 16 พ.ค.2550 นอกจากนี้ คำสั่งดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้แทนของผู้ผลิตยานเกราะล้อยางส่งผู้แทนเข้ารับฟังรายละเอียดและขั้นตอนการพิจารณาการเลือกแบบในวันที่ 17 พ.ค. 2550 พร้อมทั้งนัดหมายพิจารณาเลือกแบบจากข้อมูลของผู้เสนอแต่ละรายในวันที่ 21 – 22 พ.ค.2550 ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์
ในการเสนอข้อมูลภายในเวลาที่กำหนดมีผู้เสนอข้อมูลเพียง 10 บริษัท แต่ตัวแทนของบริษัทจากประเทศยูเครนได้รับการเอื้อเฟื้อให้เข้ามานำเสนอข้อมูลเป็นรายสุดท้ายในวันที่ 22 พ.ค. 2550 ซึ่งนายวลาดิเมียร์ กราฟอฟ ผู้ช่วยทูตพาณิชย์รัสเซียประจำประเทศไทย ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจในการเสนอขายยานเกราะฯ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ทำหนังสือทวงถามความชัดเจนในกรณีดังกล่าวต่อ ผบ.ทบ.เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 อีกด้วย
ล่าสุด แหล่งข่าววงการค้าอาวุธ ระบุว่า หลังการจัดซื้อยานเกราะล้อยางตกเป็นข่าวขึ้นมา พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ได้ดึงเรื่องกลับมาพิจารณาใหม่หลังลงนามเห็นชอบไปเมื่อวันจันทร์ (2 ก.ค.) ที่ผ่านมา
ส่วนความคืบหน้ากรณีจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศ พล.ท. พิชษณุ ปุจฉาการ โฆษกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แล้ว บอกว่างบประมาณสูงเกินไปจะต้องลดจำนวนเครื่องบินขับไล่ลง