ผู้จัดการรายวัน - “กลาโหม” ติงจัดซื้อรถยานเกราะเก่าตกรุ่นมือสองจากยูเครนล้าสมัย อาจมีปัญหาส่งกำลังบำรุง ด้าน กองทัพบกแจงเป็นโครงการฝันเฟื่องรถถังแลกลำไยสมัยทักษิณแต่มีปัญหาและหยุดไป ยัน “สนธิ” กำลังพิจารณาแต่ยังไม่ได้เซ็นอนุมัติ ส่วน ทอ.ซื้อฝูงบินขับไล่ 3.4 หมื่นล้านยังอยู่ในขั้นตอนคัดเลือกแบบ
กรณี “ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอข่าวโครงการจัดหายานเกราะล้อยางประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เพิ่งลงนามเห็นชอบไป หลังจากที่คณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบกได้พิจารณาคัดเลือกคัดเลือกแบบจำนวน 4 แบบ ได้แก่ ประเทศแคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) ประเทศรัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ประเทศฟินแลนด์ และประเทศยูเครน (บริษัท UKRSPETS Export จำกัด) และได้ข้อยุติในการเลือกยานเกราะล้อยาง BTR 3 E 1 ของบริษัทยูเครน ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกองทัพบกเป็นอย่างมากนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วานนี้ (3 ก.ค.) แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เคยแสดงความคิดเห็นว่า รถถังจากยูเครน เป็นรถเก่า มือสอง และอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุง ที่สำคัญ มีแบบที่ค่อนล้างล้าสมัย อีกทั้งยังเป็นการขึ้น-ลงยังต้องใช้ด้านข้างตัวรถยนต์ ในขณะที่รถถังของแคนนาดา และรัสเซีย จะเป็นการขึ้น-ลงด้านท้ายรถยนต์ จึงน่าจะมีการปรับให้เหมาะสม
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2537 เรื่อยมาจนสมัยที่ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็น ผบ.ทบ. โดยมีบริษัทของแคนาดา ที่จะได้รับการคัดเลือกแบบ แต่เนื่องจากกองทัพไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อ เนื่องจากเดิมวงเงินงบประมาณ 5 พันกว่าล้านบาท สามารถจัดหาเข้าประจำการได้ 196 คัน แต่พอมาในช่วงหลังจากภาวะเงินเฟ้อ และ ค่าเงินทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 1.2 หมื่นล้าน
ต่อมา รัฐบาลมีการตัดงบประมาณกองทัพมากขึ้น ทำให้สามารถจัดหาเข้าประจำการได้ 96 คัน วงเงิน 8 พันล้านบาท จนกระทั่งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และ มี พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันท์ เป็น รมว.กลาโหม ได้ดำเนินโครงการจัดหาแลกกับลำไยอบแห้ง 6.4 หมื่นตัน แต่ในปัจจุบันก็มีปัญหา และโครงการก็หยุดชะงักไป จนกระทั่งมีชื่อของยูเครนเข้ามา
“ต้องยอมรับว่า ยานเกราะล้อยางมีความจำเป็น และใช้ในภารกิจของทหารราบในการเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่เป้าหมาย เนื่องจากมีความคล่องตัว มีน้ำหนักเบา แต่การจัดหาควรคุ้มค่าและควรมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ชัดเจน”แหล่งข่าว กล่าว
ทางด้านแหล่งข่าวจากกองทัพบก เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายเมกกะโปรเจกต์ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปแลกซื้ออาวุธกับประเทศคู่ค้า แต่เมื่อมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ โครงการดังกล่าวจึงยุติลง
แหล่งข่าวกองทัพบก กล่าวอีกว่า โครงการนี้กองทัพบกยังไม่มีการพิจารณาว่าจะจัดซื้อรถยานเกราะจากประเทศใด และอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บัญชาการทหารบก และงบประมาณดังกล่าวเป็นการจัดสรรมาให้แต่ละเหล่าทัพในการเสริมศักยภาพของกองทัพ ทั้งนี้ การพิจารณาจัดซื้อของกองทัพบกมีความโปร่งใส โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ขอให้เชื่อมั่นว่า ยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบกจะจัดซื้อไม่ได้มองว่าใครขายหรือใครได้ประโยชน์ แต่กองทัพบกมองว่าต้องได้ยุทโธปกรณ์ที่ดี เป็นที่นิยม และเชื่อถือมั่นใจในการปกป้องประเทศ
ทางด้าน น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงกรณีที่กองทัพอากาศทำหนังสื่อของบประมาณผูกพันต่อรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 34,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แทนฝูงบิน F 5 ที่จะปลดระวางว่า คณะกรรมการที่กองทัพอากาศตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาศึกษาคุณสมบัติของเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศมีความสนใจจำนวน 3 แบบ คือ เครื่องบินซู 30 ของรัสเซีย เครื่องบินกริฟเฟนของสวีเดน และเครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐฯ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณารายละเอียด และคุณสมบัติของแต่ละเครื่องบินแต่ยังไม่ได้พิจารณาเครื่องบินรุ่นใดแบบใด
กรณี “ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอข่าวโครงการจัดหายานเกราะล้อยางประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เพิ่งลงนามเห็นชอบไป หลังจากที่คณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบกได้พิจารณาคัดเลือกคัดเลือกแบบจำนวน 4 แบบ ได้แก่ ประเทศแคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) ประเทศรัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ประเทศฟินแลนด์ และประเทศยูเครน (บริษัท UKRSPETS Export จำกัด) และได้ข้อยุติในการเลือกยานเกราะล้อยาง BTR 3 E 1 ของบริษัทยูเครน ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกองทัพบกเป็นอย่างมากนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วานนี้ (3 ก.ค.) แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เคยแสดงความคิดเห็นว่า รถถังจากยูเครน เป็นรถเก่า มือสอง และอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุง ที่สำคัญ มีแบบที่ค่อนล้างล้าสมัย อีกทั้งยังเป็นการขึ้น-ลงยังต้องใช้ด้านข้างตัวรถยนต์ ในขณะที่รถถังของแคนนาดา และรัสเซีย จะเป็นการขึ้น-ลงด้านท้ายรถยนต์ จึงน่าจะมีการปรับให้เหมาะสม
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2537 เรื่อยมาจนสมัยที่ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็น ผบ.ทบ. โดยมีบริษัทของแคนาดา ที่จะได้รับการคัดเลือกแบบ แต่เนื่องจากกองทัพไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อ เนื่องจากเดิมวงเงินงบประมาณ 5 พันกว่าล้านบาท สามารถจัดหาเข้าประจำการได้ 196 คัน แต่พอมาในช่วงหลังจากภาวะเงินเฟ้อ และ ค่าเงินทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 1.2 หมื่นล้าน
ต่อมา รัฐบาลมีการตัดงบประมาณกองทัพมากขึ้น ทำให้สามารถจัดหาเข้าประจำการได้ 96 คัน วงเงิน 8 พันล้านบาท จนกระทั่งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และ มี พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันท์ เป็น รมว.กลาโหม ได้ดำเนินโครงการจัดหาแลกกับลำไยอบแห้ง 6.4 หมื่นตัน แต่ในปัจจุบันก็มีปัญหา และโครงการก็หยุดชะงักไป จนกระทั่งมีชื่อของยูเครนเข้ามา
“ต้องยอมรับว่า ยานเกราะล้อยางมีความจำเป็น และใช้ในภารกิจของทหารราบในการเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่เป้าหมาย เนื่องจากมีความคล่องตัว มีน้ำหนักเบา แต่การจัดหาควรคุ้มค่าและควรมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ชัดเจน”แหล่งข่าว กล่าว
ทางด้านแหล่งข่าวจากกองทัพบก เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายเมกกะโปรเจกต์ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปแลกซื้ออาวุธกับประเทศคู่ค้า แต่เมื่อมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ โครงการดังกล่าวจึงยุติลง
แหล่งข่าวกองทัพบก กล่าวอีกว่า โครงการนี้กองทัพบกยังไม่มีการพิจารณาว่าจะจัดซื้อรถยานเกราะจากประเทศใด และอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บัญชาการทหารบก และงบประมาณดังกล่าวเป็นการจัดสรรมาให้แต่ละเหล่าทัพในการเสริมศักยภาพของกองทัพ ทั้งนี้ การพิจารณาจัดซื้อของกองทัพบกมีความโปร่งใส โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ขอให้เชื่อมั่นว่า ยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบกจะจัดซื้อไม่ได้มองว่าใครขายหรือใครได้ประโยชน์ แต่กองทัพบกมองว่าต้องได้ยุทโธปกรณ์ที่ดี เป็นที่นิยม และเชื่อถือมั่นใจในการปกป้องประเทศ
ทางด้าน น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงกรณีที่กองทัพอากาศทำหนังสื่อของบประมาณผูกพันต่อรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 34,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แทนฝูงบิน F 5 ที่จะปลดระวางว่า คณะกรรมการที่กองทัพอากาศตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาศึกษาคุณสมบัติของเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศมีความสนใจจำนวน 3 แบบ คือ เครื่องบินซู 30 ของรัสเซีย เครื่องบินกริฟเฟนของสวีเดน และเครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐฯ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณารายละเอียด และคุณสมบัติของแต่ละเครื่องบินแต่ยังไม่ได้พิจารณาเครื่องบินรุ่นใดแบบใด