ส.ส.ร. ให้ ส.ส.-ส.ว. ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อสาธาณะชน มอบอำนาจประชาชน 2 หมื่นชื่อ ถอดนักการเมืองชั่ว พร้อมเพิ่ม 2 ช่องทางคิดบัญชีนักการเมืองโกง โดยจะยื่นต่อศาลฎีกาฯ หรือ ป.ป.ช.ก็ได้ ด้านกมธ.ยกร่าง เตรียมทบทวนประเด็นที่ให้มี ป.ป.ช.จังหวัด และ เรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น นักวิชาการข้องใจ ส.ส.ร. มีผลประโยชน์ทับซ้อน ลงโฆษณาชี้นำการลงประชามติ
การประชุมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ....เป็นวันที่ 14 ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.05 น. วานนี้ ( 27 มิ.ย.) โดยมีนายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธาน ส.ส.ร. ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยเริ่มจากการพิจารณาในหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
โดยส่วนที่ 1 มาตรา 250 เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สินเกี่ยวกับการยื่น แสดงบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และมีการนำข้อเสนอของสมาชิกในกรณี ให้เพิ่มข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ และกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้แสดงบัญชีทรัพย์สินไปบัญญัติในเจตนารมณ์ เพื่อไปเขียนไว้ในกฎหมายลูกด้วย
รวมถึงมาตรา 252 การบัญญัติให้ ส.ส. และ ส.ว. ต้องแสดงบัญชีทรัพย์ต่อสาธารณชนด้วย ไม่เฉพาะแต่ให้นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรี ต้องเปิดเผยการแสดงบัญชีทรัพย์สินเท่านั้น และ มาตรา 254 ที่กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ส่งเรื่องให้ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ผู้ที่จงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน หรือจงใจยื่นบัญชีทรัพย์อันเป็นเท็จ และหากศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนใดกระทำผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปีด้วย
สำหรับส่วนที่ 3 ว่าด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ใน มาตรา 261 ที่ประชุมมีมติเป็นไปตามร่างของกรรมาธิการ คือ กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษา หรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง หากพบพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ รวมทั้ง มาตรา 262 กำหนดให้ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 มีสิทธิเข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตามตำแหน่งดังกล่าวได้ และให้ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ส.ว.ออกจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ เสียงส่วนใหญ่ยังมีมติกำหนดให้ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งได้ แม้ นายการุณ ใสงาม ส.ส.ร. จะเสนอให้ลดจำนวนจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 5 และปรับตัวเลขประชาชนจาก 2 หมื่นคน เหลือ 1 หมื่นคน เพื่อให้สามารถเข้าชื่อได้ง่ายขึ้น แต่ก็ถูกนายวิชา มหาคุณ กรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ตำหนิว่า ฟังเหตุผลของนายการุณ มาตลอดสัปดาห์ จนรู้สึกเบื่อ และไม่ควรอภิปรายดูถูกความคิดของกรรมาธิการฯ เพราะตัวเลขที่บัญญัติขึ้นเป็นวิชาการ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเมือง และบุคคลดังกล่าวล้วนแต่ดำรงตำแหน่งระดับสูง หากให้สามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอนได้ง่าย จะเกิดปัญหาในการทำงานของบุคคลเหล่านั้นได้ เพราะจะมีการข่มขู่เสนอถอดถอนอยู่ตลอด
ส่วนมาตรา 263 เกี่ยวกับการดำเนินการของ ป.ป.ช. ภายหลังได้รับเรื่องถอดถอนจากวุฒิสภา มีการแก้ไขให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วแทน จากเดิมกำหนดให้ไต่สวนเสร็จภายใน 30 วัน และการลงมติของ ส.ว.ในการถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา แม้นายการุณ จะเสนอให้จดจำนวนตัวเลขจากใช้มติ 3 ใน 5 เปลี่ยนมาเป็นเกินกึ่งหนึ่งแทน แต่กรรมาธิการฯ ยืนยันตัวเลข 3 ใน 5 เหมาะสม เพื่อไม่ให้ทำได้ง่ายเกินไป และถือเป็นตัวเลขดั้งเดิมตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
*** เพิ่ม 2 ช่องทางคิดบัญชีนักการเมืองโกง
สำหรับในส่วนที่ 4 เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในมาตรา 266 ที่ประชุมมีมติเห็นตามที่กรรมาธิการฯ เพิ่มเติม คือในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามีตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาฯ หรือประธานวุฒิสภา ผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระเพื่อทำหน้าที่ไต่สวนหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน แล้วยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ส่วนการยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการไต่สวน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ป.ป.ช.
ขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก ส.ส.ร.สงวนคำแปรญัตติ ให้มีการตั้งผู้ไต่ส่วนอิสระ และการยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบไปพร้อมกัน จะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะพยานอาจให้การไม่เหมือนกัน หรืออาจกลับไปกลับมา ทำให้คดีมีปัญหาได้ในที่สุด คณะกรรมาธิการฯรับข้อเสนอของนายกล้านรงค์ไปปรับปรุง โดยจะให้ผู้เสียหายมีสิทธิ์เลือกที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา หรือ ป.ป.ช. อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเลือกยื่นต่อ ป.ป.ช. แล้วจะยื่นต่อให้ศาลฎีกาไม่ได้ ขณะที่มาตราอื่นๆ ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ รวมถึงหมวดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีการแก้ไข
*** เตรียมทบทวนเรื่อง ป.ป.ช.จังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเช้าวันเดียวกันนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้หารือนอกรอบก่อนที่จะประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( ส.ส.ร.) โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธาน กมธ.ยกร่าง เปิดเผยว่า ได้มีการการพิจารณาเพื่อเสนอให้ทบทวนในบางมาตรา ซึ่งที่ประชุม ส.ส.ร.พิจารณาไปแล้ว เช่น เรื่อง ป.ป.ช.จังหวัด หรือเรื่องการขอตรวจค้นบุคคลโดยไม่ต้องมีหมายค้น
อย่างไรก็ตาม หากเราจะเสนอให้ทบทวน ก็ต้องหาเสียงสนับสนุนให้ได้ 60 เสียง และ เสนอต่อประธาน ส.ส.ร. เพื่อนำเรื่องกลับมาทบทวน ส่วนที่มีผู้ต้องการให้ทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งจากรวมเขตเรียงเบอร์ ก็ต้องหาเสียงสนับสนุนให้ครบ 60 เสียงเช่นกัน ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า หากจะนำเรื่องกลับมาทบทวน ก็ควรที่จะต้องพิจารณาภายหลังจากที่ผ่านทั้ง 299 มาตราไปเสียก่อน ซึ่งวันสุดท้ายที่กำหนดให้มีการรับร่างคือวันที่ 5 ก.ค. อย่างไรก็ตาม คาดว่าในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ การพิจารณาของ ส.ส.ร.น่าจะแล้วเสร็จ และเสาร์-อาทิตย์ไปถึงวันที่ 2 ก.ค. ฝ่ายเลขาฯ จะนำไปปรับปรุง และจัดพิมพ์ และคาดว่าในวันที่ 3-4 ก.ค.นี้ น่าที่จะมีการประชุมในวาระที่ 3 เพื่อลงมติรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ และจากการพิจารณาที่ผ่านมาก็คิดว่ารัฐธรรมนูญก็น่าจะผ่านไปได้
น.ต.ประสงค์ กล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่ กรรมาธิการต้องการบอกคือ รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของโครงสร้างรัฐ ส่วนเรื่องรายละเอียด และการบังคับใช้ ก็ควรให้ไปกำหนดไว้ในกฎหมายลูก หากนำทั้งหมดมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็เขียนไม่หมด สุดท้ายก็จะกลายต้มจับฉ่ายไป และการเขียนไว้มากๆ ก็จะกลายเป็นการผูกมัด
*** ข้องใจ ส.ส.ร.ผลประโยชน์ทับซ้อน
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ เปิดเผยว่า วันนี้ ( 28 มิ.ย.) ตนจะเปิดแถลงข่าวร่วมกับเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย (จคป.) ในกรณีที่เราไม่เห็นด้วยกับการทำงานของคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนลงมติเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 50 ด้วยข้อความที่ว่า รวมพลังลงประชามติ "เห็นชอบ" รัฐธรรมนูญใหม่ ให้เมืองไทยมี "การเลือกตั้ง" เพราะข้อความดังกล่าว ถือว่าไม่มีความเป็นกลาง ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง
“ที่มากกว่าไปกว่านั้น ผมสงสัยว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ โดยเฉพาะนายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ส.ส.ร. และเป็นผู้บริหารของเครือมติชน ดังนั้น ส.ส.ร.ต้องทบทวนเรื่องดังกล่าว หรือต้องชี้แจงเหตุผลทั้งหมดของโฆษณาชิ้นนี้ และทำไมต้องใช้หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวด้วย”นายไชยันต์ กล่าว
สำหรับการแถลงข่าวจะเริ่มขึ้นในเวลา 14.30 น.วันนี้ ที่ห้องเกษมอุทยานนินทร์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
การประชุมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ....เป็นวันที่ 14 ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.05 น. วานนี้ ( 27 มิ.ย.) โดยมีนายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธาน ส.ส.ร. ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยเริ่มจากการพิจารณาในหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
โดยส่วนที่ 1 มาตรา 250 เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สินเกี่ยวกับการยื่น แสดงบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และมีการนำข้อเสนอของสมาชิกในกรณี ให้เพิ่มข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ และกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้แสดงบัญชีทรัพย์สินไปบัญญัติในเจตนารมณ์ เพื่อไปเขียนไว้ในกฎหมายลูกด้วย
รวมถึงมาตรา 252 การบัญญัติให้ ส.ส. และ ส.ว. ต้องแสดงบัญชีทรัพย์ต่อสาธารณชนด้วย ไม่เฉพาะแต่ให้นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรี ต้องเปิดเผยการแสดงบัญชีทรัพย์สินเท่านั้น และ มาตรา 254 ที่กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ส่งเรื่องให้ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ผู้ที่จงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน หรือจงใจยื่นบัญชีทรัพย์อันเป็นเท็จ และหากศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนใดกระทำผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปีด้วย
สำหรับส่วนที่ 3 ว่าด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ใน มาตรา 261 ที่ประชุมมีมติเป็นไปตามร่างของกรรมาธิการ คือ กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษา หรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง หากพบพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ รวมทั้ง มาตรา 262 กำหนดให้ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 มีสิทธิเข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตามตำแหน่งดังกล่าวได้ และให้ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ส.ว.ออกจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ เสียงส่วนใหญ่ยังมีมติกำหนดให้ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งได้ แม้ นายการุณ ใสงาม ส.ส.ร. จะเสนอให้ลดจำนวนจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 5 และปรับตัวเลขประชาชนจาก 2 หมื่นคน เหลือ 1 หมื่นคน เพื่อให้สามารถเข้าชื่อได้ง่ายขึ้น แต่ก็ถูกนายวิชา มหาคุณ กรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ตำหนิว่า ฟังเหตุผลของนายการุณ มาตลอดสัปดาห์ จนรู้สึกเบื่อ และไม่ควรอภิปรายดูถูกความคิดของกรรมาธิการฯ เพราะตัวเลขที่บัญญัติขึ้นเป็นวิชาการ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเมือง และบุคคลดังกล่าวล้วนแต่ดำรงตำแหน่งระดับสูง หากให้สามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอนได้ง่าย จะเกิดปัญหาในการทำงานของบุคคลเหล่านั้นได้ เพราะจะมีการข่มขู่เสนอถอดถอนอยู่ตลอด
ส่วนมาตรา 263 เกี่ยวกับการดำเนินการของ ป.ป.ช. ภายหลังได้รับเรื่องถอดถอนจากวุฒิสภา มีการแก้ไขให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วแทน จากเดิมกำหนดให้ไต่สวนเสร็จภายใน 30 วัน และการลงมติของ ส.ว.ในการถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา แม้นายการุณ จะเสนอให้จดจำนวนตัวเลขจากใช้มติ 3 ใน 5 เปลี่ยนมาเป็นเกินกึ่งหนึ่งแทน แต่กรรมาธิการฯ ยืนยันตัวเลข 3 ใน 5 เหมาะสม เพื่อไม่ให้ทำได้ง่ายเกินไป และถือเป็นตัวเลขดั้งเดิมตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
*** เพิ่ม 2 ช่องทางคิดบัญชีนักการเมืองโกง
สำหรับในส่วนที่ 4 เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในมาตรา 266 ที่ประชุมมีมติเห็นตามที่กรรมาธิการฯ เพิ่มเติม คือในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามีตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาฯ หรือประธานวุฒิสภา ผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระเพื่อทำหน้าที่ไต่สวนหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน แล้วยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ส่วนการยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการไต่สวน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ป.ป.ช.
ขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก ส.ส.ร.สงวนคำแปรญัตติ ให้มีการตั้งผู้ไต่ส่วนอิสระ และการยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบไปพร้อมกัน จะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะพยานอาจให้การไม่เหมือนกัน หรืออาจกลับไปกลับมา ทำให้คดีมีปัญหาได้ในที่สุด คณะกรรมาธิการฯรับข้อเสนอของนายกล้านรงค์ไปปรับปรุง โดยจะให้ผู้เสียหายมีสิทธิ์เลือกที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา หรือ ป.ป.ช. อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเลือกยื่นต่อ ป.ป.ช. แล้วจะยื่นต่อให้ศาลฎีกาไม่ได้ ขณะที่มาตราอื่นๆ ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ รวมถึงหมวดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีการแก้ไข
*** เตรียมทบทวนเรื่อง ป.ป.ช.จังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเช้าวันเดียวกันนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้หารือนอกรอบก่อนที่จะประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( ส.ส.ร.) โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธาน กมธ.ยกร่าง เปิดเผยว่า ได้มีการการพิจารณาเพื่อเสนอให้ทบทวนในบางมาตรา ซึ่งที่ประชุม ส.ส.ร.พิจารณาไปแล้ว เช่น เรื่อง ป.ป.ช.จังหวัด หรือเรื่องการขอตรวจค้นบุคคลโดยไม่ต้องมีหมายค้น
อย่างไรก็ตาม หากเราจะเสนอให้ทบทวน ก็ต้องหาเสียงสนับสนุนให้ได้ 60 เสียง และ เสนอต่อประธาน ส.ส.ร. เพื่อนำเรื่องกลับมาทบทวน ส่วนที่มีผู้ต้องการให้ทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งจากรวมเขตเรียงเบอร์ ก็ต้องหาเสียงสนับสนุนให้ครบ 60 เสียงเช่นกัน ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า หากจะนำเรื่องกลับมาทบทวน ก็ควรที่จะต้องพิจารณาภายหลังจากที่ผ่านทั้ง 299 มาตราไปเสียก่อน ซึ่งวันสุดท้ายที่กำหนดให้มีการรับร่างคือวันที่ 5 ก.ค. อย่างไรก็ตาม คาดว่าในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ การพิจารณาของ ส.ส.ร.น่าจะแล้วเสร็จ และเสาร์-อาทิตย์ไปถึงวันที่ 2 ก.ค. ฝ่ายเลขาฯ จะนำไปปรับปรุง และจัดพิมพ์ และคาดว่าในวันที่ 3-4 ก.ค.นี้ น่าที่จะมีการประชุมในวาระที่ 3 เพื่อลงมติรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ และจากการพิจารณาที่ผ่านมาก็คิดว่ารัฐธรรมนูญก็น่าจะผ่านไปได้
น.ต.ประสงค์ กล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่ กรรมาธิการต้องการบอกคือ รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของโครงสร้างรัฐ ส่วนเรื่องรายละเอียด และการบังคับใช้ ก็ควรให้ไปกำหนดไว้ในกฎหมายลูก หากนำทั้งหมดมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็เขียนไม่หมด สุดท้ายก็จะกลายต้มจับฉ่ายไป และการเขียนไว้มากๆ ก็จะกลายเป็นการผูกมัด
*** ข้องใจ ส.ส.ร.ผลประโยชน์ทับซ้อน
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ เปิดเผยว่า วันนี้ ( 28 มิ.ย.) ตนจะเปิดแถลงข่าวร่วมกับเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย (จคป.) ในกรณีที่เราไม่เห็นด้วยกับการทำงานของคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนลงมติเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 50 ด้วยข้อความที่ว่า รวมพลังลงประชามติ "เห็นชอบ" รัฐธรรมนูญใหม่ ให้เมืองไทยมี "การเลือกตั้ง" เพราะข้อความดังกล่าว ถือว่าไม่มีความเป็นกลาง ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง
“ที่มากกว่าไปกว่านั้น ผมสงสัยว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ โดยเฉพาะนายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ส.ส.ร. และเป็นผู้บริหารของเครือมติชน ดังนั้น ส.ส.ร.ต้องทบทวนเรื่องดังกล่าว หรือต้องชี้แจงเหตุผลทั้งหมดของโฆษณาชิ้นนี้ และทำไมต้องใช้หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวด้วย”นายไชยันต์ กล่าว
สำหรับการแถลงข่าวจะเริ่มขึ้นในเวลา 14.30 น.วันนี้ ที่ห้องเกษมอุทยานนินทร์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ