ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎหมายจราจร เพิ่มโทษเมาแล้วขับและไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทดสอบแอลกอฮอล์ โดยให้เพิกถอนใบขับขี่ 5 ปี
วานนี้ ( 26 มิ.ย.) นางเนตรปรียา ชุมไชโย ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เนื่องจากรัฐบาลพยายามป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่ขณะเมาสุรา หรือเสพของมึนเมาต่าง ๆ ปรากฏว่ามีผู้ขับขี่จำนวนมากที่ได้รับคำสั่งให้ถูกทดสอบแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่จะปฏิเสธและไม่ให้ความร่วมมือในการทดสอบกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จึงต้องเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าพนักงานในการสั่งการให้มีการทดสอบและตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันควรนั้น จะต้องถือว่ามีการกระทำผิดใดๆ บางอย่าง
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรในเวลากลางคืนได้ กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจกักตัวผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ทดสอบไว้ดำเนินการทดสอบได้ และหากไม่ยอมให้ทดสอบให้สันนิษฐานว่า ผู้นั้นหย่อนความสามารถในการขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือมึนเมาของอย่างอื่น และมีการปรับปรุงอัตราโทษในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ เพิกถอน หรือห้ามผู้นั้นขับรถเป็นเวลา 5 ปี หากผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกนี้ และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งกำหนดโทษในกรณีผู้กระทำผิดฐานขับรถขณะเมาสุรา หรือของมึนเมาอื่น กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล
วานนี้ ( 26 มิ.ย.) นางเนตรปรียา ชุมไชโย ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เนื่องจากรัฐบาลพยายามป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่ขณะเมาสุรา หรือเสพของมึนเมาต่าง ๆ ปรากฏว่ามีผู้ขับขี่จำนวนมากที่ได้รับคำสั่งให้ถูกทดสอบแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่จะปฏิเสธและไม่ให้ความร่วมมือในการทดสอบกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จึงต้องเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าพนักงานในการสั่งการให้มีการทดสอบและตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันควรนั้น จะต้องถือว่ามีการกระทำผิดใดๆ บางอย่าง
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรในเวลากลางคืนได้ กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจกักตัวผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ทดสอบไว้ดำเนินการทดสอบได้ และหากไม่ยอมให้ทดสอบให้สันนิษฐานว่า ผู้นั้นหย่อนความสามารถในการขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือมึนเมาของอย่างอื่น และมีการปรับปรุงอัตราโทษในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ เพิกถอน หรือห้ามผู้นั้นขับรถเป็นเวลา 5 ปี หากผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกนี้ และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งกำหนดโทษในกรณีผู้กระทำผิดฐานขับรถขณะเมาสุรา หรือของมึนเมาอื่น กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล