ผู้บริโภครวมพลังโวยแหลกฟิตเนสจอมโกหก ปลิ้นปล้อน ผูกมัดยัดเยียดสัญญาทาส เลิกยาก เสียเงินยิบย่อยสารพัด อดีตพนักงานขายฟิตเนส แฉมุขหมกเม็ดให้รู้ทันก่อนโดนต้ม เตือนระวังแบคทีเรียแฝงอยู่กับอุปกรณ์ ห้องน้ำ ทนายแนะกรณีให้ฟิตเนสหักเงินจากบัตรเครดิต แจ้งธนาคารระงับได้
วานนี้ (21 มิ.ย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา แฉมุขหมกเม็ดของฟิตเนสที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้ โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กรณีการดำเนินการร้องเรียนเรื่องสถานออกกำลังกายหรือฟิตเนส ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2550 มีทั้งสิ้น 36 ราย โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเรื่องสัญญาไม่เป็นธรรม การขายของพนักงานไม่มีมาตรฐาน ปัญหาเรื่องการให้บริการเช่น สถานที่ออกกำลังกายและเครื่องออกกำลังกายไม่เพียงพอ รวมทั้งไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพราะเมื่อของหายก็จะไม่รับผิดชอบ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ฟิตเนสไม่ได้บอกผู้บริโภคเป็น 10 ข้อ เช่น อาจมีแบคทีเรียจำนวนมหาศาลอยู่ตามเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งห้องน้ำ และล็อกเกอร์ หรือการที่ฟิตเนสคลับส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับรองรบเหตุฉุกเฉินต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ และการที่เทรนเนอร์บางคนไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อสมาชิกทุกคน รวมทั้งมีเงื่อนไขการเอาเปรียบในสัญญาเกือบทุกข้อรวมทั้งการยกเลิกสัญญานั้นทำได้ยาก
“มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเราไม่ช่วยแต่จะแนะทางออก เช่น ให้ไปร้องสำนักงานคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค (สคบ.) ก่อน พร้อมกับทำหนังสือร้องเรียนถึงบริษัทฯ ถ้าไม่ได้จริงจึงค่อยมาปรึกษากันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ที่สำคัญคือ ก่อนจะสมัครเป็นสมาชิกฟิตเนสต้องคิดดีๆ ไม่ใช่เป็นเพราะลดราคาหรือเพื่อนชักจูงถามใจตัวเองให้แน่ก่อนว่าอยากเล่นจริงๆ หรือไม่ และถ้าจะเล่นจริงๆ ก็ใช้วิธีการทดลองใช้บริการโดยใช้เวลาสั้นๆก่อน อาจจะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน รวมทั้งลองต่อรองราคาเพราะราคาค่าสมาชิกฟิตเนสไม่เท่ากันเซลล์มีการแข่งกันลดราคาสูง”
นอกจากนี้ ก่อนที่ผู้บริโภคจะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องอ่านรายละเอียดสัญญาก่อน และหากไม่เข้าใจต้องสอบถาม อย่ากลัวที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิตัวเอง หรืออย่ายอมให้มีการแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์เล็กๆ น้อย อย่าง การที่เขาผิดสัญญา แล้วเอาของมาแลกเปลี่ยน สำหรับการแก้ปัญหาด้านสัญญาขณะนี้ สคบ.กำลังพิจารณาแก้ไขระเบียบของผู้ประกอบการสถานฟิตเนส ให้เป็นธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาบัตรเครดิตด้วย
“การออกกำลังกายน่าจะเป็นสิ่งที่ดีและมีความสุขแต่กลับจบด้วยความทุกข์ เพราะฟิตเนสเป็นเรื่องของระบบทุนนิยมของโลกธุรกิจ ที่ยึดหลัก 2 ข้อ คือ ไม่มีของฟรี และต้องทำกำไรสูงสุด ดังนั้น เราต้องพยายามไม่พึ่งพาสิ่งภายนอก แต่ควรออกกำลังกายด้วยตัวเองน่าจะเป็นผลดีและมีความคุ้มค่ามากกว่า”
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทนายความ กล่าวว่า เมื่อผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ จะไม่กล้าฟ้องร้อง การพิจารณาคดีของศาลในจึงไม่เคยเกิดขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้บางครั้งผู้บริโภคคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรมแต่แม้จะถูกเอาเปรียบก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการฟ้องร้อง อาจเพราะนิสัยคนไทย ถ้าไม่ที่สุดจริงๆ จะไม่เอาเรื่องเอาราว อีกทั้งสัญญาที่บอกไม่เป็นธรรมเนื้อหาบางจุดก็เป็นสิทธิที่เขาสามารถทำได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับผู้บริโภคด้วยว่า เข้าใจรายละเอียดในสัญญาชัดเจนเพียงพอหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากเจ้าของสัญญาไม่สามารถให้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้บริโภคสามารถเจรจากับเจ้าของสัญญาเพื่อขอยกเลิกสัญญาได้เพราะสัญญาเป็นการยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายอยู่แล้ว แต่หากไม่สามารถสำเร็จก็สามารถฟ้องร้องเพื่อขอเรียกเงินคืนได้
“หากพบว่าฟิตเนสผิดสัญญาไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันแล้วต้องการยกเลิก ในกรณีที่ให้ฟิตเนสหักเงินจากบัตรเครดิต ซึ่งปกติเป็นแบบอัตโนมัติ ก็เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของเราที่จะต้องไปแจ้งยกเลิกเองได้”
ขณะที่ ต้น อดีตพนักงานขายสมาชิกฟิตเนส กล่าวว่า ออกมาจากงานได้ 2 ปี แล้ว เพราะรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ได้เงินมากแต่ไม่สบายใจ เพราะรายได้ที่ได้อยู่เดือนละไม่ต่ำว่า 30,000 บาท ขณะที่พนักงานขายระดับท๊อปได้ตกเดือนละ 80,000 บาท แต่พอเข้าไปทำแล้วลูกค้าเจอปัญหาหลายราย พอมาฟังประสบการณ์แต่ละคนวันนี้หน้าชาแทนจริงๆ เพราะการขายลักษะนี้เป็นการขายที่ไม่ถูกต้อง
นายต้น กล่าวด้วยว่า พนักงานขายต้องแข่งกันทำยอดขายตามที่บริษัทต้องการ ซึ่งตามเป้าต้องทำให้ได้อย่างน้อย 26 คนต่อเดือน หรือในหนึ่งวันจะต้องหาลูกค้าให้ได้อย่างน้อย 2-4 คนพนักงานขายจึงตกอยู่ในสภาวะที่กดดัน เพราะต้องแข่งกันทำยอดให้ได้ตามเป้า ซึ่งหัวหน้าจะกดดันลูกน้องเพื่อไห้ได้ลูกค้ามากที่สุด และเมื่อถึงเวลาประเมินหากพนักงานขายไม่สามารถทำยอดได้ตามเป้าของบริษัท พนักงานขายก็จะต้องลาออก ดังนั้นพนักงานขายจึงไม่คำนึงถึงความถูกผิดเท่าที่ควรแต่จะคำนึงว่าทำอย่างไรจะได้ลูกค้ามากที่สุด
วานนี้ (21 มิ.ย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา แฉมุขหมกเม็ดของฟิตเนสที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้ โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กรณีการดำเนินการร้องเรียนเรื่องสถานออกกำลังกายหรือฟิตเนส ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2550 มีทั้งสิ้น 36 ราย โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเรื่องสัญญาไม่เป็นธรรม การขายของพนักงานไม่มีมาตรฐาน ปัญหาเรื่องการให้บริการเช่น สถานที่ออกกำลังกายและเครื่องออกกำลังกายไม่เพียงพอ รวมทั้งไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพราะเมื่อของหายก็จะไม่รับผิดชอบ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ฟิตเนสไม่ได้บอกผู้บริโภคเป็น 10 ข้อ เช่น อาจมีแบคทีเรียจำนวนมหาศาลอยู่ตามเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งห้องน้ำ และล็อกเกอร์ หรือการที่ฟิตเนสคลับส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับรองรบเหตุฉุกเฉินต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ และการที่เทรนเนอร์บางคนไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อสมาชิกทุกคน รวมทั้งมีเงื่อนไขการเอาเปรียบในสัญญาเกือบทุกข้อรวมทั้งการยกเลิกสัญญานั้นทำได้ยาก
“มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเราไม่ช่วยแต่จะแนะทางออก เช่น ให้ไปร้องสำนักงานคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค (สคบ.) ก่อน พร้อมกับทำหนังสือร้องเรียนถึงบริษัทฯ ถ้าไม่ได้จริงจึงค่อยมาปรึกษากันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ที่สำคัญคือ ก่อนจะสมัครเป็นสมาชิกฟิตเนสต้องคิดดีๆ ไม่ใช่เป็นเพราะลดราคาหรือเพื่อนชักจูงถามใจตัวเองให้แน่ก่อนว่าอยากเล่นจริงๆ หรือไม่ และถ้าจะเล่นจริงๆ ก็ใช้วิธีการทดลองใช้บริการโดยใช้เวลาสั้นๆก่อน อาจจะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน รวมทั้งลองต่อรองราคาเพราะราคาค่าสมาชิกฟิตเนสไม่เท่ากันเซลล์มีการแข่งกันลดราคาสูง”
นอกจากนี้ ก่อนที่ผู้บริโภคจะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องอ่านรายละเอียดสัญญาก่อน และหากไม่เข้าใจต้องสอบถาม อย่ากลัวที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิตัวเอง หรืออย่ายอมให้มีการแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์เล็กๆ น้อย อย่าง การที่เขาผิดสัญญา แล้วเอาของมาแลกเปลี่ยน สำหรับการแก้ปัญหาด้านสัญญาขณะนี้ สคบ.กำลังพิจารณาแก้ไขระเบียบของผู้ประกอบการสถานฟิตเนส ให้เป็นธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาบัตรเครดิตด้วย
“การออกกำลังกายน่าจะเป็นสิ่งที่ดีและมีความสุขแต่กลับจบด้วยความทุกข์ เพราะฟิตเนสเป็นเรื่องของระบบทุนนิยมของโลกธุรกิจ ที่ยึดหลัก 2 ข้อ คือ ไม่มีของฟรี และต้องทำกำไรสูงสุด ดังนั้น เราต้องพยายามไม่พึ่งพาสิ่งภายนอก แต่ควรออกกำลังกายด้วยตัวเองน่าจะเป็นผลดีและมีความคุ้มค่ามากกว่า”
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทนายความ กล่าวว่า เมื่อผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ จะไม่กล้าฟ้องร้อง การพิจารณาคดีของศาลในจึงไม่เคยเกิดขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้บางครั้งผู้บริโภคคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรมแต่แม้จะถูกเอาเปรียบก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการฟ้องร้อง อาจเพราะนิสัยคนไทย ถ้าไม่ที่สุดจริงๆ จะไม่เอาเรื่องเอาราว อีกทั้งสัญญาที่บอกไม่เป็นธรรมเนื้อหาบางจุดก็เป็นสิทธิที่เขาสามารถทำได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับผู้บริโภคด้วยว่า เข้าใจรายละเอียดในสัญญาชัดเจนเพียงพอหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากเจ้าของสัญญาไม่สามารถให้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้บริโภคสามารถเจรจากับเจ้าของสัญญาเพื่อขอยกเลิกสัญญาได้เพราะสัญญาเป็นการยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายอยู่แล้ว แต่หากไม่สามารถสำเร็จก็สามารถฟ้องร้องเพื่อขอเรียกเงินคืนได้
“หากพบว่าฟิตเนสผิดสัญญาไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันแล้วต้องการยกเลิก ในกรณีที่ให้ฟิตเนสหักเงินจากบัตรเครดิต ซึ่งปกติเป็นแบบอัตโนมัติ ก็เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของเราที่จะต้องไปแจ้งยกเลิกเองได้”
ขณะที่ ต้น อดีตพนักงานขายสมาชิกฟิตเนส กล่าวว่า ออกมาจากงานได้ 2 ปี แล้ว เพราะรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ได้เงินมากแต่ไม่สบายใจ เพราะรายได้ที่ได้อยู่เดือนละไม่ต่ำว่า 30,000 บาท ขณะที่พนักงานขายระดับท๊อปได้ตกเดือนละ 80,000 บาท แต่พอเข้าไปทำแล้วลูกค้าเจอปัญหาหลายราย พอมาฟังประสบการณ์แต่ละคนวันนี้หน้าชาแทนจริงๆ เพราะการขายลักษะนี้เป็นการขายที่ไม่ถูกต้อง
นายต้น กล่าวด้วยว่า พนักงานขายต้องแข่งกันทำยอดขายตามที่บริษัทต้องการ ซึ่งตามเป้าต้องทำให้ได้อย่างน้อย 26 คนต่อเดือน หรือในหนึ่งวันจะต้องหาลูกค้าให้ได้อย่างน้อย 2-4 คนพนักงานขายจึงตกอยู่ในสภาวะที่กดดัน เพราะต้องแข่งกันทำยอดให้ได้ตามเป้า ซึ่งหัวหน้าจะกดดันลูกน้องเพื่อไห้ได้ลูกค้ามากที่สุด และเมื่อถึงเวลาประเมินหากพนักงานขายไม่สามารถทำยอดได้ตามเป้าของบริษัท พนักงานขายก็จะต้องลาออก ดังนั้นพนักงานขายจึงไม่คำนึงถึงความถูกผิดเท่าที่ควรแต่จะคำนึงว่าทำอย่างไรจะได้ลูกค้ามากที่สุด