“วิจิตร” ระบุ ครม.เห็นด้วยที่จะนำคำพิพากษามาสอนในชั้นเรียน ศธ.สั่งระดมผู้มีความรู้มาสร้างบทเรียนพร้อมทำสื่อให้ครู เพราะกฎหมายเข้าใจยาก พร้อมฝากให้สถาบันอุดมศึกษาให้ความรู้เรื่องการลงประชามติให้แก่ประชาชน
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้(5 มิ.ย.) มีการหารือถึงเรื่องการนำคำวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปสู่การเรียนการสอนทุกระดับชั้น ทั้งนี้ ทางกระทรวงยุติธรรมบอกว่าทางกระทรวงได้ถอดคำพิพากษาฉบับเต็ม และจะทำฉบับย่อออกมา จึงคิดว่า ศธ.จะนำมาใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ครม.ยังเสนอแนะให้ ศธ. ใช้สถานศึกษา และบุคลากรที่มีอยู่โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาไปรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการลงประชามติ ตามระบอบประชาธิปไตย ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
“เมื่อ ครม.ให้โจทย์มา ทางศธ. จึงมีแนวคิดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุดเพื่อดูแล 2 เรื่องนี้โดยเฉพาะ พร้อมกับคิดรูปแบบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการลง ประชามติ โดยจะเน้นสร้างความรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญ ตลอดจนขั้นตอนการลงประชามติ รวมถึงชี้ให้เห็นการเข้าไปมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนรวม เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ แต่จะไม่มีการชี้นำอย่างแน่นอน”
สำหรับการนำคำวินิจฉัยคดียุบพรรค มาสอดแทรกในการเรียนการสอน ตนจะเชิญผู้รู้ และครูมาหารือว่าในแต่ละระดับชั้นควรจะสอนสาระแค่ไหน นอกจากนี้อาจจะมีการผลิตสื่อขึ้นมาเสริมด้วย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เพราะถ้าหากนำเอาคำวินิจฉัยฉบับเต็มไปใช้สอน ยากที่เด็กจะเข้าใจเพราะเป็นภาษากฎหมาย ดังนั้น ควรมีสื่อที่เขียนขึ้นมาใหม่อย่างตรงประเด็น โดยใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ แล้วค่อยนำสื่อชนิดนี้มาประกอบการเรียนการสอนน่าจะเหมาะสมกว่า
“เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ครูในการคิดสื่อตรงนี้คงไม่ได้ ครูบางท่านอ่านคำพิพากษาแล้วไม่เข้าใจ ทางออกที่ดีที่สุดน่าจะให้ผู้รู้มาจัดทำสื่อ คิดรูปแบบวิธีการสอน จากนั้นนำครูมาอบรมก่อนนำบทเรียนนี้ไปสอนในชั้นเรียน”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อว่า ได้มีการหารือเรื่องงบประมาณก่อนที่สำนักงบประมาณจะสรุปและเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปี 2551 ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งรัฐบาลมีเงินเพิ่มให้ทุกกระทรวง 2.5 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ครม.เคยอนุมัติเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวซึ่งขณะนี้เพียงพอแล้ว แต่ครั้งนี้ได้ขอเพิ่มงบประมาณเงินค่าวิทยฐานะของครู จะได้จ่ายให้ครูตลอดปีงบประมาณ 2551 เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ สนช.จะพิจารณา
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้(5 มิ.ย.) มีการหารือถึงเรื่องการนำคำวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปสู่การเรียนการสอนทุกระดับชั้น ทั้งนี้ ทางกระทรวงยุติธรรมบอกว่าทางกระทรวงได้ถอดคำพิพากษาฉบับเต็ม และจะทำฉบับย่อออกมา จึงคิดว่า ศธ.จะนำมาใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ครม.ยังเสนอแนะให้ ศธ. ใช้สถานศึกษา และบุคลากรที่มีอยู่โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาไปรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการลงประชามติ ตามระบอบประชาธิปไตย ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
“เมื่อ ครม.ให้โจทย์มา ทางศธ. จึงมีแนวคิดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุดเพื่อดูแล 2 เรื่องนี้โดยเฉพาะ พร้อมกับคิดรูปแบบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการลง ประชามติ โดยจะเน้นสร้างความรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญ ตลอดจนขั้นตอนการลงประชามติ รวมถึงชี้ให้เห็นการเข้าไปมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนรวม เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ แต่จะไม่มีการชี้นำอย่างแน่นอน”
สำหรับการนำคำวินิจฉัยคดียุบพรรค มาสอดแทรกในการเรียนการสอน ตนจะเชิญผู้รู้ และครูมาหารือว่าในแต่ละระดับชั้นควรจะสอนสาระแค่ไหน นอกจากนี้อาจจะมีการผลิตสื่อขึ้นมาเสริมด้วย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เพราะถ้าหากนำเอาคำวินิจฉัยฉบับเต็มไปใช้สอน ยากที่เด็กจะเข้าใจเพราะเป็นภาษากฎหมาย ดังนั้น ควรมีสื่อที่เขียนขึ้นมาใหม่อย่างตรงประเด็น โดยใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ แล้วค่อยนำสื่อชนิดนี้มาประกอบการเรียนการสอนน่าจะเหมาะสมกว่า
“เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ครูในการคิดสื่อตรงนี้คงไม่ได้ ครูบางท่านอ่านคำพิพากษาแล้วไม่เข้าใจ ทางออกที่ดีที่สุดน่าจะให้ผู้รู้มาจัดทำสื่อ คิดรูปแบบวิธีการสอน จากนั้นนำครูมาอบรมก่อนนำบทเรียนนี้ไปสอนในชั้นเรียน”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อว่า ได้มีการหารือเรื่องงบประมาณก่อนที่สำนักงบประมาณจะสรุปและเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปี 2551 ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งรัฐบาลมีเงินเพิ่มให้ทุกกระทรวง 2.5 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ครม.เคยอนุมัติเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวซึ่งขณะนี้เพียงพอแล้ว แต่ครั้งนี้ได้ขอเพิ่มงบประมาณเงินค่าวิทยฐานะของครู จะได้จ่ายให้ครูตลอดปีงบประมาณ 2551 เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ สนช.จะพิจารณา