เมื่อเวลา 09.45 น. วานนี้ (4 มิ.ย.) ได้มีการประชุมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยมี นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม มีวาระการมอบหมายอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมให้กับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด
ทั้งนี้ นายนรนิติ แจ้งที่ประชุมว่า ส.ส.ร. จะเริ่มพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. เป็นต้นไป ขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง จากนั้นนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร รองประธาน กมธ.วิสามัญกิจการ ส.ส.ร.(วิป) รายงานว่า วิปเสนอให้เพิ่มอำนาจ กมธ.วิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสาระ และความแตกต่างกับฉบับปี 2540 เพื่อการประชามติ ซึ่งจะต้องประสานกับสื่อภาครัฐและเอกชน ตามประกาศหลักเกณฑ์ ส.ส.ร. ว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการประชามติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกหลายคนอภิปรายสนับสนุน เช่น นายปกรณ์ ปรียากร ส.ส.ร. และโฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเพิ่มอำนาจเพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปทางเดียวกัน เพราะตอนนี้มีภาวะความเข้าใจของประชาชนสับสนจากกระแสการเมืองภายนอกที่อาจกระทบประชามติ และควรให้ กมธ. รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาค เชื่อมต่อกับ กมธ.ประจำจังหวัดด้วย
ด้านนายวัชรา หงส์ประภัศร ส.ส.ร. เสนอให้ ทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับย่อ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ เอาสาระสำคัญสำหรับให้คนอ่านเข้าใจง่าย เพราะคนจะไม่อ่านฉบับเต็ม ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธาน กมธ.รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคกลาง ขอให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ดังกล่าวของ กมธ.ประจำภาคด้วย
นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กมธ.วิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและประชาสัมพันธ์ ชี้แจงว่า กมธ. ชุดของตนจะประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย และกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนเอกสารที่เข้าใจง่าย จะเป็นการสรุปข้อดีข้อเด่น ซึ่งกำลังทำแล้ว มีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายวุฒิสาร ตันไชย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดูแลและเห็นด้วยกับข้อเสนอของนายสุรชัย แต่จะไปกำหนดบทบาทการเชื่อมโยงระหว่าง กมธ.ภาค และ กมธ.ประจำจังหวัดอีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอ และปิดประชุมเวลา 11.15 น.
**พร้อมร่างรธน.ให้เสร็จเร็วขึ้น
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะร่นการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นว่า เรื่องนี้ต้องฟังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะหารือร่วมกับรัฐบาล ว่ามีความพร้อมมากเพียงใด และรัฐบาลมองว่าเวลาใดถึงจะดีที่สุด ที่จะให้มีการเลือกตั้ง เมื่อได้ข้อยุติจากองค์กรหลักทั้ง 2 องค์กรแล้ว กมธ.ยกร่าง ถึงจะนำมาเขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าทั้ง 2 หน่วยงานมีความพร้อมที่จะเลื่อนวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็พร้อมที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น เพื่อให้ทันการเลือกตั้ง
ส่วน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จะเป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดวิกฤติขึ้นในบ้านเมืองจนทำให้มีผลต่อการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายจรัญ กล่าวว่า ไม่คิดว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเหล่านั้น จะทำหรือคิดอะไรที่เป็นผลร้ายต่อประเทศชาติ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บุคคลเหล่านี้จะต้องพยายามรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นไม่น่าจะก่อให้เกิดวิกฤติอะไร
**ไม่ห่วงปลุกม็อบล้มประชามติ
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ถึงสถานการณ์การเมืองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ทราบจะมีการเลื่อนวันทำประชามติ จากเดิมวันอาทิตย์ที่ 2 ก.ย. 50 เป็นวันอาทิตย์ที่ 19 ส.ค. 50 แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาต่อการจัดงานมหกรรมปฏิรูปการเมืองฯ เพราะตนมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การเลือกตั้งปลายปีนี้ได้
ส่วนกรณีที่กลุ่มพีทีวี พยายามเรียกร้องให้มีการคว่ำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่เป็นไร เพราะความเห็นที่แตกต่าง เป็นเรื่องปกติธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย สามารถแสดงเหตุผลการไม่สนับสนุนได้ว่าเพราะอะไร และประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ตัดสินว่าจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่มีน้ำหนัก และข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ต่อข้อถามว่า เกรงหรือไม่ว่าอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จะปลุกระดมประชาชนให้ล้มร่างรัฐธรรมนูญ นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าใครจะไปทำอะไร อย่างไร แต่คิดว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในรัฐธรรมนูญมากแค่ไหน ใครที่ไปปลุกระดมโดยเหตุผลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่มีน้ำหนัก คงทำได้ยาก เพราะตนเชื่อมั่นว่า ประชาชนมีสติปัญญาที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีเกียรติในความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีจุดยืนของตัวเอง
**เกย์ขอบรรจุความหลากหลายทางเพศ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงเช้าวานนี้ กลุ่มองค์กรเกย์ 10 องค์กร นำโดย นายนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่มเกย์การเมืองไทย และคณะจำนวน 20 คน เข้ายื่นข้อเรียกร้องในการร่างรัฐธรรมนูญต่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานกมธ.ยกร่าง คนที่ 4 ขอให้เพิ่มเติมความในมาตรา 30 เรื่อง "ชายและหญิงและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีสิทธิเท่าเทียมกัน" เพื่อสร้างการยอมรับของสังคมต่อกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ ในฐานะพลเมืองไทยเช่นเดียวกับชาย และหญิง
นายนที กล่าวว่า ตอนนี้เป็นโอกาสอันดีที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเปิดโอกาสให้กับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเครือข่ายฯ ได้รวบรวมความเห็นมาเป็นปีแล้ว พบว่า สภาพปัจจุบันกลุ่มเกย์มีปัญหาการถูกจำกัดสิทธิในการทำงาน การกีดกันความก้าวหน้าในการทำงาน การคุ้มครองการได้รับคำนำหน้าชื่อในอนาคต ซึ่งหลายคนผ่านจิตแพทย์ และแปลงเพศมาแล้ว แต่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) หลายประเทศไม่ให้เข้า หรือการเขียนใน สด.43 ว่า เป็นโรคจิตถาวร ซึ่งไม่เป็นธรรม
"จึงขอให้พิจารณาเพิ่มเติมมาตราดังกล่าว เพื่อคุ้มครองกลุ่มหลากหลายทางเพศทั้งหมด เพื่อความสมบูรณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เรามีศักดิ์ศรีเท่ากับคนถ้วนหน้า หากกฎหมายสูงสุดได้รับการเพิ่มเติม กฎหมายลำดับรองลงมาคงมีการแก้ไขให้ครอบคลุมการรับรองสิทธิ อาทิ กฎหมายอาญา เรื่องการข่มขืน กฎหมายทรัพย์สิน เป็นต้น" ประธานกลุ่มเกย์การเมืองไทย กล่าว
นายนที กล่าวอีกว่า ไม่ว่าจะมีการแก้ไขตามข้อเสนอหรือไม่ก็ตาม เครือข่ายฯ เห็นว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ตั้งใจดี ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญมาตราอื่น ๆ เป็นประชาธิปไตย ทางกลุ่มก็ยินดีสนับสนุน และไม่เอาความต้องการส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
ขณะที่ นพ.ชูชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว กมธ.ยกร่าง พิจารณาแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ผ่านในแง่ความรู้ ความเข้าใจยังไม่กว้างขวางพอ ส่วนเรื่อง สด.43 ที่เขียนดังกล่าว ทางการแพทย์ ถือว่าล้าหลังมาก และขอขอบคุณที่มาเสนอประเด็น และสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
ทั้งนี้ นายนรนิติ แจ้งที่ประชุมว่า ส.ส.ร. จะเริ่มพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. เป็นต้นไป ขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง จากนั้นนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร รองประธาน กมธ.วิสามัญกิจการ ส.ส.ร.(วิป) รายงานว่า วิปเสนอให้เพิ่มอำนาจ กมธ.วิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสาระ และความแตกต่างกับฉบับปี 2540 เพื่อการประชามติ ซึ่งจะต้องประสานกับสื่อภาครัฐและเอกชน ตามประกาศหลักเกณฑ์ ส.ส.ร. ว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการประชามติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกหลายคนอภิปรายสนับสนุน เช่น นายปกรณ์ ปรียากร ส.ส.ร. และโฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเพิ่มอำนาจเพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปทางเดียวกัน เพราะตอนนี้มีภาวะความเข้าใจของประชาชนสับสนจากกระแสการเมืองภายนอกที่อาจกระทบประชามติ และควรให้ กมธ. รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาค เชื่อมต่อกับ กมธ.ประจำจังหวัดด้วย
ด้านนายวัชรา หงส์ประภัศร ส.ส.ร. เสนอให้ ทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับย่อ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ เอาสาระสำคัญสำหรับให้คนอ่านเข้าใจง่าย เพราะคนจะไม่อ่านฉบับเต็ม ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธาน กมธ.รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคกลาง ขอให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ดังกล่าวของ กมธ.ประจำภาคด้วย
นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กมธ.วิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและประชาสัมพันธ์ ชี้แจงว่า กมธ. ชุดของตนจะประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย และกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนเอกสารที่เข้าใจง่าย จะเป็นการสรุปข้อดีข้อเด่น ซึ่งกำลังทำแล้ว มีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายวุฒิสาร ตันไชย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดูแลและเห็นด้วยกับข้อเสนอของนายสุรชัย แต่จะไปกำหนดบทบาทการเชื่อมโยงระหว่าง กมธ.ภาค และ กมธ.ประจำจังหวัดอีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอ และปิดประชุมเวลา 11.15 น.
**พร้อมร่างรธน.ให้เสร็จเร็วขึ้น
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะร่นการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นว่า เรื่องนี้ต้องฟังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะหารือร่วมกับรัฐบาล ว่ามีความพร้อมมากเพียงใด และรัฐบาลมองว่าเวลาใดถึงจะดีที่สุด ที่จะให้มีการเลือกตั้ง เมื่อได้ข้อยุติจากองค์กรหลักทั้ง 2 องค์กรแล้ว กมธ.ยกร่าง ถึงจะนำมาเขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าทั้ง 2 หน่วยงานมีความพร้อมที่จะเลื่อนวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็พร้อมที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น เพื่อให้ทันการเลือกตั้ง
ส่วน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จะเป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดวิกฤติขึ้นในบ้านเมืองจนทำให้มีผลต่อการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายจรัญ กล่าวว่า ไม่คิดว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเหล่านั้น จะทำหรือคิดอะไรที่เป็นผลร้ายต่อประเทศชาติ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บุคคลเหล่านี้จะต้องพยายามรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นไม่น่าจะก่อให้เกิดวิกฤติอะไร
**ไม่ห่วงปลุกม็อบล้มประชามติ
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ถึงสถานการณ์การเมืองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ทราบจะมีการเลื่อนวันทำประชามติ จากเดิมวันอาทิตย์ที่ 2 ก.ย. 50 เป็นวันอาทิตย์ที่ 19 ส.ค. 50 แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาต่อการจัดงานมหกรรมปฏิรูปการเมืองฯ เพราะตนมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การเลือกตั้งปลายปีนี้ได้
ส่วนกรณีที่กลุ่มพีทีวี พยายามเรียกร้องให้มีการคว่ำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่เป็นไร เพราะความเห็นที่แตกต่าง เป็นเรื่องปกติธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย สามารถแสดงเหตุผลการไม่สนับสนุนได้ว่าเพราะอะไร และประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ตัดสินว่าจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่มีน้ำหนัก และข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ต่อข้อถามว่า เกรงหรือไม่ว่าอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จะปลุกระดมประชาชนให้ล้มร่างรัฐธรรมนูญ นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าใครจะไปทำอะไร อย่างไร แต่คิดว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในรัฐธรรมนูญมากแค่ไหน ใครที่ไปปลุกระดมโดยเหตุผลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่มีน้ำหนัก คงทำได้ยาก เพราะตนเชื่อมั่นว่า ประชาชนมีสติปัญญาที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีเกียรติในความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีจุดยืนของตัวเอง
**เกย์ขอบรรจุความหลากหลายทางเพศ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงเช้าวานนี้ กลุ่มองค์กรเกย์ 10 องค์กร นำโดย นายนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่มเกย์การเมืองไทย และคณะจำนวน 20 คน เข้ายื่นข้อเรียกร้องในการร่างรัฐธรรมนูญต่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานกมธ.ยกร่าง คนที่ 4 ขอให้เพิ่มเติมความในมาตรา 30 เรื่อง "ชายและหญิงและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีสิทธิเท่าเทียมกัน" เพื่อสร้างการยอมรับของสังคมต่อกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ ในฐานะพลเมืองไทยเช่นเดียวกับชาย และหญิง
นายนที กล่าวว่า ตอนนี้เป็นโอกาสอันดีที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเปิดโอกาสให้กับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเครือข่ายฯ ได้รวบรวมความเห็นมาเป็นปีแล้ว พบว่า สภาพปัจจุบันกลุ่มเกย์มีปัญหาการถูกจำกัดสิทธิในการทำงาน การกีดกันความก้าวหน้าในการทำงาน การคุ้มครองการได้รับคำนำหน้าชื่อในอนาคต ซึ่งหลายคนผ่านจิตแพทย์ และแปลงเพศมาแล้ว แต่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) หลายประเทศไม่ให้เข้า หรือการเขียนใน สด.43 ว่า เป็นโรคจิตถาวร ซึ่งไม่เป็นธรรม
"จึงขอให้พิจารณาเพิ่มเติมมาตราดังกล่าว เพื่อคุ้มครองกลุ่มหลากหลายทางเพศทั้งหมด เพื่อความสมบูรณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เรามีศักดิ์ศรีเท่ากับคนถ้วนหน้า หากกฎหมายสูงสุดได้รับการเพิ่มเติม กฎหมายลำดับรองลงมาคงมีการแก้ไขให้ครอบคลุมการรับรองสิทธิ อาทิ กฎหมายอาญา เรื่องการข่มขืน กฎหมายทรัพย์สิน เป็นต้น" ประธานกลุ่มเกย์การเมืองไทย กล่าว
นายนที กล่าวอีกว่า ไม่ว่าจะมีการแก้ไขตามข้อเสนอหรือไม่ก็ตาม เครือข่ายฯ เห็นว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ตั้งใจดี ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญมาตราอื่น ๆ เป็นประชาธิปไตย ทางกลุ่มก็ยินดีสนับสนุน และไม่เอาความต้องการส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
ขณะที่ นพ.ชูชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว กมธ.ยกร่าง พิจารณาแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ผ่านในแง่ความรู้ ความเข้าใจยังไม่กว้างขวางพอ ส่วนเรื่อง สด.43 ที่เขียนดังกล่าว ทางการแพทย์ ถือว่าล้าหลังมาก และขอขอบคุณที่มาเสนอประเด็น และสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง