วานนี้(21 พ.ค.) ได้มีการประชุมนอกรอบร่วมกันระหว่างกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) โดยมีวาระการประชุมคือ การหารือถึงขั้นตอนในการขอแปรญัตตินอกรอบ
น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวเปิดการประชุมว่า สำหรับเรื่องของการขอแปรญัตติเราได้รับญัตติมาจำนวนหนึ่งจาก ส.ส.ร. และเราก็ได้นำเข้ามาหารือในกมธ.ยกร่างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เป็นข้อยุติใดๆ ทั้งสิ้นเพียงแต่เราหยิบมาดูว่า ส.ส.ร. มีความเห็นแตกต่างอะไรไปจากกมธ.ยกร่างบ้าง ซึ่งก็มี หลายญัตติที่เราเห็นร่วมกับ ส.ส.ร. ส่วนที่ยังเป็นเรื่องที่ต้องหารือกันต่อ ตนถือว่าเป็นเรื่องดีที่เรามาประชุมนอกรอบก่อน ซึ่งสมาชิก ส.สร. และกมธ.ยกร่าง มีเป้าหมายคือ ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และต่อประชาชนเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่มีการกำหนดว่าจะมีขึ้นปลายปีนี้
"ส่วนใครจะขอเลื่อนให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นนั้น ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะฝ่ายยกร่างต้องทำตามหน้าที่ทำตามขั้นตอน เพื่อให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ที่มีความต้องการให้เสร็จอย่างรวดเร็วเหมือนกัน ซึ่งก็เท่ากับว่า ส.ส.ร.และกมธ.ยกร่างฯ ลงเรือลำเดียวกันคือ เรือที่ต้องการนำรัฐธรรมนูญไปประกาศใช้ให้ดีขึ้น"
นาย สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการกมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงว่า หลังจากที่กมธ.ยกร่างฯได้พิจารณาคำขอแปรญัตติของ ส.ส.ร.แล้วแยกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1. ญัตติที่กมธ.ยกร่างฯเห็นด้วยกับ ส.ส.ร. 2. ญัตติที่ไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่ 3. คือประเด็นที่แขวนไว้รอพิจารณา เช่น เรื่องการศึกษา และการสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเด็นที่กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วยกับ ส.สร.มี 20 ประเด็น 20 มาตรา อาทิ 1. เรื่องการขอเพิ่มความพิการเข้าไปเรื่องความเสมอภาค ซึ่งในเรื่องนี้นาย สวิง ตันอุด ส.ส.ร.ขอเพิ่มเติมคำว่า “เพศภาพ” เข้าไปซึ่งเรื่องนี้ต้องแขวนไว้ก่อนเพื่อรอการพิจารณา 2. มาตรา 35 วรรค 2 นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ ส.ส.ร.ได้ขอแปรญัตติเพิ่มเติมว่า “การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้ววิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศชื่อเสียงหรือความเป้นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยนายเกียรติชัย ได้ขอแปรญัตติให้นำวรรคนี้ไปรวมอยู่ในมาตราอื่น ซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วย
3.มาตรา 46 เรื่องการคุ้มครองพนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนอื่น โดยนายสวิง ได้ขอแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มคำว่า เจ้าของกิจการสื่อต้องสนับสนุนให้พนักงานจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม 4. มาตรา 63 เรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของประชาชนซึ่ง นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง และนายกฤษฎา ขอแปรญัตติให้เพิ่มภาคเกษตรก็สามารถมีสิทธิในการจัดตั้งสภาเกษตรกรได้ซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วยในประเด็นนี้
5. มาตรา 66 เรื่องชุมชุนท้องถิ่นมีสมาชิกจำนวนมากได้ขอแปรญัตติในหลายประเด็นอาทิให้ชุมชุมชนมีสิทธิตรวจสอบและฟ้องข้าราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้จะต้องได้รับความคุ้มครอง 6. มาตรา 68 ซึ่งมีสมาชิก ส.ส.ร.จำนวนมากขอตัดวรรค 2 เรื่ององค์กรแก้วิกฤตทิ้งซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยในประเด็นนี้ และอาจจะมีกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยที่ยังเห็นต่าง ก็สามารถขอแปรญัตติร่วมกับ ส.ส.ร.ได้
7. มาตรา 243 เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยนายก ล้านรงค์ จันทิก เสนอให้เพิ่มข้อความการกำกับดูแลคุณธรรม และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และให้ย้าย มาตรา 244 วรรคหนึ่ง ที่ให้ป.ป.ช. เป็นอิสระโดยมีเลขาธิการป.ป.ช. เป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงกับประธานป.ป.ช. 8. มาตรา256 เรื่องบทบัญญัติเกี่ยวกับส.ว.ซึ่งนาย กิตติ ตีรเศรษฐ ได้ขอแปรญัตติในวรรค 2 ว่าผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนและตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเอง หรือรับราชการเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มมติอดถอนซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วย
9. มาตรา 267 นายกล้านรงค์ จันทิก ได้ขอแปรญัตติโดยขอให้ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่เรียกผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. หรือข้าราชการการเมืองอื่น ที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายอื่น ให้ป.ป.ช. มีอำนาจในการไตร่สวนได้เอง อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากหลักฐานไม่เพียงพอป.ป.ช. มีสิทธิที่จะไม่ดำเนินการไตร่สวนได้
อย่างไรก็ตาม ในการเสนอขอแปรญัตติของ ส.ส.ร. ครั้งนี้ มีหลายส่วนที่กมธ.ไม่เห็นด้วย ซึ่งหากประเด็นใดที่ตกหล่นไป ส.ส.ร.สามารถขอแปรญัตติอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ค. 50 ที่จะเป็นวันสุดท้ายในการเสนอขอแปรญัตติอย่างเป็นทางการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปรากฎว่าบทสรุปของนายสมคิด ถูกโจมตีจาก ส.ส.ร.ว่าเป็นการรวบรัดตัดตอนปิดกั้นส.ส.ร. เพราะส.ส.ร.ส่วนใหญ่ต้องการฟังความเห็นของ 12 องค์กรที่จะเข้ามาในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อมาประกอบในการแปรญัตติ
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า อยากให้ส.ส.ร.ให้ความสำคัญกับความเห็นของทั้ง 12 องค์กร เพราะหากในวันที่ 25 พ.ค. เขาส่งมา 95 ประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญ ส.ส.ร.เห็นด้วย แต่ กมธ.ไม่เห็นด้วย ก็เท่ากับว่า ส.ส.ร.ไม่สามารถแปรญัตติให้เขาได้เลย
"จึงอยากให้พิจารณาเลื่อนวันสิ้นสุดการแปรญัตติของส.ส.ร.ออกไปให้ 12 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญส่งร่างมาให้ครบและให้ ส.ส.ร.ได้ศึกษาก่อนสักวันสองวันได้หรือไม่แล้วแล้วค่อยยุติการแปรญัตติอย่างเป็นทางการโดยผมขอเสนอให้มีเลื่อนจากวันที่ 25 พ.ค.ให้เป็นวันที่ 28 พ.ค." นายกล้านรงค์ กล่าว
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า ถ้ากมธ. กำหนดไว้เช่นนี้เท่ากับ ส.ส.ร. เองโดนบีบทำให้ต้องแปรญัตติแบบเหวี่ยงแหเพื่อรักษาสิทธิ์
ขณะที่นายการุณ ใสงาม ส.ส.ร. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการประชุมนอกรอบระหว่าง กมธ.ยกร่างฯ กับส.ส.ร.เพราะไหนๆส.ส.ร.ก็มาจากเผด็จการแล้ว เราก็ควรที่จะจัดประชุมอย่างภาคภูมิไปเลยประชาชนจะได้เห็นว่าทิศทางของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร เพื่อบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้นำไปศึกษา
ในที่สุด นายสมคิด ได้ยอมให้เลื่อนวันในการรับคำแปรญัตติของส.ส.ร.ออกไปเป็นวันที่ 28 พ.ค. จากนั้นในวันที่ 29,30 และ 1 มิ.ย. ทาง กมธ.ยกร่างฯจะทำการประชุมกันเองเพื่อนำข้อเสนอของ ส.ส.ร.ที่ขอแปรญัตติมาปรับแก้ และในวันที่ 4-7 มิ.ย. กมธ.จะเชิญส.ส.ร.แต่ละกลุ่มที่ขอแปรญัตติมาหารือกับกมธ.ยกร่างฯอีกครั้งเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าจะแก้ไขหรือไม่ วันที่ 8-9 มิ.ย. จะแก้ไขเอกสารแจกให้ส.ส.ร.วันที่ 10 มิ.ย. และวันที่ 11 มิ.ย.จะเป็นการประชุมใหญ่
นายสมคิด กล่าวว่า สำหรับ ส.ส.ร.นั้นสามารถเสนอแปรญัตติโดยต้องมีผู้รับรอง 10 คน ซึ่งคนที่เสนอก็สามารถมารับรองได้ และผู้ที่รับรองญัตติใดไปแล้วไม่สามารถรับรองญัตติอื่นอีกได้ เท่ากับว่า ส.ส.ร.ต้องจับกลุ่มกันไม่ต่ำกว่า 10 คน เมื่อตัดกมธ.ยกร่างฯ ออกไป 25 คน ที่ส่วนใหญ่จะไม่รับรองการแปรญัตติ จะทำให้มีส.ส.ร.แปรญัตติได้ประมาณ 6-7 กลุ่มประเด็น
"ผมขอให้ส.ส.ร.ที่จับกลุ่มกันขอแปรญัตติประมาณ 6-7 กลุ่ม ได้ประชุมร่วมกับกมธ.ยกร่างฯในวันที่ 4-7 มิ.ย.โดยวันที่ 4 จะเป็นกลุ่มที่แปรญัตติในกรอบ 1 มาตรา 1 – 86 วันที่ 5 มิ.ย.กรอบ 2 สถาบันการเมือง มาตรา 87-192 วันที่ 6 มิ.ย.กรอบ 3 ตั้งแต่มาตรา 193 – 299 และวันที่ 7 มิ.ย.เป็นการเก็บตกประเด็นอื่นๆ" นายสมคิด กล่าว
น.ต.ประสงค์ กล่าวก่อนปิดการประชุมว่า อยากให้ส.ส.ร.มองเห็นว่ากมธ.ยกร่างฯ ก็เป็นคณะทำงานของพวกท่านไม่ใช่ใครอื่น หนักนิดเบาหน่อยคงไม่มีปัญหา ยืนยันว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เราไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดทั้งสิ้น และเชื่อว่าส.ส.ร.ก็ไม่ผลประโยชน์เช่นกัน ทุกอย่างเราทำเพื่อบ้านเมือง ประชาชน และการปฎิรูปการเมือง โดยจะทำให้ดีกว่ารัฐธรรมนูญเก่าๆ และหวังว่าเราจะได้ทำงานร่วมกันจนกว่าจะใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกต้ง แต่ถ้ามีอุบัติเหตุก็ว่ากันอีกหน
**เลือกตั้งขึ้นอยู่กับรธน.ไม่ใช่ปากนายกฯ
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันความพร้อมของ กกต. ในการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการสำรวจจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง และเตรียมแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบัญญัติไว้ รอเพียง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนในวิธีการเลือกตั้ง ส.ส.
"หากจะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ก็สามารถทำได้ แต่การเลื่อนเวลาเข้ามา จะต้องมีระยะเวลาให้ประมาณ 3 เดือน สำหรับการจัดทำบัญชีรายชื่อประชากรใหม่ และการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง" นางสดศรี กล่าว และว่า ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งเร็วขึ้น หรือช้าออกไป ก็ไม่มีความแตกต่าง เพียงแต่ถ้าต้องการให้เลือกตั้งเร็วขึ้น คงต้องใช้ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก โดยไม่ต้องทำประชามติ ก็จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 3 เดือน แต่จะต้องมีความชัดเจนว่า จะเลือกตั้งอย่างไร และมีข้อยุติในร่างรัฐธรรมนูญก่อน หากยังไม่มีข้อยุติใดๆ คงจะจัดการเลือกตั้งตามใจนายกฯ ไม่ได้
**ชี้ร่นวันเลือกตั้งต้องลัดขั้นตอน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ กกต. ขานรับข้อเสนอเลือกตั้งเร็วขึ้นของนายกรัฐมนตรีว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยหากจะให้เลือกตั้งเร็ว จะต้องลัดขั้นตอนต่าง ๆ หรือ นอกเสียจากว่ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านตั้งแต่แรก แล้ว คมช. กับรัฐบาล ประกาศรัฐธรรมนูญได้เร็ว ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้ ตนคิดว่าหลายคนมองตรงกันว่า ถ้าบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาวะปกติก็ผ่อนคลายอะไรได้หลาย ๆ อย่าง และสำหรับตนก็ย้ำว่า ถ้ากติกาการเลือกตั้ง กติกาเป็นประชาธิปไตย หากเลือกตั้งได้เร็วก็ดี และกกต.กับรัฐบาล มีหน้าที่เร่งสร้างความพร้อม
"ความจริงบางเรื่องไม่เห็นต้องรอว่าจะเลือกตั้งเราก็ยังเรียกร้องให้ทำตลอด เช่น การรณรงค์เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม การเตรียมความพร้อม การให้ความรู้กับประชาชนนั้น ทำได้เลย โดยเฉพาะ กกต. การจัดทำประชามติก็เหมือนกับการซ้อมใหญ่เลือกตั้งอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องบอก ส.ส.ร.-สนช. ให้เร่ง ถึงจะเลือกตั้งให้เร็วได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลกับ กกต. ต้องทำหน้าที่ให้หนักกว่านี้ในเรื่องการสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ลงมือทำวันนี้ 3 เดือน 6 เดือนยังไงก็ทัน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า หากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ แม้จะมีการเลือกตั้ง บ้านเมืองก็ไม่สามารถฝ่าวิกฤติไปได้นั้น ตนไม่ได้มองเช่นนั้น และคิดว่าหากกติกาเป็นประชาธิปไตย บทบาทที่จะฝ่าฝันวิกฤติไปได้มีสูง เพราะตนเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยโดยตัวของมันเองจะช่วยทำให้หลายเรื่องคลี่คลายไปได้ แม้จะไม่ง่าย แต่คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศที่จะทำได้
น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวเปิดการประชุมว่า สำหรับเรื่องของการขอแปรญัตติเราได้รับญัตติมาจำนวนหนึ่งจาก ส.ส.ร. และเราก็ได้นำเข้ามาหารือในกมธ.ยกร่างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เป็นข้อยุติใดๆ ทั้งสิ้นเพียงแต่เราหยิบมาดูว่า ส.ส.ร. มีความเห็นแตกต่างอะไรไปจากกมธ.ยกร่างบ้าง ซึ่งก็มี หลายญัตติที่เราเห็นร่วมกับ ส.ส.ร. ส่วนที่ยังเป็นเรื่องที่ต้องหารือกันต่อ ตนถือว่าเป็นเรื่องดีที่เรามาประชุมนอกรอบก่อน ซึ่งสมาชิก ส.สร. และกมธ.ยกร่าง มีเป้าหมายคือ ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และต่อประชาชนเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่มีการกำหนดว่าจะมีขึ้นปลายปีนี้
"ส่วนใครจะขอเลื่อนให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นนั้น ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะฝ่ายยกร่างต้องทำตามหน้าที่ทำตามขั้นตอน เพื่อให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ที่มีความต้องการให้เสร็จอย่างรวดเร็วเหมือนกัน ซึ่งก็เท่ากับว่า ส.ส.ร.และกมธ.ยกร่างฯ ลงเรือลำเดียวกันคือ เรือที่ต้องการนำรัฐธรรมนูญไปประกาศใช้ให้ดีขึ้น"
นาย สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการกมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงว่า หลังจากที่กมธ.ยกร่างฯได้พิจารณาคำขอแปรญัตติของ ส.ส.ร.แล้วแยกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1. ญัตติที่กมธ.ยกร่างฯเห็นด้วยกับ ส.ส.ร. 2. ญัตติที่ไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่ 3. คือประเด็นที่แขวนไว้รอพิจารณา เช่น เรื่องการศึกษา และการสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเด็นที่กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วยกับ ส.สร.มี 20 ประเด็น 20 มาตรา อาทิ 1. เรื่องการขอเพิ่มความพิการเข้าไปเรื่องความเสมอภาค ซึ่งในเรื่องนี้นาย สวิง ตันอุด ส.ส.ร.ขอเพิ่มเติมคำว่า “เพศภาพ” เข้าไปซึ่งเรื่องนี้ต้องแขวนไว้ก่อนเพื่อรอการพิจารณา 2. มาตรา 35 วรรค 2 นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ ส.ส.ร.ได้ขอแปรญัตติเพิ่มเติมว่า “การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้ววิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศชื่อเสียงหรือความเป้นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยนายเกียรติชัย ได้ขอแปรญัตติให้นำวรรคนี้ไปรวมอยู่ในมาตราอื่น ซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วย
3.มาตรา 46 เรื่องการคุ้มครองพนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนอื่น โดยนายสวิง ได้ขอแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มคำว่า เจ้าของกิจการสื่อต้องสนับสนุนให้พนักงานจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม 4. มาตรา 63 เรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของประชาชนซึ่ง นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง และนายกฤษฎา ขอแปรญัตติให้เพิ่มภาคเกษตรก็สามารถมีสิทธิในการจัดตั้งสภาเกษตรกรได้ซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วยในประเด็นนี้
5. มาตรา 66 เรื่องชุมชุนท้องถิ่นมีสมาชิกจำนวนมากได้ขอแปรญัตติในหลายประเด็นอาทิให้ชุมชุมชนมีสิทธิตรวจสอบและฟ้องข้าราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้จะต้องได้รับความคุ้มครอง 6. มาตรา 68 ซึ่งมีสมาชิก ส.ส.ร.จำนวนมากขอตัดวรรค 2 เรื่ององค์กรแก้วิกฤตทิ้งซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยในประเด็นนี้ และอาจจะมีกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยที่ยังเห็นต่าง ก็สามารถขอแปรญัตติร่วมกับ ส.ส.ร.ได้
7. มาตรา 243 เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยนายก ล้านรงค์ จันทิก เสนอให้เพิ่มข้อความการกำกับดูแลคุณธรรม และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และให้ย้าย มาตรา 244 วรรคหนึ่ง ที่ให้ป.ป.ช. เป็นอิสระโดยมีเลขาธิการป.ป.ช. เป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงกับประธานป.ป.ช. 8. มาตรา256 เรื่องบทบัญญัติเกี่ยวกับส.ว.ซึ่งนาย กิตติ ตีรเศรษฐ ได้ขอแปรญัตติในวรรค 2 ว่าผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนและตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเอง หรือรับราชการเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มมติอดถอนซึ่งกรรมาธิการก็เห็นด้วย
9. มาตรา 267 นายกล้านรงค์ จันทิก ได้ขอแปรญัตติโดยขอให้ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่เรียกผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. หรือข้าราชการการเมืองอื่น ที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายอื่น ให้ป.ป.ช. มีอำนาจในการไตร่สวนได้เอง อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากหลักฐานไม่เพียงพอป.ป.ช. มีสิทธิที่จะไม่ดำเนินการไตร่สวนได้
อย่างไรก็ตาม ในการเสนอขอแปรญัตติของ ส.ส.ร. ครั้งนี้ มีหลายส่วนที่กมธ.ไม่เห็นด้วย ซึ่งหากประเด็นใดที่ตกหล่นไป ส.ส.ร.สามารถขอแปรญัตติอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ค. 50 ที่จะเป็นวันสุดท้ายในการเสนอขอแปรญัตติอย่างเป็นทางการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปรากฎว่าบทสรุปของนายสมคิด ถูกโจมตีจาก ส.ส.ร.ว่าเป็นการรวบรัดตัดตอนปิดกั้นส.ส.ร. เพราะส.ส.ร.ส่วนใหญ่ต้องการฟังความเห็นของ 12 องค์กรที่จะเข้ามาในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อมาประกอบในการแปรญัตติ
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า อยากให้ส.ส.ร.ให้ความสำคัญกับความเห็นของทั้ง 12 องค์กร เพราะหากในวันที่ 25 พ.ค. เขาส่งมา 95 ประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญ ส.ส.ร.เห็นด้วย แต่ กมธ.ไม่เห็นด้วย ก็เท่ากับว่า ส.ส.ร.ไม่สามารถแปรญัตติให้เขาได้เลย
"จึงอยากให้พิจารณาเลื่อนวันสิ้นสุดการแปรญัตติของส.ส.ร.ออกไปให้ 12 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญส่งร่างมาให้ครบและให้ ส.ส.ร.ได้ศึกษาก่อนสักวันสองวันได้หรือไม่แล้วแล้วค่อยยุติการแปรญัตติอย่างเป็นทางการโดยผมขอเสนอให้มีเลื่อนจากวันที่ 25 พ.ค.ให้เป็นวันที่ 28 พ.ค." นายกล้านรงค์ กล่าว
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า ถ้ากมธ. กำหนดไว้เช่นนี้เท่ากับ ส.ส.ร. เองโดนบีบทำให้ต้องแปรญัตติแบบเหวี่ยงแหเพื่อรักษาสิทธิ์
ขณะที่นายการุณ ใสงาม ส.ส.ร. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการประชุมนอกรอบระหว่าง กมธ.ยกร่างฯ กับส.ส.ร.เพราะไหนๆส.ส.ร.ก็มาจากเผด็จการแล้ว เราก็ควรที่จะจัดประชุมอย่างภาคภูมิไปเลยประชาชนจะได้เห็นว่าทิศทางของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร เพื่อบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้นำไปศึกษา
ในที่สุด นายสมคิด ได้ยอมให้เลื่อนวันในการรับคำแปรญัตติของส.ส.ร.ออกไปเป็นวันที่ 28 พ.ค. จากนั้นในวันที่ 29,30 และ 1 มิ.ย. ทาง กมธ.ยกร่างฯจะทำการประชุมกันเองเพื่อนำข้อเสนอของ ส.ส.ร.ที่ขอแปรญัตติมาปรับแก้ และในวันที่ 4-7 มิ.ย. กมธ.จะเชิญส.ส.ร.แต่ละกลุ่มที่ขอแปรญัตติมาหารือกับกมธ.ยกร่างฯอีกครั้งเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าจะแก้ไขหรือไม่ วันที่ 8-9 มิ.ย. จะแก้ไขเอกสารแจกให้ส.ส.ร.วันที่ 10 มิ.ย. และวันที่ 11 มิ.ย.จะเป็นการประชุมใหญ่
นายสมคิด กล่าวว่า สำหรับ ส.ส.ร.นั้นสามารถเสนอแปรญัตติโดยต้องมีผู้รับรอง 10 คน ซึ่งคนที่เสนอก็สามารถมารับรองได้ และผู้ที่รับรองญัตติใดไปแล้วไม่สามารถรับรองญัตติอื่นอีกได้ เท่ากับว่า ส.ส.ร.ต้องจับกลุ่มกันไม่ต่ำกว่า 10 คน เมื่อตัดกมธ.ยกร่างฯ ออกไป 25 คน ที่ส่วนใหญ่จะไม่รับรองการแปรญัตติ จะทำให้มีส.ส.ร.แปรญัตติได้ประมาณ 6-7 กลุ่มประเด็น
"ผมขอให้ส.ส.ร.ที่จับกลุ่มกันขอแปรญัตติประมาณ 6-7 กลุ่ม ได้ประชุมร่วมกับกมธ.ยกร่างฯในวันที่ 4-7 มิ.ย.โดยวันที่ 4 จะเป็นกลุ่มที่แปรญัตติในกรอบ 1 มาตรา 1 – 86 วันที่ 5 มิ.ย.กรอบ 2 สถาบันการเมือง มาตรา 87-192 วันที่ 6 มิ.ย.กรอบ 3 ตั้งแต่มาตรา 193 – 299 และวันที่ 7 มิ.ย.เป็นการเก็บตกประเด็นอื่นๆ" นายสมคิด กล่าว
น.ต.ประสงค์ กล่าวก่อนปิดการประชุมว่า อยากให้ส.ส.ร.มองเห็นว่ากมธ.ยกร่างฯ ก็เป็นคณะทำงานของพวกท่านไม่ใช่ใครอื่น หนักนิดเบาหน่อยคงไม่มีปัญหา ยืนยันว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เราไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดทั้งสิ้น และเชื่อว่าส.ส.ร.ก็ไม่ผลประโยชน์เช่นกัน ทุกอย่างเราทำเพื่อบ้านเมือง ประชาชน และการปฎิรูปการเมือง โดยจะทำให้ดีกว่ารัฐธรรมนูญเก่าๆ และหวังว่าเราจะได้ทำงานร่วมกันจนกว่าจะใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกต้ง แต่ถ้ามีอุบัติเหตุก็ว่ากันอีกหน
**เลือกตั้งขึ้นอยู่กับรธน.ไม่ใช่ปากนายกฯ
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันความพร้อมของ กกต. ในการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการสำรวจจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง และเตรียมแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบัญญัติไว้ รอเพียง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนในวิธีการเลือกตั้ง ส.ส.
"หากจะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ก็สามารถทำได้ แต่การเลื่อนเวลาเข้ามา จะต้องมีระยะเวลาให้ประมาณ 3 เดือน สำหรับการจัดทำบัญชีรายชื่อประชากรใหม่ และการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง" นางสดศรี กล่าว และว่า ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งเร็วขึ้น หรือช้าออกไป ก็ไม่มีความแตกต่าง เพียงแต่ถ้าต้องการให้เลือกตั้งเร็วขึ้น คงต้องใช้ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก โดยไม่ต้องทำประชามติ ก็จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 3 เดือน แต่จะต้องมีความชัดเจนว่า จะเลือกตั้งอย่างไร และมีข้อยุติในร่างรัฐธรรมนูญก่อน หากยังไม่มีข้อยุติใดๆ คงจะจัดการเลือกตั้งตามใจนายกฯ ไม่ได้
**ชี้ร่นวันเลือกตั้งต้องลัดขั้นตอน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ กกต. ขานรับข้อเสนอเลือกตั้งเร็วขึ้นของนายกรัฐมนตรีว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยหากจะให้เลือกตั้งเร็ว จะต้องลัดขั้นตอนต่าง ๆ หรือ นอกเสียจากว่ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านตั้งแต่แรก แล้ว คมช. กับรัฐบาล ประกาศรัฐธรรมนูญได้เร็ว ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้ ตนคิดว่าหลายคนมองตรงกันว่า ถ้าบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาวะปกติก็ผ่อนคลายอะไรได้หลาย ๆ อย่าง และสำหรับตนก็ย้ำว่า ถ้ากติกาการเลือกตั้ง กติกาเป็นประชาธิปไตย หากเลือกตั้งได้เร็วก็ดี และกกต.กับรัฐบาล มีหน้าที่เร่งสร้างความพร้อม
"ความจริงบางเรื่องไม่เห็นต้องรอว่าจะเลือกตั้งเราก็ยังเรียกร้องให้ทำตลอด เช่น การรณรงค์เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม การเตรียมความพร้อม การให้ความรู้กับประชาชนนั้น ทำได้เลย โดยเฉพาะ กกต. การจัดทำประชามติก็เหมือนกับการซ้อมใหญ่เลือกตั้งอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องบอก ส.ส.ร.-สนช. ให้เร่ง ถึงจะเลือกตั้งให้เร็วได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลกับ กกต. ต้องทำหน้าที่ให้หนักกว่านี้ในเรื่องการสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ลงมือทำวันนี้ 3 เดือน 6 เดือนยังไงก็ทัน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า หากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ แม้จะมีการเลือกตั้ง บ้านเมืองก็ไม่สามารถฝ่าวิกฤติไปได้นั้น ตนไม่ได้มองเช่นนั้น และคิดว่าหากกติกาเป็นประชาธิปไตย บทบาทที่จะฝ่าฝันวิกฤติไปได้มีสูง เพราะตนเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยโดยตัวของมันเองจะช่วยทำให้หลายเรื่องคลี่คลายไปได้ แม้จะไม่ง่าย แต่คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศที่จะทำได้