“พล.อ.สนธิ” เรียกร้องทุกฝ่ายแสดงความเห็นร่าง รธน. พร้อมร่วมลงประชามติ ชี้ ร่าง รธน.ฉบับใหม่เป็นการแก้ไขปัญหาในอดีตและมองไปข้างหน้า เหมือนการล้อมคอกให้แน่นหนาขึ้น ย้ำ คมช.ไม่ขัดบัญญัติศาสนาพุทธใน รธน.แต่จะบัญญัติอย่างไรให้ไปคิดกัน พร้อมยืนยันไม่มีพิมพ์เขียว หากประชามติไม่ผ่าน ด้าน “บวรศักดิ์” ชำแหละ ร่างรธน. มุ่งเป้าทำให้พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง รัฐบาลอ่อนแอ ขณะที่ระบบตรวจสอบเข้ม เพิ่มอำนาจตุลาการภิวัฒน์ และอำนาจประชาชนที่สุดจะได้รัฐบาลก็จะอยู่เฉยๆ หากขยันจะถูกตรวจสอบ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวปาฐกถานำในเวทีเสวนา เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับอนาคตของชาติ” ระหว่างงานวันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถานว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยครั้งในประเทศไทยเกิดจากปัญหาใหญ่ๆ สองประการ คือ ปัญหาจากตัวรัฐธรรมนูญเองที่ล้าสมัย ไม่สมบูรณ์ และ ปัญหาจากตัวบุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ใช้รัฐธรรมนูญ ผิดไปจากทำนองคลองธรรมที่ควรจะเป็น ใช้รัฐธรรมนูญผิดไปจากเจตนารมณ์ จนก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง และการปกครอง
“ผมยอมรับว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่ง เมื่อมีการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็มีข้อพิจารณาเหมือนกันว่าควรจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรืองดใช้บางมาตรา และก็มาปรับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ หรือควรจะใช้ต่อไปตามเดิม”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่าด้วยเหตุที่คณะปฏิรูปฯของเราไม่ได้มีการเตรียมการ วางแผนล่วงหน้า ทำให้เราไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญเตรียมการไว้ก่อนเหมือนเมื่อปี 2490 เราก็ได้พยามอย่างยิ่งที่จะประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ถ้าเรางดใช้บางมาตรา การยึดอำนาจต้องสาละวนอยู่กับการพิจารณาว่าจะงดใช้มาตราใดและเพิ่มเติมมาตราใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นเทคนิคชั้นสูงที่ต้องการเวลา ซึ่งทำไม่ได้ง่ายในภาวะเช่นนั้น ขนาดจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใด และ คงใช้ฉบับใดบ้าง ก็ยังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงยกเลิกทั้งฉบับและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้พลางไปก่อนแล้วเปิดโอกาสให้มีการจัดทำฉบับถาวร
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญเราจะต้องมีร่างรัฐธรรมนูญที่ดี และเหมาะสมกับประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นส่วนบ่งชี้อนาคตประเทศชาติ แต่ก็ต้องเป็นสิ่งที่แก้ไขปัญหาที่เกิดในอดีต ซึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องแก้ไข สิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองและประชาชนยอมรับในสาเหตุนั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องป้องกันและแก้ไขอย่างยิ่ง
“สาเหตุของการยึดอำนาจครั้งล่าสุดมีการกล่าวอ้างอิงถึงการทุจริต ฉ้อฉล ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตลอดจนการทุจริตฉ้อราษฎร์ สิ่งเหล่านี้ ควรนำไปพิจารณาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจจะเรียกว่าเป็นการล้อมคอกหลังจากวัวหายไปแล้วก็ว่าได้ แต่อย่าลืมว่าอย่างน้อยก็ยังมีวัวอยู่ในคอกเพื่อล้อมคอกต่อไปให้ได้แน่น”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญ เป็นเข็มทิศ และแผนที่ที่ชี้ทางประเทศ เราจะมัวมะงุมมะงาหราในการล้อมคอก หรือแก้ไขอดีตคงไม่พอ แต่ต้องมองไป ข้างหน้าว่าโลกข้างหน้าเป็นอย่างไร ปัญหาที่จะคุกคามความสงบเรียบร้อย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนชีวิต ความเป็นอยู่จะมีหน้าตาอย่างไร และจะใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญร่างแรกเสร็จแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนฟังความเห็นจากองค์กรต่างๆ ซึ่ง คมช. ก็เป็น 1 ใน 12 องค์กรในการแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราเคยทำมาบ้างแล้วและได้ข้อสรุปมา 40 ประเด็น และหลายประเด็นมีการปรับแก้ในร่างรัฐธรรมนูญที่นำออกมาเผยแพร่ แต่บางประเด็นไม่ได้รับขานรับ ซึ่ง คมช.เข้าใจดีว่าความเห็นของ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เป็นหน้าที่ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ประสานความคิดเห็นกันเอง และ ต้องรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายจากภายนอก จนกลายเป็นความกดดัน ขอให้ทุกฝ่ายอดทน อดกลั้น คลายทิฐิ ทำใจให้กว้าง บางทีถ้าทุกคนคิดว่าเรากำลังร่างรัฐธรรมนูญอาจทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนภาพลวงตา มีม่านบังตา มีความยึดมั่น ถือมั่น ถ้าเราช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เรากำลังกำหนดประเทศชาติเพื่อตัวเรา ลูกหลานของเรา ประเทศเรา อาจทำใจได้ง่ายขึ้นเพราะอนาคตของชาติเป็นความหมาย ที่ยิ่งใหญ่กว่าถ้อยคำสำนวน ในตัวบทในมาตราต่างๆ
“อนาคตของชาติเรา พวกเราต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ดั่งที่เราเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ดังนั้น จึงควรบัญญัติไปในทางถวายพระเกียรติ ดำรงรักษาไว้ซึ้งพระบรมเดชานุภาพด้วย”
ไม่ขัดบัญญัติ“พุทธ”ในรัฐธรรมนูญ
ประธาน คมช. กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันศาสนา รัฐธรรมนูญ ต้องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาต้องไม่เลือกปฏิบัติแต่บุคคลใด การที่จะนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใด ต้องคุ้มครองทุกศาสนา และส่งเสริมการนำศาสนธรรมในแต่ละศาสนาในการพัฒนาจิตใจและสังคม นอกจากนั้น ดูความเหมาะสมและความจำเป็นการรับรองศาสนาประจำชาติ
“ส่วนตัวผมและคมช.ไม่รู้สึกขัดข้องใดๆ ที่จะบัญญัติเรื่องนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะโดยประวัติศาสตร์ และความเชื่อของประชาชนพุทธศาสนาเป็นศาสนาคู่กับชาติไทยมาตลอด การอยู่กับชาติ และศาสนาของประชาชนหมู่มาก จนเป็นบ่อเกิด แห่งศิลปะ วัฒนธรรม คุณธรรม ประจำชาติ พุทธศาสนา ก็ย่อมเป็นศาสนาประจำชาติไทยแน่นอน คนที่ปฏิเสธความจริงข้อนี้ คือคนที่ปฏิเสธประวัติศาสตร์และเมื่อความข้อนี้เป็นความจริงอยู่แล้วการที่จำเป็นต้องบัญญัติซ้ำอีกหรือไม่ และ จะนำไปสู่ชนวนนำไปสู่ความคิดประการอื่นอีกหรือไม่ ขอให้คนที่มีความรู้ความเข้าใจ พิจารณา”
“คมช.ไม่ได้ห่วงว่าถ้าบัญญัติไว้แล้วจะเกิดปัญหาความมั่นคงหรือไม่ เพราะศาสนาไม่ได้เป็นชนวนความแตกแยก หรือ ชนวนของปัญหา ไฟใต้ จะดับหรือไม่ดับ ไม่เกี่ยวกับข้อนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุกฝ่ายหันเข้าหากันและเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญนาๆ ประเทศ รวมถึงกับรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ประกอบกับความเห็นจากทุกฝ่าย ผลกระทบทางบวกและทางเรา ยังมีเวลาใคร่ครวญกันโดยสันติวิธี แต่อย่างน้อย ก็อย่าได้พูดกันแค่ควรบัญญัติหรือไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ก็กลายเป็นความแตกแยก ร้าวฉาน บาดหมางกันใหญ่โตมากขึ้น บางทีอาจเป็นเรื่องที่ควรบัญญัติรับรองแต่จะบัญญัติอย่างไรก็ขอให้คิดกันเองในหมู่ผู้รู้”
เรียกร้องแสดงความเห็นและลงประชามติ
พล.อ.สนธิ กล่าวอีกว่า คมช.ไม่เคยคิดว่าเราเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ และอันที่จริงเราก็ไม่มีทางเข้าไปเป็นเจ้าของได้ ถ้าเราคิดว่าเราเป็นเจ้าของเราคงไม่บัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาเช่นนั้น ท่านจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ยังคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นอันมาก สิ่งใดที่ไม่ได้บัญญัติเพราะยืดยาวเกินไป เราก็ให้นำสิทธิเสรีภาพจากประเพณีการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ สิ่งใดที่เคยเป็นอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดของคณะผู้มีอำนาจเราก็ไม่บัญญัติลงไป
“การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เราต้องกำหนดกรอบเวลา ตัวบุคคล ขั้นตอนต่างๆไว้ ขณะนี้ต้องให้ทุกฝ่ายเดินหน้าช่วยลงประชามติ แสดงความคิดเห็น ในข้อเสนอแนะ แต่อย่าลืมให้กำลังใจด้วย และเมื่อเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ที่รับได้ส่วนใหญ่ก็ควรเห็นชอบในการลงประชามติ เราจะได้มีรัฐธรรมนูญใช้ มีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลโดยเร็ว เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว คนที่เข้ามาใหม่ย่อมสามารถขอแก้ไขได้ตั้งแต่โอกาสแรก จะร่างใหม่ทั้งหมดก็ทำได้ มาตราที่ใส่ใจคือมีอะไรที่เป็นอุปสรรค ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ การจัดทำ แก้ไขหรือไม่ ตนดูแล้วเห็นว่า เราได้เปิดทางไว้ดีพอสมควร ถ้า ครม.ชุดใหม่ และ สมาชิกรัฐสภาไม่ขอแก้ ประชาชนก็มีโอกาสเข้าชื่อให้แก้ไขได้”
ยันคมช.ไม่มีพิมพ์เขียวร่าง รธน.
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ขอยืนยันอีกครั้งว่า คมช.ไม่เคยครอบงำในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่เคยร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมไว้ ไม่มีพิมพ์เขียว ไม่มีแม้แต่แบบแปลน หรือ แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติก็ไม่รู้ว่าจะทำร่วมทำกับ ครม.อย่างไรให้เสร็จใน 30 วัน และจะมีหน้าตาอย่างไร คนจะพอใจหรือไม่ จะทำได้ดีกว่าที่ผ่านประชามติหรือไม่
“มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดต้องเขียนบทนิรโทษกรรม คมช.ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ในเรื่องนี้ถ้าใครไปตรวจดู จะเห็นว่ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว บางทีเป็นเพราะมีคนพูดเสียแต่แรกๆ ว่าน่าจะมีการเขียนบทนิรโทษกรรมไว้ จึงเป็นความฝังใจว่า สงสัยจะเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญด้วย คณะกรรมาธิการยกฯ ได้บัญญัติมาตรา 299 ให้คุ้มครองการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วเป็นการคุ้มครองการกระทำทั่วๆ ไป เป็นการคุ้มครองหลายสถาบัน หลายองค์กรที่ทำงานกันมาด้วยความเหนื่อยยาก ลำบาก และเสี่ยง การนิรโทษกรรม เข้ายึดอำนาจ ได้กำหนดไว้แล้วในมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 แล้ว และเมื่อถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นอันพ้นจากความผิดตามกฎหมาย จะกลับมามีความผิดได้อย่างไร แม้ต่อมารัฐธรรมนูญ ฉบับนั้นจะสิ้นสุดลงก็ตาม”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในมือเราทุกคน ขอให้ช่วยอ่าน และ แสดงความเห็นว่าชอบอย่างไร ผ่านไปทาง 12 องค์กร จากนั้น เราก็สะท้อนไปที่คณะกรรมาธิการฯ เพื่อปรับปรุงอีกครั้งก่อนลงประชามติคิดว่าไม่เกินต้นเดือน ก.ย. ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดเราก็คงมีรัฐธรรมนูญใช้ภายในเดือน ก.ย. อย่างช้าก็เดือนต.ค. การจัดทำกฎหมายเลือกตั้งที่จะทยอยออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน การเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่ก็จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ หรือ อย่าช้าก็ต้นปีหน้า ทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ อนาคตของชาติจึงอยู่ในมือประชาชน
**“บวรศักดิ์”ชี้ส.ส.ควรมี 500 เลือกตั้งแบบเดิม
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการแย่งชิงตำแหน่งของนักเลือกตั้ง แลอำนาจที่แท้จริงไม่ตกถึงพลเมือง ไม่โปร่งใส การเมืองไม่มีเสถียรภาพ จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลเข้มแข็ง และมีองค์กรอิสระมาตรวจสอบอำนาจ เป็นต้น และเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ จนมีปัญหาสะสมก็เกิดปัญหาภายนอก ได้แก่ การประท้วงรัฐบาลต่อเนื่องและรุนแรง แต่ปัญหาลึกๆ นั้น คือ ปัญหาโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมการเมืองไทย ที่ทำให้คนในปัจจุบันนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดข่าวลือต่าง ๆ ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริง เพราะที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ถือว่า ทรงเป็นกลางทางเมืองอย่างที่สุดเสมอมา
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยภาพรวมโครงสร้างของรัฐธรรมนูญร่างแรก ปี 2550 ถือว่าดีกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะจำนวน ส.ส.ควรคงไว้ที่จำนวน 500 คน เพื่อให้รัฐบาลมีความเข้มแข็ง ส่วนการเลือกตั้งระบบเขตควรเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิม โดยจะมีส.ส.บัญชีรายชื่อหรือปาตี้ลิสส์แบบของกรรมาธิการยกร่างฯ และไม่ลดจำนวนส.ส. เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และลดการใช้เงินของพรรคการเมือง โดยไม่ควรไปเปลี่ยน เป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ เพราะจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ไม่กล้าทำงาน เนื่องจากในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้เพิ่มอำนาจการตรวจสอบของประชาชน และองค์กรอิสระ
**ส.ว.ควรเป็นสภาฯ พหุนิยม
ขณะที่ ส.ว.นั้นควรมีที่มาแบบผสม ไม่ให้มีการเลือกตั้ง จะมีหน้าที่ต่างจาก สภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นสภาฯพหุนิยม ที่มีทุกอาชีพ เป็นสภาฯที่บรรจุคนทุกกลุ่มในโครงสร้าง แต่หากใช้การเลือกตั้งก็จะได้คนที่เหมือนกับ ส.ส.ชนบท ดังนั้นตนเห็นว่า ส.ว.จะต้องเป็นกระจกสะท้อนกลุ่มในสังคมที่ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท แต่ต้องสะท้อนสิ่งที่เรียกว่า ชนชั้นกลาง ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆในสังคม โดยจะใช้ระบบผสม
“ถ้าผมเป็นผู้ร่าง จะให้มีกรรมการสรรหาฯ ให้อดีตนายกฯทุกคน อดีตประธานสภาฯ ทุกคน ที่พ้นจากการเมืองมาแล้ว 5 ปี และอดีตประธานองค์กรต่าง ๆ และให้แบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการทหารพลเรือน กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มสภาวิชาชีพ และกลุ่มองค์กรท้องถิ่นเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ที่ใครจะมาสมัครก็ได้หรือกรรมการสรรหาฯเสนอใครก็ได้ แล้วลงคะแนนเลือกโดยเปิดเผย ในกรรมการสรรหาฯ ให้เหลือ 400 คน และส่งบัญชีเดียวไปให้ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้ง เหลือ 200 คน ให้อยู่ 6 ปี ใครเป็นข้าราชการก็ให้ลาออก ภายใน 15 หลังได้รับเลือก
ให้สิทธิประชาขน 1 แสนถอดถอดนายกฯ
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเกิดขึ้น คือ ถอดถอนโดยประชาชน 1 แสนคน และเมื่อยื่นถอดถอนแล้วให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชามติทั้งประเทศครั้งเดียวใน 1 วาระ ของสภาผู้แทนราษฎร และเขียนในรัฐธรรมนูญกันไว้ว่า การที่ประชาชนนลงประชามติว่าให้ถอดถอน หรือไม่ถอดถอนนั้นไม่ใช้การให้ความเห็นชอบที่เป็นสิทธิในตัวนายกรัฐมนตรี
ในส่วนขององค์กรอิสระ ก็จะต้องเพิ่มอีกมาก เช่น ระบบอัยการอิสระ หรือผู้ไตร่สวนอิสระ ต้องเกิดขึ้น และคนที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ 9 ปีแล้ว ก็ควรจะพ้นทางตำแหน่ง จะไปอยู่ในองค์กรอิสระอื่นไม่ได้ หรือไปเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นไม่ได้ และสุดท้ายค่าตอบแทนและบำนาญองค์กรอิสระ ต้องถึงขนาด
“พิมพ์เขียวของผม คือ 1.รัฐบาลต้องมั่นคง มีระบบเลือกตั้งที่เข้มแข็ง เลือกตั้ง ส.ส.เขตเดียวคนเดียว 2.ระบบองค์กรอิสระในการตรวจสอบต้องเข้มแข็งและอิสระมากขึ้น 3.ขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนให้เหมาสม”
ชี้กมธ.หวังให้รัฐบาลอ่อนแอ
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ยังคงระบบการเลือกตั้งไว้เช่นนี้ เขตละ 3 คน และปาตี้ลิตส์เช่นนี้ ตนรู้ว่า กมธ.ยกร่างญก็รู้และจงใจ นายจรัญ ภัคดีธนากุล รองประธานยกร่างฯ ก็รู้และเป็นความจงใจ ที่จะให้พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง รัฐบาลก็จะไม่เข้มแข็ง เป็นการออกแบบเพื่อให้รัฐบาลอ่อนแอ ตนพยากรณ์ได้เลยว่า หากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เราจะมีรัฐบาลแบบก่อน 2540 คือ 8 ปีพ้น 1 ปีพ้น
“ยังเกรงว่า ถ้าเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ระบบการตรวจสอบจะเข้มแข็ง อย่างมหาศาล ระบบตุลาการภิวัตร จะเพิ่มสูงอย่างมหาศาล อำนาจประชาชนจะเพิ่มขึ้น เราก็จะได้รัฐบาลแบบอยู่เฉยๆ ดีกว่า ทำแค่ระเบียบและกฎหมาย เพราะหากจะขยับไปทางไหนก็จะถูกตรวจสอบ ที่เขียนว่า ให้คนฟ้องร้องรัฐได้ ตนกรงว่ารัฐอาจจะต้องไปแก้ฟ้องอย่างเดียวก็หมดเวลาแล้ว ไม่ต้องเอาเวลาไปทำอะไร โดยเฉพาะนโยบายพื้นฐานก็ยังร่างละเอียดจนรัฐบาลที่เข้ามาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถนำรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายได้โดยไม่ต้องไปร่างนโยบายใหม่
นายลิขิต ธีรเวคิน หัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างมากที่มีการบรรจุเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมเอาไว้ นอกจากนั้นจะต้องออกกฎหมายลูก โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่กำหนดคณะในการแก้ปัญหาทางตันทางการเมือง ก็จะเกิดคำถามว่า จะต้องกำหนดคำจำกัดความของคำว่าวิกฤติฉุกเฉิน จำกัดความผู้ที่มีหน้าที่เรียกประชุม นายกฯต้องไปร่วมประชุม จะต้องกำหนดด้วยว่า นายกฯที่ถูกถอดจะสามารถกลับมาเลือกตั้งได้ใหม่หรือไม่ ส่วนมาตรา 299 ในเรื่องของการนิรโทษกรรม ตนเห็นด้วย แต่หากกำหนดไว้ก็จะเป็นการสุ่มเสี่ยง เช่น หากจะคุ้มครอง คตส. ผู้ที่ควรออกกฎหมายคุ้มครองก็ควรจะเป็นสภานิติบัญญัติมากกว่า
“นรนิติ”ระบุหากไม่พอใจส.ส.แก้ไขได้
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ทั้งหมดนี้ถือว่ามีส่วนดี และควรจะสนับสนุน แต่ตนขอชี้แนะว่า ในอนาคตหากนักการเมืองที่เข้ามาจากการเลือกตั้งต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้ เพราะอำนาจจะอยู่ที่นักการเมือง จะแก้ไขทั้งฉบับหรือบางมาตราก็ได้ ยกเว้นมาตราที่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครอง เชื่อว่าไม่เกินเดือนมิถุนายน 2550 นักเมืองก็จะสามารถเข้ามาแก้ไขได้ทันที อย่างไรก็ตามก็จะต้องให้กำลังใจกับผู้ร่าง เพราะตัวบ้านหากจะมีส่วนที่บิดเบี้ยว ก็ยังเป็นตัวบ้าน อย่าไปมองว่าจะต้องไม่รับเพราะนักเลือกตั้งก็ยังได้รับการเปิดโอกาสให้เข้ามาแก้ไขได้
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการรับฟังความคิดจากประชาชนที่ผ่านมา มีการผลักดันด้านเศรษฐกิจและสังคมลงไปในร่างรัฐธรรมนูญด้วย แต่กรรมาธิการฯ เห็นว่า หากไปบัญญัติเอาไว้ทุกเรื่อง จะเป็นการผิดแปลกไปจากสถาบันโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นบทบัญญัติทางการเมืองและเป็นจุดเริ่มต้นที่ควรจะเป็น ดังนั้นการที่มองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปรียบเหมือนร่างที่จะกลายเป็นนโยบายพื้นฐานหรือนโยบายรัฐบาลนั้นก็คงไม่ใช่ แต่ตนเชื่อว่าจะดูดีกว่าเดิมในการรับร่าง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 พ.ค.นี้
ทั้งนี้ตนยังเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีมาตราที่ประชาชนและนักวิชาการ ให้ความสนใจเป็นหลักใหญ่ ๆเพียง 5 ประเด็น คือ ประเด็นที่มาของ ส.ส. ,ส.ว. ,มาตรา 68 ,มาตรา 299 และประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป้นศาสนาประจำชาติ เท่านั้น ซึ่งคณะกรรมาธิการก็พร้อมที่จะนำไปศึกษา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าท้ายที่สุด พรรคการเมือง ทุกพรรคก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ใบปลิวโจมตี กมธ.ยกร่างโผล่ม็อบพระ
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพระพุทธศาสนา ที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในร่างรัฐธรรมนูญ ที่หน้ารัฐสภาว่า ตลอดเวลามีความพยายามแทรกแซงของกลุ่มมือที่ 3 โดยมีการแจกใบปลิวโจมตีกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.ที่ไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนี้ยังระบุชื่อบุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามที่ขัดความไม่ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เช่น นา ปกรณ์ ปรียากร นายเสรี นิมะยุ นางอังคณา นีละไพจิตร นายสวิง ตันอุด นับถือศาสนาอิสลาม นายชวลิต หมื่นนุช น.ส.อลิสา พันธุศักดิ์ นับถือศาสนาคริสต์
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง กมธ.ยกร่างฯที่ถูกระบุชื่อว่ามีผลกระทบใดๆ จากใบปลิวหรือไม่ ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีใครโทรศัพท์มาก่อกวนแต่อย่างใด
นายจรัญ ภักดีธนากุล กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า เชื่อว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำของคนใน เนื่องจากรู้รายละเอียดอย่างชัดเจน และเชื่อว่าบุคคล ที่นำใบปลิวมาแจกจ่ายต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมโทรมาสอบถามขอคำอธิบายชี้แจงว่าเหตุใดถึงไม่สนับสนุนเรื่องนี้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นกระบวนการล๊อบบี้ที่กลุ่มต่าง ๆ ทำกันอยู่แล้ว
ด้านนายปกรณ์ ปรียากร โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ไม่เคยไปกล่าวที่ไหนว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งคนที่กระทำในเรืองดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะทำได้ ไม่มีปัญหาอะไร และเชื่อว่าคนที่ได้รับใบปลิวฉบับนี้มีวุฒิภาวะที่จะไม่โทรมาก่อกวน
“ถึงแม้ผมจะเป็นคนมุสลิม แต่ผมก็เติบโตมาในสังคมพุทธเรียนโรงเรียนวัด ความจริงก็คือความจริง สิ่งไหนเป็นสัจธรรมก็เป็นสัจธรรม การเรียกร้องให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติเป็นเรื่องสำคัญถ้าทำได้จริงก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ ผมไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว”
นาย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ หนึ่งในส.ส.ร. ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้บรรจุ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติกล่าวว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นกับใบปลิวฉบับนี้แต่เชื่อว่า คนที่ทำใบปลิวจะต้องมีฐานข้อมูลประวัติของ ส.ส.ร.อยู่ซึ่งอาจจะเป็นมือที่สามเพราะขณะนี้มีคนเสี้ยมให้ ส.ส.ร. ทะเลาะกันเอง
พล.อ. ธงชัย เกื้อสกุลกล่าว แกนนำฝ่ายฆราวาสในการชุมนุมกล่าวว่า การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการแทกแซงของกลุ่มที่สาม ไม่ใช่การกระทำขององค์กรชาวพุทธ เพราะสิ่งนี้ทำแล้วไมได้ประโยชน์อะไร ซ้ำร้ายจะส่งผลเสียต่อการชุมนุมอีกต่างหาก เชื่อว่าอาจจะมีการแอบแจกซึ่งพื้นที่ในการชุมนุมกว้างเราจึงไม่สามารถควบคุมอะไรได้ อย่างไรก็ตามตนจะนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุมเพื่อหามาตการป้องกันอย่างเข้มงวดอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์การแจกใบปลิวในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งการแกนนำก็ได้หามาตรการในการควบคุม อย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้นแล้ว โดยมีการตรวจเอกสารอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีการแจกใบปลิวโจมตี กมธ.ยกร่างฯซ้ำอีก โดยใบปลิวฉบับนี้ได้วางอยู่บนโต๊ะแถลงข่าวของกลุ่มผู้ชุมนุม
พล.อ.ธงชัย ยังแถลงข่าวตอบโต้นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและประชามติ ส.ส.ร.ที่ระบุว่าตนเป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่า ในการอยู่เบื้องหลังม็อบคณะสงฆ์ โดยกล่าวว่า แม้นายเจิมศักดิ์ จะไม่ระบุตรง ๆ แต่ทำให้สังคมเข้าใจเช่นนั้น ซึ่งขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และรับไม่ได้กับการกระทำที่ไร้จรรยาบรรณของนายเจิมศักดิ์ ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือกล่าวหาผู้อื่น
“อยากให้ประธานสภาร่างฯ ทบทวนการแต่งตั้งนายเจิมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อฟ้องร้องต่อไป”
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวปาฐกถานำในเวทีเสวนา เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับอนาคตของชาติ” ระหว่างงานวันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถานว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยครั้งในประเทศไทยเกิดจากปัญหาใหญ่ๆ สองประการ คือ ปัญหาจากตัวรัฐธรรมนูญเองที่ล้าสมัย ไม่สมบูรณ์ และ ปัญหาจากตัวบุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ใช้รัฐธรรมนูญ ผิดไปจากทำนองคลองธรรมที่ควรจะเป็น ใช้รัฐธรรมนูญผิดไปจากเจตนารมณ์ จนก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง และการปกครอง
“ผมยอมรับว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่ง เมื่อมีการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็มีข้อพิจารณาเหมือนกันว่าควรจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรืองดใช้บางมาตรา และก็มาปรับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ หรือควรจะใช้ต่อไปตามเดิม”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่าด้วยเหตุที่คณะปฏิรูปฯของเราไม่ได้มีการเตรียมการ วางแผนล่วงหน้า ทำให้เราไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญเตรียมการไว้ก่อนเหมือนเมื่อปี 2490 เราก็ได้พยามอย่างยิ่งที่จะประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ถ้าเรางดใช้บางมาตรา การยึดอำนาจต้องสาละวนอยู่กับการพิจารณาว่าจะงดใช้มาตราใดและเพิ่มเติมมาตราใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นเทคนิคชั้นสูงที่ต้องการเวลา ซึ่งทำไม่ได้ง่ายในภาวะเช่นนั้น ขนาดจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใด และ คงใช้ฉบับใดบ้าง ก็ยังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงยกเลิกทั้งฉบับและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้พลางไปก่อนแล้วเปิดโอกาสให้มีการจัดทำฉบับถาวร
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญเราจะต้องมีร่างรัฐธรรมนูญที่ดี และเหมาะสมกับประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นส่วนบ่งชี้อนาคตประเทศชาติ แต่ก็ต้องเป็นสิ่งที่แก้ไขปัญหาที่เกิดในอดีต ซึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องแก้ไข สิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองและประชาชนยอมรับในสาเหตุนั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องป้องกันและแก้ไขอย่างยิ่ง
“สาเหตุของการยึดอำนาจครั้งล่าสุดมีการกล่าวอ้างอิงถึงการทุจริต ฉ้อฉล ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตลอดจนการทุจริตฉ้อราษฎร์ สิ่งเหล่านี้ ควรนำไปพิจารณาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจจะเรียกว่าเป็นการล้อมคอกหลังจากวัวหายไปแล้วก็ว่าได้ แต่อย่าลืมว่าอย่างน้อยก็ยังมีวัวอยู่ในคอกเพื่อล้อมคอกต่อไปให้ได้แน่น”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญ เป็นเข็มทิศ และแผนที่ที่ชี้ทางประเทศ เราจะมัวมะงุมมะงาหราในการล้อมคอก หรือแก้ไขอดีตคงไม่พอ แต่ต้องมองไป ข้างหน้าว่าโลกข้างหน้าเป็นอย่างไร ปัญหาที่จะคุกคามความสงบเรียบร้อย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนชีวิต ความเป็นอยู่จะมีหน้าตาอย่างไร และจะใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญร่างแรกเสร็จแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนฟังความเห็นจากองค์กรต่างๆ ซึ่ง คมช. ก็เป็น 1 ใน 12 องค์กรในการแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราเคยทำมาบ้างแล้วและได้ข้อสรุปมา 40 ประเด็น และหลายประเด็นมีการปรับแก้ในร่างรัฐธรรมนูญที่นำออกมาเผยแพร่ แต่บางประเด็นไม่ได้รับขานรับ ซึ่ง คมช.เข้าใจดีว่าความเห็นของ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เป็นหน้าที่ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ประสานความคิดเห็นกันเอง และ ต้องรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายจากภายนอก จนกลายเป็นความกดดัน ขอให้ทุกฝ่ายอดทน อดกลั้น คลายทิฐิ ทำใจให้กว้าง บางทีถ้าทุกคนคิดว่าเรากำลังร่างรัฐธรรมนูญอาจทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนภาพลวงตา มีม่านบังตา มีความยึดมั่น ถือมั่น ถ้าเราช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เรากำลังกำหนดประเทศชาติเพื่อตัวเรา ลูกหลานของเรา ประเทศเรา อาจทำใจได้ง่ายขึ้นเพราะอนาคตของชาติเป็นความหมาย ที่ยิ่งใหญ่กว่าถ้อยคำสำนวน ในตัวบทในมาตราต่างๆ
“อนาคตของชาติเรา พวกเราต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ดั่งที่เราเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ดังนั้น จึงควรบัญญัติไปในทางถวายพระเกียรติ ดำรงรักษาไว้ซึ้งพระบรมเดชานุภาพด้วย”
ไม่ขัดบัญญัติ“พุทธ”ในรัฐธรรมนูญ
ประธาน คมช. กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันศาสนา รัฐธรรมนูญ ต้องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาต้องไม่เลือกปฏิบัติแต่บุคคลใด การที่จะนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใด ต้องคุ้มครองทุกศาสนา และส่งเสริมการนำศาสนธรรมในแต่ละศาสนาในการพัฒนาจิตใจและสังคม นอกจากนั้น ดูความเหมาะสมและความจำเป็นการรับรองศาสนาประจำชาติ
“ส่วนตัวผมและคมช.ไม่รู้สึกขัดข้องใดๆ ที่จะบัญญัติเรื่องนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะโดยประวัติศาสตร์ และความเชื่อของประชาชนพุทธศาสนาเป็นศาสนาคู่กับชาติไทยมาตลอด การอยู่กับชาติ และศาสนาของประชาชนหมู่มาก จนเป็นบ่อเกิด แห่งศิลปะ วัฒนธรรม คุณธรรม ประจำชาติ พุทธศาสนา ก็ย่อมเป็นศาสนาประจำชาติไทยแน่นอน คนที่ปฏิเสธความจริงข้อนี้ คือคนที่ปฏิเสธประวัติศาสตร์และเมื่อความข้อนี้เป็นความจริงอยู่แล้วการที่จำเป็นต้องบัญญัติซ้ำอีกหรือไม่ และ จะนำไปสู่ชนวนนำไปสู่ความคิดประการอื่นอีกหรือไม่ ขอให้คนที่มีความรู้ความเข้าใจ พิจารณา”
“คมช.ไม่ได้ห่วงว่าถ้าบัญญัติไว้แล้วจะเกิดปัญหาความมั่นคงหรือไม่ เพราะศาสนาไม่ได้เป็นชนวนความแตกแยก หรือ ชนวนของปัญหา ไฟใต้ จะดับหรือไม่ดับ ไม่เกี่ยวกับข้อนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุกฝ่ายหันเข้าหากันและเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญนาๆ ประเทศ รวมถึงกับรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ประกอบกับความเห็นจากทุกฝ่าย ผลกระทบทางบวกและทางเรา ยังมีเวลาใคร่ครวญกันโดยสันติวิธี แต่อย่างน้อย ก็อย่าได้พูดกันแค่ควรบัญญัติหรือไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ก็กลายเป็นความแตกแยก ร้าวฉาน บาดหมางกันใหญ่โตมากขึ้น บางทีอาจเป็นเรื่องที่ควรบัญญัติรับรองแต่จะบัญญัติอย่างไรก็ขอให้คิดกันเองในหมู่ผู้รู้”
เรียกร้องแสดงความเห็นและลงประชามติ
พล.อ.สนธิ กล่าวอีกว่า คมช.ไม่เคยคิดว่าเราเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ และอันที่จริงเราก็ไม่มีทางเข้าไปเป็นเจ้าของได้ ถ้าเราคิดว่าเราเป็นเจ้าของเราคงไม่บัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาเช่นนั้น ท่านจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ยังคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นอันมาก สิ่งใดที่ไม่ได้บัญญัติเพราะยืดยาวเกินไป เราก็ให้นำสิทธิเสรีภาพจากประเพณีการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ สิ่งใดที่เคยเป็นอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดของคณะผู้มีอำนาจเราก็ไม่บัญญัติลงไป
“การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เราต้องกำหนดกรอบเวลา ตัวบุคคล ขั้นตอนต่างๆไว้ ขณะนี้ต้องให้ทุกฝ่ายเดินหน้าช่วยลงประชามติ แสดงความคิดเห็น ในข้อเสนอแนะ แต่อย่าลืมให้กำลังใจด้วย และเมื่อเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ที่รับได้ส่วนใหญ่ก็ควรเห็นชอบในการลงประชามติ เราจะได้มีรัฐธรรมนูญใช้ มีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลโดยเร็ว เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว คนที่เข้ามาใหม่ย่อมสามารถขอแก้ไขได้ตั้งแต่โอกาสแรก จะร่างใหม่ทั้งหมดก็ทำได้ มาตราที่ใส่ใจคือมีอะไรที่เป็นอุปสรรค ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ การจัดทำ แก้ไขหรือไม่ ตนดูแล้วเห็นว่า เราได้เปิดทางไว้ดีพอสมควร ถ้า ครม.ชุดใหม่ และ สมาชิกรัฐสภาไม่ขอแก้ ประชาชนก็มีโอกาสเข้าชื่อให้แก้ไขได้”
ยันคมช.ไม่มีพิมพ์เขียวร่าง รธน.
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ขอยืนยันอีกครั้งว่า คมช.ไม่เคยครอบงำในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่เคยร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมไว้ ไม่มีพิมพ์เขียว ไม่มีแม้แต่แบบแปลน หรือ แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติก็ไม่รู้ว่าจะทำร่วมทำกับ ครม.อย่างไรให้เสร็จใน 30 วัน และจะมีหน้าตาอย่างไร คนจะพอใจหรือไม่ จะทำได้ดีกว่าที่ผ่านประชามติหรือไม่
“มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดต้องเขียนบทนิรโทษกรรม คมช.ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ในเรื่องนี้ถ้าใครไปตรวจดู จะเห็นว่ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว บางทีเป็นเพราะมีคนพูดเสียแต่แรกๆ ว่าน่าจะมีการเขียนบทนิรโทษกรรมไว้ จึงเป็นความฝังใจว่า สงสัยจะเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญด้วย คณะกรรมาธิการยกฯ ได้บัญญัติมาตรา 299 ให้คุ้มครองการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วเป็นการคุ้มครองการกระทำทั่วๆ ไป เป็นการคุ้มครองหลายสถาบัน หลายองค์กรที่ทำงานกันมาด้วยความเหนื่อยยาก ลำบาก และเสี่ยง การนิรโทษกรรม เข้ายึดอำนาจ ได้กำหนดไว้แล้วในมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 แล้ว และเมื่อถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นอันพ้นจากความผิดตามกฎหมาย จะกลับมามีความผิดได้อย่างไร แม้ต่อมารัฐธรรมนูญ ฉบับนั้นจะสิ้นสุดลงก็ตาม”
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในมือเราทุกคน ขอให้ช่วยอ่าน และ แสดงความเห็นว่าชอบอย่างไร ผ่านไปทาง 12 องค์กร จากนั้น เราก็สะท้อนไปที่คณะกรรมาธิการฯ เพื่อปรับปรุงอีกครั้งก่อนลงประชามติคิดว่าไม่เกินต้นเดือน ก.ย. ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดเราก็คงมีรัฐธรรมนูญใช้ภายในเดือน ก.ย. อย่างช้าก็เดือนต.ค. การจัดทำกฎหมายเลือกตั้งที่จะทยอยออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน การเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่ก็จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ หรือ อย่าช้าก็ต้นปีหน้า ทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ อนาคตของชาติจึงอยู่ในมือประชาชน
**“บวรศักดิ์”ชี้ส.ส.ควรมี 500 เลือกตั้งแบบเดิม
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการแย่งชิงตำแหน่งของนักเลือกตั้ง แลอำนาจที่แท้จริงไม่ตกถึงพลเมือง ไม่โปร่งใส การเมืองไม่มีเสถียรภาพ จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลเข้มแข็ง และมีองค์กรอิสระมาตรวจสอบอำนาจ เป็นต้น และเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ จนมีปัญหาสะสมก็เกิดปัญหาภายนอก ได้แก่ การประท้วงรัฐบาลต่อเนื่องและรุนแรง แต่ปัญหาลึกๆ นั้น คือ ปัญหาโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมการเมืองไทย ที่ทำให้คนในปัจจุบันนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดข่าวลือต่าง ๆ ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริง เพราะที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ถือว่า ทรงเป็นกลางทางเมืองอย่างที่สุดเสมอมา
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยภาพรวมโครงสร้างของรัฐธรรมนูญร่างแรก ปี 2550 ถือว่าดีกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะจำนวน ส.ส.ควรคงไว้ที่จำนวน 500 คน เพื่อให้รัฐบาลมีความเข้มแข็ง ส่วนการเลือกตั้งระบบเขตควรเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิม โดยจะมีส.ส.บัญชีรายชื่อหรือปาตี้ลิสส์แบบของกรรมาธิการยกร่างฯ และไม่ลดจำนวนส.ส. เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และลดการใช้เงินของพรรคการเมือง โดยไม่ควรไปเปลี่ยน เป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ เพราะจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ไม่กล้าทำงาน เนื่องจากในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้เพิ่มอำนาจการตรวจสอบของประชาชน และองค์กรอิสระ
**ส.ว.ควรเป็นสภาฯ พหุนิยม
ขณะที่ ส.ว.นั้นควรมีที่มาแบบผสม ไม่ให้มีการเลือกตั้ง จะมีหน้าที่ต่างจาก สภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นสภาฯพหุนิยม ที่มีทุกอาชีพ เป็นสภาฯที่บรรจุคนทุกกลุ่มในโครงสร้าง แต่หากใช้การเลือกตั้งก็จะได้คนที่เหมือนกับ ส.ส.ชนบท ดังนั้นตนเห็นว่า ส.ว.จะต้องเป็นกระจกสะท้อนกลุ่มในสังคมที่ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท แต่ต้องสะท้อนสิ่งที่เรียกว่า ชนชั้นกลาง ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆในสังคม โดยจะใช้ระบบผสม
“ถ้าผมเป็นผู้ร่าง จะให้มีกรรมการสรรหาฯ ให้อดีตนายกฯทุกคน อดีตประธานสภาฯ ทุกคน ที่พ้นจากการเมืองมาแล้ว 5 ปี และอดีตประธานองค์กรต่าง ๆ และให้แบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการทหารพลเรือน กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มสภาวิชาชีพ และกลุ่มองค์กรท้องถิ่นเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ที่ใครจะมาสมัครก็ได้หรือกรรมการสรรหาฯเสนอใครก็ได้ แล้วลงคะแนนเลือกโดยเปิดเผย ในกรรมการสรรหาฯ ให้เหลือ 400 คน และส่งบัญชีเดียวไปให้ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้ง เหลือ 200 คน ให้อยู่ 6 ปี ใครเป็นข้าราชการก็ให้ลาออก ภายใน 15 หลังได้รับเลือก
ให้สิทธิประชาขน 1 แสนถอดถอดนายกฯ
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเกิดขึ้น คือ ถอดถอนโดยประชาชน 1 แสนคน และเมื่อยื่นถอดถอนแล้วให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชามติทั้งประเทศครั้งเดียวใน 1 วาระ ของสภาผู้แทนราษฎร และเขียนในรัฐธรรมนูญกันไว้ว่า การที่ประชาชนนลงประชามติว่าให้ถอดถอน หรือไม่ถอดถอนนั้นไม่ใช้การให้ความเห็นชอบที่เป็นสิทธิในตัวนายกรัฐมนตรี
ในส่วนขององค์กรอิสระ ก็จะต้องเพิ่มอีกมาก เช่น ระบบอัยการอิสระ หรือผู้ไตร่สวนอิสระ ต้องเกิดขึ้น และคนที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ 9 ปีแล้ว ก็ควรจะพ้นทางตำแหน่ง จะไปอยู่ในองค์กรอิสระอื่นไม่ได้ หรือไปเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นไม่ได้ และสุดท้ายค่าตอบแทนและบำนาญองค์กรอิสระ ต้องถึงขนาด
“พิมพ์เขียวของผม คือ 1.รัฐบาลต้องมั่นคง มีระบบเลือกตั้งที่เข้มแข็ง เลือกตั้ง ส.ส.เขตเดียวคนเดียว 2.ระบบองค์กรอิสระในการตรวจสอบต้องเข้มแข็งและอิสระมากขึ้น 3.ขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนให้เหมาสม”
ชี้กมธ.หวังให้รัฐบาลอ่อนแอ
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ยังคงระบบการเลือกตั้งไว้เช่นนี้ เขตละ 3 คน และปาตี้ลิตส์เช่นนี้ ตนรู้ว่า กมธ.ยกร่างญก็รู้และจงใจ นายจรัญ ภัคดีธนากุล รองประธานยกร่างฯ ก็รู้และเป็นความจงใจ ที่จะให้พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง รัฐบาลก็จะไม่เข้มแข็ง เป็นการออกแบบเพื่อให้รัฐบาลอ่อนแอ ตนพยากรณ์ได้เลยว่า หากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เราจะมีรัฐบาลแบบก่อน 2540 คือ 8 ปีพ้น 1 ปีพ้น
“ยังเกรงว่า ถ้าเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ระบบการตรวจสอบจะเข้มแข็ง อย่างมหาศาล ระบบตุลาการภิวัตร จะเพิ่มสูงอย่างมหาศาล อำนาจประชาชนจะเพิ่มขึ้น เราก็จะได้รัฐบาลแบบอยู่เฉยๆ ดีกว่า ทำแค่ระเบียบและกฎหมาย เพราะหากจะขยับไปทางไหนก็จะถูกตรวจสอบ ที่เขียนว่า ให้คนฟ้องร้องรัฐได้ ตนกรงว่ารัฐอาจจะต้องไปแก้ฟ้องอย่างเดียวก็หมดเวลาแล้ว ไม่ต้องเอาเวลาไปทำอะไร โดยเฉพาะนโยบายพื้นฐานก็ยังร่างละเอียดจนรัฐบาลที่เข้ามาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถนำรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายได้โดยไม่ต้องไปร่างนโยบายใหม่
นายลิขิต ธีรเวคิน หัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างมากที่มีการบรรจุเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมเอาไว้ นอกจากนั้นจะต้องออกกฎหมายลูก โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่กำหนดคณะในการแก้ปัญหาทางตันทางการเมือง ก็จะเกิดคำถามว่า จะต้องกำหนดคำจำกัดความของคำว่าวิกฤติฉุกเฉิน จำกัดความผู้ที่มีหน้าที่เรียกประชุม นายกฯต้องไปร่วมประชุม จะต้องกำหนดด้วยว่า นายกฯที่ถูกถอดจะสามารถกลับมาเลือกตั้งได้ใหม่หรือไม่ ส่วนมาตรา 299 ในเรื่องของการนิรโทษกรรม ตนเห็นด้วย แต่หากกำหนดไว้ก็จะเป็นการสุ่มเสี่ยง เช่น หากจะคุ้มครอง คตส. ผู้ที่ควรออกกฎหมายคุ้มครองก็ควรจะเป็นสภานิติบัญญัติมากกว่า
“นรนิติ”ระบุหากไม่พอใจส.ส.แก้ไขได้
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ทั้งหมดนี้ถือว่ามีส่วนดี และควรจะสนับสนุน แต่ตนขอชี้แนะว่า ในอนาคตหากนักการเมืองที่เข้ามาจากการเลือกตั้งต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้ เพราะอำนาจจะอยู่ที่นักการเมือง จะแก้ไขทั้งฉบับหรือบางมาตราก็ได้ ยกเว้นมาตราที่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครอง เชื่อว่าไม่เกินเดือนมิถุนายน 2550 นักเมืองก็จะสามารถเข้ามาแก้ไขได้ทันที อย่างไรก็ตามก็จะต้องให้กำลังใจกับผู้ร่าง เพราะตัวบ้านหากจะมีส่วนที่บิดเบี้ยว ก็ยังเป็นตัวบ้าน อย่าไปมองว่าจะต้องไม่รับเพราะนักเลือกตั้งก็ยังได้รับการเปิดโอกาสให้เข้ามาแก้ไขได้
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการรับฟังความคิดจากประชาชนที่ผ่านมา มีการผลักดันด้านเศรษฐกิจและสังคมลงไปในร่างรัฐธรรมนูญด้วย แต่กรรมาธิการฯ เห็นว่า หากไปบัญญัติเอาไว้ทุกเรื่อง จะเป็นการผิดแปลกไปจากสถาบันโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นบทบัญญัติทางการเมืองและเป็นจุดเริ่มต้นที่ควรจะเป็น ดังนั้นการที่มองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปรียบเหมือนร่างที่จะกลายเป็นนโยบายพื้นฐานหรือนโยบายรัฐบาลนั้นก็คงไม่ใช่ แต่ตนเชื่อว่าจะดูดีกว่าเดิมในการรับร่าง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 พ.ค.นี้
ทั้งนี้ตนยังเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีมาตราที่ประชาชนและนักวิชาการ ให้ความสนใจเป็นหลักใหญ่ ๆเพียง 5 ประเด็น คือ ประเด็นที่มาของ ส.ส. ,ส.ว. ,มาตรา 68 ,มาตรา 299 และประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป้นศาสนาประจำชาติ เท่านั้น ซึ่งคณะกรรมาธิการก็พร้อมที่จะนำไปศึกษา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าท้ายที่สุด พรรคการเมือง ทุกพรรคก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ใบปลิวโจมตี กมธ.ยกร่างโผล่ม็อบพระ
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพระพุทธศาสนา ที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในร่างรัฐธรรมนูญ ที่หน้ารัฐสภาว่า ตลอดเวลามีความพยายามแทรกแซงของกลุ่มมือที่ 3 โดยมีการแจกใบปลิวโจมตีกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.ที่ไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนี้ยังระบุชื่อบุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามที่ขัดความไม่ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เช่น นา ปกรณ์ ปรียากร นายเสรี นิมะยุ นางอังคณา นีละไพจิตร นายสวิง ตันอุด นับถือศาสนาอิสลาม นายชวลิต หมื่นนุช น.ส.อลิสา พันธุศักดิ์ นับถือศาสนาคริสต์
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง กมธ.ยกร่างฯที่ถูกระบุชื่อว่ามีผลกระทบใดๆ จากใบปลิวหรือไม่ ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีใครโทรศัพท์มาก่อกวนแต่อย่างใด
นายจรัญ ภักดีธนากุล กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า เชื่อว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำของคนใน เนื่องจากรู้รายละเอียดอย่างชัดเจน และเชื่อว่าบุคคล ที่นำใบปลิวมาแจกจ่ายต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมโทรมาสอบถามขอคำอธิบายชี้แจงว่าเหตุใดถึงไม่สนับสนุนเรื่องนี้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นกระบวนการล๊อบบี้ที่กลุ่มต่าง ๆ ทำกันอยู่แล้ว
ด้านนายปกรณ์ ปรียากร โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ไม่เคยไปกล่าวที่ไหนว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งคนที่กระทำในเรืองดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะทำได้ ไม่มีปัญหาอะไร และเชื่อว่าคนที่ได้รับใบปลิวฉบับนี้มีวุฒิภาวะที่จะไม่โทรมาก่อกวน
“ถึงแม้ผมจะเป็นคนมุสลิม แต่ผมก็เติบโตมาในสังคมพุทธเรียนโรงเรียนวัด ความจริงก็คือความจริง สิ่งไหนเป็นสัจธรรมก็เป็นสัจธรรม การเรียกร้องให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติเป็นเรื่องสำคัญถ้าทำได้จริงก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ ผมไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว”
นาย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ หนึ่งในส.ส.ร. ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้บรรจุ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติกล่าวว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นกับใบปลิวฉบับนี้แต่เชื่อว่า คนที่ทำใบปลิวจะต้องมีฐานข้อมูลประวัติของ ส.ส.ร.อยู่ซึ่งอาจจะเป็นมือที่สามเพราะขณะนี้มีคนเสี้ยมให้ ส.ส.ร. ทะเลาะกันเอง
พล.อ. ธงชัย เกื้อสกุลกล่าว แกนนำฝ่ายฆราวาสในการชุมนุมกล่าวว่า การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการแทกแซงของกลุ่มที่สาม ไม่ใช่การกระทำขององค์กรชาวพุทธ เพราะสิ่งนี้ทำแล้วไมได้ประโยชน์อะไร ซ้ำร้ายจะส่งผลเสียต่อการชุมนุมอีกต่างหาก เชื่อว่าอาจจะมีการแอบแจกซึ่งพื้นที่ในการชุมนุมกว้างเราจึงไม่สามารถควบคุมอะไรได้ อย่างไรก็ตามตนจะนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุมเพื่อหามาตการป้องกันอย่างเข้มงวดอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์การแจกใบปลิวในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งการแกนนำก็ได้หามาตรการในการควบคุม อย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้นแล้ว โดยมีการตรวจเอกสารอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีการแจกใบปลิวโจมตี กมธ.ยกร่างฯซ้ำอีก โดยใบปลิวฉบับนี้ได้วางอยู่บนโต๊ะแถลงข่าวของกลุ่มผู้ชุมนุม
พล.อ.ธงชัย ยังแถลงข่าวตอบโต้นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและประชามติ ส.ส.ร.ที่ระบุว่าตนเป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่า ในการอยู่เบื้องหลังม็อบคณะสงฆ์ โดยกล่าวว่า แม้นายเจิมศักดิ์ จะไม่ระบุตรง ๆ แต่ทำให้สังคมเข้าใจเช่นนั้น ซึ่งขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และรับไม่ได้กับการกระทำที่ไร้จรรยาบรรณของนายเจิมศักดิ์ ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือกล่าวหาผู้อื่น
“อยากให้ประธานสภาร่างฯ ทบทวนการแต่งตั้งนายเจิมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อฟ้องร้องต่อไป”