กลุ่มองค์กรชาวพุทธ จี้ให้บรรจุ พุทธศาสนาเป็นศายนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ "พระเทพวิสุทธิกวี"ไม่ยอมรับ"ประสงค์"เป็นชาวพุทธ พร้อมประกาศพักเส้นทางนิพพานเพื่อเพื่อรักษาสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ให้คู่กับสังคมไทย ขู่จัดม็อบ 2-3แสนกดดันส.ส.ร. ด้านอธิบดีกรมศาสนาติงพระไม่ควรออกมาชุมนุม เพราะจะทำให้ถูกมองว่ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง "เจิมศักดิ์"ออกแรงค้าน ชี้หากบรรจุไว้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี "ท่านมุ้ย"บุกสภาเรียกร้องให้กำหนดคำว่า การแสดงและภาพยนต์ อยู่ในรัฐธรรมนูญหมดเดียวกับสิทธิเสรีภาพสื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) ที่บริเวณหน้ารัฐสภายังมีกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส จำนวนประมาณ 300 คนยังปักหลักชุมนุมและมีการปราศรัยเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง โดย พล.ต.ทองขาว พวงรอดพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนไหวของชาวพุทธ ซึ่งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนและมีประชาชนร่วมการเคลื่อนไหวจำนวนมากว่า กลุ่มที่เคลื่อนไหวไม่มีนักการเมืองกลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง การรวมตัวของพวกตนเป็นการรวมตัวในกลุ่มชาวพุทธไม่ใช่กลุ่มรับจ้าง หรือรับเงินของใคร และการเคลื่อนไหวไม่เกี่ยวกับการเมือง
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมจะไม่พูดถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)หรือรัฐบาล แต่จะพูดเพียงว่า จะทำอย่างไรให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวพุทธมีการเมืองอยู่เบื้องหลังนั้น ไม่เป็นความจริง
"การที่เรามาอยู่ตรงนี้ใครจะเข้าใครจะออกเราตรวจสอบไม่ได้จริง ทุกคนมีสิทธิแวะมาเยี่ยมแวะมาดูได้แต่ทุกคนที่มาไม่ได้มีส่วนอยู่เบื้องหลังการชุมนุม"พล.ต.ทองขาว กล่าว
ด้านพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของชาวพุทธ คือ การศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และการปกป้องคุ้มครอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากใครยังนิ่งเฉยวางอุเบกขาคงไม่ถูกต้อง เพราะจะเป็นการวางเฉยแบบไม่มีปัญญา หากพระเห็นว่ามีอะไรที่เกิดผลกระทบกับพระพุทธศาสนาแล้วช่วยกันชี้แจงถือเป็นหน้าที่โดยตรง ทั้งนี้พระไม่ได้เป็นคนที่ใครจะลากจะจูงได้ นักการเมืองแค่เดินเฉียดเข้ามาแล้วจะมาบอกว่า พระที่มาชุมนุมมีน้ำหล่อเลี้ยงหรือเป็นม็อบจัดตั้งคงไม่ถูกต้อง ขอยืนยันว่าการชุมนุมไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองพรรคใดแม้ว่ากลุ่มการเมืองหลายกลุ่มพยายามเอากลุ่มชาวพุทธมาเป็นเครื่องมือก็ตาม
"กรรมาธิการยกร่างฯที่จริงแล้วทำหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น การเคลื่อนไหวของพระสงฆ์และประชาชนเป็นไปตามคำเชิญชวนของกรรมาธิการคือร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อยังไม่ปิดการเสนอความคิดเห็นก็ย่อมแสดงความคิดเห็นในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งพระสงฆ์พยายามแสดงเหตุแสดงผลและไม่ได้สร้างความแตกแยก แต่มีความพยายามโยงการชุมไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางภาคใต้ซึ่งทั้งหมดไม่เกี่ยวกัน"พระมหาโชว์ กล่าว
ส่วนที่การชุมนุม มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมการปราศรัยบนเวทีด้วยนั้น พระมหาโชว์ กล่าวว่า ไม่ได้มีเพียงนายสุวิทย์ที่มาร่วมการชุมนุม แต่มีนักการเมืองอื่น ที่เห็นพระสงฆ์มาร่วมชุมนุม ก็เข้ามาในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ก็ไม่ผิดอะไร พระสงฆ์ไม่ใช่บุคคลที่จะสามารถสนตะพายไปไหนก็ได้ ไม่มีใครมีอำนาจเหนือพระสงฆ์
"คุณสุวิทย์ ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ แม้แต่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ คุณทักษิณ (ชินวัตร)ก็ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ ทุกฝ่ายจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย ไม่ใช่พวกมากลากไป ทุกคนมีสิทธิที่จะหวงแหนพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ฉะนั้น คำพูดของคุณประสงค์ ถ้าถอนคำพูดได้ ก็ควรถอน เพราะคนเป็นประธานไม่ควรจะพูดพล่อยๆ พระสงฆ์มีเจตนาที่บริสุทธิ์ อยากให้ปรับความคิดให้ถูกต้อง"พระมหาโชว์ กล่าว
**องค์กรชาวพุทธไม่เอา"ประสงค์"
พระเทพวิสุทธิกวี กรรมการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เปิดแถลงแสดงจุดยืนขององค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย โดยแสดงความไม่พอใจต่อการทำงานของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ยอมรับน.ต.ประสงค์ เป็นประธานกมธ.ยกร่างฯ ครั้งนี้ และไม่ยอมรับว่าน.ต.ประสงค์ เป็นชาวพุทธที่ดีอีกต่อไป ทั้งนี้องค์กรชาวพุทธฯ จะต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้มีการบรรจุข้อความว่า ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญ
"ตั้งแต่นี้ต่อไป เราจะร่วมกันชี้แจงประชาชนชาวพุทธทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ได้ทราบโดยทั่วกันว่า ประธานกมธ.ยกร่างฯ ผู้นี้ กำลังวางตนคล้ายคนปล้นประเทศไทย ปล้นชาติไทย ปล้นประชาชนชาวไทย โดยการเขียนรัฐธรรมนูญกีดกัน ทำลายชาวพุทธในประเทศไทยอย่างไร้ไมตรีจิต"พระเทพวิสุทธิกวี กล่าว
**ขอพักเส้นทางไปนิพพาน
แกนนำศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาฯ กล่าวอีกว่า ขอเรียกร้องต่อกมธ.ยกร่างฯ และส.ส.ร.ให้ทำหน้าที่แปรญัตติ ร่างรัฐธรรมนูญให้เพิ่มเติมข้อความพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยองค์กรชาวพุทธฯ จะเฝ้าติดตามการทำงานของกมธ.ยกร่างฯ โดยจะสนับสนุนการทำงานที่เป็นธรรมาธิปไตย พร้อมทั้งขัดขวางการทำงานที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม โดยพร้อมที่จะพักเส้นทางไปนิพพาน เพื่อรักษาสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ให้คู่กับสังคมไทย
พระเทพวิสุทธิกวี กล่าวอีกว่า สำหรับการชุมนุมขององค์กรชาวพุทธฯ ในวันนี้ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมจะสลายการชุมนุมบางส่วน โดยเหลือตัวแทนพระสงฆ์และฆราวาสส่วนหนึ่งชุมนุมที่หน้ารัฐสภาต่อไป โดยในวันที่ 25 เม.ย.ทางกลุ่มองค์กรชาวพุทธฯ ทั่วประเทศจะกลับมาชุมนุมใหม่ และคาดว่าจะมีกลุ่มชาวพุทธและพระสงฆ์ทั่วประเทศมาร่วมชุมนุมอีกประมาณ 2-3 แสนคน เพื่อจับตาดูการแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ซึ่งจะเริ่มวันแรกในวันที่ 26 เม.ย. จนกว่าจะแปรญัตติเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ องค์กรชาวพุทธฯ ได้ประกาศลงพรหมทัณฑ์ต่อน.ต.ประสงค์ โดยระบุว่า ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ มีท่าทีที่ดูหมิ่น เหยียดหยามข้อเรียกร้องของชาวพุทธ และให้ข่าวว่าจะไม่มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด การลงพรหมทัณฑ์ หรือ อุกเขปนียกรรม คือ การลงโทษทางสังคมที่รุนแรงที่สุดในฐานะชาวพุทธ โดยเป็นการลงโทษสำหรับบุคคลที่ดื้อด้าน ไร้ยางอาย ทำความชั่วแล้วปิดบังไว้ ทำเป็นไม่รู้ นิ่งเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่สนใจกลับตัว ลด ละ เลิกทำความชั่ว
**ติงพระไม่ควรออกมาเคลื่อนไหว
นายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า คำว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ บัญญัติแล้วไม่ได้กระทบกระเทือนถึงผู้นับถือศาสนาอื่น ตรงกันข้าม กลับเป็นแนวทางที่รัฐบาลจะได้ช่วยบริหารและสนับสนุนพระพุทธศาสนา และใช้แนวทางนี้ไปสนับสนุนศาสนาอื่นด้วย
"ถ้าเราไม่กำหนดไว้เลย ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามองผ่านเรื่องศาสนาไป แม้การปฏิรูประบบราชการ ศาสนาไปอยู่ในกลุ่มของกระทรวงฯ ที่ไม่มีความจำเป็น หรือขึ้นอยู่กับนโยบาย จะยุบเมื่อไรก็ได้ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลเองซึ่งวางนโยบายว่าจะนำคุณธรรม นำความรู้ นำคุณธรรมมาปกครองประเทศ ต้องให้ความสำคัญศาสนาและดูแลเต็มที่ และทุกศาสนาเราให้ความสำคัญหมด แต่พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ที่เรานับถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หากใส่เข้าไปแล้วไม่ทำให้ศาสนาอื่นเดือดร้อนก็ขอให้ใส่ลงไป เพราะเป็นความต้องการของพี่น้องประชาชน" อธิบดีกรมการศาสนา กล่าว
อย่างไรก็ตาม รู้สึกไม่สบายใจที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าว ดังนั้นหากจะมีการทำออกมาเป็นมติของคณะสงฆ์ แล้วยื่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง หรือผ่านหน่วยงาน ทั้งกรมการศาสนา หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ก็ไม่ขัดข้อง พร้อมประสานงานให้กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาล หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)เพราะการที่พระออกมาเคลื่อนไหวจะถูกมองไม่ดี เบี่ยงเบนไปว่า พระสงฆ์ของประเทศไทยเล่นการเมืองแล้วหรืออย่างไร จึงขอฝากไปถึงพระสงฆ์ที่ออกมาเรียกร้องขอให้ใช้สมาธิ ปัญญา และรวมพลังแจ้งเป็นทางการ เพราะการกระทำแบบรวมพลัง หรือกดดัน ส.ส.ร. อาจจะมีผลดีด้านหนึ่ง แต่สุดท้ายความเสียหายจะเกิดกับประเทศไทย และความไว้วางใจของคนทั้งโลกที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจะเสียหาย
**ชี้ผลเสียหากบรรจุ"พุทธ"ใน รธน.
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานกรรมาธิการวิสามัญประสานงานการมีส่วนร่วมและการประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมธิการขึ้น 3 คณะ ตามคณะอนุกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้ง 3 กรอบเพื่อประมวลรวบรวมความเห็นของประชาชนโดยจะทำให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ว่า ประเด็นใดที่เห็นคล้ายๆหรือแตกต่างกับกมธ.ยกร่างฯบ้าง จะแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราในแต่ละประเด็น เมื่อประมวลความเห็นของประชาชนเสร็จแล้วจะเตรียมเสนอให้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ในขั้นแปรญัตติ ที่รับฟังจากประชาชน
"ประเด็นใดที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯไม่ทำตามที่ประชาชนต้องการ เป็นการเปิดโอกาสให้ส.ส.ร.สามารถแก้ไขเพิ่มเติม หรือนำไปแปรญัตติต่อไป เพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า สิ่งที่ประชาชนได้เสนอมาไม่สูญเปล่า เพราะจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่วนใหญ่ต้องการให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่กมธ.ยกร่างฯกลับไม่นำเรื่องนี้ไปในการยกร่างฯ ประเด็นดังกล่าวทางคณะกรรมาธิการฯ จะได้ยื่นขอแปรญัตติให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่หากให้ส.ว.มีการสรรหา ก็อาจให้มีการสรรหา ส.ว.จังหวัดละ 3-5 คน เพื่อให้ประชาชนเลือกเองให้เหลือ 1 คน"นายเจิมศักดิ์ กล่าว
ส่วนประเด็นที่มีการเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาตินั้น นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วย มีข้อเสียมากกว่า เพราะศาสนาพุทธ เป็นของสูง ไม่ควรให้คนที่มีกิเลส เพียง 35 คน มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญ ในอนาคตอาจจะถูกฉีกได้ ดังนั้น อาจจะเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย หากมองเชิงลึกจะเห็นว่ามีพระบางท่านที่มีความรักในพุทธศาสนา จึงอยากแสดงความเป็นเจ้าของประเทศ จึงต้องการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ควรนึกถึงหลักธรรมให้มาก ไม่ควรยึดกับการเป็นตัวกู ขอกู
"การชุมนุมครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิ มีข้อดีทำให้ประชาชนตื่นตัวมากและจนมีข้อเสนอว่า ถึงเวลาควรจะมีการสอบไล่พระสนามหลวงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 2 หรือไม่ ไม่ใช่บวชแล้วมาอาศัยผ้าเหลืองกินฟรี อยู่ฟรี ไม่มีการปฎิบัติธรรม ดังนั้น การจะทำให้ศาสนามั่นคง จะต้องปรับปรุงที่ตัวพระสงฆ์เป็นหลัก ซึ่งในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีข้อดีทำให้ประชาชนเอาใจใส่ดูแลพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่การจะเอาไปใส่ในรัฐธรรมนูญ เป็นคนละเรื่องกัน"นายเจิมศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานงานการมีส่วนร่วมฯ จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นรอบที่สอง ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์ทุกมาตราของร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ยอมรับได้หรือไม่ จะได้สะท้อนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯได้ทราบว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร อีกทั้งจะเปิด Call Center เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดยตรงซึ่งจะให้กรรมาธิการมาประจำที่ศูนย์เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น ในการรับฟังความคิดเห็นรอบสองนี้ จะเสร็จสิ้นในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อนำไปแปรญัตติต่อไป
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการเรียกร้องให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเหตุ เป็นผล และต้องชี้แจงได้อย่างชัดเจน อย่าใช้ความรู้สึก หรือ โมหะจิต มาตัดสินปัญหา จะต้องให้เกียรติ และเคารพความเห็นต่างของประชาชนด้วย หากไปมองว่า คนมีความเห็นต่าง ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง หรือถูกแทรกแซงจากกลุ่มใด จะทำให้สมมติฐานที่ตั้งไว้ เบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง และจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากัน
"ทุกวันนี้ การให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามีเพียงพอแล้วหรือไม่ พุทธศาสนาได้รับการดูแลเอาใจใส่จากรัฐมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าจะมีการบรรจุลงไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนายังเป็นอย่างนี้ ก็คิดว่าไม่ก่อประโยชน์ หากรัฐธรรมนูญกำหนดลงไป และรัฐให้ความสนใจด้วยจะเป็นประโยชน์ หรือหากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด ก็ต้องมีหลักประกันในการที่จะอุปถัมภ์ดีกว่าปัจจุบัน ฉะนั้น ควรจะบรรจุธรรมะในใจประชาชนได้ให้มากที่สุดจะดีกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว
**"ท่านมุ้ย"ขอให้ภาพยนต์อยู่ในหมวดสื่อ
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์ นำโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง สุริโยไท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร นายบรรจง โกศัลวัฒน์ อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาภาพยนต์ ม.ธรรมศาสตร์ นายชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนต์แห่งชาติ และนาย ปรัชญา ปิ่นแก้ว นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนต์ไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ เพื่อเรียกร้องให้มีการบรรจุคำว่า การแสดง และภาพยนต์ ลงในรัฐธรรมนูญ ในหมดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนายบรรจง กล่าวว่า ภาพยนต์เป็นสื่อสารมวลชนที่ทรงอิทธิพล สามารถถ่ายทอดแนวความคิดและวิถีชีวิต ความเป็นไปของคนในชาติได้หลายมิติ สามารถสร้างการรับรู้เปลี่ยนทัศนคติ สร้างผลกระทบในวงกว้าง สมควรที่รัฐและสังคมให้ความสำคัญ ใช้ภาพยนต์เป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล และควบคุมสื่อภาพนยต์ให้เป็นสื่อมวลชนที่เข้มแข็ง เพื่อนำเสนอวัฒนธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เหมือนสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือเกาหลีใต้ ที่ต่างก็ใช้ภาพยนต์เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และนำไปสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ ม.จ.ชาตรีเฉลิม กล่าวว่า ภาพยนต์ไทยเกิดมาเกือบ 100 ปี แต่เราโดนปิดกั้นมาตลอด ทั้งที่ผู้ประกอบการด้านภาพยนต์มีมากกว่าสื่อสารมวลชน นำออกไปขายต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับประเทศ รวมถึงมีการสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาติทำให้ทั่วโลกรู้จักคนไทย ขณะที่เราโดนคัดออกจากการเป็นสื่อมวลชน ซึ่ง ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน
ด้าน นพ.ชูชัย กล่าวว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญร่างแรกของกมธ.ยกร่างฯเสร็จแล้ว หลังจากวันที่ 26 เม.ย.ไปอีก 1 เดือน จะเป็นช่วงการแปรญัตติ ซึ่งสามารถนำเสนอประเด็นต่างๆในช่วงนั้นได้ และระหว่างนี้ หากมีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯตนจะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม เพราะส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว จากนั้นจะเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) ที่บริเวณหน้ารัฐสภายังมีกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส จำนวนประมาณ 300 คนยังปักหลักชุมนุมและมีการปราศรัยเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง โดย พล.ต.ทองขาว พวงรอดพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนไหวของชาวพุทธ ซึ่งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนและมีประชาชนร่วมการเคลื่อนไหวจำนวนมากว่า กลุ่มที่เคลื่อนไหวไม่มีนักการเมืองกลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง การรวมตัวของพวกตนเป็นการรวมตัวในกลุ่มชาวพุทธไม่ใช่กลุ่มรับจ้าง หรือรับเงินของใคร และการเคลื่อนไหวไม่เกี่ยวกับการเมือง
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมจะไม่พูดถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)หรือรัฐบาล แต่จะพูดเพียงว่า จะทำอย่างไรให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวพุทธมีการเมืองอยู่เบื้องหลังนั้น ไม่เป็นความจริง
"การที่เรามาอยู่ตรงนี้ใครจะเข้าใครจะออกเราตรวจสอบไม่ได้จริง ทุกคนมีสิทธิแวะมาเยี่ยมแวะมาดูได้แต่ทุกคนที่มาไม่ได้มีส่วนอยู่เบื้องหลังการชุมนุม"พล.ต.ทองขาว กล่าว
ด้านพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของชาวพุทธ คือ การศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และการปกป้องคุ้มครอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากใครยังนิ่งเฉยวางอุเบกขาคงไม่ถูกต้อง เพราะจะเป็นการวางเฉยแบบไม่มีปัญญา หากพระเห็นว่ามีอะไรที่เกิดผลกระทบกับพระพุทธศาสนาแล้วช่วยกันชี้แจงถือเป็นหน้าที่โดยตรง ทั้งนี้พระไม่ได้เป็นคนที่ใครจะลากจะจูงได้ นักการเมืองแค่เดินเฉียดเข้ามาแล้วจะมาบอกว่า พระที่มาชุมนุมมีน้ำหล่อเลี้ยงหรือเป็นม็อบจัดตั้งคงไม่ถูกต้อง ขอยืนยันว่าการชุมนุมไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองพรรคใดแม้ว่ากลุ่มการเมืองหลายกลุ่มพยายามเอากลุ่มชาวพุทธมาเป็นเครื่องมือก็ตาม
"กรรมาธิการยกร่างฯที่จริงแล้วทำหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น การเคลื่อนไหวของพระสงฆ์และประชาชนเป็นไปตามคำเชิญชวนของกรรมาธิการคือร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อยังไม่ปิดการเสนอความคิดเห็นก็ย่อมแสดงความคิดเห็นในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งพระสงฆ์พยายามแสดงเหตุแสดงผลและไม่ได้สร้างความแตกแยก แต่มีความพยายามโยงการชุมไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางภาคใต้ซึ่งทั้งหมดไม่เกี่ยวกัน"พระมหาโชว์ กล่าว
ส่วนที่การชุมนุม มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมการปราศรัยบนเวทีด้วยนั้น พระมหาโชว์ กล่าวว่า ไม่ได้มีเพียงนายสุวิทย์ที่มาร่วมการชุมนุม แต่มีนักการเมืองอื่น ที่เห็นพระสงฆ์มาร่วมชุมนุม ก็เข้ามาในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ก็ไม่ผิดอะไร พระสงฆ์ไม่ใช่บุคคลที่จะสามารถสนตะพายไปไหนก็ได้ ไม่มีใครมีอำนาจเหนือพระสงฆ์
"คุณสุวิทย์ ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ แม้แต่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ คุณทักษิณ (ชินวัตร)ก็ไม่มีอำนาจเหนือพระสงฆ์ ทุกฝ่ายจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย ไม่ใช่พวกมากลากไป ทุกคนมีสิทธิที่จะหวงแหนพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ฉะนั้น คำพูดของคุณประสงค์ ถ้าถอนคำพูดได้ ก็ควรถอน เพราะคนเป็นประธานไม่ควรจะพูดพล่อยๆ พระสงฆ์มีเจตนาที่บริสุทธิ์ อยากให้ปรับความคิดให้ถูกต้อง"พระมหาโชว์ กล่าว
**องค์กรชาวพุทธไม่เอา"ประสงค์"
พระเทพวิสุทธิกวี กรรมการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เปิดแถลงแสดงจุดยืนขององค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย โดยแสดงความไม่พอใจต่อการทำงานของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ยอมรับน.ต.ประสงค์ เป็นประธานกมธ.ยกร่างฯ ครั้งนี้ และไม่ยอมรับว่าน.ต.ประสงค์ เป็นชาวพุทธที่ดีอีกต่อไป ทั้งนี้องค์กรชาวพุทธฯ จะต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้มีการบรรจุข้อความว่า ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญ
"ตั้งแต่นี้ต่อไป เราจะร่วมกันชี้แจงประชาชนชาวพุทธทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ได้ทราบโดยทั่วกันว่า ประธานกมธ.ยกร่างฯ ผู้นี้ กำลังวางตนคล้ายคนปล้นประเทศไทย ปล้นชาติไทย ปล้นประชาชนชาวไทย โดยการเขียนรัฐธรรมนูญกีดกัน ทำลายชาวพุทธในประเทศไทยอย่างไร้ไมตรีจิต"พระเทพวิสุทธิกวี กล่าว
**ขอพักเส้นทางไปนิพพาน
แกนนำศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาฯ กล่าวอีกว่า ขอเรียกร้องต่อกมธ.ยกร่างฯ และส.ส.ร.ให้ทำหน้าที่แปรญัตติ ร่างรัฐธรรมนูญให้เพิ่มเติมข้อความพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยองค์กรชาวพุทธฯ จะเฝ้าติดตามการทำงานของกมธ.ยกร่างฯ โดยจะสนับสนุนการทำงานที่เป็นธรรมาธิปไตย พร้อมทั้งขัดขวางการทำงานที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม โดยพร้อมที่จะพักเส้นทางไปนิพพาน เพื่อรักษาสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ให้คู่กับสังคมไทย
พระเทพวิสุทธิกวี กล่าวอีกว่า สำหรับการชุมนุมขององค์กรชาวพุทธฯ ในวันนี้ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมจะสลายการชุมนุมบางส่วน โดยเหลือตัวแทนพระสงฆ์และฆราวาสส่วนหนึ่งชุมนุมที่หน้ารัฐสภาต่อไป โดยในวันที่ 25 เม.ย.ทางกลุ่มองค์กรชาวพุทธฯ ทั่วประเทศจะกลับมาชุมนุมใหม่ และคาดว่าจะมีกลุ่มชาวพุทธและพระสงฆ์ทั่วประเทศมาร่วมชุมนุมอีกประมาณ 2-3 แสนคน เพื่อจับตาดูการแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ซึ่งจะเริ่มวันแรกในวันที่ 26 เม.ย. จนกว่าจะแปรญัตติเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ องค์กรชาวพุทธฯ ได้ประกาศลงพรหมทัณฑ์ต่อน.ต.ประสงค์ โดยระบุว่า ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ มีท่าทีที่ดูหมิ่น เหยียดหยามข้อเรียกร้องของชาวพุทธ และให้ข่าวว่าจะไม่มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด การลงพรหมทัณฑ์ หรือ อุกเขปนียกรรม คือ การลงโทษทางสังคมที่รุนแรงที่สุดในฐานะชาวพุทธ โดยเป็นการลงโทษสำหรับบุคคลที่ดื้อด้าน ไร้ยางอาย ทำความชั่วแล้วปิดบังไว้ ทำเป็นไม่รู้ นิ่งเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่สนใจกลับตัว ลด ละ เลิกทำความชั่ว
**ติงพระไม่ควรออกมาเคลื่อนไหว
นายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า คำว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ บัญญัติแล้วไม่ได้กระทบกระเทือนถึงผู้นับถือศาสนาอื่น ตรงกันข้าม กลับเป็นแนวทางที่รัฐบาลจะได้ช่วยบริหารและสนับสนุนพระพุทธศาสนา และใช้แนวทางนี้ไปสนับสนุนศาสนาอื่นด้วย
"ถ้าเราไม่กำหนดไว้เลย ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามองผ่านเรื่องศาสนาไป แม้การปฏิรูประบบราชการ ศาสนาไปอยู่ในกลุ่มของกระทรวงฯ ที่ไม่มีความจำเป็น หรือขึ้นอยู่กับนโยบาย จะยุบเมื่อไรก็ได้ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลเองซึ่งวางนโยบายว่าจะนำคุณธรรม นำความรู้ นำคุณธรรมมาปกครองประเทศ ต้องให้ความสำคัญศาสนาและดูแลเต็มที่ และทุกศาสนาเราให้ความสำคัญหมด แต่พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ที่เรานับถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หากใส่เข้าไปแล้วไม่ทำให้ศาสนาอื่นเดือดร้อนก็ขอให้ใส่ลงไป เพราะเป็นความต้องการของพี่น้องประชาชน" อธิบดีกรมการศาสนา กล่าว
อย่างไรก็ตาม รู้สึกไม่สบายใจที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าว ดังนั้นหากจะมีการทำออกมาเป็นมติของคณะสงฆ์ แล้วยื่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง หรือผ่านหน่วยงาน ทั้งกรมการศาสนา หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ก็ไม่ขัดข้อง พร้อมประสานงานให้กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาล หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)เพราะการที่พระออกมาเคลื่อนไหวจะถูกมองไม่ดี เบี่ยงเบนไปว่า พระสงฆ์ของประเทศไทยเล่นการเมืองแล้วหรืออย่างไร จึงขอฝากไปถึงพระสงฆ์ที่ออกมาเรียกร้องขอให้ใช้สมาธิ ปัญญา และรวมพลังแจ้งเป็นทางการ เพราะการกระทำแบบรวมพลัง หรือกดดัน ส.ส.ร. อาจจะมีผลดีด้านหนึ่ง แต่สุดท้ายความเสียหายจะเกิดกับประเทศไทย และความไว้วางใจของคนทั้งโลกที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจะเสียหาย
**ชี้ผลเสียหากบรรจุ"พุทธ"ใน รธน.
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานกรรมาธิการวิสามัญประสานงานการมีส่วนร่วมและการประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมธิการขึ้น 3 คณะ ตามคณะอนุกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้ง 3 กรอบเพื่อประมวลรวบรวมความเห็นของประชาชนโดยจะทำให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ว่า ประเด็นใดที่เห็นคล้ายๆหรือแตกต่างกับกมธ.ยกร่างฯบ้าง จะแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราในแต่ละประเด็น เมื่อประมวลความเห็นของประชาชนเสร็จแล้วจะเตรียมเสนอให้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ในขั้นแปรญัตติ ที่รับฟังจากประชาชน
"ประเด็นใดที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯไม่ทำตามที่ประชาชนต้องการ เป็นการเปิดโอกาสให้ส.ส.ร.สามารถแก้ไขเพิ่มเติม หรือนำไปแปรญัตติต่อไป เพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า สิ่งที่ประชาชนได้เสนอมาไม่สูญเปล่า เพราะจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่วนใหญ่ต้องการให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่กมธ.ยกร่างฯกลับไม่นำเรื่องนี้ไปในการยกร่างฯ ประเด็นดังกล่าวทางคณะกรรมาธิการฯ จะได้ยื่นขอแปรญัตติให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่หากให้ส.ว.มีการสรรหา ก็อาจให้มีการสรรหา ส.ว.จังหวัดละ 3-5 คน เพื่อให้ประชาชนเลือกเองให้เหลือ 1 คน"นายเจิมศักดิ์ กล่าว
ส่วนประเด็นที่มีการเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาตินั้น นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วย มีข้อเสียมากกว่า เพราะศาสนาพุทธ เป็นของสูง ไม่ควรให้คนที่มีกิเลส เพียง 35 คน มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญ ในอนาคตอาจจะถูกฉีกได้ ดังนั้น อาจจะเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย หากมองเชิงลึกจะเห็นว่ามีพระบางท่านที่มีความรักในพุทธศาสนา จึงอยากแสดงความเป็นเจ้าของประเทศ จึงต้องการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ควรนึกถึงหลักธรรมให้มาก ไม่ควรยึดกับการเป็นตัวกู ขอกู
"การชุมนุมครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิ มีข้อดีทำให้ประชาชนตื่นตัวมากและจนมีข้อเสนอว่า ถึงเวลาควรจะมีการสอบไล่พระสนามหลวงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 2 หรือไม่ ไม่ใช่บวชแล้วมาอาศัยผ้าเหลืองกินฟรี อยู่ฟรี ไม่มีการปฎิบัติธรรม ดังนั้น การจะทำให้ศาสนามั่นคง จะต้องปรับปรุงที่ตัวพระสงฆ์เป็นหลัก ซึ่งในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีข้อดีทำให้ประชาชนเอาใจใส่ดูแลพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่การจะเอาไปใส่ในรัฐธรรมนูญ เป็นคนละเรื่องกัน"นายเจิมศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานงานการมีส่วนร่วมฯ จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นรอบที่สอง ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์ทุกมาตราของร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ยอมรับได้หรือไม่ จะได้สะท้อนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯได้ทราบว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร อีกทั้งจะเปิด Call Center เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดยตรงซึ่งจะให้กรรมาธิการมาประจำที่ศูนย์เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น ในการรับฟังความคิดเห็นรอบสองนี้ จะเสร็จสิ้นในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อนำไปแปรญัตติต่อไป
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการเรียกร้องให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเหตุ เป็นผล และต้องชี้แจงได้อย่างชัดเจน อย่าใช้ความรู้สึก หรือ โมหะจิต มาตัดสินปัญหา จะต้องให้เกียรติ และเคารพความเห็นต่างของประชาชนด้วย หากไปมองว่า คนมีความเห็นต่าง ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง หรือถูกแทรกแซงจากกลุ่มใด จะทำให้สมมติฐานที่ตั้งไว้ เบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง และจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากัน
"ทุกวันนี้ การให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามีเพียงพอแล้วหรือไม่ พุทธศาสนาได้รับการดูแลเอาใจใส่จากรัฐมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าจะมีการบรรจุลงไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนายังเป็นอย่างนี้ ก็คิดว่าไม่ก่อประโยชน์ หากรัฐธรรมนูญกำหนดลงไป และรัฐให้ความสนใจด้วยจะเป็นประโยชน์ หรือหากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด ก็ต้องมีหลักประกันในการที่จะอุปถัมภ์ดีกว่าปัจจุบัน ฉะนั้น ควรจะบรรจุธรรมะในใจประชาชนได้ให้มากที่สุดจะดีกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว
**"ท่านมุ้ย"ขอให้ภาพยนต์อยู่ในหมวดสื่อ
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์ นำโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง สุริโยไท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร นายบรรจง โกศัลวัฒน์ อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาภาพยนต์ ม.ธรรมศาสตร์ นายชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนต์แห่งชาติ และนาย ปรัชญา ปิ่นแก้ว นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนต์ไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ เพื่อเรียกร้องให้มีการบรรจุคำว่า การแสดง และภาพยนต์ ลงในรัฐธรรมนูญ ในหมดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนายบรรจง กล่าวว่า ภาพยนต์เป็นสื่อสารมวลชนที่ทรงอิทธิพล สามารถถ่ายทอดแนวความคิดและวิถีชีวิต ความเป็นไปของคนในชาติได้หลายมิติ สามารถสร้างการรับรู้เปลี่ยนทัศนคติ สร้างผลกระทบในวงกว้าง สมควรที่รัฐและสังคมให้ความสำคัญ ใช้ภาพยนต์เป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล และควบคุมสื่อภาพนยต์ให้เป็นสื่อมวลชนที่เข้มแข็ง เพื่อนำเสนอวัฒนธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เหมือนสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือเกาหลีใต้ ที่ต่างก็ใช้ภาพยนต์เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และนำไปสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ ม.จ.ชาตรีเฉลิม กล่าวว่า ภาพยนต์ไทยเกิดมาเกือบ 100 ปี แต่เราโดนปิดกั้นมาตลอด ทั้งที่ผู้ประกอบการด้านภาพยนต์มีมากกว่าสื่อสารมวลชน นำออกไปขายต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับประเทศ รวมถึงมีการสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาติทำให้ทั่วโลกรู้จักคนไทย ขณะที่เราโดนคัดออกจากการเป็นสื่อมวลชน ซึ่ง ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน
ด้าน นพ.ชูชัย กล่าวว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญร่างแรกของกมธ.ยกร่างฯเสร็จแล้ว หลังจากวันที่ 26 เม.ย.ไปอีก 1 เดือน จะเป็นช่วงการแปรญัตติ ซึ่งสามารถนำเสนอประเด็นต่างๆในช่วงนั้นได้ และระหว่างนี้ หากมีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯตนจะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม เพราะส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว จากนั้นจะเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือต่อไป