รัฐบาลจนแต้ม กฤษฏีกาตีความ รมว.เกษตรฯไม่มีอำนาจโอนเงิน 900 ล้าน สยบม็อบหนี้สินเกษตร ชี้องค์ประกอบคณะกรรมการกองทุนไม่ครบ ต้องเลือกตั้งใหม่เท่านั้น
จากกรณีที่มีเกษตกรเดินทางมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาล ปลดเปลื้องหนี้สินโดยผ่านกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งกำลังเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนไม่ครบองค์ประกอบ ทำให้ไม่สามารถโอนเงินจำนวน 900 ล้านบาทได้ ทำให้ที่ประชุมครม.ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ เพื่อให้คำตอบกับกลุ่มเกษตร
ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฏีกา ได้ตอบข้อหารือของกระทรวงเกษตรฯมาแล้วว่า กรณีผู้แทนเกษตรกร และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกก.กองทุนฟื้นฟูฯ ที่คณะกก.องทุนฟื้นฟู แต่งตั้งให้เป็นกก.บริหารกองทุนฯหมดวาระลง ย่อมมีผลทำให้กก.ผู้นั้นขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกก.บริหารกองทุนฯ และมีผลทำให้คณะกก.บริหารกองทุนฯ ซึ่งต้องมีบุคคลในคณะกก.กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นองค์ประกอบของคณะกก.ด้วนนั้น ไม่ครบองค์ประกอบ จึงทำให้กก.บริหารกองทุนฯ ไม่สามารถดำเนินการประชุมได้
นอกจากนี้ ในกรณีผู้แทนเกษตรกร และผู้ทรงคุณวุฒิหมดวาระ ผู้ใดจะเป็นผู้ทำการแทน กฤษฏีการะบุว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.กองทุนฯ พ.ศ. 2542 โดยตลอดแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีบทบัญญัติมาตราใดบัญญัติให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้แทนคณะกก.บริหารกองทุนฯ ในกรณีที่คณะกก.บริหารกองทุนฯไม่อาจจะดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่ต่อไปได้
ส่วนประเด็นว่า ประธานกก.บริหารกองทุน ประธานกก.จัดการหนี้ และสำนักงานกองทุนฯ จะมีอำนาจในการอนุมัติให้โอนเงินจำนวน 900 ล้านบาท จากบัญชีเงินฝากประจำ เข้าบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ประเภทออมทรัพย์เพื่อใช้ชำระหนี้เกษตรกรได้หรือไม่ กฤษฎีกาตอบว่า โดยมติการประชุมของกรรมการกองทุน ครั้งที่ 1/2549 วันที่ 22 ก.พ.49 ที่รับทราบกรอบการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินทุนประเดิมจำนวน 1,800 ล้านบาท โดยกำหนดให้ใช้เพื่อการจัดการหนี้ของเกษตรกรจำนวน 1,200 ล้านบาท และเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 600 ล้านบาท มิได้เป็นมติที่คณะกก.กองทุนฯ ได้ให้ความเห็นชอบ แต่อย่างใด เป็นเพียงการรับทราบกรอบการใช้จ่ายงบประมาณนำไปใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกก.กองทุนฯ เท่านั้น ประกอบกับการไม่มีกก.จากคณะกก.กองทุนฯ ในคณะกก.บริหารกองทุนฯ และคณะกก.จัดการหนี้ ย่อมมีผลทำให้คณะกก.ทั้งสองคณะไม่ครบองค์ประกอบในการดำเนินการจัดให้มีการประชุม ด้วยเหตุนี้ ประธานกก.บริหารกองทุนฯ และประธานกก.จัดการหนี้ จึงไม่มีอำนาจในการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกก.ดังกล่าวได้โดยลำพัง
นอกจากนี้การที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟู จะเป็นผู้ดำเนินการโอนเงิน 900 ล้านบาท จากบัญชีกองทุนฟื้นฟูฯ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หรือดำเนินการขั้นตอนทางธุรการที่สำนักงานกองทุนฯสามารถดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าวได้
สำหรับประเด็น รมว.เกษตรฯ มีอำนาจอนุมัติให้มีการโอนเงิน 900 ล้านบาท ได้หรือไม่ เห็นว่า รมว.เกษตรฯเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย จึงมีอำนาจกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และมีอำนาจ ในการออกกฎกระทรวง และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น โดยมิได้หมายรวมอำนาจในการอนุมัติให้โอนเงินจำนวน 900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และให้การดำเนินการของคณะกก.กองทุนฯ คณะกก.บริหารกองทุนฯ และคณะกก.จัดการหนี้ เป็นไปโดยถูกต้อง เห็นควรให้รัฐได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานกองทุนฯ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตร และแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุน เป็นวาระเร่งด่วนต่อไป
จากกรณีที่มีเกษตกรเดินทางมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาล ปลดเปลื้องหนี้สินโดยผ่านกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งกำลังเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนไม่ครบองค์ประกอบ ทำให้ไม่สามารถโอนเงินจำนวน 900 ล้านบาทได้ ทำให้ที่ประชุมครม.ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ เพื่อให้คำตอบกับกลุ่มเกษตร
ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฏีกา ได้ตอบข้อหารือของกระทรวงเกษตรฯมาแล้วว่า กรณีผู้แทนเกษตรกร และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกก.กองทุนฟื้นฟูฯ ที่คณะกก.องทุนฟื้นฟู แต่งตั้งให้เป็นกก.บริหารกองทุนฯหมดวาระลง ย่อมมีผลทำให้กก.ผู้นั้นขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกก.บริหารกองทุนฯ และมีผลทำให้คณะกก.บริหารกองทุนฯ ซึ่งต้องมีบุคคลในคณะกก.กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นองค์ประกอบของคณะกก.ด้วนนั้น ไม่ครบองค์ประกอบ จึงทำให้กก.บริหารกองทุนฯ ไม่สามารถดำเนินการประชุมได้
นอกจากนี้ ในกรณีผู้แทนเกษตรกร และผู้ทรงคุณวุฒิหมดวาระ ผู้ใดจะเป็นผู้ทำการแทน กฤษฏีการะบุว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.กองทุนฯ พ.ศ. 2542 โดยตลอดแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีบทบัญญัติมาตราใดบัญญัติให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้แทนคณะกก.บริหารกองทุนฯ ในกรณีที่คณะกก.บริหารกองทุนฯไม่อาจจะดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่ต่อไปได้
ส่วนประเด็นว่า ประธานกก.บริหารกองทุน ประธานกก.จัดการหนี้ และสำนักงานกองทุนฯ จะมีอำนาจในการอนุมัติให้โอนเงินจำนวน 900 ล้านบาท จากบัญชีเงินฝากประจำ เข้าบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ประเภทออมทรัพย์เพื่อใช้ชำระหนี้เกษตรกรได้หรือไม่ กฤษฎีกาตอบว่า โดยมติการประชุมของกรรมการกองทุน ครั้งที่ 1/2549 วันที่ 22 ก.พ.49 ที่รับทราบกรอบการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินทุนประเดิมจำนวน 1,800 ล้านบาท โดยกำหนดให้ใช้เพื่อการจัดการหนี้ของเกษตรกรจำนวน 1,200 ล้านบาท และเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 600 ล้านบาท มิได้เป็นมติที่คณะกก.กองทุนฯ ได้ให้ความเห็นชอบ แต่อย่างใด เป็นเพียงการรับทราบกรอบการใช้จ่ายงบประมาณนำไปใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกก.กองทุนฯ เท่านั้น ประกอบกับการไม่มีกก.จากคณะกก.กองทุนฯ ในคณะกก.บริหารกองทุนฯ และคณะกก.จัดการหนี้ ย่อมมีผลทำให้คณะกก.ทั้งสองคณะไม่ครบองค์ประกอบในการดำเนินการจัดให้มีการประชุม ด้วยเหตุนี้ ประธานกก.บริหารกองทุนฯ และประธานกก.จัดการหนี้ จึงไม่มีอำนาจในการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกก.ดังกล่าวได้โดยลำพัง
นอกจากนี้การที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟู จะเป็นผู้ดำเนินการโอนเงิน 900 ล้านบาท จากบัญชีกองทุนฟื้นฟูฯ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หรือดำเนินการขั้นตอนทางธุรการที่สำนักงานกองทุนฯสามารถดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าวได้
สำหรับประเด็น รมว.เกษตรฯ มีอำนาจอนุมัติให้มีการโอนเงิน 900 ล้านบาท ได้หรือไม่ เห็นว่า รมว.เกษตรฯเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย จึงมีอำนาจกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และมีอำนาจ ในการออกกฎกระทรวง และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น โดยมิได้หมายรวมอำนาจในการอนุมัติให้โอนเงินจำนวน 900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และให้การดำเนินการของคณะกก.กองทุนฯ คณะกก.บริหารกองทุนฯ และคณะกก.จัดการหนี้ เป็นไปโดยถูกต้อง เห็นควรให้รัฐได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานกองทุนฯ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตร และแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุน เป็นวาระเร่งด่วนต่อไป