ส.ส.ร.รับทราบความคืบหน้า ร่างรัญธรรมนูญ ทั้ง 3 กรอบ หนุนให้ยกเลิกปาร์ตี้ลิสต์ ป้องกันนักการเมืองเอาคะแนนเสียงไปแอบอ้างทำชั่ว ส่วนส.ว.ให้มาจากตัวแทนจังหวัด และตัวแทนวิชาชีพ ขณะที่กลุ่มองค์กรต่างๆ เข้ายื่นหนังสือเสนอประเด็นที่ต้องบรรจุในรัฐธรรมนูญ พร้อมขู่หากไม่ได้ดังใจ จะเคลื่อนไหวต่อต้าน ด้าน"นรนิติ"หวั่น ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ
เมื่อวานนี้ (19 มี.ค.)ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)วาระพิจารณารายงานความคืบหน้า ในการดำนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากไปสัมมนาสรุปประเด็นที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ระหว่างวันที่ 5-10มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธาน ส.ส.ร.เป็นประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อสรุปของกรอบที่ 1 เรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพิ่มบทบัญญัติเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรวมถึงการเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอเหลือ 20,000 ชื่อ และการยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเสนอผ่านสภา ซึ่งสมาชิกบางส่วนเสนอให้มีบทบัญญัติเรื่องการคลังท้องถิ่น กำหนดรายได้ที่รัฐต้องให้ท้องถิ่น อีกทั้งเห็นด้วยที่จะบัญญัติแผนบริหารราชการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วย การบริหารราชการแผ่นดิน และนิติบัญญัติให้ชัดเจนด้วย
ส่วนรายงานข้อสรุปกรอบที่ 2 เรื่องสถาบันการเมือง กำหนดให้มี ส.ส. 400 คน และหากจะมี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เป็นระบบสัดส่วนให้มีได้ 80 คน ส่วนการแบ่งเขตเป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ และห้ามส.ส.รับสัมปทาน หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ รวมถึงคู่สมรสและบุตร จำนวน ส.ว.มีไม่เกินกึ่งหนึ่งของ ส.ส.อาจประมาณ 160 คนแบ่งเป็นจังหวัดละ 1 คน และ จากตัวแทนวิชาชีพ 84 คน นายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือระบบสัดส่วน การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ให้ทำได้ง่ายขึ้น หากมีการตั้งกระทู้ถามให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมาชี้แจงด้วยตนเอง หากขาดเกิน 3 ครั้ง ให้ถือเป็นเหตุแห่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ไม่ควรให้รัฐบาลที่พ้นจากตำแหน่งมาทำหน้าที่รักษาการ แต่จะให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครอง เป็นผู้เลือกคณะผู้บริหารราชการแผ่นดิน
สำหรับในประเด็นนี้ มีส.ส.ร.อภิปรายหลากหลาย โดยเป็นการนำเสนอทั้งความเห็นส่วนตัว และผลการรับฟังความเห็นประชาชนมาอภิปราย เช่น ไม่ควรคัด ส.ว.ออกครึ่งหนึ่ง ทุก 3 ปี เพื่อให้การตรวจสอบรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น หรือให้คง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไว้ เพราะแม้จะเลิกไปก็ไม่สามารถแก้ปัญหานายทุนเข้ามาครอบงำพรรคได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะเป็นศูนย์รวมของนายทุน และจะมีการอ้างเสียงประชาชน ซึ่งอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สำหรับข้อสรุป กรอบที่ 3 เรื่ององค์กรอิสระตรวจสอบ และศาล ยังสรุปไปได้บางส่วน คาดว่าวันที่ 20 มี.ค.จะพิจารณาเสร็จ ส่วนประเด็นที่สรุปในเบื้องต้นแล้ว อาทิ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมี 9 คน กรรมการสรรหามี 5 คน คือประธาน 3 ศาล และประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ ให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งอัยการสูงสุด และ ได้มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรอิสระควรลดคุณสมบัติของประชาชนลง เพื่อจะให้ประชาชนเข้าไปสู่องค์กรอิสระได้ง่ายขึ้น การเข้าถึงองค์กรอิสระ ควรจะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยการกระจายองค์กรอิสระลงไปในภูมิภาค หรือในจังหวัด นอกจากนี้ ประชาชนต้องสามารถตรวจสอบองค์กรอิสระได้ด้วย
**แห่ยื่นข้อเสนอร่วมร่าง รธน.
ทางด้านความเคลื่อนไหวในการเสนอข้อคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มองค์กรต่างๆ วานนี้ มีตัวแทนภาคีเครือข่ายเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องมีคุณธรรมมั่นคงสำหรับสังคมไทย(สจส.)นำโดยพล.อ.วสุ ชนะรัตน์ เข้ายื่นข้อเสนอความเห็นต่อประธาน ส.ส.ร.ให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก โดยทางกลุ่ม สจส.ระบุว่า ปัญหาความแตกแยกเกิดขึ้นจากการไม่ได้บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และหากข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง จะเคลื่อนธรรมยาตรา จากภาคเหนือจนถึงภาคใต้ มาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา
ขณะที่ นายนรนิติ ชี้แจงว่า ส.ส.ร.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เสนอมา ได้นำไปพิจารณาและรวบรวมข้อมูลว่า การที่ไม่บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา 16 ฉบับ มีสาเหตุเพราะอะไร เราต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ในภาพรวมของรัฐธรรมนูญไทย ยกเว้นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ได้บัญญัติให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ส่วนที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะการเขียนบางทีอาจไม่ครบทุกด้าน ตอบได้แค่นี้ เพราะไม่ได้เป็นผู้ร่าง ทุกอย่างต้องส่งไปที่กรรมาธิการยกร่างเพื่อดูว่าจะทำอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ร่างในสถานการณ์อึดอัด ระยะเวลาน้อยไม่รู้คนจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะมีคนไม่เห็นด้วยตั้งแต่ร่างยังไม่เสร็จก็มี ไม่รู้ร่างเสร็จแล้วคนจะเต็มกรุงเทพฯหรือไม่ ก็พยายามร่างให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีการเลือกตั้งได้เร็วจะได้คลายความอึดอัด
ต่อมาชมรมสมาชิกวุฒิสภา 2543-2549 นำโดย นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว.สิงห์บุรี ได้เข้ายื่นข้อเสนอในการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อ นายนรนิติ พร้อมแนบรายชื่ออดีต ส.ว.ที่ร่วมเสนอความเห็นจำนวน 19 คน โดยกลุ่มอดีต ส.ว.ได้มีข้อเสนอโดยสรุป 5 ประเด็น คือ รัฐธรรมนูญต้องยึดหลักประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ,ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ,นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส. ,สนับสนุนให้มีส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และการเลือกตั้งเขตละ 1 คน ,สนับสนุนการกระจายอำนาจการเตรียมความพร้อมและการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมใหม่ และปรับดุลยภาพขององค์กรอิสระ โดยนายวิบูลย์ แช่มชื่น กล่าวว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้ ส.ว.มาจาการสรรหา พวกตนจะร่วมกันรณรงค์ เพื่อคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนที่มาของ ส.ส.ระบบเขต ขอเสนอระบบหนึ่งเขตหนึ่งเสียง เพราะเป็นระบบที่ดีที่สุดเนื่องจากเขตที่ใหญ่ขึ้นได้เป็นปัญหามาแล้วในอดีต ส่วนระบบถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภาขอให้แก้ มาตรา 189 ของรัฐธรรมนูญปี 40 ด้วยการกำหนดบทลงโทษฝ่ายบริหารที่ไม่มาชี้แจงต่อที่ประชุมสภาด้วย
นอกจากนี้ ยังมี แกนนำองค์กรบริหารส่วนตำบล และเครือข่ายภาคประชาชน เข้ายื่นข้อเสนอในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ต่อนายนรนิติ เสนอให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการตัดสินใจและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการบริหารจัดการรวมทั้งการกำหนดนโยบาย การจัดองค์กร และการจัดเก็บรายได้ ,รัฐต้องส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นให้มีรายได้พอเพียง ,ประชาชนในท้องถิ่นต้องได้รับการบริการที่มีคุณภาพจากรัฐ และชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดตั้งองค์กรชุมชนและบริหารตามเจตนารมณ์ของชุมชนท้องถิ่น
เมื่อวานนี้ (19 มี.ค.)ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)วาระพิจารณารายงานความคืบหน้า ในการดำนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากไปสัมมนาสรุปประเด็นที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ระหว่างวันที่ 5-10มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธาน ส.ส.ร.เป็นประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อสรุปของกรอบที่ 1 เรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพิ่มบทบัญญัติเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรวมถึงการเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอเหลือ 20,000 ชื่อ และการยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเสนอผ่านสภา ซึ่งสมาชิกบางส่วนเสนอให้มีบทบัญญัติเรื่องการคลังท้องถิ่น กำหนดรายได้ที่รัฐต้องให้ท้องถิ่น อีกทั้งเห็นด้วยที่จะบัญญัติแผนบริหารราชการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วย การบริหารราชการแผ่นดิน และนิติบัญญัติให้ชัดเจนด้วย
ส่วนรายงานข้อสรุปกรอบที่ 2 เรื่องสถาบันการเมือง กำหนดให้มี ส.ส. 400 คน และหากจะมี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เป็นระบบสัดส่วนให้มีได้ 80 คน ส่วนการแบ่งเขตเป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ และห้ามส.ส.รับสัมปทาน หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ รวมถึงคู่สมรสและบุตร จำนวน ส.ว.มีไม่เกินกึ่งหนึ่งของ ส.ส.อาจประมาณ 160 คนแบ่งเป็นจังหวัดละ 1 คน และ จากตัวแทนวิชาชีพ 84 คน นายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือระบบสัดส่วน การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ให้ทำได้ง่ายขึ้น หากมีการตั้งกระทู้ถามให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมาชี้แจงด้วยตนเอง หากขาดเกิน 3 ครั้ง ให้ถือเป็นเหตุแห่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ไม่ควรให้รัฐบาลที่พ้นจากตำแหน่งมาทำหน้าที่รักษาการ แต่จะให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครอง เป็นผู้เลือกคณะผู้บริหารราชการแผ่นดิน
สำหรับในประเด็นนี้ มีส.ส.ร.อภิปรายหลากหลาย โดยเป็นการนำเสนอทั้งความเห็นส่วนตัว และผลการรับฟังความเห็นประชาชนมาอภิปราย เช่น ไม่ควรคัด ส.ว.ออกครึ่งหนึ่ง ทุก 3 ปี เพื่อให้การตรวจสอบรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น หรือให้คง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไว้ เพราะแม้จะเลิกไปก็ไม่สามารถแก้ปัญหานายทุนเข้ามาครอบงำพรรคได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะเป็นศูนย์รวมของนายทุน และจะมีการอ้างเสียงประชาชน ซึ่งอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สำหรับข้อสรุป กรอบที่ 3 เรื่ององค์กรอิสระตรวจสอบ และศาล ยังสรุปไปได้บางส่วน คาดว่าวันที่ 20 มี.ค.จะพิจารณาเสร็จ ส่วนประเด็นที่สรุปในเบื้องต้นแล้ว อาทิ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมี 9 คน กรรมการสรรหามี 5 คน คือประธาน 3 ศาล และประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ ให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งอัยการสูงสุด และ ได้มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรอิสระควรลดคุณสมบัติของประชาชนลง เพื่อจะให้ประชาชนเข้าไปสู่องค์กรอิสระได้ง่ายขึ้น การเข้าถึงองค์กรอิสระ ควรจะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยการกระจายองค์กรอิสระลงไปในภูมิภาค หรือในจังหวัด นอกจากนี้ ประชาชนต้องสามารถตรวจสอบองค์กรอิสระได้ด้วย
**แห่ยื่นข้อเสนอร่วมร่าง รธน.
ทางด้านความเคลื่อนไหวในการเสนอข้อคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มองค์กรต่างๆ วานนี้ มีตัวแทนภาคีเครือข่ายเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องมีคุณธรรมมั่นคงสำหรับสังคมไทย(สจส.)นำโดยพล.อ.วสุ ชนะรัตน์ เข้ายื่นข้อเสนอความเห็นต่อประธาน ส.ส.ร.ให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก โดยทางกลุ่ม สจส.ระบุว่า ปัญหาความแตกแยกเกิดขึ้นจากการไม่ได้บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และหากข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง จะเคลื่อนธรรมยาตรา จากภาคเหนือจนถึงภาคใต้ มาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา
ขณะที่ นายนรนิติ ชี้แจงว่า ส.ส.ร.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เสนอมา ได้นำไปพิจารณาและรวบรวมข้อมูลว่า การที่ไม่บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา 16 ฉบับ มีสาเหตุเพราะอะไร เราต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ในภาพรวมของรัฐธรรมนูญไทย ยกเว้นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ได้บัญญัติให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ส่วนที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะการเขียนบางทีอาจไม่ครบทุกด้าน ตอบได้แค่นี้ เพราะไม่ได้เป็นผู้ร่าง ทุกอย่างต้องส่งไปที่กรรมาธิการยกร่างเพื่อดูว่าจะทำอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ร่างในสถานการณ์อึดอัด ระยะเวลาน้อยไม่รู้คนจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะมีคนไม่เห็นด้วยตั้งแต่ร่างยังไม่เสร็จก็มี ไม่รู้ร่างเสร็จแล้วคนจะเต็มกรุงเทพฯหรือไม่ ก็พยายามร่างให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีการเลือกตั้งได้เร็วจะได้คลายความอึดอัด
ต่อมาชมรมสมาชิกวุฒิสภา 2543-2549 นำโดย นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว.สิงห์บุรี ได้เข้ายื่นข้อเสนอในการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อ นายนรนิติ พร้อมแนบรายชื่ออดีต ส.ว.ที่ร่วมเสนอความเห็นจำนวน 19 คน โดยกลุ่มอดีต ส.ว.ได้มีข้อเสนอโดยสรุป 5 ประเด็น คือ รัฐธรรมนูญต้องยึดหลักประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ,ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ,นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส. ,สนับสนุนให้มีส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และการเลือกตั้งเขตละ 1 คน ,สนับสนุนการกระจายอำนาจการเตรียมความพร้อมและการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมใหม่ และปรับดุลยภาพขององค์กรอิสระ โดยนายวิบูลย์ แช่มชื่น กล่าวว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้ ส.ว.มาจาการสรรหา พวกตนจะร่วมกันรณรงค์ เพื่อคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนที่มาของ ส.ส.ระบบเขต ขอเสนอระบบหนึ่งเขตหนึ่งเสียง เพราะเป็นระบบที่ดีที่สุดเนื่องจากเขตที่ใหญ่ขึ้นได้เป็นปัญหามาแล้วในอดีต ส่วนระบบถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภาขอให้แก้ มาตรา 189 ของรัฐธรรมนูญปี 40 ด้วยการกำหนดบทลงโทษฝ่ายบริหารที่ไม่มาชี้แจงต่อที่ประชุมสภาด้วย
นอกจากนี้ ยังมี แกนนำองค์กรบริหารส่วนตำบล และเครือข่ายภาคประชาชน เข้ายื่นข้อเสนอในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ต่อนายนรนิติ เสนอให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการตัดสินใจและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการบริหารจัดการรวมทั้งการกำหนดนโยบาย การจัดองค์กร และการจัดเก็บรายได้ ,รัฐต้องส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นให้มีรายได้พอเพียง ,ประชาชนในท้องถิ่นต้องได้รับการบริการที่มีคุณภาพจากรัฐ และชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดตั้งองค์กรชุมชนและบริหารตามเจตนารมณ์ของชุมชนท้องถิ่น