แพทย์เผย “หมอประกิตเผ่า” รับสารเอฟรีดีน 2-3 วันก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ระบุขณะนี้สารอันตรายออกจากร่างกายหมดแล้ว แต่ผลทำให้สารในสมองแปรปรวน ด้านคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ทำหนังสือเรียกตัว “เปมิกา” เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงที่เข้าไปเกี่ยวข้องวันนี้
วานนี้(6 มี.ค.) นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความคืบหน้าอาการป่วยของ นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบันกวดวิชาซึ่งเข้ารับการรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถให้รายละเอียดการรักษาตัวของนพ.ประกิตเผ่าได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล แต่คณะแพทย์ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาผู้ป่วย
ทั้งนี้ สารเอฟรีดีนที่ตรวจพบในปัสสาวะของนพ.ประกิตเผ่า ในปริมาณที่มากกว่า 200 เท่า มีความเป็นไปได้ว่านพ.ประกิตเผ่ารับสารเอฟรีดีน 2-3 วันก่อนเข้ารับการรักษาแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นวิธีใด อย่างไรก็ตามผลจากรับเอฟรีดีนแม้จะไม่มีเหลือในร่างกายแล้วแต่ผลของการเข้าไปทำลายสารเคมีในสมองสมองทำให้สารโดปามีนซึ่งเป็นสารเคมีในสมองมีมากเกินไปจึงเกิดความแปรปรวน
“ส่วนการใช้จิตวิทยาหมู่หรือไม่ ในคนที่ไม่สบาย ธรรมดาจะไม่คุยกับคนที่คอยขัดใจ และมักมีอารมณ์หงุดหงิดแต่หากมีคนพูดดีด้วยและเข้าใจตัวเอง ก็อยากคบค้ากับคนกลุ่มนั้น ซึ่งการถูกชักจูงไม่เกี่ยวกับฉลาดไม่ฉลาดมีสิทธิถูกชักจูงหลงผิดได้เท่ากัน หากสมองส่วนยับยั้งชั่งใจอารมณ์มีปัญหา”
อย่างไรก็ดีหากอาการนพ.ประกิตเผ่าดีขึ้นซึ่งแพทย์จะลงความเห็นและแจ้งให้ศาลทราบในวันที่ 8 มี.ค.นี้ ก็จะต้องตามคำสั่งศาลและหากยังไม่ดีแพทย์ผู้รับผิดชอบก็จะเป็นรายงานกับศาล
ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สารเอฟรีดีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 ที่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ เพื่อบำบัดโรค โดยเป็นยาฉีดในห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการช็อค ใช้สำหรับกู้ชีพยกระดับความดัน รวมถึงเป็นยาบรรเทาอาการหอบหืดชนิดเฉียบพลันปานกลางถึงรุนแรง และบรรเทาภาวะหลอดลมหดเกร็งเนื่องจากอาการแพ้ต่างๆ ซึ่งมีการใช้น้อยลง เนื่องจากมียาอื่นที่มีฤทธิ์ดีกว่ามาทดแทน โดยการใช้สารออกฤทธิ์ดังกล่าวในโรงพยาบาลจะต้องมีการขออนุญาตครอบครองและสั่งซื้อจากอย.เพียงผู้เดียว ซึ่งอย.จะเป็นผู้สั่งวัตถุตั้งต้นโดยในปีที่ผ่านมามีการนำเข้าสารดังกล่าวจำนวน 18 กิโลกรัม และจ้างให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ผลิต
ทั้งนี้ โรงพยาบาลกว่า 400 แห่ง จะต้องรายงานการใช้สารเอฟรีดีน ทั้งปริมาณการใช้ ผู้ป่วยที่ใช้ โดยได้ร่วมกันตรวจสอบกับกองการควบคุมวัตถุ เสพติดไม่พบความผิดปกติในการใช้สารเอฟรีดีนในโรงพยาบาล โดยเป็นไปตามกฎระเบียบทุกประการ หากมีการละเมิดผลิตหรือนำเข้าไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดจำคุก 5- 20 ปี ปรับ 100,000-400,000 บาท
สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมด ไม่ได้รับอนุญาตให้มีสารเอฟรีดีน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งอย.มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาโดยตลอด โดยในปี 2549 ได้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในท้องตลาด 50 ตัวอย่าง ไม่พบสารดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนในปี 2550 ก็มีการสุ่มตัวอย่างจำนวน 21 ตัวอย่าง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสร์การแพทย์
“ยาเอฟรีดีนอาจเป็นวัตถุสังเคราะห์หรืออาจได้มาจากมาฮวงหรือมั่วอึ้ง เป็นยาสมุนไพรตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนผสมในยา แผนโบราณ โดยต้องได้รับอนุญาตนำเข้าและขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อน ปัจจุบันมีตำรับยาที่ขึ้นทะเบียน 75 ตำรับ เป็นยานำเข้า 14 ตำรับและเป็นยาผลิตในประเทศ 61 ตำรับ ส่วนมากเป็นยาบรรเทาอาการไอ หอบหืด โดยมีปริมาณของเอฟรีดีนในเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับรับประทานใน 1 มื้อ ไม่เกิน 2 กรัม โดยไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่ใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น และห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมไทรอยด์ โดยมาฮวงถือเป็นสมุนไพรดั้งเดิมที่มีการใช้มานานกว่า 400 ปี หากใช้ในลักษณะที่เหมาะสมก็ไม่มีปัญหา อีกทั้งกลุ่มที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ในแวดวงจำกัดินพ.ศิริวัฒน์กล่าว และว่าอย่างไรก็ดีแม้จะมีการควบคุมการใช้สารเอฟรีดีนอย่างเข้มงวดแต่ก็ไม่สามารถ ควบคุมการบริโภคได้
วันเดียวกันรศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางคณะได้มีการส่งจดหมายอีเอ็มเอสเชิญ น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต เพื่อนสาวของนพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบันกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์มาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ตกเป็นข่าวในวันพรุ่งนี้(7 มีนาคม) เวลา 13.00 น.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางคณะได้เคยมีการโทรศัพท์ติดต่อให้น.ส.เปมิกา มาพบแล้ว แต่น.ส.เปมิกาตอบปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเกรงจะถูกทำร้าย ซึ่งในการส่งจดหมายเชิญตัวมาครั้งนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่า จดหมายจะไปถึงหรือเปล่าและยังไม่มั่นใจว่าจะได้รับหรือไม่
ด้าน รศ.ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า น.ส.เปมิกายังไม่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อกับทางคณะ ชื่อนิสิตยังคงเป็น น.ส.ศิวพร เหลืองเรณูกุล
ที่กองปราบปราม พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผู้บังคับการกองปราบปราม (ผบก.ป.) กล่าวว่าได้สั่งการให้ พ.ต.อ.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบก.ป.รับผิดชอบการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าวโดยจะมีการตั้งชุดพนักงานสอบสวนจำนวนหนึ่งขึ้นมาดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาต้นตอของสารเอฟรีดีนที่มาอยู่ในร่างกายของ นพ.ประกิตเผ่า ได้อย่างไร รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะมีการเสนอคณะทำงานมาให้พิจารณาได้ในเร็วๆ นี้
วานนี้(6 มี.ค.) นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความคืบหน้าอาการป่วยของ นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบันกวดวิชาซึ่งเข้ารับการรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถให้รายละเอียดการรักษาตัวของนพ.ประกิตเผ่าได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล แต่คณะแพทย์ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาผู้ป่วย
ทั้งนี้ สารเอฟรีดีนที่ตรวจพบในปัสสาวะของนพ.ประกิตเผ่า ในปริมาณที่มากกว่า 200 เท่า มีความเป็นไปได้ว่านพ.ประกิตเผ่ารับสารเอฟรีดีน 2-3 วันก่อนเข้ารับการรักษาแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นวิธีใด อย่างไรก็ตามผลจากรับเอฟรีดีนแม้จะไม่มีเหลือในร่างกายแล้วแต่ผลของการเข้าไปทำลายสารเคมีในสมองสมองทำให้สารโดปามีนซึ่งเป็นสารเคมีในสมองมีมากเกินไปจึงเกิดความแปรปรวน
“ส่วนการใช้จิตวิทยาหมู่หรือไม่ ในคนที่ไม่สบาย ธรรมดาจะไม่คุยกับคนที่คอยขัดใจ และมักมีอารมณ์หงุดหงิดแต่หากมีคนพูดดีด้วยและเข้าใจตัวเอง ก็อยากคบค้ากับคนกลุ่มนั้น ซึ่งการถูกชักจูงไม่เกี่ยวกับฉลาดไม่ฉลาดมีสิทธิถูกชักจูงหลงผิดได้เท่ากัน หากสมองส่วนยับยั้งชั่งใจอารมณ์มีปัญหา”
อย่างไรก็ดีหากอาการนพ.ประกิตเผ่าดีขึ้นซึ่งแพทย์จะลงความเห็นและแจ้งให้ศาลทราบในวันที่ 8 มี.ค.นี้ ก็จะต้องตามคำสั่งศาลและหากยังไม่ดีแพทย์ผู้รับผิดชอบก็จะเป็นรายงานกับศาล
ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สารเอฟรีดีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 ที่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ เพื่อบำบัดโรค โดยเป็นยาฉีดในห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการช็อค ใช้สำหรับกู้ชีพยกระดับความดัน รวมถึงเป็นยาบรรเทาอาการหอบหืดชนิดเฉียบพลันปานกลางถึงรุนแรง และบรรเทาภาวะหลอดลมหดเกร็งเนื่องจากอาการแพ้ต่างๆ ซึ่งมีการใช้น้อยลง เนื่องจากมียาอื่นที่มีฤทธิ์ดีกว่ามาทดแทน โดยการใช้สารออกฤทธิ์ดังกล่าวในโรงพยาบาลจะต้องมีการขออนุญาตครอบครองและสั่งซื้อจากอย.เพียงผู้เดียว ซึ่งอย.จะเป็นผู้สั่งวัตถุตั้งต้นโดยในปีที่ผ่านมามีการนำเข้าสารดังกล่าวจำนวน 18 กิโลกรัม และจ้างให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ผลิต
ทั้งนี้ โรงพยาบาลกว่า 400 แห่ง จะต้องรายงานการใช้สารเอฟรีดีน ทั้งปริมาณการใช้ ผู้ป่วยที่ใช้ โดยได้ร่วมกันตรวจสอบกับกองการควบคุมวัตถุ เสพติดไม่พบความผิดปกติในการใช้สารเอฟรีดีนในโรงพยาบาล โดยเป็นไปตามกฎระเบียบทุกประการ หากมีการละเมิดผลิตหรือนำเข้าไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดจำคุก 5- 20 ปี ปรับ 100,000-400,000 บาท
สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมด ไม่ได้รับอนุญาตให้มีสารเอฟรีดีน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งอย.มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาโดยตลอด โดยในปี 2549 ได้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในท้องตลาด 50 ตัวอย่าง ไม่พบสารดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนในปี 2550 ก็มีการสุ่มตัวอย่างจำนวน 21 ตัวอย่าง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสร์การแพทย์
“ยาเอฟรีดีนอาจเป็นวัตถุสังเคราะห์หรืออาจได้มาจากมาฮวงหรือมั่วอึ้ง เป็นยาสมุนไพรตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนผสมในยา แผนโบราณ โดยต้องได้รับอนุญาตนำเข้าและขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อน ปัจจุบันมีตำรับยาที่ขึ้นทะเบียน 75 ตำรับ เป็นยานำเข้า 14 ตำรับและเป็นยาผลิตในประเทศ 61 ตำรับ ส่วนมากเป็นยาบรรเทาอาการไอ หอบหืด โดยมีปริมาณของเอฟรีดีนในเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับรับประทานใน 1 มื้อ ไม่เกิน 2 กรัม โดยไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่ใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น และห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมไทรอยด์ โดยมาฮวงถือเป็นสมุนไพรดั้งเดิมที่มีการใช้มานานกว่า 400 ปี หากใช้ในลักษณะที่เหมาะสมก็ไม่มีปัญหา อีกทั้งกลุ่มที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ในแวดวงจำกัดินพ.ศิริวัฒน์กล่าว และว่าอย่างไรก็ดีแม้จะมีการควบคุมการใช้สารเอฟรีดีนอย่างเข้มงวดแต่ก็ไม่สามารถ ควบคุมการบริโภคได้
วันเดียวกันรศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางคณะได้มีการส่งจดหมายอีเอ็มเอสเชิญ น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต เพื่อนสาวของนพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบันกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์มาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ตกเป็นข่าวในวันพรุ่งนี้(7 มีนาคม) เวลา 13.00 น.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางคณะได้เคยมีการโทรศัพท์ติดต่อให้น.ส.เปมิกา มาพบแล้ว แต่น.ส.เปมิกาตอบปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเกรงจะถูกทำร้าย ซึ่งในการส่งจดหมายเชิญตัวมาครั้งนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่า จดหมายจะไปถึงหรือเปล่าและยังไม่มั่นใจว่าจะได้รับหรือไม่
ด้าน รศ.ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า น.ส.เปมิกายังไม่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อกับทางคณะ ชื่อนิสิตยังคงเป็น น.ส.ศิวพร เหลืองเรณูกุล
ที่กองปราบปราม พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผู้บังคับการกองปราบปราม (ผบก.ป.) กล่าวว่าได้สั่งการให้ พ.ต.อ.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบก.ป.รับผิดชอบการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าวโดยจะมีการตั้งชุดพนักงานสอบสวนจำนวนหนึ่งขึ้นมาดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาต้นตอของสารเอฟรีดีนที่มาอยู่ในร่างกายของ นพ.ประกิตเผ่า ได้อย่างไร รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะมีการเสนอคณะทำงานมาให้พิจารณาได้ในเร็วๆ นี้