ดีเอสไอ ขอหลักฐานฆ่าตัดตอนจาก ปปส.เพื่อนำไปวิเคราะห์ และอาจใช้เป็นหลักฐานในการมัด"ทักษิณ"ที่ให้นโยบายทำสงครามยาเสพติด ตามทฤษฎี"กำปั้นเหล็ก"ฆ่าตัดตอนกลุ่มผู้ค้ายา
วานนี้ (19 ก.พ.)นายธาริต เพ็งดิษฐ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคลี่คลายคดีฆ่าตัดตอน ตามนโยบายทำสงครามยาเสพติดในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าพบนายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ปปส.)เพื่อประสานขอคำกล่าวมอบนโยบายทำสงครามยาเสพติด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อนำมาประกอบสำนวนคดีฆ่าตัดตอน โดยภายหลังการหารือนานกว่า 1 ชั่วโมง ทั้งสองต่างปฏิเสธที่ให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่าไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในสำนวนคดีได้ แต่รายละเอียดส่วนหนึ่งจะต้องมอบให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม เพื่อนำไปตอบกระทู้ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันพุธที่ 21 ก.พ.นี้
ด้านนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายธาริต ไปรวบรวมหลักฐานคำกล่าวมอบนโยบายของพ.ต.ท.ทักษิณ และรายละเอียดเกี่ยวแฟ้มประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มาเป็นหลักฐานประกอบสำนวนสอบสวนคดีฆ่าตัดตอน ในส่วนคดีฆ่าตัดตอน 4 คดี ที่ดีเอสไอรับโอนเป็นคดีพิเศษขณะนี้ มีความชัดเจนว่าผู้ตายถูกฆ่าตัดตอน ซึ่งจะต้องสอบสวนเจ้าหน้าที่ผู้ลงมือฆ่าว่ามีเหตุผลใดจึงปฏิบัติเช่นนั้น
นายสุนัย กล่าวถึงกรณีที่นักสิทธิมนุษยชน จะนำคดีฆ่าตัดตอนไปยื่นฟ้องต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศให้ดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่เข้าเป็นภาคี จึงไม่ถือว่ามีความผูกพันกับศาลอาชญากรระหว่างประเทศ นอกจากนี้การฟ้องร้องยังต้องกระทำในนามของประเทศไทย เอกชนหรือกลุ่มองค์กรใดจะยื่นฟ้องเองไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอ จะนำคำกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ไปให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ร่วมพิจารณาและแสดงความเห็นว่า หลังได้ฟังนโยบายที่ดุดันของพ.ต.ท.ทักษิณแล้วจะนำไปสู่ผลในการปฏิบัติอย่างไร โดยอาจจำเป็นจะต้องให้นักวิชาการด้านอาชญาวิทยามาเป็นพยาน เพื่ออธิบายความหมายของทฤษฎี"กำปั้นเหล็ก" ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำสูงสุดสั่งการให้ปฏิบัติการอย่างเด็ดขาดชนิดไม่ปรานีว่าในทางอาชญาวิทยา จะนำไปสู่การใช้อำนาจนอกกฎหมายอย่างไร
ทั้งนี้ หากพยานหลักฐานในคดีมีความชัดเจน ดีเอสไอ จะนำหลักฐานในสำนวนคดีไปหารือกับ รมว.ยุติธรรม และปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะขออนุมัติหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ ได้หรือไม่
สำหรับหลักฐานคำกล่าวที่ ปปส.เตรียมนำส่งให้ดีเอสไอ นำไปประกอบในสำนวนการสอบสวนก็ คือ คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ว่า "การทำงานหนักในช่วง 3 เดือน ถ้าจะมีผู้ค้ายาเสพติดตายไปบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติ บางทีถูกยิงตายแล้วต้องถูกยึดทรัพย์ด้วย ผมคิดว่าเราต้องเหี้ยมพอกัน ที่อยู่ของขบวนการค้ายาเสพติดจึงมีอยู่ 2 ที่ ถ้าไม่ไปคุก ก็ไปวัด สำหรับคนที่ค้า ท่านต้องใช้กำปั้นเหล็ก ใช้ความเด็ดขาดอย่างชนิดไม่ปรานี เรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญที่อันตรายต่อความมั่นคงของชาติที่เราต้องทำสงครามสู้รบให้แตกหัก และเป็นเรื่องจำเป็นที่จะมีการบาดเจ็บกันบ้าง"
วานนี้ (19 ก.พ.)นายธาริต เพ็งดิษฐ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคลี่คลายคดีฆ่าตัดตอน ตามนโยบายทำสงครามยาเสพติดในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าพบนายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ปปส.)เพื่อประสานขอคำกล่าวมอบนโยบายทำสงครามยาเสพติด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อนำมาประกอบสำนวนคดีฆ่าตัดตอน โดยภายหลังการหารือนานกว่า 1 ชั่วโมง ทั้งสองต่างปฏิเสธที่ให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่าไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในสำนวนคดีได้ แต่รายละเอียดส่วนหนึ่งจะต้องมอบให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม เพื่อนำไปตอบกระทู้ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันพุธที่ 21 ก.พ.นี้
ด้านนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายธาริต ไปรวบรวมหลักฐานคำกล่าวมอบนโยบายของพ.ต.ท.ทักษิณ และรายละเอียดเกี่ยวแฟ้มประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มาเป็นหลักฐานประกอบสำนวนสอบสวนคดีฆ่าตัดตอน ในส่วนคดีฆ่าตัดตอน 4 คดี ที่ดีเอสไอรับโอนเป็นคดีพิเศษขณะนี้ มีความชัดเจนว่าผู้ตายถูกฆ่าตัดตอน ซึ่งจะต้องสอบสวนเจ้าหน้าที่ผู้ลงมือฆ่าว่ามีเหตุผลใดจึงปฏิบัติเช่นนั้น
นายสุนัย กล่าวถึงกรณีที่นักสิทธิมนุษยชน จะนำคดีฆ่าตัดตอนไปยื่นฟ้องต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศให้ดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่เข้าเป็นภาคี จึงไม่ถือว่ามีความผูกพันกับศาลอาชญากรระหว่างประเทศ นอกจากนี้การฟ้องร้องยังต้องกระทำในนามของประเทศไทย เอกชนหรือกลุ่มองค์กรใดจะยื่นฟ้องเองไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอ จะนำคำกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ไปให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ร่วมพิจารณาและแสดงความเห็นว่า หลังได้ฟังนโยบายที่ดุดันของพ.ต.ท.ทักษิณแล้วจะนำไปสู่ผลในการปฏิบัติอย่างไร โดยอาจจำเป็นจะต้องให้นักวิชาการด้านอาชญาวิทยามาเป็นพยาน เพื่ออธิบายความหมายของทฤษฎี"กำปั้นเหล็ก" ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำสูงสุดสั่งการให้ปฏิบัติการอย่างเด็ดขาดชนิดไม่ปรานีว่าในทางอาชญาวิทยา จะนำไปสู่การใช้อำนาจนอกกฎหมายอย่างไร
ทั้งนี้ หากพยานหลักฐานในคดีมีความชัดเจน ดีเอสไอ จะนำหลักฐานในสำนวนคดีไปหารือกับ รมว.ยุติธรรม และปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะขออนุมัติหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ ได้หรือไม่
สำหรับหลักฐานคำกล่าวที่ ปปส.เตรียมนำส่งให้ดีเอสไอ นำไปประกอบในสำนวนการสอบสวนก็ คือ คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ว่า "การทำงานหนักในช่วง 3 เดือน ถ้าจะมีผู้ค้ายาเสพติดตายไปบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติ บางทีถูกยิงตายแล้วต้องถูกยึดทรัพย์ด้วย ผมคิดว่าเราต้องเหี้ยมพอกัน ที่อยู่ของขบวนการค้ายาเสพติดจึงมีอยู่ 2 ที่ ถ้าไม่ไปคุก ก็ไปวัด สำหรับคนที่ค้า ท่านต้องใช้กำปั้นเหล็ก ใช้ความเด็ดขาดอย่างชนิดไม่ปรานี เรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญที่อันตรายต่อความมั่นคงของชาติที่เราต้องทำสงครามสู้รบให้แตกหัก และเป็นเรื่องจำเป็นที่จะมีการบาดเจ็บกันบ้าง"