นิสิต นักศึกษาและประชาชนเริ่มอดข้าวประท้วงการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ บริเวณหน้ารัฐสภาแล้ว ขู่จะไม่ยอมหยุดจนกว่าจะมีการยกเลิกกฎหมาย ขณะที่"ครูหยุย"รับปากจะเป็นสื่อกลางนำเรื่องไปตั้งกระทู้สดในที่ประชุม เพื่อหาข้อยุติ ด้านศธ.ไม่ใส่ใจ ไม่ส่งคนดูแล "หมอตุลย์"เผย กมธ.พิจารณาร่าง ม.มหิดล ลักไก่บอกไม่มีคนคัดค้าน ไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นอีกรอบเหมือน ม.อื่นๆ ชี้เป็นการกล่าวเท็จ ขาดจริยธรรม และคุณธรรมคนเป็นครูอาจารย์ ส่วนความเห็นประชาคมจุฬาฯ สรุปได้วันนี้ เผยมีผู้ค้านออกนอกระบบถึง 70 %
นายภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น แกนนำนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ม.บูรพา กล่าวว่า วานนี้(19 ก.พ.)ได้เริ่มอดข้าวประท้วงการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่หน้ารัฐสภาแล้ว โดยมีเพื่อนจากสถาบันอื่นๆมาให้กำลังใจกันมากขึ้น บางคนก็นำน้ำและนมกล่องมาให้ ซึ่งในขณะนี้มีนิสิต นักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมลงชื่อเพื่ออดข้าวประท้วงทั้งสิ้น 10 คน โดยประชาชนที่เข้าร่วมนั้นมี 2 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านมาเจอแล้วเห็นด้วยกับการคัดค้านจึงตัดสินใจเข้าร่วมด้วย สำหรับตนตอนนี้สภาพร่างกายยังปกติดี
ทั้งนี้ การอดข้าวประท้วงครั้งนี้ จะไม่มีกำหนดจนกว่าจะได้รับคำตอบยกเลิกกฎหมายการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จากนั้นจึงหาแนวทางปฏิรูปการศึกษาแบบใหม่
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ"ครูหยุย" ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ลงมาดูและรับเรื่องไว้ รวมทั้งรับปากว่าสนช.จะเป็นสื่อกลางโดยการนำเรื่องดังกล่าวไปตั้งเป็นกระทู้สดเร่งด่วนต่อที่ประชุมเพื่อหาข้อสรุป
ด้าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นิสิต นักศึกษา สามารถออกมาเรียกร้องเพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้โดยตรง แต่สาเหตุการประท้วงของนิสิต นักศึกษา อาจเกิดจากความเข้าใจผิด ว่ามหาวิทยาลัยจะเพิ่มค่าเล่าเรียน อาจารย์ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ ตรงนี้เป็นเรื่องธรรมดาน่าเห็นใจ ซึ่งปัญหาที่คาใจเหล่านี้ ทางสภามหาวิทยาลัยต้องชี้แจงให้นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนสังคมทั่วไป เข้าใจ และเชื่อมั่นว่าหากนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า นิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐ ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเพราะเงินที่เรียนส่วนหนึ่งได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน
"ม.ออกนอกระบบ ไม่ใช่เพิ่งเกิด เกิดมาหลายสิบปีแล้ว และนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ ณ วันนี้ ยังไม่มีความเข้าใจ จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยชี้แจงเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่อธิบายไปเมื่อ 10 ปี และบอกว่าเคยอธิบายไปแล้ว ก็ไม่ถูกต้อง คนรุ่นใหม่เข้ามาก็ต้องมาชี้แจงกันใหม่"รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว
ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการเปิดเผยของ ดร.จงรักษ์ กิตติวรการ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล แจ้งว่าขณะนี้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง เพื่อดำเนินการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีแหล่งข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ม.มหิดล อ้างว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีผู้คัดค้าน จึงให้เดินหน้าพิจารณา พ.ร.บ.ม.มหิดลเป็นรายมาตราต่อไป โดยไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเปิดรับฟังความเห็นอีกรอบ เหมือนที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ดำเนินการ
"การกล่าวอ้างว่า การพิจารณา พ.ร.บ. ม.มหิดล ไม่มีผู้คัดค้านนั้น เป็นการกล่าวที่เป็นเท็จ เพราะในความเป็นจริงยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบอีกจำนวนมาก การกล่าวเช่นนั้นถือว่าผิดจริยธรรม และคุณธรรมของความเป็นครูบาอาจารย์ ซึ่งการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ม.มหิดล ควรจะยับยั้งไว้ก่อน และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น"
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น คาดว่าในวันนี้(20 ก.พ.)จะสามารถสรุปผลได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในสัดส่วน 70:30 และหลังจากรวบรวมผลแล้วจะนำเสนอให้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ต่อไป
นายภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น แกนนำนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ม.บูรพา กล่าวว่า วานนี้(19 ก.พ.)ได้เริ่มอดข้าวประท้วงการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่หน้ารัฐสภาแล้ว โดยมีเพื่อนจากสถาบันอื่นๆมาให้กำลังใจกันมากขึ้น บางคนก็นำน้ำและนมกล่องมาให้ ซึ่งในขณะนี้มีนิสิต นักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมลงชื่อเพื่ออดข้าวประท้วงทั้งสิ้น 10 คน โดยประชาชนที่เข้าร่วมนั้นมี 2 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านมาเจอแล้วเห็นด้วยกับการคัดค้านจึงตัดสินใจเข้าร่วมด้วย สำหรับตนตอนนี้สภาพร่างกายยังปกติดี
ทั้งนี้ การอดข้าวประท้วงครั้งนี้ จะไม่มีกำหนดจนกว่าจะได้รับคำตอบยกเลิกกฎหมายการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จากนั้นจึงหาแนวทางปฏิรูปการศึกษาแบบใหม่
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ"ครูหยุย" ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ลงมาดูและรับเรื่องไว้ รวมทั้งรับปากว่าสนช.จะเป็นสื่อกลางโดยการนำเรื่องดังกล่าวไปตั้งเป็นกระทู้สดเร่งด่วนต่อที่ประชุมเพื่อหาข้อสรุป
ด้าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นิสิต นักศึกษา สามารถออกมาเรียกร้องเพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้โดยตรง แต่สาเหตุการประท้วงของนิสิต นักศึกษา อาจเกิดจากความเข้าใจผิด ว่ามหาวิทยาลัยจะเพิ่มค่าเล่าเรียน อาจารย์ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ ตรงนี้เป็นเรื่องธรรมดาน่าเห็นใจ ซึ่งปัญหาที่คาใจเหล่านี้ ทางสภามหาวิทยาลัยต้องชี้แจงให้นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนสังคมทั่วไป เข้าใจ และเชื่อมั่นว่าหากนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า นิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐ ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเพราะเงินที่เรียนส่วนหนึ่งได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน
"ม.ออกนอกระบบ ไม่ใช่เพิ่งเกิด เกิดมาหลายสิบปีแล้ว และนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ ณ วันนี้ ยังไม่มีความเข้าใจ จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยชี้แจงเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่อธิบายไปเมื่อ 10 ปี และบอกว่าเคยอธิบายไปแล้ว ก็ไม่ถูกต้อง คนรุ่นใหม่เข้ามาก็ต้องมาชี้แจงกันใหม่"รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว
ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการเปิดเผยของ ดร.จงรักษ์ กิตติวรการ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล แจ้งว่าขณะนี้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง เพื่อดำเนินการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีแหล่งข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ม.มหิดล อ้างว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีผู้คัดค้าน จึงให้เดินหน้าพิจารณา พ.ร.บ.ม.มหิดลเป็นรายมาตราต่อไป โดยไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเปิดรับฟังความเห็นอีกรอบ เหมือนที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ดำเนินการ
"การกล่าวอ้างว่า การพิจารณา พ.ร.บ. ม.มหิดล ไม่มีผู้คัดค้านนั้น เป็นการกล่าวที่เป็นเท็จ เพราะในความเป็นจริงยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบอีกจำนวนมาก การกล่าวเช่นนั้นถือว่าผิดจริยธรรม และคุณธรรมของความเป็นครูบาอาจารย์ ซึ่งการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ม.มหิดล ควรจะยับยั้งไว้ก่อน และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น"
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น คาดว่าในวันนี้(20 ก.พ.)จะสามารถสรุปผลได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในสัดส่วน 70:30 และหลังจากรวบรวมผลแล้วจะนำเสนอให้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ต่อไป