ผู้จัดการรายวัน - โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง รมต.เพิ่ม 2 ตำแหน่ง “วรากรณ์” นั่ง รมช.ศึกษาฯ “อรนุช” เป็น รมช.พาณิชย์ “สุรุยุทธ์” เผย งาน ก.ศึกษาฯ-พาณิชย์ มากจึงต้องมีคนช่วย มั่นใจจะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น “เกริกไกร” เตรียมแบ่งงาน รมช.ใหม่ในสุดสัปดาห์นี้ ด้าน “วิจิตร” ให้ “วรากรณ์” รับผิดชอบหนี้ครู ประสานงานการศึกษารัฐ-เอกชน เจ้าตัวแย้มแผนแก้หนี้ครู ต้องนำหนี้เข้าสู่ระบบ เปลี่ยนพฤติกรรมครูให้เลิกฟุ่มเฟือย เผย “วรากรณ์” เป็นคนคุณภาพ แต่ติดภาพ ปชป. ด้าน สมาพันธ์สมาคมครูฯ ห่วงไม่เข้าใจการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 แล้ว และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศลงวันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 และประกาศครั้งสุดท้ายลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2549 นั้น
บัดนี้ เพื่อความเหมาะสม และบังเกิดประโยชน์แก่ราชการ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งรัฐมนตรีตามความในมาตรา 14 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ดังต่อไปนี้
นางอรนุช โอสถานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ค่ายสิรินธร จ.ปัตตานี ถึงเหตุผลการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ครั้งล่าสุด ที่เพิ่มนางอรนุช เป็น รมช.พาณิชย์ และนายวรากรณ์ เป็น รมช.ศึกษาธิการ ว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวง มีงานมาก จึงต้องการคนเข้ามาช่วยทำงาน โดยรัฐมนตรีว่าการทั้ง 2 กระทรวง เป็นผู้เลือกเอง ซึ่งการเพิ่มรัฐมนตรีอีก 2 ตำแหน่ง จะทำให้การทำงานของรัฐบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังจะไม่มีการปรับ ครม.อีก
“คิดว่าจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะงานด้านการศึกษา มีมาก ขณะที่งานของกระทรวงพาณิชย์ ก็มีเพิ่มมากขึ้น มีงานประชุมในต่างประเทศ ผมคงไม่ต้องเน้นอะไรเป็นพิเศษ เพราะแต่ละคนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญกว่าผม เก่งทั้งคู่”
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า การเพิ่ม ครม. ครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปรับครม. และเป็นการเพิ่มมากว่า 1 กระทรวง ส่วนสาเหตุ ที่เพิ่มเนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีที่มีงานมากเสนอชื่อขึ้นมา ซึ่ง 2 กระทรวงคือกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงพาณิชย์ที่เสนอมา
สำหรับตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ ที่ตนกำกับดูแลนั้น รมว.พาณิชย์ ้แจ้งกับตนว่า งานของกระทรวงพาณิชย์มีมาก และตัวรัฐมนตรีว่าการฯ ก็ออกเดินทางไปต่างประเทศด้วยตัวเองหลายครั้ง ดังนั้นจึงต้องมีคนช่วยไม่เช่นนั้นกระทรวงพาณิชย์ก็จะทำงานหนักอยู่คนเดียว ส่วนจะให้เข้ามาช่วยในด้านใดนั้นขอให้ รมว.พาณิชย์ เป็นผู้ชี้แจงในด้านการแบ่งงาน
“นายกรัฐมนตรีถามว่า กระทรวงใหญ่ๆ อันไหนที่ใครคนเดียวที่สู้ไม่ไหว ให้บอกมา ก็มี 2 กระทรวงนี้ ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ไม่มีเหตุผลอะไรเพียงว่า งานของกระทรวงมีมาก”
“เกริกไกร”เตรียมแบ่งงานให้รมช.ใหม่
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการแบ่งงานว่า จะให้นางอรนุชดูแลงานส่วนใดบ้าง และคาดว่าภายในสุดสัปดาห์นี้ จะพิจารณาแบ่งงานให้กับ รมช.พาณิชย์ต่อไป ซึ่งงานของกระทรวงพาณิชย์มีมาก แต่เชื่อว่า นางอรนุชจะทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างแน่นอน
ขณะที่นางอรนุช กล่าวว่า เพิ่งรับทราบการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์วันนี้ ส่วนรายละเอียดการทำงาน คงไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ แต่คงต้องรอการถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นลำดับแรก แต่ก็เชื่อว่า จะสามารถบริหารงานได้
“วิจิตร”เลือก“วรากรณ์”ให้ช่วยดูหนี้ครู
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนเสนอชื่อ นายวรากรณ์ เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ที่มาจากภาคเอกชน น่าจะช่วยประสานงานสถานศึกษาเอกชนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 18 และอุดมศึกษาในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
นอกจากนี้ นายวรากรณ์ เคยเป็นอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ก็จะให้มาช่วย เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินครู รวมถึงต้องการให้มาช่วยแนะนำการสร้างจิตสำนึกให้ครู ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ อีกทั้ง นายรากรณ์ ยังเป็นผู้ที่เข้าใจบทบาท ทางการเมืองดี เพราะเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี จะมาช่วยในระดับนโยบายประสานงานกับภาครัฐ สภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยราชการต่าง ๆ
“อาจารย์วรากรณ์ เป็นคนที่เข้าใจงานต่างๆ ดี ก็น่าจะทำงานราบรื่น มีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยมน่าจะช่วยประสานงานได้ ผมพิจารณาจากประสบการณ์และผลงานแล้วก็เลือก เข้ามาเสริมช่วยให้ทีมบริหารของกระทรวงสาธารณสุข เข้มแข็งขึ้น เพราะยังขาดจุดนี้อยู่”
“วรากรณ์”เผยตัดสินใจ 1 วัน
ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต(มธบ.) ว่าที่ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับการทาบทามจาก นายวิจิตร ศรีสอ้าน ให้เข้ามาช่วยทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)โดยให้เหตุผลว่า ศธ.เป็นกระทรวงใหญ่ มีงานที่ต้องเข้ามาช่วยกันทำเยอะ ใช้เวลาในการพิจารณาอยู่ประมาณ 1 วัน จึงตัดสินใจตอบรับ และยืนยันว่าในระยะเวลา 9 เดือนที่อยู่ในตำแหน่ง จะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ 100 % เพราะตนเคยได้รับทุนจากเงินภาษีราษฎร เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ว่าจะทำงานใช้หนี้ทุนจนหมดแล้วตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ถือเป็นหนี้ที่เป็นภาระผูกพันทางใจ
“การเข้ามาทำงานครั้งนี้จึงเป็นการเข้ามาเพื่อรับใช้สังคม ไม่ใช่แค่พูดให้ฟังดูเก๋ๆ เท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกจริงๆ ซึ่งผมต้องลาออกจากงานทั้งหมดที่ทำอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการบริหารท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย และเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อมาทำงานการศึกษาอย่างเต็มที่ ส่วนที่ รมว.ศึกษาธิการเลือกผมคงเพราะหากเลือกคนอื่นเกรงจะกระทบงานเก่าที่แต่ละคนดูแลอยู่ แต่ผมอยู่กับภาคเอกชนจึงไม่มีผลกระทบมากนัก”
แก้หนี้ครูเริ่มจากนำเข้าสู้ระบบ
สำหรับปัญหาหนี้สินครูที่ นายวิจิตร จะมอบหมายให้เข้าไปดูแลนั้น นายรากรณ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำงานอยู่ในศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินรัฐวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินมา 2 ปีกว่า เชื่อว่าประสบการณ์จากการทำงานดังกล่าวน่าจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินครูได้ โดยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครูนั้น จำเป็นต้องมีการจัดลำดับหนี้จากหนี้นอกระบบให้เข้าไปอยู่ในระบบให้หมด โดยการปรับโครงสร้างหนี้ ตัดสินเชื่อที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงออกไปก่อน
“ที่สำคัญที่สุดคือครูจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เงิน เพราะไม่ว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินอย่างไร แต่หากพฤติกรรมการใช้เงินยังเหมือนเดิมก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันความรู้ทางด้านการตลาดมีมากกว่า ความรู้ของผู้บริโภคที่จะตามได้เท่าทัน ทำให้คนใช้จ่ายอย่างเกินตัวและบริหารจัดการไม่เป็น เราจึงต้องหยุดการใช้เงินเกินตัวและหันเข้าหาความพอเพียง แต่สิ่งที่ต้องทำก่อนคือการเข้าไปหาข้อเท็จจริงของปัญหาหนี้ครู และต่อยอดสิ่งที่ ศธ.ได้ดำเนินการไว้แล้ว”
นายวรากรณ์ กล่าวอีกว่า ครู คือหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา เพราะแต่ละวันครูต้องอยู่กับนักเรียนเป็นเวลาหลายชั่วโมง หากสามารถทำให้ครูมีเกียรติ มีผลตอบแทนที่ดี ตนเชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาการศึกษาให้ดีได้อย่างแน่นอน
“การทำงานของผมจะต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ก และผมเชื่อมั่นในตัว รมว.ศึกษาธิการ การรับตำแหน่งครั้งนี้ ผมถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้ทำงานสำคัญและท้าทาย และขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเข้าทำงานที่กระทรวงเมื่อใด แต่ตนจะพยายามเข้าไปทำงานให้เร็วที่สุด
“วรากรณ์”ดีแต่มีภาพเป็นคน ปชป.
ด้าน นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ ความเป็นนักวิชาการของ นายวรากรณ์ ก็เป็นที่ยอมรับและมีผลงานบริหารจัดการระดับดีมา คิดว่างานในส่วนที่ นายวรากรณ์ จะมาช่วยได้มากจะเป็นเรื่องอุดมศึกษา ขณะเดียวกันสังคมอาจตั้งข้อกังขาและตั้งข้อสงสัยได้ว่า นายวรากรณ์ อาจเป็นบางส่วน ของพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกับ นายวิจิตร
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมวงการการศึกษายอมรับได้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เหลือจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าบางเรื่องโดยเฉพาะการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ค่าใช้จ่ายรายหัวของอุดมศึกษา และสร้างเอกภาพให้กับชาวมหาวิทยาลัย คิดว่า นายวรากรณ์ จะมาช่วย นายวิจิตร ได้ในเรื่องอุดมศึกษาและปัญหาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“มองในแง่ผลงานถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่ยอมรับ ได้ระดับอาจารย์ที่ยังมีการเคลื่อนไหวทางสังคมตลอด ได้คนดีเข้ามาทำงาน เป็นที่ยอมรับได้ น้ำหนักของความสำเร็จที่จะทำได้ให้ร้อยละ 60 เพราะต้องเป็นการเตรียมการให้รัฐบาลต่อไป และขอให้หยุดเรื่องการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพราะทำไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ และดูในสิ่งที่อาจจะรวมพลชาวมหาวิทยาลัยช่วยทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับและเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีการล้มประชามติ ดังนั้น ใช้พลังอุดมศึกษาของนิสิต นักศึกษา แล้วร่างให้ดีให้เป็นที่ยอมรับและเป็นรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”
ห่วงการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกทอดทิ้ง
นายถวิล น้อยเขียว ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท.) กล่าวว่า จะเห็นได้ว่ารัฐมนตรีของ กระทรวงศึกษาฯทั้งสองคนมาจากอุดมศึกษา สิ่งที่จะขาดในวันนี้คือการพัฒนาและเดินหน้าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่ง 2 ระดับการศึกษานี้อยู่กับรากหญ้าชนบทร้อยละ 80-90 ดังนั้น การบริหารจัดการตรงนี้อาจจะไม่สมบูรณ์ เพราะอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านนี้ วันนี้คนที่จะมาพัฒนาการศึกษาควบคุมนโยบายได้ต้องรู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่นั่งดูตัวเลขแล้วสั่งการ ต้องรู้ทั้งสองทาง ถ้าไม่รู้รายละเอียดและความต้องการอย่างแท้จริง เชื่อว่าจะทำได้ไม่สำเร็จ อยากฝากรัฐมนตรีช่วยศึกษาฯ ให้คำนึงถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากหญ้าจำนวนมาก ของประเทศ ถ้าการศึกษาไม่สำเร็จหรือล้มเหลว ก็อย่าหวังว่าการศึกษาอุดมศึกษาจะสำเร็จ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 แล้ว และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศลงวันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 และประกาศครั้งสุดท้ายลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2549 นั้น
บัดนี้ เพื่อความเหมาะสม และบังเกิดประโยชน์แก่ราชการ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งรัฐมนตรีตามความในมาตรา 14 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ดังต่อไปนี้
นางอรนุช โอสถานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ค่ายสิรินธร จ.ปัตตานี ถึงเหตุผลการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ครั้งล่าสุด ที่เพิ่มนางอรนุช เป็น รมช.พาณิชย์ และนายวรากรณ์ เป็น รมช.ศึกษาธิการ ว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวง มีงานมาก จึงต้องการคนเข้ามาช่วยทำงาน โดยรัฐมนตรีว่าการทั้ง 2 กระทรวง เป็นผู้เลือกเอง ซึ่งการเพิ่มรัฐมนตรีอีก 2 ตำแหน่ง จะทำให้การทำงานของรัฐบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังจะไม่มีการปรับ ครม.อีก
“คิดว่าจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะงานด้านการศึกษา มีมาก ขณะที่งานของกระทรวงพาณิชย์ ก็มีเพิ่มมากขึ้น มีงานประชุมในต่างประเทศ ผมคงไม่ต้องเน้นอะไรเป็นพิเศษ เพราะแต่ละคนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญกว่าผม เก่งทั้งคู่”
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า การเพิ่ม ครม. ครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปรับครม. และเป็นการเพิ่มมากว่า 1 กระทรวง ส่วนสาเหตุ ที่เพิ่มเนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีที่มีงานมากเสนอชื่อขึ้นมา ซึ่ง 2 กระทรวงคือกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงพาณิชย์ที่เสนอมา
สำหรับตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ ที่ตนกำกับดูแลนั้น รมว.พาณิชย์ ้แจ้งกับตนว่า งานของกระทรวงพาณิชย์มีมาก และตัวรัฐมนตรีว่าการฯ ก็ออกเดินทางไปต่างประเทศด้วยตัวเองหลายครั้ง ดังนั้นจึงต้องมีคนช่วยไม่เช่นนั้นกระทรวงพาณิชย์ก็จะทำงานหนักอยู่คนเดียว ส่วนจะให้เข้ามาช่วยในด้านใดนั้นขอให้ รมว.พาณิชย์ เป็นผู้ชี้แจงในด้านการแบ่งงาน
“นายกรัฐมนตรีถามว่า กระทรวงใหญ่ๆ อันไหนที่ใครคนเดียวที่สู้ไม่ไหว ให้บอกมา ก็มี 2 กระทรวงนี้ ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ไม่มีเหตุผลอะไรเพียงว่า งานของกระทรวงมีมาก”
“เกริกไกร”เตรียมแบ่งงานให้รมช.ใหม่
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการแบ่งงานว่า จะให้นางอรนุชดูแลงานส่วนใดบ้าง และคาดว่าภายในสุดสัปดาห์นี้ จะพิจารณาแบ่งงานให้กับ รมช.พาณิชย์ต่อไป ซึ่งงานของกระทรวงพาณิชย์มีมาก แต่เชื่อว่า นางอรนุชจะทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างแน่นอน
ขณะที่นางอรนุช กล่าวว่า เพิ่งรับทราบการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์วันนี้ ส่วนรายละเอียดการทำงาน คงไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ แต่คงต้องรอการถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นลำดับแรก แต่ก็เชื่อว่า จะสามารถบริหารงานได้
“วิจิตร”เลือก“วรากรณ์”ให้ช่วยดูหนี้ครู
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนเสนอชื่อ นายวรากรณ์ เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ที่มาจากภาคเอกชน น่าจะช่วยประสานงานสถานศึกษาเอกชนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 18 และอุดมศึกษาในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
นอกจากนี้ นายวรากรณ์ เคยเป็นอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ก็จะให้มาช่วย เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินครู รวมถึงต้องการให้มาช่วยแนะนำการสร้างจิตสำนึกให้ครู ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ อีกทั้ง นายรากรณ์ ยังเป็นผู้ที่เข้าใจบทบาท ทางการเมืองดี เพราะเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี จะมาช่วยในระดับนโยบายประสานงานกับภาครัฐ สภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยราชการต่าง ๆ
“อาจารย์วรากรณ์ เป็นคนที่เข้าใจงานต่างๆ ดี ก็น่าจะทำงานราบรื่น มีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยมน่าจะช่วยประสานงานได้ ผมพิจารณาจากประสบการณ์และผลงานแล้วก็เลือก เข้ามาเสริมช่วยให้ทีมบริหารของกระทรวงสาธารณสุข เข้มแข็งขึ้น เพราะยังขาดจุดนี้อยู่”
“วรากรณ์”เผยตัดสินใจ 1 วัน
ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต(มธบ.) ว่าที่ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับการทาบทามจาก นายวิจิตร ศรีสอ้าน ให้เข้ามาช่วยทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)โดยให้เหตุผลว่า ศธ.เป็นกระทรวงใหญ่ มีงานที่ต้องเข้ามาช่วยกันทำเยอะ ใช้เวลาในการพิจารณาอยู่ประมาณ 1 วัน จึงตัดสินใจตอบรับ และยืนยันว่าในระยะเวลา 9 เดือนที่อยู่ในตำแหน่ง จะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ 100 % เพราะตนเคยได้รับทุนจากเงินภาษีราษฎร เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ว่าจะทำงานใช้หนี้ทุนจนหมดแล้วตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ถือเป็นหนี้ที่เป็นภาระผูกพันทางใจ
“การเข้ามาทำงานครั้งนี้จึงเป็นการเข้ามาเพื่อรับใช้สังคม ไม่ใช่แค่พูดให้ฟังดูเก๋ๆ เท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกจริงๆ ซึ่งผมต้องลาออกจากงานทั้งหมดที่ทำอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการบริหารท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย และเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อมาทำงานการศึกษาอย่างเต็มที่ ส่วนที่ รมว.ศึกษาธิการเลือกผมคงเพราะหากเลือกคนอื่นเกรงจะกระทบงานเก่าที่แต่ละคนดูแลอยู่ แต่ผมอยู่กับภาคเอกชนจึงไม่มีผลกระทบมากนัก”
แก้หนี้ครูเริ่มจากนำเข้าสู้ระบบ
สำหรับปัญหาหนี้สินครูที่ นายวิจิตร จะมอบหมายให้เข้าไปดูแลนั้น นายรากรณ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำงานอยู่ในศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินรัฐวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินมา 2 ปีกว่า เชื่อว่าประสบการณ์จากการทำงานดังกล่าวน่าจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินครูได้ โดยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครูนั้น จำเป็นต้องมีการจัดลำดับหนี้จากหนี้นอกระบบให้เข้าไปอยู่ในระบบให้หมด โดยการปรับโครงสร้างหนี้ ตัดสินเชื่อที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงออกไปก่อน
“ที่สำคัญที่สุดคือครูจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เงิน เพราะไม่ว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินอย่างไร แต่หากพฤติกรรมการใช้เงินยังเหมือนเดิมก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันความรู้ทางด้านการตลาดมีมากกว่า ความรู้ของผู้บริโภคที่จะตามได้เท่าทัน ทำให้คนใช้จ่ายอย่างเกินตัวและบริหารจัดการไม่เป็น เราจึงต้องหยุดการใช้เงินเกินตัวและหันเข้าหาความพอเพียง แต่สิ่งที่ต้องทำก่อนคือการเข้าไปหาข้อเท็จจริงของปัญหาหนี้ครู และต่อยอดสิ่งที่ ศธ.ได้ดำเนินการไว้แล้ว”
นายวรากรณ์ กล่าวอีกว่า ครู คือหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา เพราะแต่ละวันครูต้องอยู่กับนักเรียนเป็นเวลาหลายชั่วโมง หากสามารถทำให้ครูมีเกียรติ มีผลตอบแทนที่ดี ตนเชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาการศึกษาให้ดีได้อย่างแน่นอน
“การทำงานของผมจะต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ก และผมเชื่อมั่นในตัว รมว.ศึกษาธิการ การรับตำแหน่งครั้งนี้ ผมถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้ทำงานสำคัญและท้าทาย และขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเข้าทำงานที่กระทรวงเมื่อใด แต่ตนจะพยายามเข้าไปทำงานให้เร็วที่สุด
“วรากรณ์”ดีแต่มีภาพเป็นคน ปชป.
ด้าน นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ ความเป็นนักวิชาการของ นายวรากรณ์ ก็เป็นที่ยอมรับและมีผลงานบริหารจัดการระดับดีมา คิดว่างานในส่วนที่ นายวรากรณ์ จะมาช่วยได้มากจะเป็นเรื่องอุดมศึกษา ขณะเดียวกันสังคมอาจตั้งข้อกังขาและตั้งข้อสงสัยได้ว่า นายวรากรณ์ อาจเป็นบางส่วน ของพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกับ นายวิจิตร
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมวงการการศึกษายอมรับได้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เหลือจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าบางเรื่องโดยเฉพาะการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ค่าใช้จ่ายรายหัวของอุดมศึกษา และสร้างเอกภาพให้กับชาวมหาวิทยาลัย คิดว่า นายวรากรณ์ จะมาช่วย นายวิจิตร ได้ในเรื่องอุดมศึกษาและปัญหาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“มองในแง่ผลงานถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่ยอมรับ ได้ระดับอาจารย์ที่ยังมีการเคลื่อนไหวทางสังคมตลอด ได้คนดีเข้ามาทำงาน เป็นที่ยอมรับได้ น้ำหนักของความสำเร็จที่จะทำได้ให้ร้อยละ 60 เพราะต้องเป็นการเตรียมการให้รัฐบาลต่อไป และขอให้หยุดเรื่องการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพราะทำไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ และดูในสิ่งที่อาจจะรวมพลชาวมหาวิทยาลัยช่วยทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับและเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีการล้มประชามติ ดังนั้น ใช้พลังอุดมศึกษาของนิสิต นักศึกษา แล้วร่างให้ดีให้เป็นที่ยอมรับและเป็นรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”
ห่วงการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกทอดทิ้ง
นายถวิล น้อยเขียว ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท.) กล่าวว่า จะเห็นได้ว่ารัฐมนตรีของ กระทรวงศึกษาฯทั้งสองคนมาจากอุดมศึกษา สิ่งที่จะขาดในวันนี้คือการพัฒนาและเดินหน้าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่ง 2 ระดับการศึกษานี้อยู่กับรากหญ้าชนบทร้อยละ 80-90 ดังนั้น การบริหารจัดการตรงนี้อาจจะไม่สมบูรณ์ เพราะอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านนี้ วันนี้คนที่จะมาพัฒนาการศึกษาควบคุมนโยบายได้ต้องรู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่นั่งดูตัวเลขแล้วสั่งการ ต้องรู้ทั้งสองทาง ถ้าไม่รู้รายละเอียดและความต้องการอย่างแท้จริง เชื่อว่าจะทำได้ไม่สำเร็จ อยากฝากรัฐมนตรีช่วยศึกษาฯ ให้คำนึงถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากหญ้าจำนวนมาก ของประเทศ ถ้าการศึกษาไม่สำเร็จหรือล้มเหลว ก็อย่าหวังว่าการศึกษาอุดมศึกษาจะสำเร็จ