กมธ.ยกร่าง ให้อำนาจประชาชน ลดจำนวนล่ารายชื่อ เปิดช่องให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ง่ายขึ้น "สมคิด"หนุน ส.ส.สังกัดพรรคการเมืองป้องกันปัญหาขายตัว ด้านอนุกก.ประชาสัมพันธ์เริ่มออกแบบสอบถาม 6 ประเด็นร้อน "บวรศักดิ์"แนะสภาร่างใช้ผลงานลบข้อครหาเรื่องที่มาของส.ส.ร.ขณะที่กก.สิทธิฯ ย้พต้องเน้นหมวดสิทธิ เสรีภาพประชาชนให้ชัด
เมื่อเวลา10.00 น.วานนี้ (31 ม.ค.)ได้มีการประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาแนวทางในด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ ทั้งนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท กมธ.กล่าวว่า ต้องการให้ประชาชนใช้ประชาธิปไตยโดยตรง ด้วยการออกเสียงถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรงอาจให้สามารถลงชื่อเพียง 25,000 ชื่อ เมื่อไต่สวนมีมูล ผู้ที่ถูกร้องก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หรือสามารถเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ แล้วเสนอไปที่สภาโดยมี ส.ส.รับรอง 1 ใน 5
ทั้งนี้ มีกมธ.ยกร่างหลายคนกล่าวสนับสนุน เนื่องจากที่ผ่านมาการใช้อำนาจของประชาชน กรณีเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ ไม่เคยทำสำเร็จ เพราะมีต้นทุนทางภาระของประชาชนมาก ดังนั้น อาจต้องปรับจำนวนให้เหลือแค่ 10,000 ชื่อ ก็เพียงพอ ขณะที่บางส่วนได้เน้นถึงเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายว่า ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่ดับเบิ้ลสแตนดาร์ด นอกจากนั้น ควรจำกัดสิทธิผู้มีอำนาจมากกว่าจำกัดสิทธิประชาชน และควรต้องออกกฎหมายส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ ส่วนการกระจายอำนาจ ต้องเพิ่มพื้นที่การตรวจสอบของประชาชน
นางอังคณา นีละไพจิต กรรมาธิการ กล่าวว่า การคุ้มครองการทารุณกรรม ผู้ถูกกระทบสิทธิ โอกาสที่จะออกมาฟ้องร้องทำได้ยาก ซึ่งหากจะให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองเต็มที่ ก็ต้องคุ้มครองพยาน การที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิ รัฐธรรมนูญควรจะบุให้ชัดเจนว่า ประชาชนจะทำอย่างไร ปวงชนที่ไม่ใช่ปวงชนชาวไทย จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เพราะเคยมีคนได้สัญชาติไทย แต่กลับถูกถอดถอน รวมทั้งศพนิรนาม 300 กว่าศพที่ จ.ปัตตานี และการกระจายอำนาจที่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรอบแนวทางจากการอภิปรายในด้านสิทธิเสรีภาพฯ จะเข้าสู่คณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพฯที่มี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธานฯ ซึ่งจะพิจารณาในวันที่ 1 ก.พ.นี้
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการ กมธ.ยกร่าง กล่าวว่าตนจะเสนอต่อที่ประชุมว่าให้ส.ส.สังกัดพรรคเพื่อป้องกันปัญหาส.ส.ขายตัว แต่ระยะเวลาที่ต้องสังกัดพรรคก่อน 90 วัน จึงจะลงสมัครรับเลือกตั้งได้อาจจะมากไป และควรลดลงมาเพื่อให้ส.ส.สามารถย้ายพรรคได้ เมื่อหมดวาระ แต่ไม่ใช่ย้ายพรรคได้ตลอดเวลา
"อยากจะยืนยันว่า ส.ส.ควรจะสังกัดพรรค เพราะถ้าส.ส.ไม่สังกัดพรรคปัญหาเดิมๆ ของประเทศไทยจะเกิดขึ้น เราจะมีส.ส.อิสระจำนวนมาก ส.ส.เหล่านี้ก็อาจจะขายเสียงของตัวเอง บางทีก็ไปขายเสียงเข้ารัฐบาล บางทีก็ขายเสียงเข้าฝ่ายค้าน บางทีก็ทำอย่างอื่น ซึ่งทำให้ระบบประชาธิปไตยสั่นคลอน ไม่เป็นไปตามระบบระเบียบที่ควรจะเป็น ผมคิดว่าเราควรให้ส.ส.สังกัดพรรคต่อไป แต่ระยะเวลาของการสังกัดพรรคอาจจะลดลงเหลือ 15 หรือ 30 วัน เพราะไปยึดโยงกับเรื่อง 45 วัน และ 60 วัน ของการเลือกตั้งก็หมายความว่า ในช่วง 4 ปี เราอาจจะไม่ให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ แต่ในช่วงของการเลือกตั้งใหม่น่าจะยอมให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ 1 ครั้ง แต่ถ้ายอมให้ย้ายพรรคตลอด หรือยอมให้มีส.ส.อิสระตลอดจะเกิดปรากฎการณ์ 2 อย่างเกิดขึ้นทันที คือส.ส.อิสระจะแกว่งไปแกว่งมาตลอดเวลา และ ส.ส.ที่สังกัดพรรค จะย้ายพรรคได้ตลอดเวลา"นายสมคิด กล่าว
**ออกแบบสอบถาม 6 ประเด็นร้อน
นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ในฐานะประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์กรสื่อและภาคเอกชนทั้งหลาย เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
นายพิเชียร กล่าวว่า ตอนนี้ได้เริ่มต้นการรณรงค์การร่างรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังแล้ว ซึ่งอนุกรรมการฯได้ฝากคำถาม 6 คำถาม ไปให้กับทุกหน่วยงาน คือ 1.นายกฯควรจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ 2. จำนวนส.ส.และส.ว.ควรจะมีเท่าไร และ อำนาจหน้าที่ส.ว.ควรเป็นอย่างไร 3. ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ควรมีต่อไปหรือไม่ และถ้ามี ควรมีจำนวนเท่าไร 4. ส.ส.ควรสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ส.ส.ควรสมัครอิสระได้หรือไม่ 5. คุณสมบัติของผู้สมัครส.ส.ควรจบปริญญาตรีหรือไม่ หรือเปิดกว้างไม่ต้องระบุ และ 6. ส.ว.ควรจะมาจาการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือมาจากการสรรหา ซึ่งอยากให้ทุกหน่วยงานรีบส่งมาโดยเร็วเพื่อจะได้นำส่งกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
"รับรองว่าทุกคำถามจะถึงมือน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างฯแน่นอน จะไม่ให้พลาดเลย ดังนั้นประชาชนที่ทราบข่าว ก็ขอให้ส่งมาได้เลย โดยส่งผ่านมาทาง www.cppc.thaigov.go.th และจะมีการเปิดตู้ป.ณ.ด้วย แต่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง หรือส่งไปที่รัฐสภาก็ได้ ซึ่งตรงนี้จะทำให้รัฐธรรมนูญของไทย เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง"นายพิเชียร กล่าว
**เน้นหมวดสิทธิเสรีภาพ ปชช.
นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวถึงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้ทำมาทั้ง 4 ภาค โดยแต่ละภาคจะเชิญทุกองค์กรเครือข่าย อาทิ องค์กรผู้หญิง องค์กรแรงงาน องค์กรคนพิการ ในทุกจังหวัดมาระดมความคิดเห็น
โดยเน้นหมวดสิทธิเสรีภาพ การกระจายอำนาจ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลปรากฏว่า ทุกเวทีจะเห็นตรงกันคือ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาชน เพราะถือเป็นรากฐานที่สำคัญ
"ข้อเสนอที่ได้จากเวทีต่าง ๆ ค่อนข้างเป็นรูปธรรม เช่นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่าเขียนคำว่า ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพราะที่ผ่านมาหลายเรื่องไม่มีการออกกฎหมายลูกมารองรับ ทำให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติ แต่ประเด็นไหนที่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดให้ชัดว่า ต้องแก้ไขกฎหมายภายในกี่ปี หากไม่แก้ไขให้ถือว่ากฎหมายฉบับนั้นตกไป หรือการเสนอให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน ระบวนการยุติธรรม เป็นต้น"นางสุนี กล่าว
นอกจากนี้ ในหลายเวทีเห็นว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านมาไม่มีอำนาจเท่าที่ควร จึงได้เสนอให้เพิ่มบทบาทของคณะกรรมการสิทธิฯ เช่นเมื่อเจอกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญให้สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ หรือพบว่า กฎระเบียบตรงไหนขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็สามารถเสนอต่อศาลปกครองวินิจฉัยได้โดยตรง รวมทั้งให้สามารถเป็นโจทก์หรือเป็นผู้เสียหายแทนประชาชนในกรณีที่จำเป็นได้
"หมวดสิทธิเสรีภาพ ถือเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญทั้งหมด จึงอยากให้กมธ.ยกร่างฯ ดูแลหมวดนี้ให้ลงตัว เพื่อเป็นการประกันอำนาจของประชาชน ก่อนที่จะไปสนใจหมวดอื่น ๆ"นางสุนี กล่าว
**แนะสภาร่างใช้ผลงานลบข้อครหา
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นำเสนอข้อคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญในการสัมมนา"ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ"จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันพระปกเกล้า ว่า ประเด็นที่ควรเป็นข้อคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ ไม่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญยุคใดที่ไม่เคยถูกครหาว่ามีโผ หรือมีการจัดตั้ง ดังนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่พึงถือเอาโลกธรรมเหล่านี้มาเป็นข้อขัดข้องในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผลงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวพิสูจน์ ตนจึงขอเอาใจช่วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคนให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะกล่าวหาว่าอะไร
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ กมธ.ยกร่างฯ พึงต้องระวังคือ การกำเนิดขึ้นของสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่สื่อมวลชนเสนอข่าวไปในทางที่มีการนินทากาเลเสียมาก อย่างไรก็ดีจุดนี้อาจจะไม่ใช่จุดอ่อนเสียทีเดียว เพราะหากสภาร่างรัฐธรรมนูญใช้จุดนี้เป็นจุดแข็งด้วยการพิสูจน์ด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีความสมบรูณ์
ส่วนข้อเสียเปรียบอีกประการคือ บรรยากาศของความตื่นตัว และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ขณะนี้ยังไม่คึกคักเท่าที่ควร ที่สำคัญสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องรับภาระหนัก เพราะบริบทของสังคมไทยอยู่ระหว่างความขัดแย้งของคน 2 กลุ่ม คือคนที่จะต้องการอดีตรัฐบาล กับคนที่ไม่เอารัฐบาลก่อน
นอกจากนี้ กระบวนการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ก็สำคัญไม่แพ้เนื้อหา ถ้ากระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญถูกต้อง ตั้งแต่ต้นในขั้นตอนการทำประชามติ จะได้รับผลดีไปด้วย ส่วนที่สองคือ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา ถ้าวิเคราะห์ปัญหาถูก การกำหนดกลไกในการแก้ไขปัญหาจะไม่ยาก
**แน่จริงต้องกำจัดการซื้อเสียงให้ได้
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย แสดงความไม่เห็นด้วยกับกรณ๊ที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญโดยลดจำนวนส.ส.ลง แต่ควรจะหาวิธีการ หรือมาตรการที่ไม่ให้มีการซื้อเสียงจะดีกว่า เพราะหากลดจำนวนส.ส.ลง ก็จะต้องมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด และใช้เงินกันมากขึ้น คนที่ไม่เคยลงเลือกตั้ง ไม่เคยใช้เงินไม่รู้หรอก นักการเมืองรู้ว่าต้องใช้เงินอย่างไร เพราะถึงเวลาเลือกตั้งก็มีแต่พวกนักการเมืองที่ลงสมัคร ไม่ใช่พวกกมธ.ยกร่างทั้ง 35 คน ที่ลงเลือกตั้ง
ส่วนเรื่องส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะไม่มี หรือมีก็ได้ แต่ถ้ามีควรจะลดเปอร์เซ็นต์ลงจากเดิม 5% ให้เหลือเพียง 3% เพื่อเปิดโอกาสให้กับพรรคการเมืองเล็ก และคนดี ๆ เข้ามาสู่การเมืองมากขึ้น และไม่ให้ระบบปาร์ตี้ลิสต์ผูกขาดโดยระบบทุน ที่ผ่านมามีกระบวนการนายทุน จนทำให้ระบบบัญชีรายชื่อเสีย เพราะมีการกำหนดลำดับว่า ลำดับหนึ่ง ลำดับสองจะได้อะไร เมื่อเป็นแบบนี้ก็มีผลเสียเกิดขึ้น
เมื่อถามว่าการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงต้องให้งบกับส.ส.เพื่อป้องกันการซื้อเสียง นายบรรหาร กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมการยกร่างฯ ต้องไปดูทั้งระบบว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ข้าราชการไปยุ่งกับการเมือง เพราะการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ข้าราชการเข้าไปยุ่ง มีผู้บังคับการตำรวจหิ้วเงินไปซื้อเสียงเลยก็มี ดังนั้นเรื่องนี้ต้องคุมให้ได้ ถ้าคุมไม่ได้เลือกตั้งไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใครผูกพันกับพรรคการเมืองเก่า ๆต้องขยับเขยื้อนให้หมด แบบนี้พรรคการเมืองก็สบายใจ ตอนนี้อำนาจอยู่เยอะแยะ ต้องคุมตรงนี้ให้ได้ ถ้าเช่นนั้นเลือกตั้งไปก็ไม่เกิดประโยชน์
เมื่อเวลา10.00 น.วานนี้ (31 ม.ค.)ได้มีการประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาแนวทางในด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ ทั้งนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท กมธ.กล่าวว่า ต้องการให้ประชาชนใช้ประชาธิปไตยโดยตรง ด้วยการออกเสียงถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรงอาจให้สามารถลงชื่อเพียง 25,000 ชื่อ เมื่อไต่สวนมีมูล ผู้ที่ถูกร้องก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หรือสามารถเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ แล้วเสนอไปที่สภาโดยมี ส.ส.รับรอง 1 ใน 5
ทั้งนี้ มีกมธ.ยกร่างหลายคนกล่าวสนับสนุน เนื่องจากที่ผ่านมาการใช้อำนาจของประชาชน กรณีเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ ไม่เคยทำสำเร็จ เพราะมีต้นทุนทางภาระของประชาชนมาก ดังนั้น อาจต้องปรับจำนวนให้เหลือแค่ 10,000 ชื่อ ก็เพียงพอ ขณะที่บางส่วนได้เน้นถึงเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายว่า ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่ดับเบิ้ลสแตนดาร์ด นอกจากนั้น ควรจำกัดสิทธิผู้มีอำนาจมากกว่าจำกัดสิทธิประชาชน และควรต้องออกกฎหมายส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ ส่วนการกระจายอำนาจ ต้องเพิ่มพื้นที่การตรวจสอบของประชาชน
นางอังคณา นีละไพจิต กรรมาธิการ กล่าวว่า การคุ้มครองการทารุณกรรม ผู้ถูกกระทบสิทธิ โอกาสที่จะออกมาฟ้องร้องทำได้ยาก ซึ่งหากจะให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองเต็มที่ ก็ต้องคุ้มครองพยาน การที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิ รัฐธรรมนูญควรจะบุให้ชัดเจนว่า ประชาชนจะทำอย่างไร ปวงชนที่ไม่ใช่ปวงชนชาวไทย จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เพราะเคยมีคนได้สัญชาติไทย แต่กลับถูกถอดถอน รวมทั้งศพนิรนาม 300 กว่าศพที่ จ.ปัตตานี และการกระจายอำนาจที่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรอบแนวทางจากการอภิปรายในด้านสิทธิเสรีภาพฯ จะเข้าสู่คณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพฯที่มี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธานฯ ซึ่งจะพิจารณาในวันที่ 1 ก.พ.นี้
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการ กมธ.ยกร่าง กล่าวว่าตนจะเสนอต่อที่ประชุมว่าให้ส.ส.สังกัดพรรคเพื่อป้องกันปัญหาส.ส.ขายตัว แต่ระยะเวลาที่ต้องสังกัดพรรคก่อน 90 วัน จึงจะลงสมัครรับเลือกตั้งได้อาจจะมากไป และควรลดลงมาเพื่อให้ส.ส.สามารถย้ายพรรคได้ เมื่อหมดวาระ แต่ไม่ใช่ย้ายพรรคได้ตลอดเวลา
"อยากจะยืนยันว่า ส.ส.ควรจะสังกัดพรรค เพราะถ้าส.ส.ไม่สังกัดพรรคปัญหาเดิมๆ ของประเทศไทยจะเกิดขึ้น เราจะมีส.ส.อิสระจำนวนมาก ส.ส.เหล่านี้ก็อาจจะขายเสียงของตัวเอง บางทีก็ไปขายเสียงเข้ารัฐบาล บางทีก็ขายเสียงเข้าฝ่ายค้าน บางทีก็ทำอย่างอื่น ซึ่งทำให้ระบบประชาธิปไตยสั่นคลอน ไม่เป็นไปตามระบบระเบียบที่ควรจะเป็น ผมคิดว่าเราควรให้ส.ส.สังกัดพรรคต่อไป แต่ระยะเวลาของการสังกัดพรรคอาจจะลดลงเหลือ 15 หรือ 30 วัน เพราะไปยึดโยงกับเรื่อง 45 วัน และ 60 วัน ของการเลือกตั้งก็หมายความว่า ในช่วง 4 ปี เราอาจจะไม่ให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ แต่ในช่วงของการเลือกตั้งใหม่น่าจะยอมให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ 1 ครั้ง แต่ถ้ายอมให้ย้ายพรรคตลอด หรือยอมให้มีส.ส.อิสระตลอดจะเกิดปรากฎการณ์ 2 อย่างเกิดขึ้นทันที คือส.ส.อิสระจะแกว่งไปแกว่งมาตลอดเวลา และ ส.ส.ที่สังกัดพรรค จะย้ายพรรคได้ตลอดเวลา"นายสมคิด กล่าว
**ออกแบบสอบถาม 6 ประเด็นร้อน
นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ในฐานะประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์กรสื่อและภาคเอกชนทั้งหลาย เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
นายพิเชียร กล่าวว่า ตอนนี้ได้เริ่มต้นการรณรงค์การร่างรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังแล้ว ซึ่งอนุกรรมการฯได้ฝากคำถาม 6 คำถาม ไปให้กับทุกหน่วยงาน คือ 1.นายกฯควรจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ 2. จำนวนส.ส.และส.ว.ควรจะมีเท่าไร และ อำนาจหน้าที่ส.ว.ควรเป็นอย่างไร 3. ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ควรมีต่อไปหรือไม่ และถ้ามี ควรมีจำนวนเท่าไร 4. ส.ส.ควรสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ส.ส.ควรสมัครอิสระได้หรือไม่ 5. คุณสมบัติของผู้สมัครส.ส.ควรจบปริญญาตรีหรือไม่ หรือเปิดกว้างไม่ต้องระบุ และ 6. ส.ว.ควรจะมาจาการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือมาจากการสรรหา ซึ่งอยากให้ทุกหน่วยงานรีบส่งมาโดยเร็วเพื่อจะได้นำส่งกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
"รับรองว่าทุกคำถามจะถึงมือน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.ยกร่างฯแน่นอน จะไม่ให้พลาดเลย ดังนั้นประชาชนที่ทราบข่าว ก็ขอให้ส่งมาได้เลย โดยส่งผ่านมาทาง www.cppc.thaigov.go.th และจะมีการเปิดตู้ป.ณ.ด้วย แต่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง หรือส่งไปที่รัฐสภาก็ได้ ซึ่งตรงนี้จะทำให้รัฐธรรมนูญของไทย เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง"นายพิเชียร กล่าว
**เน้นหมวดสิทธิเสรีภาพ ปชช.
นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวถึงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้ทำมาทั้ง 4 ภาค โดยแต่ละภาคจะเชิญทุกองค์กรเครือข่าย อาทิ องค์กรผู้หญิง องค์กรแรงงาน องค์กรคนพิการ ในทุกจังหวัดมาระดมความคิดเห็น
โดยเน้นหมวดสิทธิเสรีภาพ การกระจายอำนาจ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลปรากฏว่า ทุกเวทีจะเห็นตรงกันคือ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาชน เพราะถือเป็นรากฐานที่สำคัญ
"ข้อเสนอที่ได้จากเวทีต่าง ๆ ค่อนข้างเป็นรูปธรรม เช่นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่าเขียนคำว่า ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพราะที่ผ่านมาหลายเรื่องไม่มีการออกกฎหมายลูกมารองรับ ทำให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติ แต่ประเด็นไหนที่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดให้ชัดว่า ต้องแก้ไขกฎหมายภายในกี่ปี หากไม่แก้ไขให้ถือว่ากฎหมายฉบับนั้นตกไป หรือการเสนอให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน ระบวนการยุติธรรม เป็นต้น"นางสุนี กล่าว
นอกจากนี้ ในหลายเวทีเห็นว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านมาไม่มีอำนาจเท่าที่ควร จึงได้เสนอให้เพิ่มบทบาทของคณะกรรมการสิทธิฯ เช่นเมื่อเจอกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญให้สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ หรือพบว่า กฎระเบียบตรงไหนขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็สามารถเสนอต่อศาลปกครองวินิจฉัยได้โดยตรง รวมทั้งให้สามารถเป็นโจทก์หรือเป็นผู้เสียหายแทนประชาชนในกรณีที่จำเป็นได้
"หมวดสิทธิเสรีภาพ ถือเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญทั้งหมด จึงอยากให้กมธ.ยกร่างฯ ดูแลหมวดนี้ให้ลงตัว เพื่อเป็นการประกันอำนาจของประชาชน ก่อนที่จะไปสนใจหมวดอื่น ๆ"นางสุนี กล่าว
**แนะสภาร่างใช้ผลงานลบข้อครหา
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นำเสนอข้อคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญในการสัมมนา"ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ"จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันพระปกเกล้า ว่า ประเด็นที่ควรเป็นข้อคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ ไม่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญยุคใดที่ไม่เคยถูกครหาว่ามีโผ หรือมีการจัดตั้ง ดังนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่พึงถือเอาโลกธรรมเหล่านี้มาเป็นข้อขัดข้องในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผลงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวพิสูจน์ ตนจึงขอเอาใจช่วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคนให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะกล่าวหาว่าอะไร
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ กมธ.ยกร่างฯ พึงต้องระวังคือ การกำเนิดขึ้นของสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่สื่อมวลชนเสนอข่าวไปในทางที่มีการนินทากาเลเสียมาก อย่างไรก็ดีจุดนี้อาจจะไม่ใช่จุดอ่อนเสียทีเดียว เพราะหากสภาร่างรัฐธรรมนูญใช้จุดนี้เป็นจุดแข็งด้วยการพิสูจน์ด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีความสมบรูณ์
ส่วนข้อเสียเปรียบอีกประการคือ บรรยากาศของความตื่นตัว และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ขณะนี้ยังไม่คึกคักเท่าที่ควร ที่สำคัญสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องรับภาระหนัก เพราะบริบทของสังคมไทยอยู่ระหว่างความขัดแย้งของคน 2 กลุ่ม คือคนที่จะต้องการอดีตรัฐบาล กับคนที่ไม่เอารัฐบาลก่อน
นอกจากนี้ กระบวนการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ก็สำคัญไม่แพ้เนื้อหา ถ้ากระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญถูกต้อง ตั้งแต่ต้นในขั้นตอนการทำประชามติ จะได้รับผลดีไปด้วย ส่วนที่สองคือ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา ถ้าวิเคราะห์ปัญหาถูก การกำหนดกลไกในการแก้ไขปัญหาจะไม่ยาก
**แน่จริงต้องกำจัดการซื้อเสียงให้ได้
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย แสดงความไม่เห็นด้วยกับกรณ๊ที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญโดยลดจำนวนส.ส.ลง แต่ควรจะหาวิธีการ หรือมาตรการที่ไม่ให้มีการซื้อเสียงจะดีกว่า เพราะหากลดจำนวนส.ส.ลง ก็จะต้องมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด และใช้เงินกันมากขึ้น คนที่ไม่เคยลงเลือกตั้ง ไม่เคยใช้เงินไม่รู้หรอก นักการเมืองรู้ว่าต้องใช้เงินอย่างไร เพราะถึงเวลาเลือกตั้งก็มีแต่พวกนักการเมืองที่ลงสมัคร ไม่ใช่พวกกมธ.ยกร่างทั้ง 35 คน ที่ลงเลือกตั้ง
ส่วนเรื่องส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะไม่มี หรือมีก็ได้ แต่ถ้ามีควรจะลดเปอร์เซ็นต์ลงจากเดิม 5% ให้เหลือเพียง 3% เพื่อเปิดโอกาสให้กับพรรคการเมืองเล็ก และคนดี ๆ เข้ามาสู่การเมืองมากขึ้น และไม่ให้ระบบปาร์ตี้ลิสต์ผูกขาดโดยระบบทุน ที่ผ่านมามีกระบวนการนายทุน จนทำให้ระบบบัญชีรายชื่อเสีย เพราะมีการกำหนดลำดับว่า ลำดับหนึ่ง ลำดับสองจะได้อะไร เมื่อเป็นแบบนี้ก็มีผลเสียเกิดขึ้น
เมื่อถามว่าการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงต้องให้งบกับส.ส.เพื่อป้องกันการซื้อเสียง นายบรรหาร กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมการยกร่างฯ ต้องไปดูทั้งระบบว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ข้าราชการไปยุ่งกับการเมือง เพราะการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ข้าราชการเข้าไปยุ่ง มีผู้บังคับการตำรวจหิ้วเงินไปซื้อเสียงเลยก็มี ดังนั้นเรื่องนี้ต้องคุมให้ได้ ถ้าคุมไม่ได้เลือกตั้งไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใครผูกพันกับพรรคการเมืองเก่า ๆต้องขยับเขยื้อนให้หมด แบบนี้พรรคการเมืองก็สบายใจ ตอนนี้อำนาจอยู่เยอะแยะ ต้องคุมตรงนี้ให้ได้ ถ้าเช่นนั้นเลือกตั้งไปก็ไม่เกิดประโยชน์