ครป.จี้รัฐบาลจัดการคลื่นใต้น้ำอย่างเป็นรูปธรรม เตือนสถานการณ์ขณะนี้เหมือนยืนอยู่บนเหรียญสองด้านระหว่าง"วีรบุรุษ"และ"ทรราช" ทำนายปี 50 เป็นช่วงพิสูจน์ศักยภาพอย่างแท้จริง เพราะสารพัดปัญหากำลังตั้งเค้า ย้ำต้องใช้ความสามารถในการแก้ไขวิกฤติ ไม่ใช่ใช้ความบริสุทธิ์โปร่งใสเพียงอย่างเดียว
ที่สำนักงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)เมื่อวานนี้ (7ม.ค.)นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการครป.เปิดแถลงข่าววิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยปี 2550 โดยระบุว่า การทำงานในช่วงต่อจากนี้ คณะมนตรีมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)และ รัฐบาลต้องขายความสามารถ มากกว่าขายความบริสุทธิ์ เพราะการเมืองในปี 2549 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นจุดเสื่อมของระบอบทักษิณ และขาลงประชาธิปไตยสู่สภาวะเว้นวรรค ที่ผ่านมาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมไทยเข้าขั้นวิกฤติ เรื้อรัง และไร้ทางออก เพราะระบอบทักษิณ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ปลดล็อก ซ้ำร้ายกลับดันทุรังรักษาอำนาจและเผชิญหน้ากับพลังมวลชนอย่างเปิดเผย และท้าทาย ทำให้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูง และบรรยากาศอึดอัดอึมครึมไปทั่ว
การเข้ามายึดอำนาจของ คณะรัฐปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. จึงไม่แปลกที่ได้รับความชอบธรรมมากกว่าการรัฐประหารเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา
เลขาธิการครป.กล่าวว่า น่าเสียดายที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่สังคมไทยทุ่มเทกันมา กว่าจะเป็นเครื่องมือในการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ระบอบทักษิณกับวิสามัญฆาตกรรมรัฐธรรมนูญจนทำให้การแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้เป็นไปบนวิถีอารยะประชาธิปไตย
ดังนั้นในนามของ ครป.จึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการรัฐประหาร เพราะเป็นวิถีที่ย้อนยุค และก็เชื่อว่าคนไทยทั่วๆ ไปก็มีความคิดชุดนี้อยู่ แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงว่าระบบปกติทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญไม่ทำงานถูกแช่แข็งจนไม่สามารถคลี่คลายวิกฤติปัญหาได้ด้วยตัวเอง รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 จึงเป็นบทเรียนที่ขมขื่น และถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องขบคิด เพื่อกำหนดภารกิจสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพและสามารถคลี่คลาย วิกฤติการณ์บ้านเมืองได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ในช่วงเกิดวิกฤติการณ์นักการเมืองต้องเรียนรู้ที่จะเสียสละ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าความมั่งคั่งของตนเอง เพื่อทำให้การเมืองพ้นจากทางตันให้ได้ ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะคาดหวังอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ หรือลุ่มหลงอยู่กับลัทธิอัศวินม้าขาวตลอดเวลา บทเรียนครั้งนี้จึงมีค่ามหาศาลที่ทุกฝ่ายต้องเรียนรู้ร่วมกัน
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของ คปค.เมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 ที่ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. เหมือนยืนอยู่ท่ามกลางเหรียญสองด้าน คือด้านที่มี โอกาสเป็นวีรชน และด้านที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็น ทรราช และยืนอยู่บนการบ้านชุดเดียวกับประชาชนว่า จะสะสางปัญหาคอร์รัปชั่น สร้างความสมานฉันท์ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ก้าวหน้าได้หรือไม่ เพราะความชอบธรรมที่ คมช.ได้รับจากประชาชน จึงเป็นความชอบธรรมที่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ความชอบธรรมลอยๆ ฉะนั้นอีกด้านหนึ่งเราจึงเห็นกระแสการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ คมช.และรัฐบาลสูงมาก เพราะทันทีที่ยึดอำนาจ ก็ถูกตั้งข้อสังเกตจากสังคมแล้วว่า คมช.จะสืบทอดอำนาจหรือเดินย่ำรอย รสช.จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาคม 2535หรือไม่
เลขาธิกาครป.กล่าวอีกว่า สถานการณ์การเมืองในปี 2550 นอกเหนือจากการสะสางปัญหาเก่าที่ยังคั่งค้าง คมช.กับรัฐบาล จะต้องก่องานใหม่ โดยเฉพาะการแปรนโยบายที่แถลงต่อสภาฯ ให้มีผลในทางปฏิบัติจะต้องริเริ่มอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมของนโยบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสื่อฯ การสร้างความสมานฉันท์ การแก้ปัญหาความยากจนทั้งระบบ ฯลฯ วาระเหล่านี้ล้วนต้องใช้ศักยภาพและความสามารถ หรือ กึ๋น ของ คมช.และรัฐบาลมากกว่าความบริสุทธิ์อย่างเดียว
ดังนั้นปี 2550 ทั้งรัฐบาลและ คมช.จะเที่ยวขายแต่ความบริสุทธิ์ต่อไปอย่างเดียวคงยากที่จะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ประการสำคัญ ขั้วอำนาจเก่าจะเปิดเกมโจมตีจุดแข็งหรือความบริสุทธิ์ของคมช.และรัฐบาลเข้มข้นขึ้น เริ่มต้นจากปัญหาที่ดินเขายายเที่ยง ของนากฯ และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของประธาน คมช.และเตรียมเปิดแผลของรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลคนอื่นๆ ตามมา
"ถ้าจะประเมินศักยภาพและความสามารถของ คมช.และรัฐบาลในช่วง 3 เดือนหลังการยึดอำนาจ ยังประเมินลำบาก เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นเพียงข้อสอบก่อนเวลาหรือ Pre Test จึงยังไม่สามารถจัดเกรดได้ ถ้าจะให้ก็คงเป็นเกรด I หรือ ติด ร.ไว้ก่อน เพราะประชาชนเห็นแต่เป้าหมายปลายทาง แต่ยังไม่เห็นทางไปสู่เป้าหมาย เช่น การสะสางปัญหาคอร์รัปชั่น การปฏิรูปการเมือง การแก้ปัญหาภาคใต้ และการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งแม้หลายเรื่องมีความสลับซับซ้อนต้องใช้เวลาสังคมก็เข้าใจ แต่ด้านหนึ่งก็รู้สึกเนิ่นนานกับเวลาที่ใช้ไปถึง 3 เดือน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือความตั้งใจและต้นทุนในเรื่องภาพลักษณ์ทั้งของประธาน คมช.และผู้นำรัฐบาลยังอยู่ในเกณฑ์ที่สังคมไว้วางใจ และอยู่ในเกณฑ์สอบผ่าน" นายสุริยะใส กล่าว
ที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ปี 2550 คมช.จะเข้าสู่สนามสอบจริง มีจุดที่ต้องจับตาเป็นพิเศษเพราะอาจเป็นชนวนความขัดแย้งจนกลายเป็นระเบิดเวลาก็ได้ ซึ่งมีสัญญาณที่น่าจับตาคือ ปัญหาความยากจน เช่น ปัญหาหนี้สิน ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ปัญหาแรงงาน ราคาพืชผลการผลิตตกต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาร้อนและสะสมเรื้อรังมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ถ้ารัฐบาลยังไม่จัดการเชิงรุกหรือเข้าถึงปัญหาคนจนได้จริงๆ จะทำให้ชาวบ้านออกมาเดินขบวนอย่างกว้างขวาง ถ้า คมช.และรัฐบาลแก้ปัญหาล่าช้าหรือแก้ไม่ได้ การเคลื่อนไหวของชาวบ้านอาจพัฒนาเป็นแรงต้านหรือพลังขับไล่ คมช.และรัฐบาล ซึ่งมีเครือข่ายคลื่นใต้น้ำของขั้วอำนาจเก่าจากระบอบทักษิณจับจ้องและรอจังหวะผสมโรงตลอดเวลา
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ อาจกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ เพราะสัญญาณของอำนาจเก่า หรือความคิดแบบอนุรักษ์นิยมย้อนยุคเริ่มขยับ รุกเปิดประเด็นชี้นำหลายๆ ประเด็น เช่น นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ ถูกบงการโดยข้าราชการประจำ และมีการส่องสัญญาณ ชี้นำโดย คมช.ตลอดเวลา จะทำให้ประชาชนหวาดระแวง ว่าเป็นแผนสืบทอดอำนาหรือไม่ และ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจถอยหลังกว่าฉบับ 2540 ปรากฎการณ์แบบนี้ ถ้า คมช.และรัฐบาลไม่ระมัดระวังไม่จัดการกับเงื่อนไขที่ให้หมดไป การร่างรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเวทีของการเผชิญหน้าของผู้คนในสังคมอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง อาจเลวร้ายกว่าในสมัยระบอบทักษิณก็ได้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า เกมโต้กลับของอำนาจเก่า และระบอบทักษิณ ส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ยังเกาะติดและขึ้นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เพราะอำนาจเงิน อำนาจทุน และอำนาจมวลชนยังอยู่ครบ ประกอบกับอำนาจรัฐบางส่วนยังไม่แปรพักตร์ เช่น ทหาร ตำรวจ บางกลุ่ม และข้าราชการบางกระทรวง จะขัดแข้งขัดขา กระทั่งหาจังหวะออกมาขัดขวาง คมช.และรัฐบาลเป็นระยะๆ โดยเฉพาะประเด็นกลับ เข้าประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังสร้างสงครามจิตวิทยาให้ คมช.ปวดหัวได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ประเด็นพิจารณาเรื่องยุบพรรค ต้องวิเคราะห์และคำนึงถึงช่วงจังหวะเวลาและสถานการณ์การเมืองด้วย เพราะอาจเป็นเงื่อนไขให้ลิ่วล้อระบอบทักษิณปลุกมวลชนออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้
ประการสำคัญทั้ง คมช.และรัฐบาล ต้องกล้าตัดทิ้งประเด็นปัญหาใหม่ที่ คมช.และรัฐบาลเป็นผู้ก่อขึ้นอาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น การเดินหน้าแปรรูปมหาวิทยาลัย การลงนามเอฟทีเอ ชี้นำการร่างรัฐธรรมนูญ ข่าวเรื่องงบลับ เป็นต้น ประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ คมช.และรัฐบาล สร้างขึ้นเองโดยไม่จำเป็น ถือเป็นการวางระเบิดตัวเอง ซึ่งควรหาทางทบทวนยกเลิก มาตรการ หรือนโยบายที่กระทบกับคนส่วนใหญ่ หรือสร้างวิธีการที่น่าเชื่อถือมากกว่านี้ โอกาสที่จะคลี่คลายสถานการณ์ยังพอมี เริ่มต้นจาก คมช.รัฐบาล สนช. กระทั่งหน่วยงานที่ใช้อำนาจทั้งหลายต้องตั้งหลักกันใหม่ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา สะสางปัญหาเก่าให้เร็วขึ้น งดการสร้างปัญหาใหม่โดยไม่จำเป็น และเน้นมาตรการเชิงรุกมากขึ้น
"โดยสรุป คมช.และรัฐบาลจึงยังไม่ควรประเมินอะไรขาด หรือหยาบเกินไป ช่วงกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2550 จะถือเป็นช่วงสนามสอบจริง ปัญหาต่างๆ จะรุมเร้าและโผล่มาพร้อมๆกัน ทั้งประเด็น เนื้อหาการร่างรัฐธรรมนูญที่มีสัญญาณแย่กว่ารัฐธรรมนูญ 2540 การลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริต การพิจารณายุบพรรค การเคลื่อนไหวมวลชน จะโผล่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ตอนนั้นจะเป็นช่วงพิสูจน์ศักยภาพของคมช.อย่างแท้จริง”นายสุริยะใส กล่าว
ที่สำนักงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)เมื่อวานนี้ (7ม.ค.)นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการครป.เปิดแถลงข่าววิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยปี 2550 โดยระบุว่า การทำงานในช่วงต่อจากนี้ คณะมนตรีมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)และ รัฐบาลต้องขายความสามารถ มากกว่าขายความบริสุทธิ์ เพราะการเมืองในปี 2549 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นจุดเสื่อมของระบอบทักษิณ และขาลงประชาธิปไตยสู่สภาวะเว้นวรรค ที่ผ่านมาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมไทยเข้าขั้นวิกฤติ เรื้อรัง และไร้ทางออก เพราะระบอบทักษิณ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ปลดล็อก ซ้ำร้ายกลับดันทุรังรักษาอำนาจและเผชิญหน้ากับพลังมวลชนอย่างเปิดเผย และท้าทาย ทำให้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูง และบรรยากาศอึดอัดอึมครึมไปทั่ว
การเข้ามายึดอำนาจของ คณะรัฐปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. จึงไม่แปลกที่ได้รับความชอบธรรมมากกว่าการรัฐประหารเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา
เลขาธิการครป.กล่าวว่า น่าเสียดายที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่สังคมไทยทุ่มเทกันมา กว่าจะเป็นเครื่องมือในการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ระบอบทักษิณกับวิสามัญฆาตกรรมรัฐธรรมนูญจนทำให้การแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้เป็นไปบนวิถีอารยะประชาธิปไตย
ดังนั้นในนามของ ครป.จึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการรัฐประหาร เพราะเป็นวิถีที่ย้อนยุค และก็เชื่อว่าคนไทยทั่วๆ ไปก็มีความคิดชุดนี้อยู่ แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงว่าระบบปกติทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญไม่ทำงานถูกแช่แข็งจนไม่สามารถคลี่คลายวิกฤติปัญหาได้ด้วยตัวเอง รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 จึงเป็นบทเรียนที่ขมขื่น และถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องขบคิด เพื่อกำหนดภารกิจสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพและสามารถคลี่คลาย วิกฤติการณ์บ้านเมืองได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ในช่วงเกิดวิกฤติการณ์นักการเมืองต้องเรียนรู้ที่จะเสียสละ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าความมั่งคั่งของตนเอง เพื่อทำให้การเมืองพ้นจากทางตันให้ได้ ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะคาดหวังอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ หรือลุ่มหลงอยู่กับลัทธิอัศวินม้าขาวตลอดเวลา บทเรียนครั้งนี้จึงมีค่ามหาศาลที่ทุกฝ่ายต้องเรียนรู้ร่วมกัน
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของ คปค.เมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 ที่ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. เหมือนยืนอยู่ท่ามกลางเหรียญสองด้าน คือด้านที่มี โอกาสเป็นวีรชน และด้านที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็น ทรราช และยืนอยู่บนการบ้านชุดเดียวกับประชาชนว่า จะสะสางปัญหาคอร์รัปชั่น สร้างความสมานฉันท์ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ก้าวหน้าได้หรือไม่ เพราะความชอบธรรมที่ คมช.ได้รับจากประชาชน จึงเป็นความชอบธรรมที่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ความชอบธรรมลอยๆ ฉะนั้นอีกด้านหนึ่งเราจึงเห็นกระแสการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ คมช.และรัฐบาลสูงมาก เพราะทันทีที่ยึดอำนาจ ก็ถูกตั้งข้อสังเกตจากสังคมแล้วว่า คมช.จะสืบทอดอำนาจหรือเดินย่ำรอย รสช.จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาคม 2535หรือไม่
เลขาธิกาครป.กล่าวอีกว่า สถานการณ์การเมืองในปี 2550 นอกเหนือจากการสะสางปัญหาเก่าที่ยังคั่งค้าง คมช.กับรัฐบาล จะต้องก่องานใหม่ โดยเฉพาะการแปรนโยบายที่แถลงต่อสภาฯ ให้มีผลในทางปฏิบัติจะต้องริเริ่มอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมของนโยบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสื่อฯ การสร้างความสมานฉันท์ การแก้ปัญหาความยากจนทั้งระบบ ฯลฯ วาระเหล่านี้ล้วนต้องใช้ศักยภาพและความสามารถ หรือ กึ๋น ของ คมช.และรัฐบาลมากกว่าความบริสุทธิ์อย่างเดียว
ดังนั้นปี 2550 ทั้งรัฐบาลและ คมช.จะเที่ยวขายแต่ความบริสุทธิ์ต่อไปอย่างเดียวคงยากที่จะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ประการสำคัญ ขั้วอำนาจเก่าจะเปิดเกมโจมตีจุดแข็งหรือความบริสุทธิ์ของคมช.และรัฐบาลเข้มข้นขึ้น เริ่มต้นจากปัญหาที่ดินเขายายเที่ยง ของนากฯ และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของประธาน คมช.และเตรียมเปิดแผลของรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลคนอื่นๆ ตามมา
"ถ้าจะประเมินศักยภาพและความสามารถของ คมช.และรัฐบาลในช่วง 3 เดือนหลังการยึดอำนาจ ยังประเมินลำบาก เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นเพียงข้อสอบก่อนเวลาหรือ Pre Test จึงยังไม่สามารถจัดเกรดได้ ถ้าจะให้ก็คงเป็นเกรด I หรือ ติด ร.ไว้ก่อน เพราะประชาชนเห็นแต่เป้าหมายปลายทาง แต่ยังไม่เห็นทางไปสู่เป้าหมาย เช่น การสะสางปัญหาคอร์รัปชั่น การปฏิรูปการเมือง การแก้ปัญหาภาคใต้ และการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งแม้หลายเรื่องมีความสลับซับซ้อนต้องใช้เวลาสังคมก็เข้าใจ แต่ด้านหนึ่งก็รู้สึกเนิ่นนานกับเวลาที่ใช้ไปถึง 3 เดือน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือความตั้งใจและต้นทุนในเรื่องภาพลักษณ์ทั้งของประธาน คมช.และผู้นำรัฐบาลยังอยู่ในเกณฑ์ที่สังคมไว้วางใจ และอยู่ในเกณฑ์สอบผ่าน" นายสุริยะใส กล่าว
ที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ปี 2550 คมช.จะเข้าสู่สนามสอบจริง มีจุดที่ต้องจับตาเป็นพิเศษเพราะอาจเป็นชนวนความขัดแย้งจนกลายเป็นระเบิดเวลาก็ได้ ซึ่งมีสัญญาณที่น่าจับตาคือ ปัญหาความยากจน เช่น ปัญหาหนี้สิน ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ปัญหาแรงงาน ราคาพืชผลการผลิตตกต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาร้อนและสะสมเรื้อรังมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ถ้ารัฐบาลยังไม่จัดการเชิงรุกหรือเข้าถึงปัญหาคนจนได้จริงๆ จะทำให้ชาวบ้านออกมาเดินขบวนอย่างกว้างขวาง ถ้า คมช.และรัฐบาลแก้ปัญหาล่าช้าหรือแก้ไม่ได้ การเคลื่อนไหวของชาวบ้านอาจพัฒนาเป็นแรงต้านหรือพลังขับไล่ คมช.และรัฐบาล ซึ่งมีเครือข่ายคลื่นใต้น้ำของขั้วอำนาจเก่าจากระบอบทักษิณจับจ้องและรอจังหวะผสมโรงตลอดเวลา
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ อาจกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ เพราะสัญญาณของอำนาจเก่า หรือความคิดแบบอนุรักษ์นิยมย้อนยุคเริ่มขยับ รุกเปิดประเด็นชี้นำหลายๆ ประเด็น เช่น นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ ถูกบงการโดยข้าราชการประจำ และมีการส่องสัญญาณ ชี้นำโดย คมช.ตลอดเวลา จะทำให้ประชาชนหวาดระแวง ว่าเป็นแผนสืบทอดอำนาหรือไม่ และ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจถอยหลังกว่าฉบับ 2540 ปรากฎการณ์แบบนี้ ถ้า คมช.และรัฐบาลไม่ระมัดระวังไม่จัดการกับเงื่อนไขที่ให้หมดไป การร่างรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเวทีของการเผชิญหน้าของผู้คนในสังคมอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง อาจเลวร้ายกว่าในสมัยระบอบทักษิณก็ได้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า เกมโต้กลับของอำนาจเก่า และระบอบทักษิณ ส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ยังเกาะติดและขึ้นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เพราะอำนาจเงิน อำนาจทุน และอำนาจมวลชนยังอยู่ครบ ประกอบกับอำนาจรัฐบางส่วนยังไม่แปรพักตร์ เช่น ทหาร ตำรวจ บางกลุ่ม และข้าราชการบางกระทรวง จะขัดแข้งขัดขา กระทั่งหาจังหวะออกมาขัดขวาง คมช.และรัฐบาลเป็นระยะๆ โดยเฉพาะประเด็นกลับ เข้าประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังสร้างสงครามจิตวิทยาให้ คมช.ปวดหัวได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ประเด็นพิจารณาเรื่องยุบพรรค ต้องวิเคราะห์และคำนึงถึงช่วงจังหวะเวลาและสถานการณ์การเมืองด้วย เพราะอาจเป็นเงื่อนไขให้ลิ่วล้อระบอบทักษิณปลุกมวลชนออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้
ประการสำคัญทั้ง คมช.และรัฐบาล ต้องกล้าตัดทิ้งประเด็นปัญหาใหม่ที่ คมช.และรัฐบาลเป็นผู้ก่อขึ้นอาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น การเดินหน้าแปรรูปมหาวิทยาลัย การลงนามเอฟทีเอ ชี้นำการร่างรัฐธรรมนูญ ข่าวเรื่องงบลับ เป็นต้น ประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ คมช.และรัฐบาล สร้างขึ้นเองโดยไม่จำเป็น ถือเป็นการวางระเบิดตัวเอง ซึ่งควรหาทางทบทวนยกเลิก มาตรการ หรือนโยบายที่กระทบกับคนส่วนใหญ่ หรือสร้างวิธีการที่น่าเชื่อถือมากกว่านี้ โอกาสที่จะคลี่คลายสถานการณ์ยังพอมี เริ่มต้นจาก คมช.รัฐบาล สนช. กระทั่งหน่วยงานที่ใช้อำนาจทั้งหลายต้องตั้งหลักกันใหม่ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา สะสางปัญหาเก่าให้เร็วขึ้น งดการสร้างปัญหาใหม่โดยไม่จำเป็น และเน้นมาตรการเชิงรุกมากขึ้น
"โดยสรุป คมช.และรัฐบาลจึงยังไม่ควรประเมินอะไรขาด หรือหยาบเกินไป ช่วงกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2550 จะถือเป็นช่วงสนามสอบจริง ปัญหาต่างๆ จะรุมเร้าและโผล่มาพร้อมๆกัน ทั้งประเด็น เนื้อหาการร่างรัฐธรรมนูญที่มีสัญญาณแย่กว่ารัฐธรรมนูญ 2540 การลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริต การพิจารณายุบพรรค การเคลื่อนไหวมวลชน จะโผล่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ตอนนั้นจะเป็นช่วงพิสูจน์ศักยภาพของคมช.อย่างแท้จริง”นายสุริยะใส กล่าว