วิสัยทัศน์เมื่อแรกตั้ง"กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร" คือ ต้องการให้เกษตรกรอยู่ดี กินดี มีสุข มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ และเกื้อกูลกัน เป็นรากฐานเศรษฐกิจแห่งชาติที่มั่นคง แต่จากตัวเลขสรุปผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 โดยเฉพาะด้านการจัดการหนี้สินของเกษตรกร
รัฐบาลก่อนหน้านี้ เห็นชอบในการออกมาตรการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจ ในการจัดการหนี้แก่เกษตรกร และกิจการใดที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายกำหนดให้มีค่าธรรมเนียม และภาษี ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อการจัดการหนี้แก่เกษตรกร คือ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 459)พ.ศ.2549 และกฎกระทรวงฉบับที่ 262(พ.ศ.2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 ก.พ.49 โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 459)พ.ศ.2549 ประกาศเมื่อวันที่ 5ก.ค.49 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 262(พ.ศ.2549)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 28 ส.ค.49 ซึ่งในปีงบประมาณ 2549 คณะกรรมการ อนุมัติวงเงินเพื่อการฟื้นฟูไว้ 600 ล้านบาท(จากทุนประเดิม 1,800 ล้านบาท ให้เพื่อจัดการหนี้ 1,200 ล้านบาท และเพื่อฟื้นฟู 600 ล้านบาท)
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยรักไทย เห็นชอบตามผู้บริหารกองทุนฯ ในแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท และเป็นหนี้จนถึง ณ วันที่ 30 มิ.ย.48 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอล(หนี้เสีย)และกำลังถูกดำเนินคดี ได้ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ไปเจรจาขอลดหนี้กับทางเจ้าหนี้ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลหนี้ โดยตัดดอกเบี้ยออก จากนั้นให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปซื้อหนี้ออกมาบริหารจัดการ
2. กลุ่มที่เป็นหนี้เสีย แต่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ไปเจรจาเรื่องลดหนี้กับเจ้าหนี้ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ลูกหนี้ชำระเงินที่เหลือภายใน 6 เดือน เหมือนหนี้สินภาคประชาชน แต่หากไม่สามารถชำระได้ภายใน 6 เดือน ก็ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)ดำเนินการเอาหนี้ออกมาแล้ว ให้เกษตรกรผ่อนชำระกับ ธ.ก.ส.ภายใต้พื้นฐานจะต้องลดหนี้ให้ โดยกรณีหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะขอลดหนี้ประมาณร้อยละ 50 ของมูลหนี้ ส่วนหนี้จากการค้ำประกันให้เกษตรรายอื่น ก็จะขอเจรจาให้ลดหนี้มากกว่าร้อยละ 50 อาจจะเหลือร้อยละ 25-50 จากหนี้ทั้งหมด
3. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย หนี้ปกติจะเน้นเรื่องส่งเสริมการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อให้เกษตกรเหล่านั้นมีรายได้ที่จะสามารถหาเงินมาผ่อนชำระหนี้ได้ โดยการตรวจสอบทะเบียนหนี้(คุณสมบัติเกษตรกรและตรวจสอบความมีอยู่จริงของหนี้และสถานะหนี้)
ตามที่กองทุนฟื้นฟู ได้ประกาศขึ้นทะเบียนหนี้ 3 รอบที่ผ่านมาในปี 46-47 นั้น สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารการขึ้นทะเบียนหนี้ ได้ดังนี้ รอบที่ 1/2546 จำนวน 159,217 ราย 229,810 บัญชี
รอบที่ 2/2546 จำนวน 43,590 ราย 61,307 บัญชี รอบที่ 1/2547 จำนวน 79,800 ราย 140,251 บัญชี รวมข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ทั้ง 3 รอบ 282,607ราย จำนวน 431,368 บัญชี
อย่างไรก็ตาม ก่อนการจัดการหนี้ ได้มีการตรวจสอบทะเบียนหนี้ เพื่อยืนยันความถูกต้อง ครบถ้วนตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟู ทั้ง 2 ด้าน คือ คุณสมบัติความเป็นเกษตรกรตาม พ.ร.บ.(รับรองโดยสำนักงานกองทุน)และ ความมีอยู่จริงของหนี้และสถานะหนี้ (ยืนยันจากสถาบันเจ้าหนี้)
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการหนี้ในปี งบประมาณ 2549 คณะกรรมการ กำหนดวงเงินเพื่อการจัดการหนี้ไว้ 1,200 ล้านบาท จนถึง 30 ก.ย.49 สำนักงานได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 385 ราย เป็นเงิน 18,687,884.20 บาท (ล่าสุด รายงาน ณ 29 พ.ย.49 สามารถดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกรแล้ว 1,103 ราย เป็นเงิน 152,826,153.34 บาท )การประนอมหนี้ เพื่อชะลอการบังคับคดี โดยการจัดทำหนังสือเพื่อประนอมหนี้ในกรณีหนี้เร่งด่วนกับสถาบันการเงิน จำนวน 3,808 ราย มูลหนี้ที่ขอชะลอการดำเนินคดี 4,762,662,255.31 บาท แยกเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้
กรณีขอผ่อนผันการดำเนินคดี จำนวน 1,629 ราย มูลหนี้ 1,520,972,863.98 บาท
กรณีขอชะลอการบังคับคดียึดทรัพย์ จำนวน 318 ราย มูลหนี้ 341,008,771.98 บาท
กรณีขอชะลอการขายทอดตลาด จำนวน 1,859 ราย มูลหนี้ 2,371,949,657.28 บาท
กรณีขอชะลอการขายบุคคลภายนอก/ขับไล่ จำนวน 248 ราย มูลหนี้ 362,051,564.54 บาท
กรณีฟ้องล้มละลาย จำนวน 72 ราย มูลหนี้ 166,679,397.53 บาท
ขณะที่พบว่า รายงานสรุปข้อมูลสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ระหว่างปี 46-47 แยกตามสถาบันการเงินตอบกลับ และสถานะหนี้ ดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มี 103,094 ราย จำนวน 103,553 บัญชี วงเงินต้น 15,001,313,118.00 บาท ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 10,661 ราย 11,246 บัญชี วงเงินต้น 5,389,830,572.05 บาท สหกรณ์การเกษตร มี 51,506 ราย 68,859 บัญชี วงเงินต้น 3,897,393,945.48 บาท ค.ป.ร. มี 8,093 ราย 8,093 บัญชี เงินต้น 270,290,069.00 บาท นิติบุคคลอื่น ๆ จำนวน 2,458 ราย 2,560 บัญชี วงเงินต้น 859,940,855.98 บาท รวม 175,812 ราย 194,311 บัญชี วงเงินรวม 25,418,768,560.51 บาท
นอกจากนี้กองทุนฯ กำหนดเป้าหมายที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในเดือนพ.ย.49–ม.ค.50 อีก 7,116 ราย และส่วนในไตรมาส 2-4 ของปีงบประมาณ 2550 กฟก.มีแผนดำเนินการ ชำระหนี้แทนกรณีหนี้ NPLs ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี จำนวนประมาณ 61,999 ราย ซึ่งประมาณการว่า จะต้องใช้งบประมาณในการจัดการหนี้อีกจำนวน 6,601 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีงบประมาณรองรับที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
การตรวจสอบหนี้ จากสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนหนี้ รอบ 1-3 จำนวน 282,607 ราย ตรวจสอบความถูกต้องของสถานะหนี้แล้ว 172,465 ราย โดยจำแนกเป็น (1) หนี้ค้างชำระเกินกำหนดเวลา(NPLs)และถูกดำเนินคดี ฟ้อง 7,467 ราย ซึ่ง กฟก.ต้องชำระหนี้แทนในปี งบประมาณ 2549 ประมาณการวงเงินที่ใช้ 1,200 ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานจนถึง 9 พ.ย.49 กฟก.ชำระหนี้แทนแล้ว 933 ราย เป็นเงิน 124,644,986.39 บาท และ เป้าหมายที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในเดือนพ.ย.49-ม.ค.50 อีก 6,534 ราย
ส่วนในไตรมาส 2-4 ของปีงบประมาณ 2550 กฟก.มีแผนดำเนินการ ชำระหนี้แทนกรณีหนี้ NPLs ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ประมาณ 61,999 ราย ซึ่งประมาณการว่า จะต้องใช้งบประมาณในการจัดการหนี้อีก 6,601 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีงบประมาณรองรับที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นหลักทรัพย์มาเป็นของกองทุนฯ และเกษตรกรต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก เท่านั้น
เมื่อรัฐบาลใหม่ โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้ามาควบคุม ได้เชิญแกนนำชาวบ้าน เครือข่ายเกษตรกรทุกองค์กร จำนวน 9 คน เข้าหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อรายงานความคืบหน้าการจัดการหนี้ และเสนอแนวทางการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อกอบกู้ชีวิตเกษตรกร เมื่อวันที่ 22 พ.ย.49 ที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นครั้งแรก ต่างจากสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่เกษตรกรแทบไม่มีโอกาสเยื้องกรายเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล
ในการหารือในวันนั้น มีการรายงานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 6/2548 และครั้งที่ 1/2549 ที่อ้างถึงคณะกรรมการกองทุนได้มอบนโยบายด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 ดังนี้
เกษตรกรที่จะได้รับการจัดการหนี้ ต้องเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และขึ้นทะเบียนหนี้กับกองทุนฟื้นฟู ถูกต้อง ก่อน วันที่ 28 ก.พ.48 สถานะหนี้ เป็นหนี้ NPLs ก่อนวันที่ 30 มิ.ย.48 และมีวงเงินต้นไม่เกิน 2.5 ล้านบาท วิธีการจัดการหนี้ ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทนเกษตรกรที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้วโอนหนี้มาอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยใช้กรอบการเจรจากับสถาบันเจ้าหนี้ คือ ตัดดอกเบี้ยทิ้งทั้งหมด และชำระหนี้แทน 50 % ของเงินต้นคงค้าง หรือไม่เกิน 90 % ของเงินต้นคงค้าง
รายงานผลการชำระหนี้แทนเกษตรกรระหว่างวันที่ 1 ก.พ.–9 พ.ย.49 มีดังนี้
1) กรณีหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.–9 พ.ย.49 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำการชำระหนี้แทนเกษตรกร รวม 128 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 12,011,473.33 บาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการชำระหนี้แทนกรณีหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และวงหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท
2) กรณีหนี้สหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถบรรลุความร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตร จ.เชียงใหม่เป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 18 พ.ค.49 โดยสำนักงานกองทุน ชำระหนี้แทนเกษตรกร 50 % ของเงินต้นคงค้าง และส่วนที่เหลือ สหกรณ์เจ้าหนี้ได้ตั้งบัญชีเงินชดเชยค้างรับจากรัฐบาล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่18 พ.ค.-9 พ.ย.49 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำการชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 490 ราย จำนวนเงิน หากรวมที่ กฟก.สำรองจ่าย ให้รัฐบาลด้วยจะเป็นเงิน 54,346,939.72 บาท
3) กรณีธนาคารพาณิชย์ กำลังอยู่ระหว่าง ดำเนินการชำระหนี้แทน วงเงิน ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยดำเนินการแล้ว 315 ราย เป็นเงิน 58,286,573.34 บาท ที่มาตัวเลข 38 ล้านไร่
ส่วนผลการหารือในวันนั้น ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของเกษตรกร โดยเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ปัญหาของเกษตรกร ซึ่งผู้นำเกษตรกร ได้เสนอข้อคิดเห็นดังนี้
แม้ พ.ร.บ.กองทุนทุนฟื้นฟูฯ จะเป็นที่คาดหวังของเกษตรกร แต่ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานเท่าที่ควร ในขณะที่ปัญหาของเกษตรกร โดยเฉพาะปัญหาหนี้สิน และเป็นเหตุให้ที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ ถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด เพื่อการชำระหนี้
มีตัวเลขประมาณการ ที่คำนวนจากจำนวนที่ดินซึ่งเกษตรกรใช้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ในทุกสถาบันเจ้าหนี้ รวมทั้งสิ้น 38 ล้านไร่ (โดยคิดจากสมมุติฐานที่คำนวนจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ ที่คำนวนได้ค่าเฉลี่ยว่า ที่ดินถือครอง และใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมของเกษตรกร เฉลี่ยรายละ 12 ไร่ ดังนั้นหากคำนวนว่ามีเกษตรกรกองทุน 6,244,509 คน รวมประมาณที่ดินที่เป็นหลักประกันจำนอง ประมาณ 38 ล้านไร่ ) และปัญหาเร่งด่วนที่สุดของเกษตรกรขณะนี้ คือ การถูกบังคับคดีขายทอดตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ข้อตกลงจากที่ประชุม เสนอให้มีการปรับปรุง กฎหมายกองทุน(พระราชบัญญัติ )ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ตามนโยบาย 4 ป. ของรัฐบาล คือ ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และ ประหยัด )โดยให้ตั้งคณะทำงานศึกษาและเสนอแนะ ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้านการจัดการหนี้ กรณีที่เจ้าหนี้ไม่หยุดขายทรัพย์ประกันแห่งหนี้ โดยการออกเป็นมาตราการทางนโยบาย เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และช่วยเกษตรกรรักษาที่ทำกินไว้ โดยให้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.อุตสาหกรรม และนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ ไปร่วมกันเสนอทางออก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามูลหนี้กว่า 4,762,662,255.31 บาท จากเกษตรกรหลักแสนราย ที่เป็นหนี้แล้วนั้น จำแนกตามจังหวัด จากข้อมูลการซื้อหนี้แล้วจนถึงวันที่ 29 พ.ย. 49 พบว่า ดำเนินการไปได้เพียง 1,103 ราย จาก 1,107 บัญชี โดยสามารถซื้อหนี้จากสหกรณ์การเกษตรได้มากที่สุด แต่ที่น่าจัตามองในปี 2550 ที่เกษตรกรต่างฝากความหวังว่า มาตรการของรัฐบาลชุดนี้ ที่ผ่านทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะสามารถแก้ปัญหาให้เขาได้จริง ทั้งการจัดการหนี้เร่งด่วนให้เสร็จสิ้นในเดือนม.ค.50 รวมทั้งคณะปฏิรูปกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะต้องออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อสกัดกั้นเหลือบที่หวังประโยชน์ทางการเมืองกับเกษตรกร
รัฐบาลก่อนหน้านี้ เห็นชอบในการออกมาตรการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจ ในการจัดการหนี้แก่เกษตรกร และกิจการใดที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายกำหนดให้มีค่าธรรมเนียม และภาษี ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อการจัดการหนี้แก่เกษตรกร คือ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 459)พ.ศ.2549 และกฎกระทรวงฉบับที่ 262(พ.ศ.2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 ก.พ.49 โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 459)พ.ศ.2549 ประกาศเมื่อวันที่ 5ก.ค.49 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 262(พ.ศ.2549)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 28 ส.ค.49 ซึ่งในปีงบประมาณ 2549 คณะกรรมการ อนุมัติวงเงินเพื่อการฟื้นฟูไว้ 600 ล้านบาท(จากทุนประเดิม 1,800 ล้านบาท ให้เพื่อจัดการหนี้ 1,200 ล้านบาท และเพื่อฟื้นฟู 600 ล้านบาท)
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยรักไทย เห็นชอบตามผู้บริหารกองทุนฯ ในแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท และเป็นหนี้จนถึง ณ วันที่ 30 มิ.ย.48 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอล(หนี้เสีย)และกำลังถูกดำเนินคดี ได้ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ไปเจรจาขอลดหนี้กับทางเจ้าหนี้ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลหนี้ โดยตัดดอกเบี้ยออก จากนั้นให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปซื้อหนี้ออกมาบริหารจัดการ
2. กลุ่มที่เป็นหนี้เสีย แต่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ไปเจรจาเรื่องลดหนี้กับเจ้าหนี้ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ลูกหนี้ชำระเงินที่เหลือภายใน 6 เดือน เหมือนหนี้สินภาคประชาชน แต่หากไม่สามารถชำระได้ภายใน 6 เดือน ก็ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)ดำเนินการเอาหนี้ออกมาแล้ว ให้เกษตรกรผ่อนชำระกับ ธ.ก.ส.ภายใต้พื้นฐานจะต้องลดหนี้ให้ โดยกรณีหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะขอลดหนี้ประมาณร้อยละ 50 ของมูลหนี้ ส่วนหนี้จากการค้ำประกันให้เกษตรรายอื่น ก็จะขอเจรจาให้ลดหนี้มากกว่าร้อยละ 50 อาจจะเหลือร้อยละ 25-50 จากหนี้ทั้งหมด
3. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย หนี้ปกติจะเน้นเรื่องส่งเสริมการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อให้เกษตกรเหล่านั้นมีรายได้ที่จะสามารถหาเงินมาผ่อนชำระหนี้ได้ โดยการตรวจสอบทะเบียนหนี้(คุณสมบัติเกษตรกรและตรวจสอบความมีอยู่จริงของหนี้และสถานะหนี้)
ตามที่กองทุนฟื้นฟู ได้ประกาศขึ้นทะเบียนหนี้ 3 รอบที่ผ่านมาในปี 46-47 นั้น สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารการขึ้นทะเบียนหนี้ ได้ดังนี้ รอบที่ 1/2546 จำนวน 159,217 ราย 229,810 บัญชี
รอบที่ 2/2546 จำนวน 43,590 ราย 61,307 บัญชี รอบที่ 1/2547 จำนวน 79,800 ราย 140,251 บัญชี รวมข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ทั้ง 3 รอบ 282,607ราย จำนวน 431,368 บัญชี
อย่างไรก็ตาม ก่อนการจัดการหนี้ ได้มีการตรวจสอบทะเบียนหนี้ เพื่อยืนยันความถูกต้อง ครบถ้วนตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟู ทั้ง 2 ด้าน คือ คุณสมบัติความเป็นเกษตรกรตาม พ.ร.บ.(รับรองโดยสำนักงานกองทุน)และ ความมีอยู่จริงของหนี้และสถานะหนี้ (ยืนยันจากสถาบันเจ้าหนี้)
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการหนี้ในปี งบประมาณ 2549 คณะกรรมการ กำหนดวงเงินเพื่อการจัดการหนี้ไว้ 1,200 ล้านบาท จนถึง 30 ก.ย.49 สำนักงานได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 385 ราย เป็นเงิน 18,687,884.20 บาท (ล่าสุด รายงาน ณ 29 พ.ย.49 สามารถดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกรแล้ว 1,103 ราย เป็นเงิน 152,826,153.34 บาท )การประนอมหนี้ เพื่อชะลอการบังคับคดี โดยการจัดทำหนังสือเพื่อประนอมหนี้ในกรณีหนี้เร่งด่วนกับสถาบันการเงิน จำนวน 3,808 ราย มูลหนี้ที่ขอชะลอการดำเนินคดี 4,762,662,255.31 บาท แยกเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้
กรณีขอผ่อนผันการดำเนินคดี จำนวน 1,629 ราย มูลหนี้ 1,520,972,863.98 บาท
กรณีขอชะลอการบังคับคดียึดทรัพย์ จำนวน 318 ราย มูลหนี้ 341,008,771.98 บาท
กรณีขอชะลอการขายทอดตลาด จำนวน 1,859 ราย มูลหนี้ 2,371,949,657.28 บาท
กรณีขอชะลอการขายบุคคลภายนอก/ขับไล่ จำนวน 248 ราย มูลหนี้ 362,051,564.54 บาท
กรณีฟ้องล้มละลาย จำนวน 72 ราย มูลหนี้ 166,679,397.53 บาท
ขณะที่พบว่า รายงานสรุปข้อมูลสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ระหว่างปี 46-47 แยกตามสถาบันการเงินตอบกลับ และสถานะหนี้ ดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มี 103,094 ราย จำนวน 103,553 บัญชี วงเงินต้น 15,001,313,118.00 บาท ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 10,661 ราย 11,246 บัญชี วงเงินต้น 5,389,830,572.05 บาท สหกรณ์การเกษตร มี 51,506 ราย 68,859 บัญชี วงเงินต้น 3,897,393,945.48 บาท ค.ป.ร. มี 8,093 ราย 8,093 บัญชี เงินต้น 270,290,069.00 บาท นิติบุคคลอื่น ๆ จำนวน 2,458 ราย 2,560 บัญชี วงเงินต้น 859,940,855.98 บาท รวม 175,812 ราย 194,311 บัญชี วงเงินรวม 25,418,768,560.51 บาท
นอกจากนี้กองทุนฯ กำหนดเป้าหมายที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในเดือนพ.ย.49–ม.ค.50 อีก 7,116 ราย และส่วนในไตรมาส 2-4 ของปีงบประมาณ 2550 กฟก.มีแผนดำเนินการ ชำระหนี้แทนกรณีหนี้ NPLs ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี จำนวนประมาณ 61,999 ราย ซึ่งประมาณการว่า จะต้องใช้งบประมาณในการจัดการหนี้อีกจำนวน 6,601 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีงบประมาณรองรับที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
การตรวจสอบหนี้ จากสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนหนี้ รอบ 1-3 จำนวน 282,607 ราย ตรวจสอบความถูกต้องของสถานะหนี้แล้ว 172,465 ราย โดยจำแนกเป็น (1) หนี้ค้างชำระเกินกำหนดเวลา(NPLs)และถูกดำเนินคดี ฟ้อง 7,467 ราย ซึ่ง กฟก.ต้องชำระหนี้แทนในปี งบประมาณ 2549 ประมาณการวงเงินที่ใช้ 1,200 ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานจนถึง 9 พ.ย.49 กฟก.ชำระหนี้แทนแล้ว 933 ราย เป็นเงิน 124,644,986.39 บาท และ เป้าหมายที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในเดือนพ.ย.49-ม.ค.50 อีก 6,534 ราย
ส่วนในไตรมาส 2-4 ของปีงบประมาณ 2550 กฟก.มีแผนดำเนินการ ชำระหนี้แทนกรณีหนี้ NPLs ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ประมาณ 61,999 ราย ซึ่งประมาณการว่า จะต้องใช้งบประมาณในการจัดการหนี้อีก 6,601 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีงบประมาณรองรับที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นหลักทรัพย์มาเป็นของกองทุนฯ และเกษตรกรต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก เท่านั้น
เมื่อรัฐบาลใหม่ โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้ามาควบคุม ได้เชิญแกนนำชาวบ้าน เครือข่ายเกษตรกรทุกองค์กร จำนวน 9 คน เข้าหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อรายงานความคืบหน้าการจัดการหนี้ และเสนอแนวทางการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อกอบกู้ชีวิตเกษตรกร เมื่อวันที่ 22 พ.ย.49 ที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นครั้งแรก ต่างจากสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่เกษตรกรแทบไม่มีโอกาสเยื้องกรายเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล
ในการหารือในวันนั้น มีการรายงานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 6/2548 และครั้งที่ 1/2549 ที่อ้างถึงคณะกรรมการกองทุนได้มอบนโยบายด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 ดังนี้
เกษตรกรที่จะได้รับการจัดการหนี้ ต้องเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และขึ้นทะเบียนหนี้กับกองทุนฟื้นฟู ถูกต้อง ก่อน วันที่ 28 ก.พ.48 สถานะหนี้ เป็นหนี้ NPLs ก่อนวันที่ 30 มิ.ย.48 และมีวงเงินต้นไม่เกิน 2.5 ล้านบาท วิธีการจัดการหนี้ ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทนเกษตรกรที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้วโอนหนี้มาอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยใช้กรอบการเจรจากับสถาบันเจ้าหนี้ คือ ตัดดอกเบี้ยทิ้งทั้งหมด และชำระหนี้แทน 50 % ของเงินต้นคงค้าง หรือไม่เกิน 90 % ของเงินต้นคงค้าง
รายงานผลการชำระหนี้แทนเกษตรกรระหว่างวันที่ 1 ก.พ.–9 พ.ย.49 มีดังนี้
1) กรณีหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.–9 พ.ย.49 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำการชำระหนี้แทนเกษตรกร รวม 128 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 12,011,473.33 บาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการชำระหนี้แทนกรณีหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และวงหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท
2) กรณีหนี้สหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถบรรลุความร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตร จ.เชียงใหม่เป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 18 พ.ค.49 โดยสำนักงานกองทุน ชำระหนี้แทนเกษตรกร 50 % ของเงินต้นคงค้าง และส่วนที่เหลือ สหกรณ์เจ้าหนี้ได้ตั้งบัญชีเงินชดเชยค้างรับจากรัฐบาล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่18 พ.ค.-9 พ.ย.49 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำการชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 490 ราย จำนวนเงิน หากรวมที่ กฟก.สำรองจ่าย ให้รัฐบาลด้วยจะเป็นเงิน 54,346,939.72 บาท
3) กรณีธนาคารพาณิชย์ กำลังอยู่ระหว่าง ดำเนินการชำระหนี้แทน วงเงิน ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยดำเนินการแล้ว 315 ราย เป็นเงิน 58,286,573.34 บาท ที่มาตัวเลข 38 ล้านไร่
ส่วนผลการหารือในวันนั้น ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของเกษตรกร โดยเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ปัญหาของเกษตรกร ซึ่งผู้นำเกษตรกร ได้เสนอข้อคิดเห็นดังนี้
แม้ พ.ร.บ.กองทุนทุนฟื้นฟูฯ จะเป็นที่คาดหวังของเกษตรกร แต่ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานเท่าที่ควร ในขณะที่ปัญหาของเกษตรกร โดยเฉพาะปัญหาหนี้สิน และเป็นเหตุให้ที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ ถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด เพื่อการชำระหนี้
มีตัวเลขประมาณการ ที่คำนวนจากจำนวนที่ดินซึ่งเกษตรกรใช้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ในทุกสถาบันเจ้าหนี้ รวมทั้งสิ้น 38 ล้านไร่ (โดยคิดจากสมมุติฐานที่คำนวนจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ ที่คำนวนได้ค่าเฉลี่ยว่า ที่ดินถือครอง และใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมของเกษตรกร เฉลี่ยรายละ 12 ไร่ ดังนั้นหากคำนวนว่ามีเกษตรกรกองทุน 6,244,509 คน รวมประมาณที่ดินที่เป็นหลักประกันจำนอง ประมาณ 38 ล้านไร่ ) และปัญหาเร่งด่วนที่สุดของเกษตรกรขณะนี้ คือ การถูกบังคับคดีขายทอดตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ข้อตกลงจากที่ประชุม เสนอให้มีการปรับปรุง กฎหมายกองทุน(พระราชบัญญัติ )ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ตามนโยบาย 4 ป. ของรัฐบาล คือ ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และ ประหยัด )โดยให้ตั้งคณะทำงานศึกษาและเสนอแนะ ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้านการจัดการหนี้ กรณีที่เจ้าหนี้ไม่หยุดขายทรัพย์ประกันแห่งหนี้ โดยการออกเป็นมาตราการทางนโยบาย เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และช่วยเกษตรกรรักษาที่ทำกินไว้ โดยให้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.อุตสาหกรรม และนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ ไปร่วมกันเสนอทางออก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามูลหนี้กว่า 4,762,662,255.31 บาท จากเกษตรกรหลักแสนราย ที่เป็นหนี้แล้วนั้น จำแนกตามจังหวัด จากข้อมูลการซื้อหนี้แล้วจนถึงวันที่ 29 พ.ย. 49 พบว่า ดำเนินการไปได้เพียง 1,103 ราย จาก 1,107 บัญชี โดยสามารถซื้อหนี้จากสหกรณ์การเกษตรได้มากที่สุด แต่ที่น่าจัตามองในปี 2550 ที่เกษตรกรต่างฝากความหวังว่า มาตรการของรัฐบาลชุดนี้ ที่ผ่านทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะสามารถแก้ปัญหาให้เขาได้จริง ทั้งการจัดการหนี้เร่งด่วนให้เสร็จสิ้นในเดือนม.ค.50 รวมทั้งคณะปฏิรูปกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะต้องออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อสกัดกั้นเหลือบที่หวังประโยชน์ทางการเมืองกับเกษตรกร