เตรียมชง ครม.ตั้งคณะปฏิรูปฯ ควบคุม"กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตกร"แทนยุบทิ้ง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย ทั้งความโปร่งใสในการเลือกตั้งกรรมการ ระเบียบ การเมืองแทรกแซง เผยธนาคารพาณิชย์-ธ.ก.ส. ยอมถ่ายหนี้ ชุดแรก 5,000 ราย หารือกรมบังคับคดีแก้ปัญหายึดที่ พร้อมตั้งศูนย์รับเรื่องอุทธรณ์เกษตรกร
วานนี้(4 ธ.ค.)นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นางจุฬารัตน์ นิรัตศยกุล รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ และตัวแทนจากกรมบังคับคดี เข้าร่วมหารือในการแก้ปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ ภายหลังรับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
นางจุฬารัตน์ เปิดเผยว่า นายโฆสิต ได้เห็นชอบกับ 2 เรื่อง คือ 1.การจัดการหนี้เร่งด่วน ตามมติเดิมที่ร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พ.ย.ให้สถาบันการเงินของรัฐชะลอการยึดทรัพย์ที่ดินของเกษตรกร เร่งรัดให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นใน เดือนม.ค.50 โดยที่ประชุมีมติ 3 ข้อ ได้แก่ 1) ยืนยันให้ชะลอการยึดทรัพย์ออกไปก่อน โดยให้รมว.เกษตรฯ ทำหนังสือไปหารือกับกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการทั้งทางนิติศาสตร์และทางรัฐศาสตร์ 2) สำนักงานกองทุนฯ จะจัดทำทะเบียนเพื่อจัดการหนี้ที่ดำเนินการ และ 3) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องอุทธรณ์ของเกษตรกร (คอร์ เซ็นเตอร์)เพื่อรับเรื่องที่อาจจะหลุดไปจากการดำเนินการ
ทั้งนี้ ให้สัปดาห์หน้ากองทุนฯ จะทำเรื่องเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอสู่ที่ประชุมครม.เพื่อขอความเห็นชอบในการตั้งคณะปฏิรูปกองทุนฟื้นฟูฯ โดยการตั้งขึ้นมาไม่ใช่การยกเลิกพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นการปรับโครงสร้าง หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ตามพ.ร.บ.กองทุนฯ ที่กำหนดไว้ ได้แก่ การจัดการเลือกตั้งผู้แทนที่โปร่งใส การแก้ไขปรับปรุงระเบียบ และ วิธีการจัดการ กลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สลับซับซ้อน (ปัญหาในกองทุนฟื้นฟูฯ เช่น การเมืองเข้ามาแทรกแซง)
"คณะปฏิรูปฯ จะเป็นคณะทำงานเพื่อเข้ามาควบคุมกองทุนฯ ในด้านของกฎหมาย เพื่อเข้ามาแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฯ วางกรอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ยอมรับว่าคล้ายกับ คปค. ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล กำลังดำเนินการร่างว่า ใน 6-7 ปีที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟูฯมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของกลไกและโครงสร้าง ที่บังคับได้ไม่ดีพอ ทำอย่างไรกระบวนการการจัดการหนี้จะมีหลักประกันแห่งหนี้ "นางจุฬารัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ จะรวมไปถึงการแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฯ ในประเด็นที่จะสามารถควบคุมเจ้าหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเจ้าหนี้นอกระบบ ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล จะรับไปศึกษา
สำหรับข่าวลือที่ว่า รัฐบาลเตรียมยุบกองทุนฟื้นฟูฯนั้น ไม่เป็นความจริง รวมทั้งการประชุมฯที่จะต่ออายุคณะกรรมการกองทุนฯ ก็ไม่มีการเสนอเช่นกัน ซึ่งการตั้งคณะปฏิรูปขึ้นมาก็เพื่อแก้ปัญหาในช่วงสุญญากาศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรรมการหมดวาระไปเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.จึงไม่จำเป็นที่จะต้องจัดการประชุม และทางสำนักงานฯ ก็มีวาระที่จะต้องให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกรเข้ามาเป็นคณะกรรมการในวันที่ 14 ม.ค.ปีหน้า
ด้านนายธีระ กล่าวว่า ในหลักการจัดการหนี้ โดยเฉพาะการให้ชะลอการยึดทรัพย์ทาง ธนาคารเอกชน ได้หารือว่า จะถ่ายหนี้มายังกองทุนฟื้นฟูฯ ให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนจำนวน 5,000 ราย ที่สามารถดำเนินได้ และยังสามารถลดหนี้ให้กับเกษตรที่เป็นหนี้ได้ 50 % ตามเดิมโดยต้องดำเนินการให้เสร็จในเดือนม.ค.50
"ข่าวลือที่ว่าจะมีการยุบกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น ไม่มี จะไปยุบได้ยังไง เราเดินหน้าอย่างเต็มที่"นายธีระ กล่าว
วานนี้(4 ธ.ค.)นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นางจุฬารัตน์ นิรัตศยกุล รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ และตัวแทนจากกรมบังคับคดี เข้าร่วมหารือในการแก้ปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ ภายหลังรับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
นางจุฬารัตน์ เปิดเผยว่า นายโฆสิต ได้เห็นชอบกับ 2 เรื่อง คือ 1.การจัดการหนี้เร่งด่วน ตามมติเดิมที่ร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พ.ย.ให้สถาบันการเงินของรัฐชะลอการยึดทรัพย์ที่ดินของเกษตรกร เร่งรัดให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นใน เดือนม.ค.50 โดยที่ประชุมีมติ 3 ข้อ ได้แก่ 1) ยืนยันให้ชะลอการยึดทรัพย์ออกไปก่อน โดยให้รมว.เกษตรฯ ทำหนังสือไปหารือกับกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการทั้งทางนิติศาสตร์และทางรัฐศาสตร์ 2) สำนักงานกองทุนฯ จะจัดทำทะเบียนเพื่อจัดการหนี้ที่ดำเนินการ และ 3) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องอุทธรณ์ของเกษตรกร (คอร์ เซ็นเตอร์)เพื่อรับเรื่องที่อาจจะหลุดไปจากการดำเนินการ
ทั้งนี้ ให้สัปดาห์หน้ากองทุนฯ จะทำเรื่องเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอสู่ที่ประชุมครม.เพื่อขอความเห็นชอบในการตั้งคณะปฏิรูปกองทุนฟื้นฟูฯ โดยการตั้งขึ้นมาไม่ใช่การยกเลิกพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นการปรับโครงสร้าง หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ตามพ.ร.บ.กองทุนฯ ที่กำหนดไว้ ได้แก่ การจัดการเลือกตั้งผู้แทนที่โปร่งใส การแก้ไขปรับปรุงระเบียบ และ วิธีการจัดการ กลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สลับซับซ้อน (ปัญหาในกองทุนฟื้นฟูฯ เช่น การเมืองเข้ามาแทรกแซง)
"คณะปฏิรูปฯ จะเป็นคณะทำงานเพื่อเข้ามาควบคุมกองทุนฯ ในด้านของกฎหมาย เพื่อเข้ามาแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฯ วางกรอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ยอมรับว่าคล้ายกับ คปค. ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล กำลังดำเนินการร่างว่า ใน 6-7 ปีที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟูฯมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของกลไกและโครงสร้าง ที่บังคับได้ไม่ดีพอ ทำอย่างไรกระบวนการการจัดการหนี้จะมีหลักประกันแห่งหนี้ "นางจุฬารัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ จะรวมไปถึงการแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฯ ในประเด็นที่จะสามารถควบคุมเจ้าหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเจ้าหนี้นอกระบบ ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล จะรับไปศึกษา
สำหรับข่าวลือที่ว่า รัฐบาลเตรียมยุบกองทุนฟื้นฟูฯนั้น ไม่เป็นความจริง รวมทั้งการประชุมฯที่จะต่ออายุคณะกรรมการกองทุนฯ ก็ไม่มีการเสนอเช่นกัน ซึ่งการตั้งคณะปฏิรูปขึ้นมาก็เพื่อแก้ปัญหาในช่วงสุญญากาศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรรมการหมดวาระไปเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.จึงไม่จำเป็นที่จะต้องจัดการประชุม และทางสำนักงานฯ ก็มีวาระที่จะต้องให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกรเข้ามาเป็นคณะกรรมการในวันที่ 14 ม.ค.ปีหน้า
ด้านนายธีระ กล่าวว่า ในหลักการจัดการหนี้ โดยเฉพาะการให้ชะลอการยึดทรัพย์ทาง ธนาคารเอกชน ได้หารือว่า จะถ่ายหนี้มายังกองทุนฟื้นฟูฯ ให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนจำนวน 5,000 ราย ที่สามารถดำเนินได้ และยังสามารถลดหนี้ให้กับเกษตรที่เป็นหนี้ได้ 50 % ตามเดิมโดยต้องดำเนินการให้เสร็จในเดือนม.ค.50
"ข่าวลือที่ว่าจะมีการยุบกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น ไม่มี จะไปยุบได้ยังไง เราเดินหน้าอย่างเต็มที่"นายธีระ กล่าว