"สุรยุทธ์"สั่งสถาบันการเงินรัฐระงับ-ชะลอยึดที่ดินเกษตรกรขายทอดตลาด แก้ปัญหาหนี้เสียกองทุนฟื้นฟูฯ มอบให้"โฆสิต"ปรับแก้ พ.ร.บ.กองทุนฯ ให้สอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านตัวแทนเกษตรกรแฉการเมืองแทรกส่งผลการบริหารกองทุนฯเละ แนะปลดบอร์ด ธ.ก.ส.ระบุเป็นเสือนอนกิน ขูดรีดเกษตรกร ซ่อนเร้นอำพรางนักธุรกิจใหญ่ร่วมบอร์ดขายคนจน
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (22พ.ย.) ตัวแทนเกษตรกรจากภาคต่างๆ ซึ่ง นำโดย นายบำรุง คะโยธา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเพื่อแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมด้วยตัวแทนเกษตรกรได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยพล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า จากการหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกรฯ ได้ข้อยุติในมาตรการเร่งด่วนที่ฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการได้คือ ให้ชะลอระงับการขายทอดตลาดที่ดินของเกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ในส่วนนี้ เป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการต่อไป ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อกับเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลนี้ เพราะเราได้พูดถึงเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ไขปัญหาในภาคเกษตรกรก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องปรับแนวทางและวิธีการในการดำเนินการ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในด้านของเกษตรกร ที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการควบคู่ไปกับบางส่วนของ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ อาจจะต้องมีการปรับแก้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งสมาชิกบางส่วนที่มาพบตนจะเป็นผู้ดำเนินการประสานกับกระทรวงเกษตรฯ ในการแก้ไขกฎหมายต่อไป ภายใต้การดูแลของนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูฯ
"โดยส่วนใหญ่ตลอดห้วงระยะเวลาตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้นมาจนถึงปัจจุบันหนี้สินของเกษตรกรฯก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยังไม่ได้มีการดำเนินการตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ นี้อย่างเข้มแข็งเท่าที่ควร หนี้สินที่มีอยู่ก็พอกพูนขึ้นจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ตัวเลขที่นายสมเกียรติ ได้มอบให้คือเกษตรกรฯ มีที่ดินที่ตกอยู่ในการจำนองกับธนาคารต่างๆใกล้ถูกยึด ขายทอดตลาดทั้งสิ้น 38 ล้านไร่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ที่ทางฝ่ายรัฐบาลต้องหาทางเข้าไปดำเนินการ โดยเบื้องต้นได้ข้อยุติจะชะลอการขายทอดตลาดที่ดินเกษตรกรฯ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลมีอำนาจเข้าไปดำเนินการ"
พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องของการชะลอหนี้ คงเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่สามารถให้ชะลอได้ เพราะแนวทางของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องนำพิจารณาประกอบในภายหลัง ซึ่งก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการชะลอออกไปจะทำอย่างไร เพราะในภาคเศรษฐกิจ มีวิธีการที่จะประนอมหนี้ มีวิธีการที่จะดำเนินการในด้านนี้ต่อไป เป็นเรื่องที่นายโฆสิต รับที่จะดำเนินการในส่วนเหล่านี้ โดยยึดนโยบายรัฐบาลในหลัก 4 ป. คือ ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และประหยัด ซึ่งคือ หลักธรรมาภิบาล เชื่อว่าปัญหาที่แทรกซ้อนจะคลี่คลาย การเคลื่อนไหวต่างๆจะค่อยๆหายไป
"นับแต่นี้ไปขอเรียนว่าความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกกองทุนฯ และฝ่ายบริหารคือรัฐบาลจะมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางแก้ไขหนี้สินเกษตรกร ในระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด มีหลายคนพูดว่า รัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องถึง 200 กว่าฉบับ แต่ที่เกี่ยวข้องเกษตรกรไม่มีเลย จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้จะนำมาพิจารณา ถือว่าเป็นข้อเตือนใจที่ดีว่า การกระทำอะไรต้องดูให้เหมาะให้ควรทุกด้าน"
นายสน รูปสูง ตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า ปัญหาอุปสรรคของพ.ร.บ.เท่าที่คุยกันในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ กฎหมายเปิดช่องให้การเมืองเข้าไปแทรกค่อนข้างมาก เมื่อองค์ประกอบเป็นเช่นนี้ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการที่มีปัญหาไม่ได้เกิดจากเกษตรกร ในฐานะที่ตนเป็นกรรมการบริหารมาก่อน พบว่ามีปัญหาที่ทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงจำนวนมาก ทำให้กองทุนอยู่ไม่ได้ นอกจากนั้น ก็มีประเด็นที่เกี่ยวกับคณะกรรมการในการได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ควรจะต้องมีการทบทวนอย่างจริงจัง
ด้านนายโฆสิต กล่าวว่า กรรมการชุดเก่าจะหมดวาระในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ และการเชิญกองทุนฯ มาคุยก็จะมีการกำหนดเรื่องเร่งด่วนเพื่อประสานงานตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการประชุมบอร์ดแต่มีงานหลายอย่างที่ต้องทำให้บังเกิดผล
นายชรินทร์ ดวงดารา แกนนำเครือข่ายหนี้สินเกษตรกร เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ ว่า แม้หารือยังไม่มีผลที่จะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ขอเพียงให้รัฐบาลสั่งระงับการเอาที่ดินของเกษตรไปขายทอดตลาด ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะเกษตรกรเดือนร้อนมาก อีกทั้งตอนนี้กรรมการกองทุนฯก็กำลังจะหมดวาระลง อาจทำให้กองทุนฯ ไม่สามารถขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่ากรรมการหลายคนอยากต่ออายุออกไป จึงเป็นปัญหาคาราคาซังภายในกองทุนอีกและองค์กรนี้ก็เป็นถูกนักการเมืองแทรกแซง โดยการส่งคนเข้ามาเป็นเลขาธิการ และกรรมการกองทุน จนกลายเป็นศูนย์อำนาจของนักการเมือง ซึ่งสร้างปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเกษตรกรที่ถูกดึงเป็นพวกอยู่บ่อยครั้ง
ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า เราได้มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา 4 ประเด็นหลัก คือ 1.ให้มีการสั่งระงับการขายทอดตลาดที่ดินของเกษตรกรที่ติดภาระจำนองอยู่ประมาณ 38 ล้านไร่ ซึ่งค้างอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยจะใช้เงินประมาณ 6 พันล้านบาท 2.เสนอให้การแก้ไขกฎหมาย โดยให้พนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ในกฎหมายแรงงาน อีกทั้งให้แก้ไขให้การขายทอดตลาดให้ยากขึ้นและให้ขยายหนี้ไปถึงผู้ค้ำประกันด้วย 3. ธ.ก.ส.ต้องเป็นกลไกหลักในการชำระหนี้ เช่น ตัดดอก ยกเลิกเบี้ยปรับ และ 4. ขอให้รัฐบาลตรวจสอบการบริหารงานของบอร์ด ธ.ก.ส.
"เหตุที่เราต้องการให้ตรวจสอบบอร์ด ธ.ก.ส. เพราะเห็นว่าธ.ก.ส.เป็นองค์กรแบบเสือนอนกิน มีสินทรัพย์จากการขูดเลือดเนื้อจากเกษตรกรกว่า 8 แสนล้านบาท และหลังจากรัฐประหาร องค์กรนี้ก็ทำอย่างอื่นไม่เป็นนอกจากขูดรีดประชาชนด้วยการยึดที่ดิน อีกทั้งมีข้อครหาว่า เป็นมรดกของรัฐบาลเก่า และเปิดช่องให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรเข้ามาคุม ธ.ก.ส.เพราะมีการซ่อนอำพรางเจ้าของธุรกิจเข้ามาอยู่ในบอร์ด ธ.ก.ส.เพื่อขายสินค้าทางเกษตรกรให้เกษตร ดังนั้นควรจัดการองค์กรนี้ก่อน ซึ่งนายกฯก็ยังไม่รับปาก โดยบอกเพียงว่า ธนาคารอยู่ใกล้ ๆ แค่นี้เองไม่น่าจะมีปัญหาหากจะจัดการ"นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวถึงการเอาผิดกับรัฐบาลทักษิณ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดปัญหาในกองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะกำกับนโยบายว่า คงจะเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเป็นความผิดของรัฐบาลชุดนั้น เพราะรัฐบาลชุดนั้นให้ความสนใจในกองทุนฟื้นฯน้อยมาก เพราะเขาทุ่มทรัพยากรทั้งหมดไปที่นโยบายประชานิยม เช่น ทุ่มเงิน 8 หมื่นล้านบาท ไปที่กองทุนหมู่บ้าน โดยไม่ผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งๆที่เป็นปัญหาเดียวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วเขาแยกปัญหาออกเพื่อหวังผลทางการเมือง เนื่องนโยบายประชานิยมหวังการเมือง แต่นโยบายกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการแก้ปัญหาหนี้และฟื้นฟูเกษตกรไม่มีมติทางการเมือง เพราะฉะนั้นรัฐบาลที่แล้วไม่สามารถจัดการจึงส่งคนเข้ามาบริหารจัดการได้จึงเกิดปัญหาแตกแยกในองค์กร ดังนั้นจึงต้องเอาผิดกับคนในองค์กรที่กำลังมีการตรวจสอบอยู่
นายบำรุง คะโยธา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวเรื่องนี้ว่า คงจะยังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะกองทุนฯจะต้องก้าวต่อไป ยังไม่ถึงขั้นว่าจะต้องตามเช็ลบิลใคร อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการเอาผิดในเรื่องงบประมาณที่ไม่โปร่งใสก็คงจะเร่งทำ แต่ก็คงจะเป็นในเฉพาะเจ้าหน้าที่ในกองทุนฯในอดีตเท่านั้น
ด้านนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาหนี้ของเกษตรกรขณะนี้พบว่า มีรอยต่อที่กองทุนฯกำลังดึงหนี้จากธ.ก.ส.เข้ามาอยู่ในกองทุนฯ และหลายหน่วยงานก็กำลังทำการบังคับคดี เพื่อขอให้เคลียร์หนี้สินของเกษตรกร และรัฐบาลก็พร้อมจะสนับสนุน ส่วนในเรื่องหนี้สินนั้นตนก็ได้สั่งการไปยังอธิบดีกรมสหกรณ์การเกษตรให้หยุดการยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด และปัญหาที่ผ่านมาไม่มีผู้ที่กล้าจะสั่งการ คือมีช่องว่างในหน่วยงานนี้แม้ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงเกษตรฯ จะสั่งการไปก่อนหน้านี้ก็ตาม ส่วนเรื่องคดีความสำหรับกระทรวงเกษตรฯ กับเกษตรกรนั้นทุกคดีส่วนใหญ่ก็มีการถอนแจ้งความไปหมดแล้ว ส่วนหากมีคดีค้างอยู่ตนก็จะกลับไปดูเพราะยังไม่เห็นส่วนนี้
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (22พ.ย.) ตัวแทนเกษตรกรจากภาคต่างๆ ซึ่ง นำโดย นายบำรุง คะโยธา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเพื่อแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมด้วยตัวแทนเกษตรกรได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยพล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า จากการหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกรฯ ได้ข้อยุติในมาตรการเร่งด่วนที่ฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการได้คือ ให้ชะลอระงับการขายทอดตลาดที่ดินของเกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ในส่วนนี้ เป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการต่อไป ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อกับเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลนี้ เพราะเราได้พูดถึงเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ไขปัญหาในภาคเกษตรกรก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องปรับแนวทางและวิธีการในการดำเนินการ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในด้านของเกษตรกร ที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการควบคู่ไปกับบางส่วนของ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ อาจจะต้องมีการปรับแก้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งสมาชิกบางส่วนที่มาพบตนจะเป็นผู้ดำเนินการประสานกับกระทรวงเกษตรฯ ในการแก้ไขกฎหมายต่อไป ภายใต้การดูแลของนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูฯ
"โดยส่วนใหญ่ตลอดห้วงระยะเวลาตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้นมาจนถึงปัจจุบันหนี้สินของเกษตรกรฯก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยังไม่ได้มีการดำเนินการตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ นี้อย่างเข้มแข็งเท่าที่ควร หนี้สินที่มีอยู่ก็พอกพูนขึ้นจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ตัวเลขที่นายสมเกียรติ ได้มอบให้คือเกษตรกรฯ มีที่ดินที่ตกอยู่ในการจำนองกับธนาคารต่างๆใกล้ถูกยึด ขายทอดตลาดทั้งสิ้น 38 ล้านไร่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ที่ทางฝ่ายรัฐบาลต้องหาทางเข้าไปดำเนินการ โดยเบื้องต้นได้ข้อยุติจะชะลอการขายทอดตลาดที่ดินเกษตรกรฯ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลมีอำนาจเข้าไปดำเนินการ"
พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องของการชะลอหนี้ คงเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่สามารถให้ชะลอได้ เพราะแนวทางของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องนำพิจารณาประกอบในภายหลัง ซึ่งก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการชะลอออกไปจะทำอย่างไร เพราะในภาคเศรษฐกิจ มีวิธีการที่จะประนอมหนี้ มีวิธีการที่จะดำเนินการในด้านนี้ต่อไป เป็นเรื่องที่นายโฆสิต รับที่จะดำเนินการในส่วนเหล่านี้ โดยยึดนโยบายรัฐบาลในหลัก 4 ป. คือ ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และประหยัด ซึ่งคือ หลักธรรมาภิบาล เชื่อว่าปัญหาที่แทรกซ้อนจะคลี่คลาย การเคลื่อนไหวต่างๆจะค่อยๆหายไป
"นับแต่นี้ไปขอเรียนว่าความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกกองทุนฯ และฝ่ายบริหารคือรัฐบาลจะมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางแก้ไขหนี้สินเกษตรกร ในระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด มีหลายคนพูดว่า รัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องถึง 200 กว่าฉบับ แต่ที่เกี่ยวข้องเกษตรกรไม่มีเลย จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้จะนำมาพิจารณา ถือว่าเป็นข้อเตือนใจที่ดีว่า การกระทำอะไรต้องดูให้เหมาะให้ควรทุกด้าน"
นายสน รูปสูง ตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า ปัญหาอุปสรรคของพ.ร.บ.เท่าที่คุยกันในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ กฎหมายเปิดช่องให้การเมืองเข้าไปแทรกค่อนข้างมาก เมื่อองค์ประกอบเป็นเช่นนี้ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการที่มีปัญหาไม่ได้เกิดจากเกษตรกร ในฐานะที่ตนเป็นกรรมการบริหารมาก่อน พบว่ามีปัญหาที่ทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงจำนวนมาก ทำให้กองทุนอยู่ไม่ได้ นอกจากนั้น ก็มีประเด็นที่เกี่ยวกับคณะกรรมการในการได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ควรจะต้องมีการทบทวนอย่างจริงจัง
ด้านนายโฆสิต กล่าวว่า กรรมการชุดเก่าจะหมดวาระในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ และการเชิญกองทุนฯ มาคุยก็จะมีการกำหนดเรื่องเร่งด่วนเพื่อประสานงานตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการประชุมบอร์ดแต่มีงานหลายอย่างที่ต้องทำให้บังเกิดผล
นายชรินทร์ ดวงดารา แกนนำเครือข่ายหนี้สินเกษตรกร เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ ว่า แม้หารือยังไม่มีผลที่จะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ขอเพียงให้รัฐบาลสั่งระงับการเอาที่ดินของเกษตรไปขายทอดตลาด ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะเกษตรกรเดือนร้อนมาก อีกทั้งตอนนี้กรรมการกองทุนฯก็กำลังจะหมดวาระลง อาจทำให้กองทุนฯ ไม่สามารถขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่ากรรมการหลายคนอยากต่ออายุออกไป จึงเป็นปัญหาคาราคาซังภายในกองทุนอีกและองค์กรนี้ก็เป็นถูกนักการเมืองแทรกแซง โดยการส่งคนเข้ามาเป็นเลขาธิการ และกรรมการกองทุน จนกลายเป็นศูนย์อำนาจของนักการเมือง ซึ่งสร้างปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเกษตรกรที่ถูกดึงเป็นพวกอยู่บ่อยครั้ง
ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า เราได้มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา 4 ประเด็นหลัก คือ 1.ให้มีการสั่งระงับการขายทอดตลาดที่ดินของเกษตรกรที่ติดภาระจำนองอยู่ประมาณ 38 ล้านไร่ ซึ่งค้างอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยจะใช้เงินประมาณ 6 พันล้านบาท 2.เสนอให้การแก้ไขกฎหมาย โดยให้พนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ในกฎหมายแรงงาน อีกทั้งให้แก้ไขให้การขายทอดตลาดให้ยากขึ้นและให้ขยายหนี้ไปถึงผู้ค้ำประกันด้วย 3. ธ.ก.ส.ต้องเป็นกลไกหลักในการชำระหนี้ เช่น ตัดดอก ยกเลิกเบี้ยปรับ และ 4. ขอให้รัฐบาลตรวจสอบการบริหารงานของบอร์ด ธ.ก.ส.
"เหตุที่เราต้องการให้ตรวจสอบบอร์ด ธ.ก.ส. เพราะเห็นว่าธ.ก.ส.เป็นองค์กรแบบเสือนอนกิน มีสินทรัพย์จากการขูดเลือดเนื้อจากเกษตรกรกว่า 8 แสนล้านบาท และหลังจากรัฐประหาร องค์กรนี้ก็ทำอย่างอื่นไม่เป็นนอกจากขูดรีดประชาชนด้วยการยึดที่ดิน อีกทั้งมีข้อครหาว่า เป็นมรดกของรัฐบาลเก่า และเปิดช่องให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรเข้ามาคุม ธ.ก.ส.เพราะมีการซ่อนอำพรางเจ้าของธุรกิจเข้ามาอยู่ในบอร์ด ธ.ก.ส.เพื่อขายสินค้าทางเกษตรกรให้เกษตร ดังนั้นควรจัดการองค์กรนี้ก่อน ซึ่งนายกฯก็ยังไม่รับปาก โดยบอกเพียงว่า ธนาคารอยู่ใกล้ ๆ แค่นี้เองไม่น่าจะมีปัญหาหากจะจัดการ"นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวถึงการเอาผิดกับรัฐบาลทักษิณ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดปัญหาในกองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะกำกับนโยบายว่า คงจะเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเป็นความผิดของรัฐบาลชุดนั้น เพราะรัฐบาลชุดนั้นให้ความสนใจในกองทุนฟื้นฯน้อยมาก เพราะเขาทุ่มทรัพยากรทั้งหมดไปที่นโยบายประชานิยม เช่น ทุ่มเงิน 8 หมื่นล้านบาท ไปที่กองทุนหมู่บ้าน โดยไม่ผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งๆที่เป็นปัญหาเดียวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วเขาแยกปัญหาออกเพื่อหวังผลทางการเมือง เนื่องนโยบายประชานิยมหวังการเมือง แต่นโยบายกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการแก้ปัญหาหนี้และฟื้นฟูเกษตกรไม่มีมติทางการเมือง เพราะฉะนั้นรัฐบาลที่แล้วไม่สามารถจัดการจึงส่งคนเข้ามาบริหารจัดการได้จึงเกิดปัญหาแตกแยกในองค์กร ดังนั้นจึงต้องเอาผิดกับคนในองค์กรที่กำลังมีการตรวจสอบอยู่
นายบำรุง คะโยธา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวเรื่องนี้ว่า คงจะยังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะกองทุนฯจะต้องก้าวต่อไป ยังไม่ถึงขั้นว่าจะต้องตามเช็ลบิลใคร อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการเอาผิดในเรื่องงบประมาณที่ไม่โปร่งใสก็คงจะเร่งทำ แต่ก็คงจะเป็นในเฉพาะเจ้าหน้าที่ในกองทุนฯในอดีตเท่านั้น
ด้านนายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาหนี้ของเกษตรกรขณะนี้พบว่า มีรอยต่อที่กองทุนฯกำลังดึงหนี้จากธ.ก.ส.เข้ามาอยู่ในกองทุนฯ และหลายหน่วยงานก็กำลังทำการบังคับคดี เพื่อขอให้เคลียร์หนี้สินของเกษตรกร และรัฐบาลก็พร้อมจะสนับสนุน ส่วนในเรื่องหนี้สินนั้นตนก็ได้สั่งการไปยังอธิบดีกรมสหกรณ์การเกษตรให้หยุดการยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด และปัญหาที่ผ่านมาไม่มีผู้ที่กล้าจะสั่งการ คือมีช่องว่างในหน่วยงานนี้แม้ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงเกษตรฯ จะสั่งการไปก่อนหน้านี้ก็ตาม ส่วนเรื่องคดีความสำหรับกระทรวงเกษตรฯ กับเกษตรกรนั้นทุกคดีส่วนใหญ่ก็มีการถอนแจ้งความไปหมดแล้ว ส่วนหากมีคดีค้างอยู่ตนก็จะกลับไปดูเพราะยังไม่เห็นส่วนนี้