สรุปเกณฑ์รับเด็กนักเรียน ม. 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนดังใช้สัดส่วน 50:50 ให้เด็กพื้นที่บริการจับฉลาก 50% อีก 50% ให้สอบคัดเลือก ส่วนเด็กความสามารถพิเศษให้อยู่ใน 50% ที่สอบคัดเลือก สำหรับโรงเรียนทั่วไปห้ามสอบเข้า คุมจำนวนเด็กต่อห้อง 40 คน หากรับเพิ่มเป็น 45 คนให้คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณา แต่หากถึง 50 คน สพฐ.ต้องชี้ขาด
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวภายหลังหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนยอดนิยมในกรุงเทพมหานคร ถึงหลักเกณฑ์การรับนักเรียนชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2550 ว่า สำหรับโรงเรียนทั่วไปห้ามไม่ให้มีการสอบ ให้รับเด็กทุกคนเข้าเรียน หากจำนวนเด็กสมัครเข้าเรียนเกินให้ใช้วิธีจับฉลาก
ส่วนโรงเรียนยอดนิยมจำนวน 430 โรง ได้ข้อสรุปว่าจะแบ่ง การรับเป็น 2 ส่วน คือ ให้จับสลากในเขตพื้นที่บริการ 50% ส่วนอีก 50% ให้ใช้วิธีการสอบคัดเลือก ส่วนสถานศึกษาที่ประสงค์จะคัดเลือกเด็กความสามารถพิเศษจากสัดส่วนเดิมที่ให้สถานศึกษารับได้ 5%ให้รับเด็กส่วนนี้รวมอยู่ใน 50% ที่ให้สอบคัดเลือก ทำให้ลักษณะการสอบจะมี 2 ลักษณะ คือสอบประเมินความพร้อม และความถนัดทั่วไป กับสอบคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถพิเศษ อย่างไรก็ตามบางโรงเรียนอาจจะนำไปรวมสอบทั้งหมดก็ได้
คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า ส่วนการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษซึ่ง ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ให้แยกจากการรับนักเรียนปกติ หากโรงเรียนใดจำเป็นต้องรับเด็กเงื่อนไขพิเศษ เช่น ข้อตกลงของการบริจาคที่ดินตั้งโรงเรียน หรือเป็นผู้มีอุปการะคุณที่ดูแลต่อเนื่องมานาน รวมถึงบางพื้นที่ที่ข้าราชการภาคใต้ต้องย้ายลูกไปเรียนที่อื่น ให้คณะกรรมการสถานศึกษาตั้งเป็นคณะกรรมการรับนักเรียน โดยมีตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ มากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ แล้วให้เพิ่มจำนวนรับนักเรียนในห้อง
กล่าวคือ ปกติได้กำหนดให้แต่ละโรงเรียนจะรับนักเรียนได้เพียงห้องเรียนละ 40 คน ถ้าจะรับเพิ่มอีก 5 คนเป็น 45 คน ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสถานศึกษา ถ้าจะรับเป็น 50 คนให้เป็นอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และหากจะรับเกินต้องขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
“เรากำหนดให้ห้องเรียนปกติรับเด็กไม่เกิน 40 คน ยกเว้นการรับเพิ่มพิเศษ แต่ต้องเป็นการกำหนดจากคณะกรรมการสถานศึกษาไม่ใช่เป็นการรับบริจาคเพื่อแลกกับการเข้าเรียน หากจะช่วยเหลือก็ต้องเป็นการช่วยเหลือที่มีต่อเนื่องมาช้านาน หรือเป็นคนที่มีข้อตกลงการจัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ แต่ยืนยันว่า 40 คนแรกเป็นไปตามหลักการ” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า สำหรับบางพื้นที่ยังมีนักเรียนเกินอยู่จำนวนมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนกังวลว่าจำนวนนักเรียนต่อห้องจะเกิน 50 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องไปหารือกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามที่เคยหารือกันไว้ว่าจะเกลี่ยเด็กไปเรียนโรงเรียนขยายโอกาสของ กทม. หรือต้องนำเด็กเกลี่ยในโรงเรียนที่มีอยู่ ซึ่งเป็นความจำเป็นต้องรองรับเด็กไม่ใช่เพิ่มจำนวนรับเด็กเพราะเป็นผลมาจากการบริจาคเงิน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวภายหลังหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนยอดนิยมในกรุงเทพมหานคร ถึงหลักเกณฑ์การรับนักเรียนชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2550 ว่า สำหรับโรงเรียนทั่วไปห้ามไม่ให้มีการสอบ ให้รับเด็กทุกคนเข้าเรียน หากจำนวนเด็กสมัครเข้าเรียนเกินให้ใช้วิธีจับฉลาก
ส่วนโรงเรียนยอดนิยมจำนวน 430 โรง ได้ข้อสรุปว่าจะแบ่ง การรับเป็น 2 ส่วน คือ ให้จับสลากในเขตพื้นที่บริการ 50% ส่วนอีก 50% ให้ใช้วิธีการสอบคัดเลือก ส่วนสถานศึกษาที่ประสงค์จะคัดเลือกเด็กความสามารถพิเศษจากสัดส่วนเดิมที่ให้สถานศึกษารับได้ 5%ให้รับเด็กส่วนนี้รวมอยู่ใน 50% ที่ให้สอบคัดเลือก ทำให้ลักษณะการสอบจะมี 2 ลักษณะ คือสอบประเมินความพร้อม และความถนัดทั่วไป กับสอบคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถพิเศษ อย่างไรก็ตามบางโรงเรียนอาจจะนำไปรวมสอบทั้งหมดก็ได้
คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า ส่วนการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษซึ่ง ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ให้แยกจากการรับนักเรียนปกติ หากโรงเรียนใดจำเป็นต้องรับเด็กเงื่อนไขพิเศษ เช่น ข้อตกลงของการบริจาคที่ดินตั้งโรงเรียน หรือเป็นผู้มีอุปการะคุณที่ดูแลต่อเนื่องมานาน รวมถึงบางพื้นที่ที่ข้าราชการภาคใต้ต้องย้ายลูกไปเรียนที่อื่น ให้คณะกรรมการสถานศึกษาตั้งเป็นคณะกรรมการรับนักเรียน โดยมีตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ มากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ แล้วให้เพิ่มจำนวนรับนักเรียนในห้อง
กล่าวคือ ปกติได้กำหนดให้แต่ละโรงเรียนจะรับนักเรียนได้เพียงห้องเรียนละ 40 คน ถ้าจะรับเพิ่มอีก 5 คนเป็น 45 คน ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสถานศึกษา ถ้าจะรับเป็น 50 คนให้เป็นอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และหากจะรับเกินต้องขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
“เรากำหนดให้ห้องเรียนปกติรับเด็กไม่เกิน 40 คน ยกเว้นการรับเพิ่มพิเศษ แต่ต้องเป็นการกำหนดจากคณะกรรมการสถานศึกษาไม่ใช่เป็นการรับบริจาคเพื่อแลกกับการเข้าเรียน หากจะช่วยเหลือก็ต้องเป็นการช่วยเหลือที่มีต่อเนื่องมาช้านาน หรือเป็นคนที่มีข้อตกลงการจัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ แต่ยืนยันว่า 40 คนแรกเป็นไปตามหลักการ” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า สำหรับบางพื้นที่ยังมีนักเรียนเกินอยู่จำนวนมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนกังวลว่าจำนวนนักเรียนต่อห้องจะเกิน 50 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องไปหารือกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามที่เคยหารือกันไว้ว่าจะเกลี่ยเด็กไปเรียนโรงเรียนขยายโอกาสของ กทม. หรือต้องนำเด็กเกลี่ยในโรงเรียนที่มีอยู่ ซึ่งเป็นความจำเป็นต้องรองรับเด็กไม่ใช่เพิ่มจำนวนรับเด็กเพราะเป็นผลมาจากการบริจาคเงิน