"อภิสิทธิ์"วอน"สุรยุทธ์"หาทางบล็อกสมาชิกยกร่างรัฐธรรมนูญ โดดร่วมวงการเมืองหลังคลอดรัฐธรรมนูญ หวั่นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะตามมา "เฉลิม"แนะให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นธงในการยกร่าง "ปริญญา"ให้เน้นเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม เพื่อป้องกันการถูกฉีกทิ้งอีก ด้านสปป.ประกาศตั้งสภาคู่ขนานเพื่อตรวจสอบและปฏิรูปการเมือง
เมื่อวานนี้ (12 พ.ย.)ได้มีการเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับโฉมหน้าการเมืองไทยในอนาคต” ในโอกาสครอบรอบ 70 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยได้เชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ก่อตั้งพรรคทางเลือกใหม่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเสวนา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์มีความละเอียดอ่อนจึงขอย้ำเตือนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และรัฐบาล หากไม่สามารถชี้แจงเหตุผลของการยึดอำนาจ และไม่สะสางปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลอ้างในวันที่ 19 ก.ย.หรือปล่อยให้สภาพสังคมมีความอึดอัดจะเป็นเรื่องอันตราย ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาโดยมีเป้าหมายของการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตนมีความเห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยไปได้ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจั ัดการของคมช.และรัฐบาล
นอกจากนี้จะต้องไม่มีการสร้างเงื่อนไขใดๆ ที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางการเมือง หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง หากมีการดำเนินการใดที่เป็นการส่งสัญญาณชี้ให้เห็นถึงความพยายามสืบทอดอำนาจ และการแสวงหาผลประโยชน์จะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นอีกรอบ อีกทั้งรัฐบาลยังมีคำมั่นสัญญาจะคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเวลา 1 ปีหากเกิดวิกฤติซ้ำซ้อนหรือความขัดแย้งขึ้น จะเป็นต้นทุนที่สูงมากในทางการเมือง
"เบื้องต้นอยากชี้ให้เห็นว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับคมช.และรัฐบาลด้วย ส่วนกรณีไม่ให้พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเชิญตัวแทนพรรคการเมืองไปพบเพื่อขอความคิดเห็น ผมได้กล่าวแล้วว่า พรรคการเมืองดูเหมือนจะถูกตั้งข้อรังเกียจในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะคุณสมบัติขอเดียวของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ ห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทำให้สันนิษฐานว่า เกรงนักการเมืองจะเข้าไปมีส่วนได้เสียในการเขียนรัฐธรรมนูญ"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ตนได้เรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่า ขอให้ท่านช่วยดูแลด้วยว่าอย่าให้ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือผู้ที่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่กระโดดเข้ามาเป็นนักการเมืองหลังรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ด้วยจึงจะเกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียในรัฐธรรมนูญทั้งหมด จุดที่สองคือ การไม่รับฟังพรรคการเมืองเลยจะมีปัญหาเพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่ง แต่ยังมีจุดที่ไม่เข้าใจสภาพทางการเมืองที่แท้จริง อย่างประเด็นการมีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบรัฐบาล แต่สุดท้ายผู้ที่มาจาการเลือกตั้งโดยตรงได้กลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาล และพรรคการเมืองทำให้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรตั้งธงที่จะดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยเอารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นตัวตั้ง ขณะนี้สังคมไทยอยู่ในช่วงที่ท้าทาย การยกร่างรัฐธรรมนูญต้องเข้าใจหลักประชาธิปไตยที่ต้องสร้างกลไกการคุกคามของเผด็จการในรูปแบบเดิมๆ และเผด็จการที่แฝงมาในคราบของการเลือกตั้ง ส่วนตัวขอเสนอว่า สิ่งใดที่เป็นกลไกที่เป็นความก้าวหน้าของระบบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ก็ควรรักษาไว้ สำหรับการมีองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล ยังคงเป็นกลไกที่มีความสำคัญ
ส่วนที่มาของผู้บริหารประเทศ ควรจะมีความเข้มแข็งเพื่อเข้ามาผลักดันให้สามารถดำเนินนโยบายตามที่ให้สัญญากับประชาชนได้ โดยภาพรวมหลักเกณฑ์ด้านความเข้มแข็งของรัฐบาลและเสรีภาพของประชาชนต้องคงไว้
โดยต้องไม่ลืมพิจารณาถึงจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญในส่วนของการการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต หรือการแทรกแซงองค์กรอิสระหรือระบบราชการโดยอำนาจการเมือง ส่วนโครงสร้างของระบบการเมืองต้องทำให้อำนาจไม่ตกไปอยู่ในมือคนเดียวแต่ต้องมีกลไกดูแลให้มีการปรับโครงสร้างทางการเมือง
"รัฐบาลที่ผ่านมามีการแทรกแซงกองทัพ และสื่อมวลชน ทำให้เกิดสื่อแท้ สื่อเทียม หรือแม้แต่ปัญหาสื่อมวลชนอย่าง อสมท ก็เป็นผลที่ชี้ให้เห็นว่า ใครที่มีอำนาจก็สามารถเข้าไปแบ่งผลประโยชน์ได้ ทั้งหมดเพราะรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งไม่รู้จักขอบเขตอำนาจของตนเอง เมื่อเขาไปแทรกแซงแล้วทำให้เกิดปัญหา ตนจึงขอเสนอหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการคิดถึงการเมืองที่พอเพียง มีความพอประมาณในการเล่นการเมือง มีหลักของเหตุและผล ในการตัดสินเรื่องต่างๆ โดยสร้างกลไกที่มีส่วนร่วมของประชาชนไม่ให้คนที่มีอำนาจทางการเมืองครอบงำประชาชน โดยต้องมีภูมิคุ้มกันระบอบประชาธิปไตยด้วยการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมนิติรัฐ"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ก่อตั้งพรรคทางเลือกใหม่ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ห้ามนักการเมืองแสดงความคิดเห็นในการยกร่าง เป็นความคิดที่ผิด การกำหนดกติกาต้องดูความเป็นไปได้ด้วยว่า เป็นไปได้หรือไม่ วันนี้ คมช.รับภาระหนักเพราะท่านไปยกเลิกของดีที่ประชาชนเห็นด้วย (รัฐธรรมนูญปี 40) ท่านเอาของดีไปทิ้งแล้วเอาของใหม่มาแทน ภารกิจหลักของคมช.จึงต้องทำเรื่องนี้ให้ดี อย่าไปนึกว่าเลือกสมัชชาแห่งชาติมา 2,000 คนแล้ว สมัชชาเลือกกันเองเหลือ 200 คน แล้วคมช.เลือกเหลือ 100 คน เพียงพอแล้ว ขณะนี้ประชาชนตั้งข้อสังเกตกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และรอดูว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จทันกรอบเวลาจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นที่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จไม่ทันได้กำหนดให้ คมช. และรัฐบาลประชุมกันเลือกรัฐธรรมนูญที่เคยมีขึ้นมาฉบับหนึ่งขึ้นมาใช้ โดยทำให้เสร็จใน 30 วัน ตนหลับตาดูแล้วยังไม่เห็นภาพว่าจะดำเนินการได้ทัน เพราะการยกร่างธรรมนูญที่ผ่านมา นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่ร่างรัฐธรรมนูญพยายามเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญแต่ละประเทศมาใช้ซึ่งบางข้ออาจจะไม่สอดคล้องกับการเมืองไทย
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี 40 เหมือนกับอาหารล้นโต๊ะ คือเหมือนมีอาหารชั้นดีที่อยู่เต็มโต๊ะ เมื่อทานแล้วทานไม่หมด พอเหลือจึงเสียของ หาก คมช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาดี ควรเชิญให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างโดยใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นธงในการยกร่าง
ด้านนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยมีการพัฒนาที่ขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีความบกพร่องมากที่สุด แต่จากประสบการณ์ระบอบประชาธิปไตยสามารถแก้ไขปัญหาของตัวมันเองได้แต่ต้องให้เวลาในการแก้ไขทั้งนี้เพราะระบอบประชาธิปไตยมีกลไกของตัวเองในการแก้ไขปัญหา ตนเชื่อว่าการปกครองทุกแบบ ล้วนแล้วแต่มีปัญหาโดยระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนระบอบที่มีปัญหามากที่สุดคือเผด็จการ
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้การฉีกรัฐธรรมนูญอีก จะต้องกลับไปมองที่พื้นฐานของประชาธิปไตย โดยต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายของสังคมที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมกัน ประชาชนต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน คนทุกคนต้องมีความเสมอภาคและสมานฉันท์สามารถตกลงแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล ประชาธิปไตย คือ การปกครองด้วยเสียงข้างมากที่ต้องเคารพและคุ้มครองเสียงข้างน้อย ที่ผ่านมาผู้ปกครองไม่เข้าใจและไม่เคยสนใจเสียข้างน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาธิปไตยจึงเป็นเป้าหมายของสังคม
"ส่วนรัฐธรรมนูญ คือ กติกาที่เป็นทั้งรูปแบบ และเนื้อหาของประชาธิปไตย การฉีกรัฐธรรมนูญคือ การฉีกทั้งรูปแบบและเนื้อหาของประชาธิปไตย การออกมาพูดเพราะหวังว่าการฉีกรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย ผมคิดว่าประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ต้องมีการเลือกตั้ง การที่รัฐบาลมีกำหนดวาระ 1 ปี แล้วมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งบอกว่าจะอยู่ 1 ปี 5 เดือน เรื่องแบบนี้ไม่ควรพูด คุณจะอยู่นานอยู่สั้นอยู่ยาวต้องดูที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่ผมเกรงว่ารัฐบาลจะอยู่เกินหนึ่งปี เพราะมีขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้เวลา หากสามารถเริ่มต้นกระบวนการได้ในเดือนมกราคม 50 อย่างเร็วที่สุดที่จะเลือกตั้งได้คือเดือนตุลาคม 50"นายปริญญา กล่าว
**สปป.ระดมสมองปฏิรูปการเมือง
ในวันเดียวกันนี้ ที่อาคารศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง(สปป.)ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปการเมือง โดยมีพันธมิตรเครือข่ายจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 100 คน
นายพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)กล่าวเปิดงานว่า เราเคยตกอยู่ใต้อำนาจของทหารที่ใช้อำนาจเผด็จการมากกว่านี้ แต่เราก็ฝ่าข้ามมาได้ นั่นเป็นเพราะภาคประชาชนไม่ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง ดังนั้นต่อจากนี้ไปอีก 1 ปีข้างหน้า เราจึงไม่ควรให้ชนชั้นนำไทยมาบริหารประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียว และการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ได้ถูกฉีกออกไปก็สร้างความเจ็บปวดให้มากอยู่แล้ว เพราะการได้มาก็เป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลากับการเรียกร้องครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนไม่ควรท้อแท้และไม่ควรหยุดเคลื่อนไหวในการต่อสู้เพื่อการลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน ซึ่งเชื่อว่าการเคลื่อนตัวของภาคประชาชนนับจากนี้ จะมีพลังมากขึ้น เพราะได้ก่อเกิดกลุ่มเครือข่ายตั้งแต่การเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ
"ไม่ว่าคณะรัฐประหารจะก้าวเข้ามาชิงธงเพื่อนำการปฏิรูปการเมืองไปจากมือภาคประชาชนแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะวางใจโดยไม่มีการตรวจสอบ แต่ภาคประชาชนจะเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลทหารจัดการปฏิรูปการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสมัชชาประชาชนขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญคู่ขนานไปกับสภาร่างที่รัฐเป็นผู้เลือก ซึ่งตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภาคประชาชนกว่า 30 องค์กร ก็เคยร่วมมือกันจนผลักดันให้กฎหมายของประชาชนเกิดขึ้นได้แล้ว และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เราก็ไม่แน่ใจว่า หน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะก้าวหน้าหรือถอยหลัง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นภาคประชาชนเราก็มีสิทธิในการนำเสนอความคิดต่อสาธารณะ ซึ่งจะมุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ การเพิ่มการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปสื่อ เพราะปัจจัยทั้ง 3ไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน"นายพิภพ กล่าว
ทั้งนี้ ที่ปรึกษา ครป.ยืนยันถึงการไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติว่า จุดยืนของภาคประชาชน คือไม่เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการกับองค์กรของรัฐ แม้จะมีการเชื้อเชิญแต่ก็ได้ปฏิเสธอย่างนุ่มนวล และเป็นเหตุเป็นผลแล้ว เพราะเราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนค่อนข้างมีความคล่องตัวและมีอิสระดีอยู่แล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้ ก็หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสื่อและประชาชนเช่นเดียวกัน และไม่กังวลว่าใครจะเข้ามาเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติและถูกคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาคประชาชนและผู้ประสานงานสมัชชาประชาชนจากทุกภูมิภาค
**สปป.ตั้งสภาคู่ขนานเพื่อการตรวจสอบ
ภายหลังจากการสัมมนา สปป.แกนนำสมัชชานำโดย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ กล่าวว่า สปป.มีมติที่จะให้มีการจัดตั้งสมัชชาประชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วยพลังของประชาชน ปัญญาชนนักธุรกิจ ชนชั้นกลาง คนชนบท นักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สภาคู่ขนาน หรือสภาตรวจสอบการปฏิรูปของสังคม
สำหรับภารกิจของ ส.ป.ป.คือ 1.ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคมช. รัฐบาล สนช. ในการรื้อถอน สะสางปัญหาที่เกิดขึ้นในระบอทักษิณ 2. ผลักดันให้มีการปฏิรูปสื่อ ต่อต้านการขายรัฐวิสาหกิจ การลงนามเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ 3. ทำหน้าที่เป็นสภารับธรรมนูญประชาชนเคียงคู่รัฐธรรมนูญ คมช. 4.กำหนดภารกิจกิจการการเมือง โดยทำเป็นชุด โดยถอดถอนกฎหมายที่เป็นปัญหา 5.การสร้างประชาธิปไตยให้พ้นจากระบบอุปถัมภ์จากนักการเมือง 6. สปป.จะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง
เมื่อวานนี้ (12 พ.ย.)ได้มีการเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับโฉมหน้าการเมืองไทยในอนาคต” ในโอกาสครอบรอบ 70 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยได้เชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ก่อตั้งพรรคทางเลือกใหม่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเสวนา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์มีความละเอียดอ่อนจึงขอย้ำเตือนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และรัฐบาล หากไม่สามารถชี้แจงเหตุผลของการยึดอำนาจ และไม่สะสางปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลอ้างในวันที่ 19 ก.ย.หรือปล่อยให้สภาพสังคมมีความอึดอัดจะเป็นเรื่องอันตราย ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาโดยมีเป้าหมายของการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตนมีความเห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยไปได้ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจั ัดการของคมช.และรัฐบาล
นอกจากนี้จะต้องไม่มีการสร้างเงื่อนไขใดๆ ที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางการเมือง หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง หากมีการดำเนินการใดที่เป็นการส่งสัญญาณชี้ให้เห็นถึงความพยายามสืบทอดอำนาจ และการแสวงหาผลประโยชน์จะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นอีกรอบ อีกทั้งรัฐบาลยังมีคำมั่นสัญญาจะคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเวลา 1 ปีหากเกิดวิกฤติซ้ำซ้อนหรือความขัดแย้งขึ้น จะเป็นต้นทุนที่สูงมากในทางการเมือง
"เบื้องต้นอยากชี้ให้เห็นว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับคมช.และรัฐบาลด้วย ส่วนกรณีไม่ให้พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเชิญตัวแทนพรรคการเมืองไปพบเพื่อขอความคิดเห็น ผมได้กล่าวแล้วว่า พรรคการเมืองดูเหมือนจะถูกตั้งข้อรังเกียจในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะคุณสมบัติขอเดียวของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ ห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทำให้สันนิษฐานว่า เกรงนักการเมืองจะเข้าไปมีส่วนได้เสียในการเขียนรัฐธรรมนูญ"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ตนได้เรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่า ขอให้ท่านช่วยดูแลด้วยว่าอย่าให้ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือผู้ที่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่กระโดดเข้ามาเป็นนักการเมืองหลังรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ด้วยจึงจะเกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียในรัฐธรรมนูญทั้งหมด จุดที่สองคือ การไม่รับฟังพรรคการเมืองเลยจะมีปัญหาเพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่ง แต่ยังมีจุดที่ไม่เข้าใจสภาพทางการเมืองที่แท้จริง อย่างประเด็นการมีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบรัฐบาล แต่สุดท้ายผู้ที่มาจาการเลือกตั้งโดยตรงได้กลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาล และพรรคการเมืองทำให้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรตั้งธงที่จะดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยเอารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นตัวตั้ง ขณะนี้สังคมไทยอยู่ในช่วงที่ท้าทาย การยกร่างรัฐธรรมนูญต้องเข้าใจหลักประชาธิปไตยที่ต้องสร้างกลไกการคุกคามของเผด็จการในรูปแบบเดิมๆ และเผด็จการที่แฝงมาในคราบของการเลือกตั้ง ส่วนตัวขอเสนอว่า สิ่งใดที่เป็นกลไกที่เป็นความก้าวหน้าของระบบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ก็ควรรักษาไว้ สำหรับการมีองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล ยังคงเป็นกลไกที่มีความสำคัญ
ส่วนที่มาของผู้บริหารประเทศ ควรจะมีความเข้มแข็งเพื่อเข้ามาผลักดันให้สามารถดำเนินนโยบายตามที่ให้สัญญากับประชาชนได้ โดยภาพรวมหลักเกณฑ์ด้านความเข้มแข็งของรัฐบาลและเสรีภาพของประชาชนต้องคงไว้
โดยต้องไม่ลืมพิจารณาถึงจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญในส่วนของการการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต หรือการแทรกแซงองค์กรอิสระหรือระบบราชการโดยอำนาจการเมือง ส่วนโครงสร้างของระบบการเมืองต้องทำให้อำนาจไม่ตกไปอยู่ในมือคนเดียวแต่ต้องมีกลไกดูแลให้มีการปรับโครงสร้างทางการเมือง
"รัฐบาลที่ผ่านมามีการแทรกแซงกองทัพ และสื่อมวลชน ทำให้เกิดสื่อแท้ สื่อเทียม หรือแม้แต่ปัญหาสื่อมวลชนอย่าง อสมท ก็เป็นผลที่ชี้ให้เห็นว่า ใครที่มีอำนาจก็สามารถเข้าไปแบ่งผลประโยชน์ได้ ทั้งหมดเพราะรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งไม่รู้จักขอบเขตอำนาจของตนเอง เมื่อเขาไปแทรกแซงแล้วทำให้เกิดปัญหา ตนจึงขอเสนอหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการคิดถึงการเมืองที่พอเพียง มีความพอประมาณในการเล่นการเมือง มีหลักของเหตุและผล ในการตัดสินเรื่องต่างๆ โดยสร้างกลไกที่มีส่วนร่วมของประชาชนไม่ให้คนที่มีอำนาจทางการเมืองครอบงำประชาชน โดยต้องมีภูมิคุ้มกันระบอบประชาธิปไตยด้วยการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมนิติรัฐ"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ก่อตั้งพรรคทางเลือกใหม่ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ห้ามนักการเมืองแสดงความคิดเห็นในการยกร่าง เป็นความคิดที่ผิด การกำหนดกติกาต้องดูความเป็นไปได้ด้วยว่า เป็นไปได้หรือไม่ วันนี้ คมช.รับภาระหนักเพราะท่านไปยกเลิกของดีที่ประชาชนเห็นด้วย (รัฐธรรมนูญปี 40) ท่านเอาของดีไปทิ้งแล้วเอาของใหม่มาแทน ภารกิจหลักของคมช.จึงต้องทำเรื่องนี้ให้ดี อย่าไปนึกว่าเลือกสมัชชาแห่งชาติมา 2,000 คนแล้ว สมัชชาเลือกกันเองเหลือ 200 คน แล้วคมช.เลือกเหลือ 100 คน เพียงพอแล้ว ขณะนี้ประชาชนตั้งข้อสังเกตกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และรอดูว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จทันกรอบเวลาจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นที่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จไม่ทันได้กำหนดให้ คมช. และรัฐบาลประชุมกันเลือกรัฐธรรมนูญที่เคยมีขึ้นมาฉบับหนึ่งขึ้นมาใช้ โดยทำให้เสร็จใน 30 วัน ตนหลับตาดูแล้วยังไม่เห็นภาพว่าจะดำเนินการได้ทัน เพราะการยกร่างธรรมนูญที่ผ่านมา นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่ร่างรัฐธรรมนูญพยายามเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญแต่ละประเทศมาใช้ซึ่งบางข้ออาจจะไม่สอดคล้องกับการเมืองไทย
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี 40 เหมือนกับอาหารล้นโต๊ะ คือเหมือนมีอาหารชั้นดีที่อยู่เต็มโต๊ะ เมื่อทานแล้วทานไม่หมด พอเหลือจึงเสียของ หาก คมช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาดี ควรเชิญให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างโดยใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นธงในการยกร่าง
ด้านนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยมีการพัฒนาที่ขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีความบกพร่องมากที่สุด แต่จากประสบการณ์ระบอบประชาธิปไตยสามารถแก้ไขปัญหาของตัวมันเองได้แต่ต้องให้เวลาในการแก้ไขทั้งนี้เพราะระบอบประชาธิปไตยมีกลไกของตัวเองในการแก้ไขปัญหา ตนเชื่อว่าการปกครองทุกแบบ ล้วนแล้วแต่มีปัญหาโดยระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนระบอบที่มีปัญหามากที่สุดคือเผด็จการ
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้การฉีกรัฐธรรมนูญอีก จะต้องกลับไปมองที่พื้นฐานของประชาธิปไตย โดยต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายของสังคมที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมกัน ประชาชนต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน คนทุกคนต้องมีความเสมอภาคและสมานฉันท์สามารถตกลงแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล ประชาธิปไตย คือ การปกครองด้วยเสียงข้างมากที่ต้องเคารพและคุ้มครองเสียงข้างน้อย ที่ผ่านมาผู้ปกครองไม่เข้าใจและไม่เคยสนใจเสียข้างน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาธิปไตยจึงเป็นเป้าหมายของสังคม
"ส่วนรัฐธรรมนูญ คือ กติกาที่เป็นทั้งรูปแบบ และเนื้อหาของประชาธิปไตย การฉีกรัฐธรรมนูญคือ การฉีกทั้งรูปแบบและเนื้อหาของประชาธิปไตย การออกมาพูดเพราะหวังว่าการฉีกรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย ผมคิดว่าประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ต้องมีการเลือกตั้ง การที่รัฐบาลมีกำหนดวาระ 1 ปี แล้วมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งบอกว่าจะอยู่ 1 ปี 5 เดือน เรื่องแบบนี้ไม่ควรพูด คุณจะอยู่นานอยู่สั้นอยู่ยาวต้องดูที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่ผมเกรงว่ารัฐบาลจะอยู่เกินหนึ่งปี เพราะมีขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้เวลา หากสามารถเริ่มต้นกระบวนการได้ในเดือนมกราคม 50 อย่างเร็วที่สุดที่จะเลือกตั้งได้คือเดือนตุลาคม 50"นายปริญญา กล่าว
**สปป.ระดมสมองปฏิรูปการเมือง
ในวันเดียวกันนี้ ที่อาคารศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง(สปป.)ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปการเมือง โดยมีพันธมิตรเครือข่ายจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 100 คน
นายพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)กล่าวเปิดงานว่า เราเคยตกอยู่ใต้อำนาจของทหารที่ใช้อำนาจเผด็จการมากกว่านี้ แต่เราก็ฝ่าข้ามมาได้ นั่นเป็นเพราะภาคประชาชนไม่ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง ดังนั้นต่อจากนี้ไปอีก 1 ปีข้างหน้า เราจึงไม่ควรให้ชนชั้นนำไทยมาบริหารประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียว และการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ได้ถูกฉีกออกไปก็สร้างความเจ็บปวดให้มากอยู่แล้ว เพราะการได้มาก็เป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลากับการเรียกร้องครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนไม่ควรท้อแท้และไม่ควรหยุดเคลื่อนไหวในการต่อสู้เพื่อการลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน ซึ่งเชื่อว่าการเคลื่อนตัวของภาคประชาชนนับจากนี้ จะมีพลังมากขึ้น เพราะได้ก่อเกิดกลุ่มเครือข่ายตั้งแต่การเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ
"ไม่ว่าคณะรัฐประหารจะก้าวเข้ามาชิงธงเพื่อนำการปฏิรูปการเมืองไปจากมือภาคประชาชนแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะวางใจโดยไม่มีการตรวจสอบ แต่ภาคประชาชนจะเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลทหารจัดการปฏิรูปการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสมัชชาประชาชนขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญคู่ขนานไปกับสภาร่างที่รัฐเป็นผู้เลือก ซึ่งตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภาคประชาชนกว่า 30 องค์กร ก็เคยร่วมมือกันจนผลักดันให้กฎหมายของประชาชนเกิดขึ้นได้แล้ว และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เราก็ไม่แน่ใจว่า หน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะก้าวหน้าหรือถอยหลัง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นภาคประชาชนเราก็มีสิทธิในการนำเสนอความคิดต่อสาธารณะ ซึ่งจะมุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ การเพิ่มการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปสื่อ เพราะปัจจัยทั้ง 3ไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน"นายพิภพ กล่าว
ทั้งนี้ ที่ปรึกษา ครป.ยืนยันถึงการไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติว่า จุดยืนของภาคประชาชน คือไม่เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการกับองค์กรของรัฐ แม้จะมีการเชื้อเชิญแต่ก็ได้ปฏิเสธอย่างนุ่มนวล และเป็นเหตุเป็นผลแล้ว เพราะเราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนค่อนข้างมีความคล่องตัวและมีอิสระดีอยู่แล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้ ก็หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสื่อและประชาชนเช่นเดียวกัน และไม่กังวลว่าใครจะเข้ามาเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติและถูกคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาคประชาชนและผู้ประสานงานสมัชชาประชาชนจากทุกภูมิภาค
**สปป.ตั้งสภาคู่ขนานเพื่อการตรวจสอบ
ภายหลังจากการสัมมนา สปป.แกนนำสมัชชานำโดย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ กล่าวว่า สปป.มีมติที่จะให้มีการจัดตั้งสมัชชาประชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วยพลังของประชาชน ปัญญาชนนักธุรกิจ ชนชั้นกลาง คนชนบท นักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สภาคู่ขนาน หรือสภาตรวจสอบการปฏิรูปของสังคม
สำหรับภารกิจของ ส.ป.ป.คือ 1.ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคมช. รัฐบาล สนช. ในการรื้อถอน สะสางปัญหาที่เกิดขึ้นในระบอทักษิณ 2. ผลักดันให้มีการปฏิรูปสื่อ ต่อต้านการขายรัฐวิสาหกิจ การลงนามเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ 3. ทำหน้าที่เป็นสภารับธรรมนูญประชาชนเคียงคู่รัฐธรรมนูญ คมช. 4.กำหนดภารกิจกิจการการเมือง โดยทำเป็นชุด โดยถอดถอนกฎหมายที่เป็นปัญหา 5.การสร้างประชาธิปไตยให้พ้นจากระบบอุปถัมภ์จากนักการเมือง 6. สปป.จะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง