รมว.ศึกษาฯเตรียมล้างบางปัญหาแป๊ะเจี๊ยะ ระบุการระดมทรัพยากรเพื่อสถานศึกษาต้องไม่ใช่การแลกประโยชน์ หรือกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น และต้องไม่เข้าพกเข้าห่อใคร ยกเครื่องการรับนักเรียนทั้งระบบยึดหลักการโปร่งใสเป็นธรรมตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปถึงระดับอุดมศึกษา
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2550 ว่า หลังจากที่ได้เกณฑ์รับนักเรียนชั้น ม.1 เรียบร้อยแล้ว โดยให้ยกเลิกการสอบเข้า ยกเว้นโรงเรียนดัง 430 โรงเรียนให้สามารถสอบคัดเลือกได้นั้น มีกระแสตอบรับจากผู้ปกครองค่อนข้างดี แต่ยังมีกระแสต้องการให้ลดสัดส่วนเด็กผู้มีอุปการคุณทั้งหมด เพราะเห็นว่าขัดต่อสิทธิมนุษยชนและมีอภิสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาเงื่อนไขพิเศษ เช่น กรณีเด็กผู้มีอุปการคุณสำหรับผู้ที่บริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้งโรงเรียน เพราะหากผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ ต่อไปก็อาจจะไม่มีผู้ให้การสนับสนุน
ส่วนที่ผู้ปกครองบางคนขอให้เพิ่มสัดส่วนการสอบคัดเลือกให้มากขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่โรงเรียนต่างๆ ต้องการให้มีการสอบเข้าเพื่อแย่งเด็กเก่งอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และผลกระทบด้วย ซึ่งทุกเรื่องที่ทำต้องชัดเจนมีเหตุผล และมีข้อมูลสนับสนุน
นายวิจิตร กล่าวต่อไปอีกว่า ต่อไปจะดำเนินการหารือถึงแนวทางการรับนักเรียนชั้น ม. 4 ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่รับนักเรียนที่จบ ม.3 เข้าเรียน ม.4 โดยไม่ต้องรับเพิ่ม แต่อาจจะมีโรงเรียนที่ต้องรับนักเรียนเพิ่มเติมก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้แนวทางไหน โดยจะเชื่อมโยงไปสู่การรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยที่หลายฝ่ายต้องการให้ทบทวน รวมถึงโอเน็ต และเอเน็ตด้วย ซึ่งตนจะดำเนินการทั้งระบบโดยต้องยึดนโยบายการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาว่าต้องโปร่งใส และเป็นธรรม สิ่งใดที่ผิดจากหลักการนี้ ก็ต้องปรับแต่งใหม่ทั้งหมด
“นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเงินกินเปล่าหรือแป๊ะเจี๊ยะที่มีการร้องเรียนมาโดยตลอดในช่วงเวลาการรับนักเรียน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปวิเคราะห์ข้อร้องเรียนว่ามีการเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะจริงหรือไม่ หากมี มีลักษณะอย่างไร ซึ่งหากมีการเรียกรับเงินกินเปล่าเพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าเรียน และสิทธินั้นไปกระทบกับสิทธิของคนอื่นก็ต้องเข้าไปดูแล โดยในสัปดาห์หน้าผมได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่มีเข้ามาทั้งหมด แต่หากเป็นเรื่องการบริจาคเพื่อช่วยสถานศึกษาโดยไม่กระทบกับสิทธิของคนอื่น หรือเป็นการระดมทรัพยากรที่ไม่ใช่ลักษณะแลกเปลี่ยนประโยชน์ก็ควรส่งเสริมต่อไป เพราะลำพังงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่การกระทำดังกล่าวต้องเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา และทำให้คุณภาพของผู้เรียนดีขึ้น โดยเงินดังกล่าวต้องไม่ไปเข้าพกเข้าห่อใคร”
ส่วนที่ผ่านมามีข่าวเรื่องเงินกินเปล่ามาโดยตลอดแต่ไม่เคยมีการลงโทษ นายวิจิตร กล่าวว่า ทราบว่าเรื่องนี้มีมาโดยตลอด มีทั้งที่พูดเกินจริง หรือบางคนก็ปฏิเสธความจริง จึงจำเป็นต้องเอาความจริงมาพูดกันเพื่อทำให้ถูกต้อง และหากระดมทรัพยากรก็ต้องระบุชัดเจนว่าเอาเงินไปทำอะไร สิ่งที่ต้องทำคือไม่ทำให้เกิดการเรียกเก็บเงินกินเปล่าเป็นวิธีการกันไว้ดีกว่าแก้ ดีกกว่าจับได้แล้วลงโทษ รวมถึงการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม คงไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะมีระเบียบชัดเจนว่าหากเป็นการจัดกิจกรรมเสริมนอกเหนือหลักสูตร หรือเป็นการพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรให้ดีขึ้นก็สามารถเรียกเก็บได้ โดยผู้ปกครองต้องสมัครใจ และกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบด้วย
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2550 ว่า หลังจากที่ได้เกณฑ์รับนักเรียนชั้น ม.1 เรียบร้อยแล้ว โดยให้ยกเลิกการสอบเข้า ยกเว้นโรงเรียนดัง 430 โรงเรียนให้สามารถสอบคัดเลือกได้นั้น มีกระแสตอบรับจากผู้ปกครองค่อนข้างดี แต่ยังมีกระแสต้องการให้ลดสัดส่วนเด็กผู้มีอุปการคุณทั้งหมด เพราะเห็นว่าขัดต่อสิทธิมนุษยชนและมีอภิสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาเงื่อนไขพิเศษ เช่น กรณีเด็กผู้มีอุปการคุณสำหรับผู้ที่บริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้งโรงเรียน เพราะหากผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ ต่อไปก็อาจจะไม่มีผู้ให้การสนับสนุน
ส่วนที่ผู้ปกครองบางคนขอให้เพิ่มสัดส่วนการสอบคัดเลือกให้มากขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่โรงเรียนต่างๆ ต้องการให้มีการสอบเข้าเพื่อแย่งเด็กเก่งอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และผลกระทบด้วย ซึ่งทุกเรื่องที่ทำต้องชัดเจนมีเหตุผล และมีข้อมูลสนับสนุน
นายวิจิตร กล่าวต่อไปอีกว่า ต่อไปจะดำเนินการหารือถึงแนวทางการรับนักเรียนชั้น ม. 4 ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่รับนักเรียนที่จบ ม.3 เข้าเรียน ม.4 โดยไม่ต้องรับเพิ่ม แต่อาจจะมีโรงเรียนที่ต้องรับนักเรียนเพิ่มเติมก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้แนวทางไหน โดยจะเชื่อมโยงไปสู่การรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยที่หลายฝ่ายต้องการให้ทบทวน รวมถึงโอเน็ต และเอเน็ตด้วย ซึ่งตนจะดำเนินการทั้งระบบโดยต้องยึดนโยบายการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาว่าต้องโปร่งใส และเป็นธรรม สิ่งใดที่ผิดจากหลักการนี้ ก็ต้องปรับแต่งใหม่ทั้งหมด
“นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเงินกินเปล่าหรือแป๊ะเจี๊ยะที่มีการร้องเรียนมาโดยตลอดในช่วงเวลาการรับนักเรียน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปวิเคราะห์ข้อร้องเรียนว่ามีการเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะจริงหรือไม่ หากมี มีลักษณะอย่างไร ซึ่งหากมีการเรียกรับเงินกินเปล่าเพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าเรียน และสิทธินั้นไปกระทบกับสิทธิของคนอื่นก็ต้องเข้าไปดูแล โดยในสัปดาห์หน้าผมได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่มีเข้ามาทั้งหมด แต่หากเป็นเรื่องการบริจาคเพื่อช่วยสถานศึกษาโดยไม่กระทบกับสิทธิของคนอื่น หรือเป็นการระดมทรัพยากรที่ไม่ใช่ลักษณะแลกเปลี่ยนประโยชน์ก็ควรส่งเสริมต่อไป เพราะลำพังงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่การกระทำดังกล่าวต้องเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา และทำให้คุณภาพของผู้เรียนดีขึ้น โดยเงินดังกล่าวต้องไม่ไปเข้าพกเข้าห่อใคร”
ส่วนที่ผ่านมามีข่าวเรื่องเงินกินเปล่ามาโดยตลอดแต่ไม่เคยมีการลงโทษ นายวิจิตร กล่าวว่า ทราบว่าเรื่องนี้มีมาโดยตลอด มีทั้งที่พูดเกินจริง หรือบางคนก็ปฏิเสธความจริง จึงจำเป็นต้องเอาความจริงมาพูดกันเพื่อทำให้ถูกต้อง และหากระดมทรัพยากรก็ต้องระบุชัดเจนว่าเอาเงินไปทำอะไร สิ่งที่ต้องทำคือไม่ทำให้เกิดการเรียกเก็บเงินกินเปล่าเป็นวิธีการกันไว้ดีกว่าแก้ ดีกกว่าจับได้แล้วลงโทษ รวมถึงการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม คงไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะมีระเบียบชัดเจนว่าหากเป็นการจัดกิจกรรมเสริมนอกเหนือหลักสูตร หรือเป็นการพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรให้ดีขึ้นก็สามารถเรียกเก็บได้ โดยผู้ปกครองต้องสมัครใจ และกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบด้วย