“องคมนตรีเกษม”เห็นด้วยเลิกใช้ชื่อ 30 บาท ชี้ชัดแค่กลยุทธ์หาเสียง เผยที่ผ่านมากระทบร.ร.แพทย์-รพ.ชุมชน พร้อมเสนอศึกษาให้กระจ่าง อัดซ้ำรัฐบาลที่ผ่านมาไม่วางแผนใช้เงินและไร้ธรรมาภิบาลทำให้ต้องเร่งแก้โดยนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ “หมอมงคล”เสนอ 2 วิธีเพิ่มเงิน"ร่วมจ่าย-บริจาค" ด้าน"อภิรักษ์"ยันไม่กระทบโรงพยาบาลกทม. ขณะที่แกนนำกองทุนหมู่บ้านวิ่งโร่พบ"โฆษิต"กลัวถูกยุบ พร้อมเผยมีวิชาการปล่อยข่าวไม่ต้องชำระหนี้ จนเกิดความสับสน ด้านศธ.เตรียมรื้อ 2 กองทุนกู้ยืม กยศ.-กรอ.ให้เหลือกองทุนเดียว ส่วนโฆษณาเหล้าเจอปัญหาใหญ่ ห้ามใช้โลโก้เหล้าบนสินค้าอื่น อย.แย้มดีเดย์บังคับใช้ 5 ธ.ค.
วานนี้ (13 ต.ค.)นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า เห็นด้วยกับการยกเลิกการใช้ชื่อ 30 บาทคนไทยห่างไกลโรค ซึ่งเป็นชื่อกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้หาเสียงของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ส่วนการเก็บ 30 บาทนั้น คงขึ้นอยู่กับการหาจุดสมดุลว่าจะให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนอย่างไร เนื่องจากประชาชนมีหลายระดับทั้งที่ร่ำรวยมาก ปานกลาง ยากจนโดยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งจะต้องกำหนดลงไปให้ชัดเจนให้ประชาชนที่ยากจนจริงๆได้รับการประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่เสียเงิน ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงและปานกลางก็ควรให้มีการเก็บเงิน
อย่างไรก็ตาม อยากเสนอให้มีการหาบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเป็นกลางศึกษานโยบายสาธารณะรวมทั้งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมามีผลกระทบกับโรงพยาบาลแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งประชาชนที่เข้ามารับบริการว่าดีขึ้นหรือแย่ลง ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาการบริหารงานขาดธรรมาภิบาล ไม่มีการศึกษาผลกระทบของนโยบายแต่ละนโยบายว่าส่งผลกระทบเช่นไรบ้าง เช่น ผลกระทบที่ชัดเจนกับการขาดทุนของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัดและโรงเรียนแพทย์ ซึ่งการดำเนินโยบายสาธารณะข้อนี้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลกับ โรงพยาบาลแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน นอกจากนี้ รัฐบาลที่ผ่านมาใช้เงินกันอย่างไม่มีการวางแผน ตอนนี้จึงต้องเร่งวางแผนโดยนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
"ผมรู้สึกเป็นห่วงโรงเรียนแพทย์มาก เนื่องจากมีการเปิดโรงเรียนแพทย์หลายๆ แห่ง เพื่อผลิตแพทย์ให้ได้มากๆ แต่กลับไม่มีคุณภาพเพราะตอนนี้คนเก่งๆ อยู่โรงพยาบาลเอกชนหมด เมื่อก่อนใครเรียนได้เหรียญทอง อยากเข้าไปเป็นอาจารย์แพทย์ทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว แล้วการผลิตแพทย์จะเป็นอย่างไร"นพ.เกษม กล่าว
**หมอมงคลเสนอ 2 วิธีเพิ่มเงิน
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในเมื่อไม่ได้เรียกเก็บเงิน 30 บาทจากประชาชนที่มาใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว จึงมีแนวความคิดหาแหล่งเงินทุนที่จะมาชดเชย 2 แนวทาง คือการร่วมจ่าย และอีกวิธีคือการตั้งตู้บริจาค โดยประชาชนที่มีจิตศรัทธาก็สามารถบริจาคได้ หรือคนที่ไม่มีเงินแต่อยากช่วยเหลือโครงการฯก็สามารถมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครทำงานในสถานพยาบาลได้
"ขณะนี้กำลังให้ทีมงานสรุปว่าจะเลือกใช้วิธีใด โดยเฉพาะเรื่องการร่วมจ่ายต้องการกลับไปดูรายละเอียดในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ว่า เปิดช่องให้ทำได้หรือไม่ ส่วนความกังวลหากร่วมจ่ายแล้วจะเกิดการรักษาแบบสองมาตรฐานนั้น คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะก่อนหน้าที่มีโครงการดังกล่าว ก็มีบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.)ที่เก็บเงินกับประชาชนที่สนใจคนละ 500 บาท ซึ่งประชาชนก็ยินดีที่จะจ่ายเพื่อซื้อบริการที่ดี"นพ.มงคล กล่าว
ด้าน ดร.อัมมาร สยามวาลา กล่าวว่า แม้ไม่มีการเก็บ 30 บาท ก็ไม่กระทบต่อโครงการนี้ เนื่องจากงบประมาณรายหัวที่ได้รับมีประมาณ 7หมื่นล้านบาทต่อปี ในขณะที่เงินที่เก็บมีเพียง 1.8 พันล้านบาทต่อปีเท่านั้น ถือว่าเป็นเงินที่เล็กน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพหลายประการ ส่วนที่เกรงว่าชาวบ้านจะมาใช้บริการจำนวนมากโดยไม่จำเป็น หากไม่มีการเก็บเงิน ตนเห็นว่าในประเด็นนี้ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะถ้าไปถามชาวบ้าน ค่าเดินทางมารับการรักษาแพงกว่า 30 บาทที่ต้องจ่ายไป และโรงพยาบาลไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหากไม่มีโรคใครเขาอยากจะมา
**แพทย์ชนบทให้ขึ้นค่าหัวเป็น 2,089 บาท
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สนับสนุนการยกเลิกเก็บเงินค่าบริการ 30 บาทในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และยืนยันว่าไม่กระทบกับงบประมาณ กล่าวคือการเก็บเงินที่ได้จาก 30 บาทเมื่อหักผู้ใช้บริการที่มีรายได้น้อย ผู้พิการ เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ก็เหลือผู้ที่ต้องจ่าย 30 บาท เพียง 10% รวมแล้วน่าจะได้เงินไม่เกิน 400-500 ล้านบาท ดังนั้นที่เกรงว่าหากไม่จัดเก็บเงินในส่วนนี้ อาจทำให้งบประมาณส่วนหนึ่งขาดหายไปได้นั้น คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา หากเทียบกับงบประมาณค่ารักษาซึ่งตกปีละ 80,000-90,000 ล้านบาทถือว่าน้อยมาก
ที่สำคัญคือ หากมีการเพิ่มเติมงบประมาณในปี 2550 ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เสนอเพิ่มจาก 1,659 บาทต่อหัว เป็น 2,089 บาทต่อหัว จะทำให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาทดแทนได้ ทั้งนี้หากมีการยกเลิกการจ่าย 30บาทจริง ก็สามารถนำมาเป็นเหตุผลเพื่อของบประมาณที่เพิ่มได้
"ที่โรงพยาบาลภูกระดึงไม่เก็บเงินประชาชนตั้งแต่ปี 2545 แล้ว เพราะเงินที่เก็บได้ไม่มีผลกระทบกับโรงพยาบาลเลย"นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ทุกคนทราบกันดีว่า แนวคิดในการจัดเก็บ 30 บาทกับประชาชน ไม่ได้มุ่งหวังรายได้แต่เป็นเกรงว่าจะมีการเข้ารับบริการรักษาที่เกินความจำเป็น แบบที่เรียกว่าฟุ่มเฟือย เช่น ไม่สบายนิดหน่อยก็เดินมาขอยา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การเข้ารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล หากประชาชนไม่เจ็บป่วยจริงๆ คงไม่อยากมารับบริการ เพราะเสียเวลา และยังต้องเข้าคิวรอการรักษาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะเป็นบริการที่ไม่เสียเงินค่ารักษาก็ตาม อีกทั้งการเก็บเงินนี้ไม่ได้กระทบต่อผู้มีฐานะ แต่จะกระทบต่อผู้ยากไร้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการยกเลิกในส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่ดี
**“อภิรักษ์”ยันไม่กระทบรพ.กทม.
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่จะมีการยกเลิกการเก็บเงินและเปลี่ยนเป็นการให้บริการรักษาฟรีทุกโรค ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวโดยตรง ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณในโรงพยาบาลสังกัดกทม.แต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้จัดสรรงบประมาณมาให้อยู่แล้ว อีกทั้งจะช่วยลดภาระงานด้านธุรการของโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครให้น้อยลงอีกด้วย
ด้านม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลจะยังเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์ที่เป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งโครงการขนส่งมวลชน โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับชานเมือง ซึ่งจะพิจารณาทำเพียง 3 โครงการก่อน ส่วนอีก 2 โครงการ ที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันคือ การเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งจะเริ่มโครงการนำร่องก่อนเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปนำไปสานต่อ รวมถึงโครงการจัดการระบบน้ำตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนและการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง
**แก๊งกองทุนหมู่บ้านวิ่งวุ่นกลัวถูกยุบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.00 น. นายพินิจ ศาสตร์สาระ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือต่อนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในระดับล่างหลายล้านคนอย่างมาก โดยเฉพาะสามารถนำเงินไปประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อดำรงชีวิตประจำวันต่อไป
นายพินิจกล่าวว่า นายโฆสิตยืนยันจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ อย่างต่อเนื่อง พร้อมกำชับให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และให้สินเชื่อแก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม หลังจากนี้ก็จะให้เครือข่ายกองทุนฯ ไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดต่างๆ มีผู้ไม่หวังดีได้ปล่อยข่าวทั่วประเทศว่า งบประมาณกองทุนหมู่บ้านกว่า 70,000 ล้านบาท เป็นเงินของรัฐบาลชุดก่อน จึงไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ จนทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
ทั้งนี้ นายโฆสิตจะเร่งสรรหาประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ คนใหม่แทนนายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่หมดวาระไปเพื่อให้งานต่างๆ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าลูกหนี้ในโครงการผิด ชำระหนี้ประมาณ 6-7% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท
**ศธ.เตรียมรื้อ 2 กองทุนกู้ยืม
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุม 5 องค์กรหลักว่า ที่ประชุมได้มีการพูดกันถึงเรื่องกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) โดย จากการศึกษาพบว่า กรอ.ยังมีปัญหาเรื่องความล่าช้า ดังนั้น ในปีการศึกษา 2550 ทาง ศธ.จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง พิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุน ขณะเดียวกันจะต้องมาพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องมี 2 กองทุนหรือไม่ หรือว่าจะนำหลักการดีๆ ของทั้ง 2กองทุน แล้วมารวมให้เป็นกองทุนเดียว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้กู้
"ปัจจุบันการกู้ยืมเงินของนิสิต นักศึกษา ผู้กู้จะต้องเซ็นสัญญาหลายครั้ง หลายใบ เนื่องเพราะมีการแยกบัญชีการกู้ยืมออกเป็นส่วนๆ กู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน กู้เพื่อใช้ในการค่าครองชีพ และการแยกหลายบัญชียังสร้างความสับสนให้แก่ผู้กู้เพราะคิดอัตราดอกเบี้ยและการชำระหนี้ ไม่พร้อมกัน"ศ.ดร.วิจิตร กล่าว
**ห้ามใช้โลโก้เหล้าบนผลิตภัณฑ์อื่น
แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงประกาศควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อทุกชนิด ที่เตรียมเรียกผู้ประกอบการเข้ารับฟังนโยบายในวันที่ 16 ต.ค.นี้เวลา 10.00 น.ว่า รายละเอียดในประกาศฉบับดังกล่าว ในเรื่องของเงื่อนเวลาที่จะให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตปรับตัวจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 2-3 เดือน และเตรียมออกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยเนื้อหาในประกาศฉบับดังกล่าวได้นำความหมายและการตีความเรื่องการโฆษณามาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในส่วนของการควบคุมการโฆษณาและฉลากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ในส่วนของพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ซึ่งกำลังเตรียมนำเข้าสภานิติบัญญัติเพื่อผ่านกฎหมาย จากที่มีการทำประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้ว พบว่ามีการตัดประเด็นที่ซ้ำซ้อนกับรัฐธรรมนูญออกเช่น เรื่องการควบคุมคุณภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มีการเพิ่มบางประเด็นเช่น มีการเสนอให้เพิ่มอายุของเยาวชนที่มีสิทธิซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จาก 21 ปี เป็น 25 ปี โดยประเด็นดังกล่าวมาจากข้อเสนอของตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมในการทำประชาพิจารณ์ โดยพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะเป็นมาตรการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีประเด็นสำคัญในเรื่องการควบคุมการโฆษณานอกจากการห้ามโฆษณาทุกสื่อ 24 ชั่วโมงคือ ในมาตรา 32 ได้ระบุถึงเรื่อง ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องหมายสินค้านั้น โดยบทบัญญัติระบุว่า ไม่ให้นำชื่อหรือเครื่องหมาย มาต่อเติมเป็นเครื่องหมายสินค้าเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 33 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณา หรือแสดงเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือผลิตภัณฑ์ที่มิได้เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมาตรา 34 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาชื่อ หรือเครื่องหมายของบริษัทห้างร้านผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในลักษณะที่อาจทำให้แพร่หลายซึ่งชื่อหรือเครื่องหมายของบริษัทห้ามร้านผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ด้านภก.มานิตย์ อรุณากูร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ต.ค.เวลา 10.00 น. -12.00 น. นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข ได้นัดประชุมฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการเรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกสื่อตลอด 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นในเวลา 13.00 น. คณะกรรมการอาหารจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อลงมติห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยออกเป็นประกาศ อย. ในสัปดาห์หน้า
“ทั้งนี้หลังจากออกประกาศควบคุมการโฆษณาแล้วจะให้เวลา 45 วันเพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้าของรายการไปเคลียร์สัญญาต่าง ๆ โดยวันดีเดย์การห้ามโฆษณาจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.เป็นต้นไป” ภก.มานิตย์ กล่าวและว่า ขณะนี้ร่างประกาศ อย.ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาติดขัดอะไร เพราะ รมว.สาธารณสุขมีนโยบายในเรื่องนี้ชัดเจน ความจริงแล้วเรื่องห้ามการโฆษณาเป็นเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)แต่ สคบ.มอบอำนาจให้ อย. แต่การจะดูแลได้จะต้องนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอาหารควบคุมฉลากก่อน
วานนี้ (13 ต.ค.)นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า เห็นด้วยกับการยกเลิกการใช้ชื่อ 30 บาทคนไทยห่างไกลโรค ซึ่งเป็นชื่อกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้หาเสียงของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ส่วนการเก็บ 30 บาทนั้น คงขึ้นอยู่กับการหาจุดสมดุลว่าจะให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนอย่างไร เนื่องจากประชาชนมีหลายระดับทั้งที่ร่ำรวยมาก ปานกลาง ยากจนโดยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งจะต้องกำหนดลงไปให้ชัดเจนให้ประชาชนที่ยากจนจริงๆได้รับการประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่เสียเงิน ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงและปานกลางก็ควรให้มีการเก็บเงิน
อย่างไรก็ตาม อยากเสนอให้มีการหาบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเป็นกลางศึกษานโยบายสาธารณะรวมทั้งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมามีผลกระทบกับโรงพยาบาลแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งประชาชนที่เข้ามารับบริการว่าดีขึ้นหรือแย่ลง ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาการบริหารงานขาดธรรมาภิบาล ไม่มีการศึกษาผลกระทบของนโยบายแต่ละนโยบายว่าส่งผลกระทบเช่นไรบ้าง เช่น ผลกระทบที่ชัดเจนกับการขาดทุนของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัดและโรงเรียนแพทย์ ซึ่งการดำเนินโยบายสาธารณะข้อนี้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลกับ โรงพยาบาลแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน นอกจากนี้ รัฐบาลที่ผ่านมาใช้เงินกันอย่างไม่มีการวางแผน ตอนนี้จึงต้องเร่งวางแผนโดยนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
"ผมรู้สึกเป็นห่วงโรงเรียนแพทย์มาก เนื่องจากมีการเปิดโรงเรียนแพทย์หลายๆ แห่ง เพื่อผลิตแพทย์ให้ได้มากๆ แต่กลับไม่มีคุณภาพเพราะตอนนี้คนเก่งๆ อยู่โรงพยาบาลเอกชนหมด เมื่อก่อนใครเรียนได้เหรียญทอง อยากเข้าไปเป็นอาจารย์แพทย์ทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว แล้วการผลิตแพทย์จะเป็นอย่างไร"นพ.เกษม กล่าว
**หมอมงคลเสนอ 2 วิธีเพิ่มเงิน
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในเมื่อไม่ได้เรียกเก็บเงิน 30 บาทจากประชาชนที่มาใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว จึงมีแนวความคิดหาแหล่งเงินทุนที่จะมาชดเชย 2 แนวทาง คือการร่วมจ่าย และอีกวิธีคือการตั้งตู้บริจาค โดยประชาชนที่มีจิตศรัทธาก็สามารถบริจาคได้ หรือคนที่ไม่มีเงินแต่อยากช่วยเหลือโครงการฯก็สามารถมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครทำงานในสถานพยาบาลได้
"ขณะนี้กำลังให้ทีมงานสรุปว่าจะเลือกใช้วิธีใด โดยเฉพาะเรื่องการร่วมจ่ายต้องการกลับไปดูรายละเอียดในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ว่า เปิดช่องให้ทำได้หรือไม่ ส่วนความกังวลหากร่วมจ่ายแล้วจะเกิดการรักษาแบบสองมาตรฐานนั้น คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะก่อนหน้าที่มีโครงการดังกล่าว ก็มีบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.)ที่เก็บเงินกับประชาชนที่สนใจคนละ 500 บาท ซึ่งประชาชนก็ยินดีที่จะจ่ายเพื่อซื้อบริการที่ดี"นพ.มงคล กล่าว
ด้าน ดร.อัมมาร สยามวาลา กล่าวว่า แม้ไม่มีการเก็บ 30 บาท ก็ไม่กระทบต่อโครงการนี้ เนื่องจากงบประมาณรายหัวที่ได้รับมีประมาณ 7หมื่นล้านบาทต่อปี ในขณะที่เงินที่เก็บมีเพียง 1.8 พันล้านบาทต่อปีเท่านั้น ถือว่าเป็นเงินที่เล็กน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพหลายประการ ส่วนที่เกรงว่าชาวบ้านจะมาใช้บริการจำนวนมากโดยไม่จำเป็น หากไม่มีการเก็บเงิน ตนเห็นว่าในประเด็นนี้ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะถ้าไปถามชาวบ้าน ค่าเดินทางมารับการรักษาแพงกว่า 30 บาทที่ต้องจ่ายไป และโรงพยาบาลไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหากไม่มีโรคใครเขาอยากจะมา
**แพทย์ชนบทให้ขึ้นค่าหัวเป็น 2,089 บาท
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สนับสนุนการยกเลิกเก็บเงินค่าบริการ 30 บาทในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และยืนยันว่าไม่กระทบกับงบประมาณ กล่าวคือการเก็บเงินที่ได้จาก 30 บาทเมื่อหักผู้ใช้บริการที่มีรายได้น้อย ผู้พิการ เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ก็เหลือผู้ที่ต้องจ่าย 30 บาท เพียง 10% รวมแล้วน่าจะได้เงินไม่เกิน 400-500 ล้านบาท ดังนั้นที่เกรงว่าหากไม่จัดเก็บเงินในส่วนนี้ อาจทำให้งบประมาณส่วนหนึ่งขาดหายไปได้นั้น คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา หากเทียบกับงบประมาณค่ารักษาซึ่งตกปีละ 80,000-90,000 ล้านบาทถือว่าน้อยมาก
ที่สำคัญคือ หากมีการเพิ่มเติมงบประมาณในปี 2550 ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เสนอเพิ่มจาก 1,659 บาทต่อหัว เป็น 2,089 บาทต่อหัว จะทำให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาทดแทนได้ ทั้งนี้หากมีการยกเลิกการจ่าย 30บาทจริง ก็สามารถนำมาเป็นเหตุผลเพื่อของบประมาณที่เพิ่มได้
"ที่โรงพยาบาลภูกระดึงไม่เก็บเงินประชาชนตั้งแต่ปี 2545 แล้ว เพราะเงินที่เก็บได้ไม่มีผลกระทบกับโรงพยาบาลเลย"นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ทุกคนทราบกันดีว่า แนวคิดในการจัดเก็บ 30 บาทกับประชาชน ไม่ได้มุ่งหวังรายได้แต่เป็นเกรงว่าจะมีการเข้ารับบริการรักษาที่เกินความจำเป็น แบบที่เรียกว่าฟุ่มเฟือย เช่น ไม่สบายนิดหน่อยก็เดินมาขอยา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การเข้ารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล หากประชาชนไม่เจ็บป่วยจริงๆ คงไม่อยากมารับบริการ เพราะเสียเวลา และยังต้องเข้าคิวรอการรักษาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะเป็นบริการที่ไม่เสียเงินค่ารักษาก็ตาม อีกทั้งการเก็บเงินนี้ไม่ได้กระทบต่อผู้มีฐานะ แต่จะกระทบต่อผู้ยากไร้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการยกเลิกในส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่ดี
**“อภิรักษ์”ยันไม่กระทบรพ.กทม.
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่จะมีการยกเลิกการเก็บเงินและเปลี่ยนเป็นการให้บริการรักษาฟรีทุกโรค ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวโดยตรง ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณในโรงพยาบาลสังกัดกทม.แต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้จัดสรรงบประมาณมาให้อยู่แล้ว อีกทั้งจะช่วยลดภาระงานด้านธุรการของโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครให้น้อยลงอีกด้วย
ด้านม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลจะยังเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์ที่เป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งโครงการขนส่งมวลชน โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับชานเมือง ซึ่งจะพิจารณาทำเพียง 3 โครงการก่อน ส่วนอีก 2 โครงการ ที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันคือ การเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งจะเริ่มโครงการนำร่องก่อนเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปนำไปสานต่อ รวมถึงโครงการจัดการระบบน้ำตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนและการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง
**แก๊งกองทุนหมู่บ้านวิ่งวุ่นกลัวถูกยุบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.00 น. นายพินิจ ศาสตร์สาระ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือต่อนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในระดับล่างหลายล้านคนอย่างมาก โดยเฉพาะสามารถนำเงินไปประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อดำรงชีวิตประจำวันต่อไป
นายพินิจกล่าวว่า นายโฆสิตยืนยันจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ อย่างต่อเนื่อง พร้อมกำชับให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และให้สินเชื่อแก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม หลังจากนี้ก็จะให้เครือข่ายกองทุนฯ ไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดต่างๆ มีผู้ไม่หวังดีได้ปล่อยข่าวทั่วประเทศว่า งบประมาณกองทุนหมู่บ้านกว่า 70,000 ล้านบาท เป็นเงินของรัฐบาลชุดก่อน จึงไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ จนทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
ทั้งนี้ นายโฆสิตจะเร่งสรรหาประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ คนใหม่แทนนายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่หมดวาระไปเพื่อให้งานต่างๆ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าลูกหนี้ในโครงการผิด ชำระหนี้ประมาณ 6-7% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท
**ศธ.เตรียมรื้อ 2 กองทุนกู้ยืม
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุม 5 องค์กรหลักว่า ที่ประชุมได้มีการพูดกันถึงเรื่องกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) โดย จากการศึกษาพบว่า กรอ.ยังมีปัญหาเรื่องความล่าช้า ดังนั้น ในปีการศึกษา 2550 ทาง ศธ.จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง พิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุน ขณะเดียวกันจะต้องมาพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องมี 2 กองทุนหรือไม่ หรือว่าจะนำหลักการดีๆ ของทั้ง 2กองทุน แล้วมารวมให้เป็นกองทุนเดียว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้กู้
"ปัจจุบันการกู้ยืมเงินของนิสิต นักศึกษา ผู้กู้จะต้องเซ็นสัญญาหลายครั้ง หลายใบ เนื่องเพราะมีการแยกบัญชีการกู้ยืมออกเป็นส่วนๆ กู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน กู้เพื่อใช้ในการค่าครองชีพ และการแยกหลายบัญชียังสร้างความสับสนให้แก่ผู้กู้เพราะคิดอัตราดอกเบี้ยและการชำระหนี้ ไม่พร้อมกัน"ศ.ดร.วิจิตร กล่าว
**ห้ามใช้โลโก้เหล้าบนผลิตภัณฑ์อื่น
แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงประกาศควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อทุกชนิด ที่เตรียมเรียกผู้ประกอบการเข้ารับฟังนโยบายในวันที่ 16 ต.ค.นี้เวลา 10.00 น.ว่า รายละเอียดในประกาศฉบับดังกล่าว ในเรื่องของเงื่อนเวลาที่จะให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตปรับตัวจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 2-3 เดือน และเตรียมออกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยเนื้อหาในประกาศฉบับดังกล่าวได้นำความหมายและการตีความเรื่องการโฆษณามาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในส่วนของการควบคุมการโฆษณาและฉลากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ในส่วนของพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ซึ่งกำลังเตรียมนำเข้าสภานิติบัญญัติเพื่อผ่านกฎหมาย จากที่มีการทำประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้ว พบว่ามีการตัดประเด็นที่ซ้ำซ้อนกับรัฐธรรมนูญออกเช่น เรื่องการควบคุมคุณภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มีการเพิ่มบางประเด็นเช่น มีการเสนอให้เพิ่มอายุของเยาวชนที่มีสิทธิซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จาก 21 ปี เป็น 25 ปี โดยประเด็นดังกล่าวมาจากข้อเสนอของตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมในการทำประชาพิจารณ์ โดยพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะเป็นมาตรการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีประเด็นสำคัญในเรื่องการควบคุมการโฆษณานอกจากการห้ามโฆษณาทุกสื่อ 24 ชั่วโมงคือ ในมาตรา 32 ได้ระบุถึงเรื่อง ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องหมายสินค้านั้น โดยบทบัญญัติระบุว่า ไม่ให้นำชื่อหรือเครื่องหมาย มาต่อเติมเป็นเครื่องหมายสินค้าเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 33 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณา หรือแสดงเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือผลิตภัณฑ์ที่มิได้เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมาตรา 34 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาชื่อ หรือเครื่องหมายของบริษัทห้างร้านผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในลักษณะที่อาจทำให้แพร่หลายซึ่งชื่อหรือเครื่องหมายของบริษัทห้ามร้านผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ด้านภก.มานิตย์ อรุณากูร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ต.ค.เวลา 10.00 น. -12.00 น. นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข ได้นัดประชุมฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการเรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกสื่อตลอด 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นในเวลา 13.00 น. คณะกรรมการอาหารจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อลงมติห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยออกเป็นประกาศ อย. ในสัปดาห์หน้า
“ทั้งนี้หลังจากออกประกาศควบคุมการโฆษณาแล้วจะให้เวลา 45 วันเพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้าของรายการไปเคลียร์สัญญาต่าง ๆ โดยวันดีเดย์การห้ามโฆษณาจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.เป็นต้นไป” ภก.มานิตย์ กล่าวและว่า ขณะนี้ร่างประกาศ อย.ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาติดขัดอะไร เพราะ รมว.สาธารณสุขมีนโยบายในเรื่องนี้ชัดเจน ความจริงแล้วเรื่องห้ามการโฆษณาเป็นเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)แต่ สคบ.มอบอำนาจให้ อย. แต่การจะดูแลได้จะต้องนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอาหารควบคุมฉลากก่อน