ดิ้นหาเงินอุดรอยรั่ว 30 บาท สปสช.เตรียมยื่นข้อมูลนายกฯ ใหม่ เสนอโละทิ้งระบบเก่าที่ผูกติดกับงบประมาณแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เหตุอิงกับนโยบายทางการเมือง และเปลี่ยนมาผูกติดงบกับภาษีธุรกรรมทางการเงิน แนะดึงเงินจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 0.01 พร้อมเสนอเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวเป็น 2,089 บาทต่อหัวต่อปี ชี้ชัดถ้าไม่ได้วุ่น
วานนี้(3 ต.ค.) นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้เปิดแถลงข่าวโดยกล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือโครงการ 30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรคว่า การแก้ไขปัญหาในระยะยาวในเรื่องของงบประมาณที่จะไม่ต้องรอการผูกติดกับงบประมาณจากแผ่นดินที่มักอิงกับนโยบายทางการเมือง คือการผูกติดงบประมาณของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ากับการจัดเก็บภาษีแทน เพื่อแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อไปในอนาคต โดยจะนำเสนอแนวคิดดังกล่าวกับรัฐบาลชุดใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้โครงการมีงบประมาณบริหารที่แน่นอน
ทั้งนี้ เคยมีแนวความคิดจากนักวิชาการหลายคนว่าควรนำโครงการ 30 บาทฯผูกติดกับการจัดเก็บภาษีด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 ต่อปี นอกจากนั้น บอร์ด สปสช. เคยเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยจัดเงินจากภาษีบาป (sin tax) หรือภาษีเหล้า บุหรี่ ร้อยละ 58-60 เป็นงบประมาณให้กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติต่อรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
นพ.สงวนกล่าวต่อว่า ส่วนตัวได้เตรียมเสนอแนวคิดให้นำไปผูกติดกับภาษีธุร กรรมทางการเงิน ซึ่งได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 0.01 เพราะมองว่าภาษีส่วนนี้มาจากผู้มีรายได้สูง ไม่เกิดผลกระทบมากนัก หากมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจะกระทบคนส่วนรวมโดยเฉพาะคนจน ส่วนภาษีเหล้าบุหรี่ จะได้รับอัตราไม่คงที่เพราะการรณรงค์อย่างหนักจะทำให้รายรับในส่วนนี้ลดลง
“ผมยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยากเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาเคยมีการเสนอแนวความคิดที่ให้เอางบประมาณของโครงการผูกติดกับภาษีแล้ว แต่กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะเห็นว่าการบริหารงบประมาณควรมาจากส่วนกลางและไม่ควรมีโครงการใดมาผูกติดกับภาษีใดภาษีหนึ่งมากจนเกินไป และการที่มีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ที่ผูกติดกับภาษีบาปร้อยละ 2 ต่อปีก็ถือว่ามากอยู่แล้ว และเมื่อไม่แก้ไข ผมก็ไม่สบายใจที่ทุกปีก็จะมีคนมาบอกว่า 30 บาท ถมไม่เต็ม เงินไม่พอต้องเพิ่มเงิย” นพ.สงวน กล่าว
นอกจากนี้ ในงบประมาณปี 2550 ของโครงการหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องได้งบรายหัว 2,089 บาท มิฉะนั้นโรงพยาบาลจะมีปัญหาอย่างแน่นอน
นพ.สงวน กล่าวว่า โครงการหลักประกันสุขภาพฯไม่ใช่โครงการของพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนต้องได้รับ โดยองค์การอนามัยโลกกำหนดว่าแต่ละประเทศควรนำงบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของรายได้อัตรามวลรวมของประเทศ (จีดีพี) มาใช้ด้านสุขภาพของประเทศ แต่ประเทศไทยมีการใช้งบประมาณด้านสุขภาพเพียง ร้อยละ 4 ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วมีการใช้งบประมาณด้านสุขภาพเกินกว่าร้อยละ 6 ของจีดีพี
“ผมยอมรับว่าประชาชนยังไม่เข้าใจว่าโครงการดังกล่าวเป็นสิทธิพื้นฐานที่จะต้องได้รับและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแม้การเมืองจะเปลี่ยน เมื่อเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลกเลิกได้ เพราะเป็นประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ถือว่าทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในสังคมว่าไม่มีใครสามารถล้มโครงการหลักประกันสุขภาพได้”
นพ.สงวน กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนโครงการฯไม่ควรผูกติดกับพรรคการเมืองใด จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ นักวิชาการ ประชาชน และการตัดสินใจทางการเมือง แต่ก็ยอมรับว่า การเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องระดับหนึ่ง ในเรื่องของการอนุมัติงบประมาณ และโครงการขององค์กร อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาบริหาร จำเป็นต้องยึดแนวคิด เพื่อผลประโยชน์ของประชานเป็นหลัก เมื่อทำประโยชน์ก็ย่อมได้รับผลดีตอบแทน
“ในอนาคต เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะเห็นประเด็นในเรื่องประโยชน์ที่ประชาชนต้องได้รับคือบริการที่ดี มาตรฐานที่เท่าเทียมกันแต่สถานพยาบาลต้องสามารถบริหารงานได้ไม่เป็นภาระ ขณะนี้สังคมโดยรวมยังเข้าใจสถานะของโครงการที่ไม่ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานในเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจว่าโครงการ 30 บาทฯ ไม่ใช่โครงการสงเคราะห์คนจน แต่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนไทยทุกคนจะได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน” นพ.สงวน กล่าว
ทั้งนี้ ทีมนักวิชาการของ สปสช.ประมาณการความต้องการเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้คือ ปี 2549 โครงการ 30 บาทฯ ต้องการงบประมาณ 60,658 ล้านบาท ปี 2550 ต้องการงบประมาณ 70,280 ล้านบาท เ ปี 2551 ต้องการงบประมาณ 77,485 ล้านบาท ปี 2552 ต้องการงบประมาณ 83,931 ล้านบาท ปี 2553 ต้องการงบประมาณ 90,635 ล้านบาท
วานนี้(3 ต.ค.) นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้เปิดแถลงข่าวโดยกล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือโครงการ 30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรคว่า การแก้ไขปัญหาในระยะยาวในเรื่องของงบประมาณที่จะไม่ต้องรอการผูกติดกับงบประมาณจากแผ่นดินที่มักอิงกับนโยบายทางการเมือง คือการผูกติดงบประมาณของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ากับการจัดเก็บภาษีแทน เพื่อแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อไปในอนาคต โดยจะนำเสนอแนวคิดดังกล่าวกับรัฐบาลชุดใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้โครงการมีงบประมาณบริหารที่แน่นอน
ทั้งนี้ เคยมีแนวความคิดจากนักวิชาการหลายคนว่าควรนำโครงการ 30 บาทฯผูกติดกับการจัดเก็บภาษีด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 ต่อปี นอกจากนั้น บอร์ด สปสช. เคยเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยจัดเงินจากภาษีบาป (sin tax) หรือภาษีเหล้า บุหรี่ ร้อยละ 58-60 เป็นงบประมาณให้กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติต่อรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
นพ.สงวนกล่าวต่อว่า ส่วนตัวได้เตรียมเสนอแนวคิดให้นำไปผูกติดกับภาษีธุร กรรมทางการเงิน ซึ่งได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 0.01 เพราะมองว่าภาษีส่วนนี้มาจากผู้มีรายได้สูง ไม่เกิดผลกระทบมากนัก หากมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจะกระทบคนส่วนรวมโดยเฉพาะคนจน ส่วนภาษีเหล้าบุหรี่ จะได้รับอัตราไม่คงที่เพราะการรณรงค์อย่างหนักจะทำให้รายรับในส่วนนี้ลดลง
“ผมยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยากเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาเคยมีการเสนอแนวความคิดที่ให้เอางบประมาณของโครงการผูกติดกับภาษีแล้ว แต่กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะเห็นว่าการบริหารงบประมาณควรมาจากส่วนกลางและไม่ควรมีโครงการใดมาผูกติดกับภาษีใดภาษีหนึ่งมากจนเกินไป และการที่มีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ที่ผูกติดกับภาษีบาปร้อยละ 2 ต่อปีก็ถือว่ามากอยู่แล้ว และเมื่อไม่แก้ไข ผมก็ไม่สบายใจที่ทุกปีก็จะมีคนมาบอกว่า 30 บาท ถมไม่เต็ม เงินไม่พอต้องเพิ่มเงิย” นพ.สงวน กล่าว
นอกจากนี้ ในงบประมาณปี 2550 ของโครงการหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องได้งบรายหัว 2,089 บาท มิฉะนั้นโรงพยาบาลจะมีปัญหาอย่างแน่นอน
นพ.สงวน กล่าวว่า โครงการหลักประกันสุขภาพฯไม่ใช่โครงการของพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนต้องได้รับ โดยองค์การอนามัยโลกกำหนดว่าแต่ละประเทศควรนำงบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของรายได้อัตรามวลรวมของประเทศ (จีดีพี) มาใช้ด้านสุขภาพของประเทศ แต่ประเทศไทยมีการใช้งบประมาณด้านสุขภาพเพียง ร้อยละ 4 ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วมีการใช้งบประมาณด้านสุขภาพเกินกว่าร้อยละ 6 ของจีดีพี
“ผมยอมรับว่าประชาชนยังไม่เข้าใจว่าโครงการดังกล่าวเป็นสิทธิพื้นฐานที่จะต้องได้รับและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแม้การเมืองจะเปลี่ยน เมื่อเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลกเลิกได้ เพราะเป็นประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ถือว่าทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในสังคมว่าไม่มีใครสามารถล้มโครงการหลักประกันสุขภาพได้”
นพ.สงวน กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนโครงการฯไม่ควรผูกติดกับพรรคการเมืองใด จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ นักวิชาการ ประชาชน และการตัดสินใจทางการเมือง แต่ก็ยอมรับว่า การเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องระดับหนึ่ง ในเรื่องของการอนุมัติงบประมาณ และโครงการขององค์กร อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาบริหาร จำเป็นต้องยึดแนวคิด เพื่อผลประโยชน์ของประชานเป็นหลัก เมื่อทำประโยชน์ก็ย่อมได้รับผลดีตอบแทน
“ในอนาคต เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะเห็นประเด็นในเรื่องประโยชน์ที่ประชาชนต้องได้รับคือบริการที่ดี มาตรฐานที่เท่าเทียมกันแต่สถานพยาบาลต้องสามารถบริหารงานได้ไม่เป็นภาระ ขณะนี้สังคมโดยรวมยังเข้าใจสถานะของโครงการที่ไม่ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานในเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจว่าโครงการ 30 บาทฯ ไม่ใช่โครงการสงเคราะห์คนจน แต่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนไทยทุกคนจะได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน” นพ.สงวน กล่าว
ทั้งนี้ ทีมนักวิชาการของ สปสช.ประมาณการความต้องการเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้คือ ปี 2549 โครงการ 30 บาทฯ ต้องการงบประมาณ 60,658 ล้านบาท ปี 2550 ต้องการงบประมาณ 70,280 ล้านบาท เ ปี 2551 ต้องการงบประมาณ 77,485 ล้านบาท ปี 2552 ต้องการงบประมาณ 83,931 ล้านบาท ปี 2553 ต้องการงบประมาณ 90,635 ล้านบาท