เครือข่ายนักวิชาการผนึกกำลังหนุน คปค.เลือกทางที่ควรเดิน สร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แนะสกัดคนที่รับใช้ระบอบทักษิณเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง แนะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะ “บรรเจิด-คมสัน-อมร” ซึ่งเป็นคนดีและเป็นกลางร่วมร่าง รธน. ด้าน ทรท.เชียร์ “มีชัย-วิษณุ-บวรศักดิ์” พร้อม กรรมการรวม 10 คน ยกร่าง อ้างสภาร่าง รธน.คนเยอะทำงานช้า “วีระ” ไดโนเสา ระบุให้เด็กถ่ายรูปกับรถถังอนาคตชาติจะกลียุค ระบุ คณะปฎิวัติฯ หนุน “สุรเกียรติ์” ชิงเลขาฯยูเอ็น อายชาวโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วานนี้ (26 ก.ย.) ที่ห้องประชุมเกษม อุทยานนิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย (ควป.), เครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย (จคป.) และเครือข่าย มศว.เพื่อประชาธิปไตยร่วมกันแถลงข้อเสนอแนะต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) โดยมี ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร รศ.พิพัฒน์ ไทยอารี ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล ร่วมแถลงข่าว
ดร.อนันต์ อ่านแถลงการณ์ว่า ขณะนี้ คปค.กำลังยืนอยู่บนทางสามแพร่ง ทางแรก เป็นทางที่ประนีประนอมกับรัฐบาลเดิมซึ่งสิ้นความชอบธรรมไปแล้วและเป็นการเปิดโอกาสให้เผด็จการรัฐสภาหวนคืนอำนาจอีกครั้ง ในขณะที่ทางที่สอง เป็นทางที่จะดำเนินไปสู่เผด็จการอำนาจนิยมใต้ร่มเงาทหาร ส่วนทางที่สาม เป็นทางที่ต้องอาศัยความกล้าหาญของ คปค.ที่จะปฏิเสธผลประโยชน์และอำนาจ โดยเครือข่ายนักวิชาการฯ มีข้อเสนอ 4 ประการ ได้แก่
1. คปค.ควรตั้งคณะกรรมาธิการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย มาพิจารณาร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราว และควรคงเนื้อหารับรองสิทธิของประชาชนอย่างน้อยที่สุดตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 รับรองไว้ แล้วจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นกลางและประชาชนยอมรับขึ้นโดยเร็ว โดยให้รัฐบาลและธรรมนูญชั่วคราวมีเวลาทำงานและผลบังคับใช้ไม่เกิน 6 เดือน
2. คปค.ควรกำหนดนโยบายและวางมาตรการต่างๆ ป้องกันมิให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เคยมีส่วนได้เสียในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาแทรกแซงหรือครอบงำการปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ 3. คปค.ควรเปิดโอกาสให้ ตัวแทนประชาชนกลุ่มตางๆ เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และ 4. คปค.ควรเร่งเผยแพร่ข้อเท็จจริงแก่นานาประเทศและพี่น้องประชาชนไทยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดให้ทราบปัญหาและความเสียหายร้ายแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารบ้านเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ
รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่าบุคคลที่ทางเครือข่ายฯ วิชาการเห็นว่า บทบาทการทำงานในรัฐบาลทักษิณและกำลังทำงานให้กับ คปค.ในขณะนี้ ที่ชัดเจนที่สุดคือนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ และนายวิษณุ เครืองาม ซึ่งที่ผ่านมามีลักษณะใช้วิชาชีพมาปกป้องข้อกล่าวหาต่างๆ ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณยังบริหารประเทศอยู่ แม้จะลาออกก่อนแล้วก็ตาม ตนคิดว่าไม่ควรและไม่สมเหตุสมผลพอ
รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่า หาก คปค.คิดจะสืบทอดอำนาจเหมือนทหารในอดีตนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะการเปลี่ยนแปลง ในครั้งนี้เป็นผลมาจากภาคประชาสังคมที่เข้มแข้ง ส่วนกำลังทหารที่เข้ามาภายหลังเป็นเพียงการต่อยอดเท่านั้น ส่วนที่มีนักศึกษาและนักวิชาการบางส่วนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำรัฐประหารนั้น ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของคนที่คิดเห็นแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือการเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนเร็วที่สุด
ในขณะที่ ผศ.นพ.ตุลย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าประเทศไทยมีนักกฎหมายที่มีความ ซื่อสัตย์ และเชี่ยวชาญหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่เคยอิงอยู่กับขั้วอำนาจใด อาทิเช่น อาจารย์บรรเจิด สิงคะเนติ หรือ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง หรือแม้แต่อาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์
นายโสภณ เพชรสว่าง อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคไทยรักไทย กลุ่มวังน้ำยม กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยที่ คปค.เตรียมตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ควรตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 10 คน มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายวิษณุ เครืองาม,นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ พร้อมตัวแทนคณะกรรมกฤษฎีกา 1 คน ตัวแทนอัยการ1 คนและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517,2521,2535, แบะ2540 มาเป็นต้นร่างในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายโสภณ กล่าวว่า การยกร่างหากทำตามแนวคิด คปค.ให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200-300 คน?อาจมีบางคนเตะถ่วงจนเวลานานไปจะทำให้ คปค.เสื่อมเสียได้
นายโสภณ กล่าวว่า ในส่วนของอดีต ส.ส.กลุ่มวังน้ำเย็นนั้น นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้ ส.ส.เกาะกุมกันไว้และรอดูรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หากกำหนดไม่ให้ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรรคก็สามารถเปลี่ยนพรรคได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพรรคไทยรักไทย ต้องดูหัวหน้าพรรคคนใหม่ แต่ยอมรับว่านโยบายพรรคไทยรักไทยยังดีอยู่ เพียงแต่มีปัญหาที่ตัวบุคคล
นายวีระ มุสิกพงศ์ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าการเปิดโอกาสให้เด็กไปถ่ายรูปกับทหารและรถถัง ในทางจิตวิทยาถือว่าดี แต่คนโบราณถือว่าหากจะให้ประเทศมีอนาคตเป็นอย่างไรให้ดูเด็กเล่นอะไร หากเด็กเล่นอาวุธ ปืน รถถัง จะเป็นสังคมกลียุค หาสันติสุขไม่ได้ จึงอยากให้ทบทวนเรื่องนี้
ส่วนกรณีคปค.สนับสนุนให้นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ลงสมัครแข่งขันชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาตินั้น นายวีระ กล่าวว่า ตัวบุคคลไม่มีปัญหา แต่การที่ คปค.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยนายสุรเกียรติ์หาเสียงนั้น อาจมีผลตรงข้าม เพราะ คปค.มาจากการยึดอำนาจ จึงอยากให้นึกถึงเพื่อนบ้าน กลุ่มอาเซี่ยนที่สนับสนุนนายสุรเกียรติ์ด้วย เมื่อมีการปฎิวัติเช่นนี้สมควรหรือไม่ ที่จะให้เรื่องนี้มีผลผูกพันธ์ตามพันธะสัญญาเดิม เราต้องเห็นใจเขาเขาคงอายที่ต้องสนับสนุนตัวแทนของประเทศที่มาจากการยึดอำนาจ
“ถ้าจะให้ดีควรพิจารณาไม่ส่งคนลงสมัคร เพราะมันขายหน้าประเทศอื่นเขา และถ้าจะสนับสนุนต่อ ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีสมาชิกยูเอ็นกี่ประเทศที่จะลงคะแนนให้ตัวแทนจากประเทศที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากเราเกรงใจ เพื่อนบ้านเขาบ้าง ก็ควรจะบอกให้อิสระเสรีกับเขา หรือควรจะพิจารณาถอนตัวไปเลย เพราะส่งไปก็ขายหน้าเขา”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วานนี้ (26 ก.ย.) ที่ห้องประชุมเกษม อุทยานนิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย (ควป.), เครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย (จคป.) และเครือข่าย มศว.เพื่อประชาธิปไตยร่วมกันแถลงข้อเสนอแนะต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) โดยมี ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร รศ.พิพัฒน์ ไทยอารี ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล ร่วมแถลงข่าว
ดร.อนันต์ อ่านแถลงการณ์ว่า ขณะนี้ คปค.กำลังยืนอยู่บนทางสามแพร่ง ทางแรก เป็นทางที่ประนีประนอมกับรัฐบาลเดิมซึ่งสิ้นความชอบธรรมไปแล้วและเป็นการเปิดโอกาสให้เผด็จการรัฐสภาหวนคืนอำนาจอีกครั้ง ในขณะที่ทางที่สอง เป็นทางที่จะดำเนินไปสู่เผด็จการอำนาจนิยมใต้ร่มเงาทหาร ส่วนทางที่สาม เป็นทางที่ต้องอาศัยความกล้าหาญของ คปค.ที่จะปฏิเสธผลประโยชน์และอำนาจ โดยเครือข่ายนักวิชาการฯ มีข้อเสนอ 4 ประการ ได้แก่
1. คปค.ควรตั้งคณะกรรมาธิการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย มาพิจารณาร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราว และควรคงเนื้อหารับรองสิทธิของประชาชนอย่างน้อยที่สุดตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 รับรองไว้ แล้วจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นกลางและประชาชนยอมรับขึ้นโดยเร็ว โดยให้รัฐบาลและธรรมนูญชั่วคราวมีเวลาทำงานและผลบังคับใช้ไม่เกิน 6 เดือน
2. คปค.ควรกำหนดนโยบายและวางมาตรการต่างๆ ป้องกันมิให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เคยมีส่วนได้เสียในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาแทรกแซงหรือครอบงำการปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ 3. คปค.ควรเปิดโอกาสให้ ตัวแทนประชาชนกลุ่มตางๆ เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และ 4. คปค.ควรเร่งเผยแพร่ข้อเท็จจริงแก่นานาประเทศและพี่น้องประชาชนไทยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดให้ทราบปัญหาและความเสียหายร้ายแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารบ้านเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ
รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่าบุคคลที่ทางเครือข่ายฯ วิชาการเห็นว่า บทบาทการทำงานในรัฐบาลทักษิณและกำลังทำงานให้กับ คปค.ในขณะนี้ ที่ชัดเจนที่สุดคือนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ และนายวิษณุ เครืองาม ซึ่งที่ผ่านมามีลักษณะใช้วิชาชีพมาปกป้องข้อกล่าวหาต่างๆ ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณยังบริหารประเทศอยู่ แม้จะลาออกก่อนแล้วก็ตาม ตนคิดว่าไม่ควรและไม่สมเหตุสมผลพอ
รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่า หาก คปค.คิดจะสืบทอดอำนาจเหมือนทหารในอดีตนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะการเปลี่ยนแปลง ในครั้งนี้เป็นผลมาจากภาคประชาสังคมที่เข้มแข้ง ส่วนกำลังทหารที่เข้ามาภายหลังเป็นเพียงการต่อยอดเท่านั้น ส่วนที่มีนักศึกษาและนักวิชาการบางส่วนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำรัฐประหารนั้น ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของคนที่คิดเห็นแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือการเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนเร็วที่สุด
ในขณะที่ ผศ.นพ.ตุลย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าประเทศไทยมีนักกฎหมายที่มีความ ซื่อสัตย์ และเชี่ยวชาญหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่เคยอิงอยู่กับขั้วอำนาจใด อาทิเช่น อาจารย์บรรเจิด สิงคะเนติ หรือ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง หรือแม้แต่อาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์
นายโสภณ เพชรสว่าง อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคไทยรักไทย กลุ่มวังน้ำยม กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยที่ คปค.เตรียมตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ควรตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 10 คน มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายวิษณุ เครืองาม,นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ พร้อมตัวแทนคณะกรรมกฤษฎีกา 1 คน ตัวแทนอัยการ1 คนและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517,2521,2535, แบะ2540 มาเป็นต้นร่างในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายโสภณ กล่าวว่า การยกร่างหากทำตามแนวคิด คปค.ให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200-300 คน?อาจมีบางคนเตะถ่วงจนเวลานานไปจะทำให้ คปค.เสื่อมเสียได้
นายโสภณ กล่าวว่า ในส่วนของอดีต ส.ส.กลุ่มวังน้ำเย็นนั้น นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้ ส.ส.เกาะกุมกันไว้และรอดูรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หากกำหนดไม่ให้ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรรคก็สามารถเปลี่ยนพรรคได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพรรคไทยรักไทย ต้องดูหัวหน้าพรรคคนใหม่ แต่ยอมรับว่านโยบายพรรคไทยรักไทยยังดีอยู่ เพียงแต่มีปัญหาที่ตัวบุคคล
นายวีระ มุสิกพงศ์ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าการเปิดโอกาสให้เด็กไปถ่ายรูปกับทหารและรถถัง ในทางจิตวิทยาถือว่าดี แต่คนโบราณถือว่าหากจะให้ประเทศมีอนาคตเป็นอย่างไรให้ดูเด็กเล่นอะไร หากเด็กเล่นอาวุธ ปืน รถถัง จะเป็นสังคมกลียุค หาสันติสุขไม่ได้ จึงอยากให้ทบทวนเรื่องนี้
ส่วนกรณีคปค.สนับสนุนให้นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ลงสมัครแข่งขันชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาตินั้น นายวีระ กล่าวว่า ตัวบุคคลไม่มีปัญหา แต่การที่ คปค.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยนายสุรเกียรติ์หาเสียงนั้น อาจมีผลตรงข้าม เพราะ คปค.มาจากการยึดอำนาจ จึงอยากให้นึกถึงเพื่อนบ้าน กลุ่มอาเซี่ยนที่สนับสนุนนายสุรเกียรติ์ด้วย เมื่อมีการปฎิวัติเช่นนี้สมควรหรือไม่ ที่จะให้เรื่องนี้มีผลผูกพันธ์ตามพันธะสัญญาเดิม เราต้องเห็นใจเขาเขาคงอายที่ต้องสนับสนุนตัวแทนของประเทศที่มาจากการยึดอำนาจ
“ถ้าจะให้ดีควรพิจารณาไม่ส่งคนลงสมัคร เพราะมันขายหน้าประเทศอื่นเขา และถ้าจะสนับสนุนต่อ ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีสมาชิกยูเอ็นกี่ประเทศที่จะลงคะแนนให้ตัวแทนจากประเทศที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากเราเกรงใจ เพื่อนบ้านเขาบ้าง ก็ควรจะบอกให้อิสระเสรีกับเขา หรือควรจะพิจารณาถอนตัวไปเลย เพราะส่งไปก็ขายหน้าเขา”