เครือข่ายเยาวชนกว่า 200 คน แสดงพลังหนุน สธ. ออกกฎหมาย ห้ามโฆษณาเหล้าทุกรูปแบบ ทุกสื่อ สกัดนักดื่มหน้าใหม่ ประจานเหล้าโฆษณายี่ห้อดังบนตึกใบหยก แหกมติ ครม.ใกล้โรงเรียนศรีอยุธยาไม่ถึง 300 เมตร ย้ำเด็กรู้ทันโฆษณาเหล้า ตั้งใจมอมเมาเยาวชน ด้าน ม.มหิดลเผยวิจัยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลไม่ส่งผลต่อการเลิกดื่ม ชี้ปัจจัยของการดื่มขึ้นอยู่กับเพื่อน สังคมและรายได้มากกว่า
วานนี้(18 ก.ย.)ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายแกนนำเยาวชนได้เข้าร่วมสัมมนา เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติกว่า 200 คน นำโดยเครือข่ายพลังใส วัยสร้างสรรค์ เครือข่ายวัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์ พร้อมเปิดแถลง “เยาวชนร่วมสกัดนักดื่มหน้าใหม่ we don’t drink ไม่เอาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
นายภานุวัฒน์ พรหมทา อายุ 21 ปี ตัวแทนเครือข่ายวัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ขณะนี้มีเยาวชนจำนวนมากตกเป็นทาสของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะความอยากรู้ อยากลอง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เป็นเช่นนั้นคือ การโฆษณา ดังนั้นจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข จะห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ ในทุกสื่อ
อย่างไรก็ตาม มีการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่บริษัทเหล้าก็ใช้การโฆษณาแฝงสารพัดรูปแบบ ในละครก็ต้องมีภาพกระป๋องเบียร์ หรือฉายให้เห็นตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะ ให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนติดตา ซึมซับเป็นสินค้าปกติในชีวิตประจำวัน และกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ในที่สุด
ที่สำคัญ โฆษณาเหล้าพยายามจะสื่อให้เห็นว่า เป็นตัวแทนของการดื่มอย่างรับผิดชอบ การทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ ความสำเร็จ ความเท่ การเป็นคนดี ความเป็นเพื่อน ซึ่งเป็นการสร้างภาพมาหลอกล่อให้วัยรุ่นติดกับดัก ทั้งที่ความจริงแล้วเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ สิ่งที่ฉุดรั้งให้วัยรุ่นตกลงไปในขุมนรก ทั้งการขาดสติ ความเจ็บป่วย ความรุนแรง อาชญากรรม และความตาย
นายภานุวัฒน์ กล่าวอีกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนของการละเมิดมติ ครม.ที่ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาในบริเวณ 500 เมตร คือ การโฆษณาเหล้ายี่ห้อดังบนตึกใบหยก ที่อยู่ใกล้โรงเรียนศรีอยุธยา เพียง 283 เมตร โดยบริษัทเหล้ายอมลงทุนจ่ายค่าเช่าถึงเดือนละ 8 แสนบาท ไม่รวมค่าติดตั้งออกแบบค่าผลิต ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้หยุดการกระทำเช่นนี้ และขอวิงวอนให้ตึกใบหยกเอาโฆษณาชิ้นนี้ออกไป
วันเดียวกันรศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ หัวหน้าภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย” โดยใช้วิธีการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง (Focus group) ซึ่งเป็นประชาชนกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี และกลุ่มวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยปัจจุบันดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเคยมีประสบการณ์การดื่มมาก่อน 110 คน พบว่า การโฆษณาไม่มีผลในการดื่มหรือเลิกดื่ม เพราะการดื่มขึ้นอยู่กับเพื่อนและสังคมมากกว่า รวมทั้งยังมีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ซื้อได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ผลวิจัยพบว่า ในด้านรูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น กลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี นิยมดื่มเบียร์และสุรา โดยวัยรุ่นชายนิยมดื่มเบียร์และสุราที่ผลิตในประเทศไทย มีบางส่วนชอบดื่มสุราต่างประเทศ ส่วนวัยรุ่นหญิงนิยมดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม กลุ่มวัยรุ่นนิยมดื่มกับเพื่อนเพราะต้องการความสนุกสนานและพบปะสังสรรค์ แต่ก็มีบางส่วนที่ดื่มเพราะว่าเกิดความเครียดจากปัญหาครอบครัวหรือปัญหาชีวิต ส่วนใหญ่จะมีความถี่ในการดื่มประมาณ 3-6 ครั้งต่อเดือน โดยค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยประมาณ 1,000 บาทต่อเดือน และจะดื่มที่บ้านพักของตนเองหรือบ้านเพื่อน มีบางโอกาสที่ออกไปดื่มตามร้านอาหาร ดิสโก้เธค ผับ
สำหรับกลุ่มวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ผู้ชายนิยมดื่มสุรากับเบียร์ที่ผลิตในประเทศไทยบางคนดื่มเหบ้าขาว เหล้าตวง และยาดอง ผู้หญิงนิยมดื่มเบียร์และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม โดยจะไม่ค่อยเปลี่ยนยี่ห้อในการดื่ม กลุ่มนี้จะชอบดื่มกับเพื่อนและลูกค้าในงานสังสรรค์ และเพื่อพบปะ ดื่มเพื่อผ่อนคลายความเครียด ดื่มเพื่อความสนุกสนาน บางส่วนดื่มเพื่อสุขภาพเพราะเป็นยาบำรุงสุขภาพ ความถี่ในการดื่มประมาณ 12-15 ครั้งต่อเดือน ใช้เงินในการดื่มประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน นิยมดื่มที่บ้านเพื่อ และบางส่วนนิยมดื่มคนเดียวที่บ้าน ในบางกรณีเมื่อดื่มแล้วมีอาการติดลมจะออกไปสังสรรค์นอกบ้าน
รศ.ดร.มาณี ยังกล่าวอีกว่าจากการวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแอลกอฮอล์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการคืนกำไรให้กับสังคมมากขึ้น เช่น การให้ทุนการศึกษา การสนับสนุนหน่วยงานราชการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆและมอบเงินรักษาให้กับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา ไม่ควรโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดให้ดื่มหรือเพื่อให้เยาวชนเลียนแบบ แต่ควรจะมีการรณรงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบมากขึ้น สำหรับภาครัฐนั้นเพื่อบรรเทาปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์อย่างไม่รับผิดชอบและก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศและสังคม รัฐควรควบคุมการซื้อขายและกำหนดเวลาซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัดและครอบคลุมทุกสถานที่ ควรเพิ่มภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สูงขึ้น
วานนี้(18 ก.ย.)ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายแกนนำเยาวชนได้เข้าร่วมสัมมนา เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติกว่า 200 คน นำโดยเครือข่ายพลังใส วัยสร้างสรรค์ เครือข่ายวัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์ พร้อมเปิดแถลง “เยาวชนร่วมสกัดนักดื่มหน้าใหม่ we don’t drink ไม่เอาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
นายภานุวัฒน์ พรหมทา อายุ 21 ปี ตัวแทนเครือข่ายวัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ขณะนี้มีเยาวชนจำนวนมากตกเป็นทาสของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะความอยากรู้ อยากลอง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เป็นเช่นนั้นคือ การโฆษณา ดังนั้นจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข จะห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ ในทุกสื่อ
อย่างไรก็ตาม มีการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่บริษัทเหล้าก็ใช้การโฆษณาแฝงสารพัดรูปแบบ ในละครก็ต้องมีภาพกระป๋องเบียร์ หรือฉายให้เห็นตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะ ให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนติดตา ซึมซับเป็นสินค้าปกติในชีวิตประจำวัน และกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ในที่สุด
ที่สำคัญ โฆษณาเหล้าพยายามจะสื่อให้เห็นว่า เป็นตัวแทนของการดื่มอย่างรับผิดชอบ การทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ ความสำเร็จ ความเท่ การเป็นคนดี ความเป็นเพื่อน ซึ่งเป็นการสร้างภาพมาหลอกล่อให้วัยรุ่นติดกับดัก ทั้งที่ความจริงแล้วเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ สิ่งที่ฉุดรั้งให้วัยรุ่นตกลงไปในขุมนรก ทั้งการขาดสติ ความเจ็บป่วย ความรุนแรง อาชญากรรม และความตาย
นายภานุวัฒน์ กล่าวอีกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนของการละเมิดมติ ครม.ที่ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาในบริเวณ 500 เมตร คือ การโฆษณาเหล้ายี่ห้อดังบนตึกใบหยก ที่อยู่ใกล้โรงเรียนศรีอยุธยา เพียง 283 เมตร โดยบริษัทเหล้ายอมลงทุนจ่ายค่าเช่าถึงเดือนละ 8 แสนบาท ไม่รวมค่าติดตั้งออกแบบค่าผลิต ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้หยุดการกระทำเช่นนี้ และขอวิงวอนให้ตึกใบหยกเอาโฆษณาชิ้นนี้ออกไป
วันเดียวกันรศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ หัวหน้าภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย” โดยใช้วิธีการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง (Focus group) ซึ่งเป็นประชาชนกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี และกลุ่มวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยปัจจุบันดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเคยมีประสบการณ์การดื่มมาก่อน 110 คน พบว่า การโฆษณาไม่มีผลในการดื่มหรือเลิกดื่ม เพราะการดื่มขึ้นอยู่กับเพื่อนและสังคมมากกว่า รวมทั้งยังมีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ซื้อได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ผลวิจัยพบว่า ในด้านรูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น กลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี นิยมดื่มเบียร์และสุรา โดยวัยรุ่นชายนิยมดื่มเบียร์และสุราที่ผลิตในประเทศไทย มีบางส่วนชอบดื่มสุราต่างประเทศ ส่วนวัยรุ่นหญิงนิยมดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม กลุ่มวัยรุ่นนิยมดื่มกับเพื่อนเพราะต้องการความสนุกสนานและพบปะสังสรรค์ แต่ก็มีบางส่วนที่ดื่มเพราะว่าเกิดความเครียดจากปัญหาครอบครัวหรือปัญหาชีวิต ส่วนใหญ่จะมีความถี่ในการดื่มประมาณ 3-6 ครั้งต่อเดือน โดยค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยประมาณ 1,000 บาทต่อเดือน และจะดื่มที่บ้านพักของตนเองหรือบ้านเพื่อน มีบางโอกาสที่ออกไปดื่มตามร้านอาหาร ดิสโก้เธค ผับ
สำหรับกลุ่มวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ผู้ชายนิยมดื่มสุรากับเบียร์ที่ผลิตในประเทศไทยบางคนดื่มเหบ้าขาว เหล้าตวง และยาดอง ผู้หญิงนิยมดื่มเบียร์และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม โดยจะไม่ค่อยเปลี่ยนยี่ห้อในการดื่ม กลุ่มนี้จะชอบดื่มกับเพื่อนและลูกค้าในงานสังสรรค์ และเพื่อพบปะ ดื่มเพื่อผ่อนคลายความเครียด ดื่มเพื่อความสนุกสนาน บางส่วนดื่มเพื่อสุขภาพเพราะเป็นยาบำรุงสุขภาพ ความถี่ในการดื่มประมาณ 12-15 ครั้งต่อเดือน ใช้เงินในการดื่มประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน นิยมดื่มที่บ้านเพื่อ และบางส่วนนิยมดื่มคนเดียวที่บ้าน ในบางกรณีเมื่อดื่มแล้วมีอาการติดลมจะออกไปสังสรรค์นอกบ้าน
รศ.ดร.มาณี ยังกล่าวอีกว่าจากการวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแอลกอฮอล์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการคืนกำไรให้กับสังคมมากขึ้น เช่น การให้ทุนการศึกษา การสนับสนุนหน่วยงานราชการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆและมอบเงินรักษาให้กับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา ไม่ควรโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดให้ดื่มหรือเพื่อให้เยาวชนเลียนแบบ แต่ควรจะมีการรณรงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบมากขึ้น สำหรับภาครัฐนั้นเพื่อบรรเทาปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์อย่างไม่รับผิดชอบและก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศและสังคม รัฐควรควบคุมการซื้อขายและกำหนดเวลาซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัดและครอบคลุมทุกสถานที่ ควรเพิ่มภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สูงขึ้น