อธิการบดี มธ.ไม่เห็นด้วยที่ สกอ.จะทำหน้าที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย ชี้ทำหน้าที่เกินขอบข่าย เกณฑ์ชี้วัดไม่ได้มาตรฐานและไม่ครอบคลุมศาสตร์ทุกด้าน เปิดหลักฐาน สกอ.ส่งถึง มธ.ระบุไม่จัดอันดับม.แล้ว แต่กลับบอกสื่อว่าจะแถลงข่าว ชี้ “ภาวิช”อยู่อีกปีเดียวแต่จะทำสถาบันอุดมศึกษาแตกแยก ควรให้ สมศ.ทำหน้าที่แทน
นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าว เรื่อง “ข้อคัดค้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในโครงการ Ranking 2006 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)”ที่ห้องประชุมวรรณไวทยากร ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ว่า ตามที่ สกอ.นำเสนอเอกสารโครงการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัด สกอ. โดยระบบฐานข้อมูล ONLINE(Ranking 2005) ซึ่ง มธ.เห็นว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา แต่ มธ.ได้ส่งหนังสือขอให้ สกอ.ปรับปรุงตัวบ่งชี้ให้ครอบคลุม และมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะสะท้อนคุณภาพตามภารกิจของมหาวิทยาลัยได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากตัวบ่งชี้ด้านการวิจัยนั้น ใช้ฐานข้อมูลสากลด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพมากกว่าด้านอื่น ซึ่งไม่สามารถสะท้อนความสามารถและผลงานของมหาวิทยาลัยได้ครอบคลุมทุกศาสตร์
นอกจากนี้ สกอ.กำหนดด้วยว่า สกอ.จะเน้นเฉพาะฐานข้อมูลสากลไปก่อน จนกว่าระบบวารสารภายในประเทศจะมีการดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบของเนื้องานวิจัยในวารสารต่อสังคม เนื่องจากต้องการเน้นหนังสือ ตำราที่อยู่ในระดับความเป็นสากล ผ่านสำนักพิมพ์ที่มีมาตรฐานในเชิงวิชาการ ส่วนตำราไทยจะพิจารณาในปีต่อไปหลังจากการจัดระบบภายในให้ได้มาตรฐานเรียบร้อยแล้ว
“มธ.มีตำราภาษาไทยทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐศาสตร์มากที่สุดและดีที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมสงเคราะห์ สังคมวิทยา หรือแม้แต่ด้านวารสารศาสตร์ ขณะเดียวกันผลงานทางวิชาการของอาจารย์ใน มธ.ต่างก็ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมาย แต่เกณฑ์ชี้วัดของ สกอ.กลับไม่นำมาพิจารณาและไม่สนใจ จะเอาเฉพาะตำราภาษาอังกฤษ ผมยังไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมนักวิชาการไทยต้องเขียนผลงานเป็นภาษาอังกฤษ และไม่แน่ใจว่าตำราภาษาไทยไม่ได้มาตรฐานหรือยังไม่ได้จัดอันดับตัวชี้วัดมาตรฐานที่ดีกันแน่ นอกจากนี้ สกอ.ก็ให้งบประมาณสนับสนุนการทำวารสารวิชาการกับ มธ.เพราะเห็นว่าดำเนินการได้มีคุณภาพ นำเสนอผลงานวิชาการที่ดีต่อสังคม แต่กลับไม่นำไปพิจารณาในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย”นายสุรพลกล่าว
อธิการบดี มธ.กล่าวอีกว่า สกอ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้ด้านการเรียนการสอน โดยจะใช้ความนิยมของมหาวิทยาลัยในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเอนทรานซ์ ซึ่งพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่เลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัย และคะแนนในการสอบเข้า ขณะที่ มธ.ใช้วิธีการรับตรงในแต่ละปี 50% ดังนั้น จะเหลือเก้าอี้สำหรับนักศึกษาในระบบเอนทรานซ์จำนวนไม่มากนัก และจากจำนวนเก้าอี้ที่เหลือน้อยลงก็ส่งผลให้นักเรียนเลือกสอบเข้า มธ.น้อยลงไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อ มธ.มีระบบรับตรง นักเรียนที่มีผลการเรียนดีของ มธ.จะไม่มีคะแนนในระบบเอนทรานซ์
“สกอ.ได้มีบันทึกข้อความมาถึง มธ.เป็นหนังสือราชการ ระบุว่าข้อมูลที่ขอจากทางมหาวิทยาลัยจะนำไปใช้สำหรับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัย แต่จะไม่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ลงนามโดยนายสรรค์ วรอินทร์ ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา แต่นายภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กลับบอกกับสื่อมวลชนว่าจะมีการแถลงข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในเร็วๆ นี้ แสดงว่า 2 คนนี้จะต้องมีใครโกหกอย่างแน่นอน”
นายสุรพล กล่าวอีกว่า มธ.พร้อมรับการจัดอันดับ แต่ไม่คิดว่าเป็นหน้าที่ที่ สกอ.จะต้องทำ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญ และจะสร้างให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษารุนแรง เพราะเกณฑ์ที่นำมาใช้ไม่เป็นธรรม และไม่ครอบคลุมศาสตร์ทุกสาขาค สุดท้ายคนที่มาทำหน้าที่จัดอันดับก็จะถูกมองอย่างเสื่อมศรัทธา ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าว สกอ.ทำเกินขอบข่ายหน้าที่ของตนเอง ควรให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ที่มีหน้าที่ดังกล่าวโดยตรงและมีงบประมาณดำเนินการ เพราะ สมศ.ก็จะดำเนินการอยู่แล้ว ไม่เข้าใจว่าทำไม สกอ.จะต้องเร่งทำ นายภาวิชอยู่อีกปีเดียว แต่ผลกระทบที่เกิดจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ สกอ.ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้สถาบันอุดมศึกษาเกิดความแยกแตก และยังไม่เห็นมหาวิทยาลัยแห่งไหนออกมายอมรับกับการจัดอันดับดังกล่าวเลยด้วยซ้ำ”
นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าว เรื่อง “ข้อคัดค้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในโครงการ Ranking 2006 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)”ที่ห้องประชุมวรรณไวทยากร ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ว่า ตามที่ สกอ.นำเสนอเอกสารโครงการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัด สกอ. โดยระบบฐานข้อมูล ONLINE(Ranking 2005) ซึ่ง มธ.เห็นว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา แต่ มธ.ได้ส่งหนังสือขอให้ สกอ.ปรับปรุงตัวบ่งชี้ให้ครอบคลุม และมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะสะท้อนคุณภาพตามภารกิจของมหาวิทยาลัยได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากตัวบ่งชี้ด้านการวิจัยนั้น ใช้ฐานข้อมูลสากลด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพมากกว่าด้านอื่น ซึ่งไม่สามารถสะท้อนความสามารถและผลงานของมหาวิทยาลัยได้ครอบคลุมทุกศาสตร์
นอกจากนี้ สกอ.กำหนดด้วยว่า สกอ.จะเน้นเฉพาะฐานข้อมูลสากลไปก่อน จนกว่าระบบวารสารภายในประเทศจะมีการดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบของเนื้องานวิจัยในวารสารต่อสังคม เนื่องจากต้องการเน้นหนังสือ ตำราที่อยู่ในระดับความเป็นสากล ผ่านสำนักพิมพ์ที่มีมาตรฐานในเชิงวิชาการ ส่วนตำราไทยจะพิจารณาในปีต่อไปหลังจากการจัดระบบภายในให้ได้มาตรฐานเรียบร้อยแล้ว
“มธ.มีตำราภาษาไทยทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐศาสตร์มากที่สุดและดีที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมสงเคราะห์ สังคมวิทยา หรือแม้แต่ด้านวารสารศาสตร์ ขณะเดียวกันผลงานทางวิชาการของอาจารย์ใน มธ.ต่างก็ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมาย แต่เกณฑ์ชี้วัดของ สกอ.กลับไม่นำมาพิจารณาและไม่สนใจ จะเอาเฉพาะตำราภาษาอังกฤษ ผมยังไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมนักวิชาการไทยต้องเขียนผลงานเป็นภาษาอังกฤษ และไม่แน่ใจว่าตำราภาษาไทยไม่ได้มาตรฐานหรือยังไม่ได้จัดอันดับตัวชี้วัดมาตรฐานที่ดีกันแน่ นอกจากนี้ สกอ.ก็ให้งบประมาณสนับสนุนการทำวารสารวิชาการกับ มธ.เพราะเห็นว่าดำเนินการได้มีคุณภาพ นำเสนอผลงานวิชาการที่ดีต่อสังคม แต่กลับไม่นำไปพิจารณาในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย”นายสุรพลกล่าว
อธิการบดี มธ.กล่าวอีกว่า สกอ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้ด้านการเรียนการสอน โดยจะใช้ความนิยมของมหาวิทยาลัยในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเอนทรานซ์ ซึ่งพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่เลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัย และคะแนนในการสอบเข้า ขณะที่ มธ.ใช้วิธีการรับตรงในแต่ละปี 50% ดังนั้น จะเหลือเก้าอี้สำหรับนักศึกษาในระบบเอนทรานซ์จำนวนไม่มากนัก และจากจำนวนเก้าอี้ที่เหลือน้อยลงก็ส่งผลให้นักเรียนเลือกสอบเข้า มธ.น้อยลงไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อ มธ.มีระบบรับตรง นักเรียนที่มีผลการเรียนดีของ มธ.จะไม่มีคะแนนในระบบเอนทรานซ์
“สกอ.ได้มีบันทึกข้อความมาถึง มธ.เป็นหนังสือราชการ ระบุว่าข้อมูลที่ขอจากทางมหาวิทยาลัยจะนำไปใช้สำหรับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัย แต่จะไม่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ลงนามโดยนายสรรค์ วรอินทร์ ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา แต่นายภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กลับบอกกับสื่อมวลชนว่าจะมีการแถลงข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในเร็วๆ นี้ แสดงว่า 2 คนนี้จะต้องมีใครโกหกอย่างแน่นอน”
นายสุรพล กล่าวอีกว่า มธ.พร้อมรับการจัดอันดับ แต่ไม่คิดว่าเป็นหน้าที่ที่ สกอ.จะต้องทำ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญ และจะสร้างให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษารุนแรง เพราะเกณฑ์ที่นำมาใช้ไม่เป็นธรรม และไม่ครอบคลุมศาสตร์ทุกสาขาค สุดท้ายคนที่มาทำหน้าที่จัดอันดับก็จะถูกมองอย่างเสื่อมศรัทธา ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าว สกอ.ทำเกินขอบข่ายหน้าที่ของตนเอง ควรให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ที่มีหน้าที่ดังกล่าวโดยตรงและมีงบประมาณดำเนินการ เพราะ สมศ.ก็จะดำเนินการอยู่แล้ว ไม่เข้าใจว่าทำไม สกอ.จะต้องเร่งทำ นายภาวิชอยู่อีกปีเดียว แต่ผลกระทบที่เกิดจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ สกอ.ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้สถาบันอุดมศึกษาเกิดความแยกแตก และยังไม่เห็นมหาวิทยาลัยแห่งไหนออกมายอมรับกับการจัดอันดับดังกล่าวเลยด้วยซ้ำ”