อนาถ!เด็กไทยถูกหลอกติดงอมแงมขนมกรุบกรอบ จนเป็นสารพัดโรคสุขภาพเรื้อรังโรคอ้วน ไขมันสูง หัวใจ ความดันสูง ตั้งแต่เล็กๆ เผยผลสรุปภาคประชาชนรุมสับเละ รมต.สาธารณสุข –อย.ไร้น้ำยา ไม่กล้าบังคับผู้ประกอบการติดฉลากโภชนาการ และห้ามมีเกลือ Sodium ไขมันสูง และน้ำตาลล่อให้ติดใจเป็นส่วนผสมสุดอันตราย แนะตั้งองค์กรอิสระไล่จับผู้ประกอบการหัวหมอไร้จิตสำนึกเลี่ยงกฎหมาย โหมโฆษณาหลอกล่อทางทีวี ชี้ต้องคุมเวลาโฆษณา เลิกให้เด็กเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมออกมาตรการลงโทษหนักๆ จี้สำนึกพ่อ-แม่ตัวดีอย่าตามใจลูก เลิกขายขนมป่วนสุขภาพเด็กในโรงเรียน แต่ใช้จิตวิทยาแนะอาหารมีประโยชน์บ้าง
รายงานจากคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)ร่วมกับแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพเด็กที่เกิดจากการบริโภคขนมเด็กได้กลายเป็นปัญหาระดับสากล ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา โดยเห็นได้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ขององค์การอนามัยโลก เรื่อง"การตลาดอาหารและสุขภาพเด็ก" ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศแสดงความวิตกกังวลต่อการส่งเสริมการขายอาหารเด็ก อันเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพที่เสื่อมลงด้วยโรคเรื้อรังจากอาหารไขมันสูง เกลือสูง และน้ำตาลสูง
สำหรับประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ จากการวิจัยพบว่า สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยโดยภาพรวมในปี 2548 ลำดับที่ 5 คือ การบริโภคน้ำตาลในนม และขนมเด็ก โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบที่เด็กนิยมซื้อกว่าร้อยละ 90 มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก เน้นความมัน เค็ม และเต็มไปด้วยสารอาหารที่เกินพอดี และ จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เด็กจำนวนมากเป็นโรคฟันผุตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความผิดปกติของกระดูกและข้อ
สาเหตุปัญหาขนมเด็กที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการเข้าถึงขนมง่าย ผู้ประกอบการแสวงหาช่องว่างทางกฎหมายในการดำเนินธุรกิจ ขาดการคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก สร้างภาพลักษณ์ระหว่างเด็กและขนมว่าเป็นสิ่งที่คู่กัน ใช้กลวิธีจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยการเพิ่มความถี่ในการโฆษณา ให้ข้อมูลด้านสารอาหารที่เกินจริง ใช้เด็กเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อสร้างความเข้าใจว่า ขนมเป็นของขวัญ เป็นรางวัลและสื่อแสดงความรัก มีการแจกและแถมของเล่น ร่วมทั้งใช้สีสัน รูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ที่จูงใจ
นอกจากนี้ ข้อมูลโภชนาการบนฉลากขนมเด็กมีไม่ถึงร้อยละ 30 ของขนมเด็กทั้งหมด ฉลากโภชนาการมีขนาดเล็ก มีเนื้อหาที่เข้าใจค่อนข้างยากสำหรับเด็กหรือผู้ปกครอง บางชนิดเป็นภาษาต่างประเทศ ขนาดตัวอักษรเล็ก ส่งผลให้พ่อแม่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกอาหารให้ลูกบริโภค ประกอบกับหน่วยงานของรัฐขาดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและขาดการประสานงานทำให้มาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพไม่เกิดผลอย่างเต็มที่
กลวิธีในการแก้ไขปัญหาในระดับสากลมีหลายลักษณะ ที่สำคัญคือการพัฒนากลไกกฎหมาย ได้แก่ การควบคุมโฆษณา โดยเฉพาะโทรทัศน์ การพัฒนาฉลากโภชนาการให้เข้าใจง่าย การควบคุมดูแลตนเองของภาคธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น
รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)สั่งห้ามโฆษณาจูงใจเด็กอายุต่ำกว่าสิบสามปี ประเทศสวีเดนและประเทศนอร์เวย์ ห้ามโฆษณาจูงใจเด็กต่ำกว่า 12 ปี ประเทศบราซิลเห็นชอบให้ออกกฎหมายควบคุมการโฆษณาป้องกันเด็ก ประเทศออสเตรเลีย เครือข่ายนักวิชาการและผู้บริโภคเร่งรณรงค์จำกัดการโฆษณาในเด็ก ประเทศนอรเวย์ให้เวลาภาคธุรกิจเร่งปรับตัวก่อนคุมเข้ม ประเทศอังกฤษ มีบริษัทอาหารสมัครใจร่วมมือ อย.ทำฉลากติดสัญญาณไฟจราจรเขียว แดง เหลือง โดยมีสองรูปแบบ คือกลุ่มหนึ่งฉลากที่เน้นของดี โภชนาการสูง กับอีกกลุ่มคือเน้นการเตือน ประเทศสวีเดน ออกสัญญาลักษณ์ คีย์โฮล์ด หรือรูกุญแจที่บอกให้ผู้บริโภคทราบว่าอาหารใดเป็นอาหารโภชนาการสูง ประเทศสเปน รัฐบาลร่วมกับภาคธุรกิจมีความสนใจ ลดการตลาดและโฆษณาที่มีผลกระทบต่อเด็กโดยให้เป็นแผนระดับชาติ เรียกว่า กลยุทธ์ สเปน ซึ่งบทเรียนจากต่างประเทศเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนากลยุทธ์ป้องกันและแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสังคมไทย
**สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล และกระทรวงต่างๆ มีดังนี้
1.เรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการออกกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
2. กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรบังคับให้อาหารทุกชนิดรวมทั้งขนมกรุบกรอบ ต้องแสดงฉลากโภชนาการ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออาหารได้อย่างรอบครอบขึ้น ตลอดจนให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวต่อสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาหาร ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องขนมกรุบกรอบ
4. กระทรวงศึกษาธิการ ควรออกมาตรการกำหนดให้โรงเรียนทุกแห่ง เลิกจำหน่ายขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม
5. ให้รัฐ โดย อย.และสคบ.ร่วมวางมาตรการจำกัดการโฆษณาอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก รวมทั้งควบคุมการโฆษณาให้มีความถูกต้องเหมาะสมในด้านช่างเวลา สาระ และวิธีการนำเสนอ
6. อย.ควรบังคับให้ขนมทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ เพราะปัจจุบันการแสดงฉลากโภชนาการเป็นเพียงความสมัครใจของผู้ผลิต และเป็นข้อบังคับสำหรับอาหารบางประเภทเท่านั้น
7. ภาครัฐควรมีมาตรการ บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในเรื่องฉลาก การควบคุมการผลิตอย่างมีคุณภาพ และที่สำคัญการควบคุมการออกสื่อสำหรับเด็ก โดยเฉพาะห้ามใช้ presenterเด็ก และการโฆษณาที่จูงใจล่อใจเด็กอายุแรกเกิดถึง 13 ปี เพราะว่าสื่อนั้นมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเด็ก
8. ปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
9. ควรให้มีการควบคุมเรื่องเกลือ sodium ในผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก รวมทั้งอาหารของผู้ใหญ่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือว่าข้าวเกรียบกุ้ง มันฝรั่ง เป็นต้น
10.ควรที่จะมีการโฆษณา เรื่องอันตรายที่เกี่ยวข้องกับเกลือทั้งสองชนิดได้แก่ เกลือ sodium ทางโทรทัศน์
11. ควรมีการจำกัดการโฆษณาขนมเด็กในช่วงระหว่างอายุ 0 ถึง 13 ปี
12. ขอความร่วมมือจากเหล่าดารา ให้เข้ามาเป็นพันธมิตรรณรงค์
13. ตัวอักษรบนฉลากควรอ่านง่าย มีขนาดพอสมควร และควรบอกให้รู้ผู้บริโภคทราบว่า ควรจะรับประทานเกลือน้ำตาลในปริมาณเท่าใด เด็กควรจะได้รับสัดส่วนอาหารอย่างไร
**ข้อเสนอแนะต่อโรงเรียน
1. ให้โรงเรียนเป็นสถานอาหารสุขภาพปลอดการส่งเสริมการขายและการวางจำหน่ายอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก
2.ควรสร้างศักยภาพเด็ก ให้เข้าใจและเท่าทันสื่อ
**ข้อเสนอต่อผู้ประกอบการ
1. ผู้ประกอบการควรตระหนักถึงคุณภาพของขนมเด็ก ปรับสูตรขนมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ไม่เกิดอันตรายต่อการบริโภคของเด็ก โดยอาศัยเกณฑ์ว่า อาหารหรือขนมที่ดีนี้ต่อมื้อไม่ควรจะมีไขมันเกิน 2.5 กรัม ไม่ควรจะมีน้ำตาลเกิน 12 กรัม ไม่ควรจะมี sodium เกิน 100 มิลิกรัม ไม่ควรจะมีพลังงานเกิน 150 กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นเด็กเล็กประมาณ 100-120 ถ้าเด็กโต ไม่ควรรับประทานเกิน 150 และไม่ควรรับประทานเกินสองมื้อต่อวัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอาหารว่างทางเลือกควรเป็นผลไม้ และที่ดีที่สุดจะต้องมีสารอาหารอย่างน้อยอีก ซึ่งอาจจะเป็นโปรตีน ใยอาหาร วิตามิน A B1 B2 วิตมิน C หรือเหล็ก หรือแคลเซียม แปดตัวนี้มีอย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์จะถือว่าสมบูรณ์ที่สุด โดยเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับนักวิชาการทางด้านโภชนาการ
2. ผู้ผลิตและบริษัทโฆษณาขนมกรุบกรอบควรตระหนักว่าเด็กคือทรัพยากรที่สำคัญของสังคมที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในวันข้างหน้า อย่าใช้เด็กเป็นจุดขายสินค้าของผู้ผลิต นักการตลาด และนักโฆษณา ที่เป็นเพียงเหยื่อหรือเครื่องมือทางการตลาดที่เพิ่มมูลค่าหรือส่วนแบ่งทางการตลาดของผู้ผลิตเท่านั้น การโฆษณาควรอยู่ในขอบเขตที่ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนถึงระดับที่ก่อผลเสียต่อสุขภาพ
3.หากผลิตภัณฑ์ขนมเป็นห่อใหญ่ ผู้ประกอบการควรทำเป็นแพคเล็กต่อหนึ่งหน่วยบริโภคในห่อใหญ่
**ข้อเสนอต่อภาคประชาชน
1.ผู้ปกครองควรรวมพลังเป็นเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ในกลวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำมาใช้ได้จริง ร่วมรณรงค์และแสดงพลังในการปกป้องเด็กจากภัยที่เกิดขึ้นจากการรับประทานขนมกรุบกรอบ
2. พ่อแม่ผู้ปกครองควรบอกข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับโทษของขนมขบเคี้ยวแก่ลูก
3. ควรมีการผลักดันให้เกิดฉลากโภชนาการขนมเด็กอย่างง่าย เช่น ถ้าขนมชนิดใดมีไขมันสูง มีเกลือปริมาณมาก มีน้ำตาลปริมาณมาก อาจใช้ฉลากสีแดงเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ขนมนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าขนมชนิดใดเป็นขนมที่มีประโยชน์กับเด็กอาจจะใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ เป็นต้น
สำหรับภาพรวมการผลักดันปัญหาในเรื่องนี้ ต้องอาศัยพลังหลัก 3 ประสาน คือ (1) พลังความรู้ (2)พลังนโยบาย และ (3) พลังสังคม โดยปัจจุบันนี้ความรู้ค่อนข้างชัดเจนใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นที่หนึ่งฉลากโภชนาการ ประเด็นที่สอง การทำสัญลักษณ์ให้ดูง่าย และประเด็นที่สาม การควบคุมการโฆษณา แต่ยังขาดการผลักดันในทางนโยบายหรือการยอมรับในเชิงนโยบาย เนื่องจากไม่ได้ทำหน้าที่เท่าที่ควร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้า สคบ. หรือ อย. หรือองค์กรต่าง ๆ ได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ดูแลผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดย สคบ. ควรช่วยผลักดันให้องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 เกิดขึ้น และเป็นองค์การอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้ สคบ. ส่วน อย. ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง ส่วนพลังสังคม เป็นพลังที่มีอยู่แล้วแต่ยังแรงไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ปกครองควรผนึกพลังร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันพลังนโยบายให้เกิดขึ้น เพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
รายงานจากคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)ร่วมกับแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพเด็กที่เกิดจากการบริโภคขนมเด็กได้กลายเป็นปัญหาระดับสากล ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา โดยเห็นได้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ขององค์การอนามัยโลก เรื่อง"การตลาดอาหารและสุขภาพเด็ก" ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศแสดงความวิตกกังวลต่อการส่งเสริมการขายอาหารเด็ก อันเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพที่เสื่อมลงด้วยโรคเรื้อรังจากอาหารไขมันสูง เกลือสูง และน้ำตาลสูง
สำหรับประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ จากการวิจัยพบว่า สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยโดยภาพรวมในปี 2548 ลำดับที่ 5 คือ การบริโภคน้ำตาลในนม และขนมเด็ก โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบที่เด็กนิยมซื้อกว่าร้อยละ 90 มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก เน้นความมัน เค็ม และเต็มไปด้วยสารอาหารที่เกินพอดี และ จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เด็กจำนวนมากเป็นโรคฟันผุตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความผิดปกติของกระดูกและข้อ
สาเหตุปัญหาขนมเด็กที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการเข้าถึงขนมง่าย ผู้ประกอบการแสวงหาช่องว่างทางกฎหมายในการดำเนินธุรกิจ ขาดการคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก สร้างภาพลักษณ์ระหว่างเด็กและขนมว่าเป็นสิ่งที่คู่กัน ใช้กลวิธีจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยการเพิ่มความถี่ในการโฆษณา ให้ข้อมูลด้านสารอาหารที่เกินจริง ใช้เด็กเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อสร้างความเข้าใจว่า ขนมเป็นของขวัญ เป็นรางวัลและสื่อแสดงความรัก มีการแจกและแถมของเล่น ร่วมทั้งใช้สีสัน รูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ที่จูงใจ
นอกจากนี้ ข้อมูลโภชนาการบนฉลากขนมเด็กมีไม่ถึงร้อยละ 30 ของขนมเด็กทั้งหมด ฉลากโภชนาการมีขนาดเล็ก มีเนื้อหาที่เข้าใจค่อนข้างยากสำหรับเด็กหรือผู้ปกครอง บางชนิดเป็นภาษาต่างประเทศ ขนาดตัวอักษรเล็ก ส่งผลให้พ่อแม่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกอาหารให้ลูกบริโภค ประกอบกับหน่วยงานของรัฐขาดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและขาดการประสานงานทำให้มาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพไม่เกิดผลอย่างเต็มที่
กลวิธีในการแก้ไขปัญหาในระดับสากลมีหลายลักษณะ ที่สำคัญคือการพัฒนากลไกกฎหมาย ได้แก่ การควบคุมโฆษณา โดยเฉพาะโทรทัศน์ การพัฒนาฉลากโภชนาการให้เข้าใจง่าย การควบคุมดูแลตนเองของภาคธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น
รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)สั่งห้ามโฆษณาจูงใจเด็กอายุต่ำกว่าสิบสามปี ประเทศสวีเดนและประเทศนอร์เวย์ ห้ามโฆษณาจูงใจเด็กต่ำกว่า 12 ปี ประเทศบราซิลเห็นชอบให้ออกกฎหมายควบคุมการโฆษณาป้องกันเด็ก ประเทศออสเตรเลีย เครือข่ายนักวิชาการและผู้บริโภคเร่งรณรงค์จำกัดการโฆษณาในเด็ก ประเทศนอรเวย์ให้เวลาภาคธุรกิจเร่งปรับตัวก่อนคุมเข้ม ประเทศอังกฤษ มีบริษัทอาหารสมัครใจร่วมมือ อย.ทำฉลากติดสัญญาณไฟจราจรเขียว แดง เหลือง โดยมีสองรูปแบบ คือกลุ่มหนึ่งฉลากที่เน้นของดี โภชนาการสูง กับอีกกลุ่มคือเน้นการเตือน ประเทศสวีเดน ออกสัญญาลักษณ์ คีย์โฮล์ด หรือรูกุญแจที่บอกให้ผู้บริโภคทราบว่าอาหารใดเป็นอาหารโภชนาการสูง ประเทศสเปน รัฐบาลร่วมกับภาคธุรกิจมีความสนใจ ลดการตลาดและโฆษณาที่มีผลกระทบต่อเด็กโดยให้เป็นแผนระดับชาติ เรียกว่า กลยุทธ์ สเปน ซึ่งบทเรียนจากต่างประเทศเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนากลยุทธ์ป้องกันและแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสังคมไทย
**สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล และกระทรวงต่างๆ มีดังนี้
1.เรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการออกกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
2. กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรบังคับให้อาหารทุกชนิดรวมทั้งขนมกรุบกรอบ ต้องแสดงฉลากโภชนาการ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออาหารได้อย่างรอบครอบขึ้น ตลอดจนให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวต่อสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาหาร ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องขนมกรุบกรอบ
4. กระทรวงศึกษาธิการ ควรออกมาตรการกำหนดให้โรงเรียนทุกแห่ง เลิกจำหน่ายขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม
5. ให้รัฐ โดย อย.และสคบ.ร่วมวางมาตรการจำกัดการโฆษณาอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก รวมทั้งควบคุมการโฆษณาให้มีความถูกต้องเหมาะสมในด้านช่างเวลา สาระ และวิธีการนำเสนอ
6. อย.ควรบังคับให้ขนมทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ เพราะปัจจุบันการแสดงฉลากโภชนาการเป็นเพียงความสมัครใจของผู้ผลิต และเป็นข้อบังคับสำหรับอาหารบางประเภทเท่านั้น
7. ภาครัฐควรมีมาตรการ บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในเรื่องฉลาก การควบคุมการผลิตอย่างมีคุณภาพ และที่สำคัญการควบคุมการออกสื่อสำหรับเด็ก โดยเฉพาะห้ามใช้ presenterเด็ก และการโฆษณาที่จูงใจล่อใจเด็กอายุแรกเกิดถึง 13 ปี เพราะว่าสื่อนั้นมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเด็ก
8. ปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
9. ควรให้มีการควบคุมเรื่องเกลือ sodium ในผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก รวมทั้งอาหารของผู้ใหญ่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือว่าข้าวเกรียบกุ้ง มันฝรั่ง เป็นต้น
10.ควรที่จะมีการโฆษณา เรื่องอันตรายที่เกี่ยวข้องกับเกลือทั้งสองชนิดได้แก่ เกลือ sodium ทางโทรทัศน์
11. ควรมีการจำกัดการโฆษณาขนมเด็กในช่วงระหว่างอายุ 0 ถึง 13 ปี
12. ขอความร่วมมือจากเหล่าดารา ให้เข้ามาเป็นพันธมิตรรณรงค์
13. ตัวอักษรบนฉลากควรอ่านง่าย มีขนาดพอสมควร และควรบอกให้รู้ผู้บริโภคทราบว่า ควรจะรับประทานเกลือน้ำตาลในปริมาณเท่าใด เด็กควรจะได้รับสัดส่วนอาหารอย่างไร
**ข้อเสนอแนะต่อโรงเรียน
1. ให้โรงเรียนเป็นสถานอาหารสุขภาพปลอดการส่งเสริมการขายและการวางจำหน่ายอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก
2.ควรสร้างศักยภาพเด็ก ให้เข้าใจและเท่าทันสื่อ
**ข้อเสนอต่อผู้ประกอบการ
1. ผู้ประกอบการควรตระหนักถึงคุณภาพของขนมเด็ก ปรับสูตรขนมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ไม่เกิดอันตรายต่อการบริโภคของเด็ก โดยอาศัยเกณฑ์ว่า อาหารหรือขนมที่ดีนี้ต่อมื้อไม่ควรจะมีไขมันเกิน 2.5 กรัม ไม่ควรจะมีน้ำตาลเกิน 12 กรัม ไม่ควรจะมี sodium เกิน 100 มิลิกรัม ไม่ควรจะมีพลังงานเกิน 150 กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นเด็กเล็กประมาณ 100-120 ถ้าเด็กโต ไม่ควรรับประทานเกิน 150 และไม่ควรรับประทานเกินสองมื้อต่อวัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอาหารว่างทางเลือกควรเป็นผลไม้ และที่ดีที่สุดจะต้องมีสารอาหารอย่างน้อยอีก ซึ่งอาจจะเป็นโปรตีน ใยอาหาร วิตามิน A B1 B2 วิตมิน C หรือเหล็ก หรือแคลเซียม แปดตัวนี้มีอย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์จะถือว่าสมบูรณ์ที่สุด โดยเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับนักวิชาการทางด้านโภชนาการ
2. ผู้ผลิตและบริษัทโฆษณาขนมกรุบกรอบควรตระหนักว่าเด็กคือทรัพยากรที่สำคัญของสังคมที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในวันข้างหน้า อย่าใช้เด็กเป็นจุดขายสินค้าของผู้ผลิต นักการตลาด และนักโฆษณา ที่เป็นเพียงเหยื่อหรือเครื่องมือทางการตลาดที่เพิ่มมูลค่าหรือส่วนแบ่งทางการตลาดของผู้ผลิตเท่านั้น การโฆษณาควรอยู่ในขอบเขตที่ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนถึงระดับที่ก่อผลเสียต่อสุขภาพ
3.หากผลิตภัณฑ์ขนมเป็นห่อใหญ่ ผู้ประกอบการควรทำเป็นแพคเล็กต่อหนึ่งหน่วยบริโภคในห่อใหญ่
**ข้อเสนอต่อภาคประชาชน
1.ผู้ปกครองควรรวมพลังเป็นเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ในกลวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำมาใช้ได้จริง ร่วมรณรงค์และแสดงพลังในการปกป้องเด็กจากภัยที่เกิดขึ้นจากการรับประทานขนมกรุบกรอบ
2. พ่อแม่ผู้ปกครองควรบอกข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับโทษของขนมขบเคี้ยวแก่ลูก
3. ควรมีการผลักดันให้เกิดฉลากโภชนาการขนมเด็กอย่างง่าย เช่น ถ้าขนมชนิดใดมีไขมันสูง มีเกลือปริมาณมาก มีน้ำตาลปริมาณมาก อาจใช้ฉลากสีแดงเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ขนมนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าขนมชนิดใดเป็นขนมที่มีประโยชน์กับเด็กอาจจะใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ เป็นต้น
สำหรับภาพรวมการผลักดันปัญหาในเรื่องนี้ ต้องอาศัยพลังหลัก 3 ประสาน คือ (1) พลังความรู้ (2)พลังนโยบาย และ (3) พลังสังคม โดยปัจจุบันนี้ความรู้ค่อนข้างชัดเจนใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นที่หนึ่งฉลากโภชนาการ ประเด็นที่สอง การทำสัญลักษณ์ให้ดูง่าย และประเด็นที่สาม การควบคุมการโฆษณา แต่ยังขาดการผลักดันในทางนโยบายหรือการยอมรับในเชิงนโยบาย เนื่องจากไม่ได้ทำหน้าที่เท่าที่ควร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้า สคบ. หรือ อย. หรือองค์กรต่าง ๆ ได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ดูแลผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดย สคบ. ควรช่วยผลักดันให้องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 เกิดขึ้น และเป็นองค์การอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้ สคบ. ส่วน อย. ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง ส่วนพลังสังคม เป็นพลังที่มีอยู่แล้วแต่ยังแรงไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ปกครองควรผนึกพลังร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันพลังนโยบายให้เกิดขึ้น เพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น