ผลพวงสึนามิ พบ เด็กยังประสบปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงอีก 8 % ขณะที่เป็นโรคซึมเศร้ายังมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ปกครองที่หาศพลูกไม่พบ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอีกกว่า 40 ราย กรมส่งเสริมสุขภาพจิตต้องเข้าไปดูแลใกล้ชิด ด้วยการตั้งศูนย์ฟื้นฟูฯต่อจนถึงปี 2550 ด้าน ศธ.ได้ข้อสรุปโรงเรียน ที่เสียหายจากสึนามิ 16 ใน 6 จังหวัดอันดามันที่ยังไม่ได้ก่อสร้างจากราคาต่ำกว่าประมูลโดยใช้วิธีเพิ่มวงเงินราคากลางให้สูงขึ้น คาดภายใน 30 ก.ย.ทุกอย่างเรียบร้อย
วานนี้ (6 ก.ค.) พ.ญ.เบญจพร ปัญญายง ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัยสึนามิ กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงการเข้าไปดูสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิถล่มในพื้นที่ จ.พังงาช่วงปลายปี 2547 ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นอย่างมาก
โดยในช่วงแรกๆของการเหตุการณ์ พบว่ามีประชาชนและเด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยทางจิตสูงถึงกว่า 5,000 คน แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการคัดกรองและเข้าไปให้คำปรึกษาประชาชน จนมีจำนวนของผู้ป่วยจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนถึงขณะนี้ยังมีเด็กในพื้นที่ จ.พังงาที่ยังมีอาการป่วยทางจิตรุนแรงอยู่อีกประมาณ 8% จากจำนวนเด็กที่ป่วยประมาณ 13.3% ส่วนที่มีอาการซึมเศร้ามีประมาณ 42 % ของจำนวนเด็กที่เฝ้าระวังดูแลประมาณ 300 กว่าคน
เด็กที่ยังมีอาการป่วยทางจิต เป็นอาการป่วยที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงแต่เด็กจะยังมีอาการหวาดกลัวและมีความกลัวฝังอยู่ในใจ เช่น กรณีที่มีข่าวหรือได้ยินเรื่องของการเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณเกาะสุมาตรา เด็กเหล่านี้จะมีอาคารตื่นกลัว และไม่กล้าที่จะอาศัยอยู่ที่บ้านของตัวเอง
นอกจากนั้นกรณีที่เห็นคลื่นมีขนาดใหญ่ก็จะมีการตื่นกลัว มีอาการฝันร้ายต่อเนื่อง ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ทางศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัยสึนามิ ได้เข้าไปดูแลและคัดกรองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากนี้จะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ
พ.ญ.เบญจพร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นศูนย์ฯยังได้เข้าไปดูแลในส่วนของพ่อ-แม่ที่มีอาการซึมเศร้าเนื่องจากยังหาศพลูก ที่สูญหายจากเหตุการณ์สึนามิไม่พบอีกประมาณ 15% หรือจำนวน 40 ซึ่งคนเหล่านี้ยังมีอาคารซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัดและเชื่อว่าถ้าเขาได้รับศพลูกกลับไปประกอบพิธี จะทำให้อาการซึมเศร้าหายไป
“คนเหล่านี้เป็นอีกกลุ่มที่จะต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจากการติดตามเฝ้าระวังพบว่ามีพ่อแม่ของเด็กที่สูญหายจากเหตุการณ์สึนามิ บางคนคิดที่จะฆ่าตัวตาย เพื่อให้ตายตามลูกไป แต่เท่าที่ดำเนินการมายังไม่พบว่าคนกลุ่มเสี่ยง มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นแต่อย่างใด”
ด้านนายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงผลสรุปการประชุมสัมมนาบุคลากรและสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ 6 จังหวัดอันดามันระหว่างวันที่ 4-5 ก.ค. ที่โรงแรมเมโทรโพล จ.ภูเก็ต โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งมีผู้บริการสถานศึกษาในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน องค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องราว 100 คนเพื่อติดตามความคืบหน้าในการให้การช่วยเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรด้านการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ
โดยนายบุญรัตน์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปในเรื่องของโรงเรียน ที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน และยังไม่ได้ก่อสร้างแม้เวลาจะล่วงเลยมาปีครึ่งแล้วก็ตาม โดยสรุปโรงเรียนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่องจากมีปัญหาราคากลางที่กำหนดมา ผู้รับเหมาจะไม่สามารถที่จะรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากขาดทุน มีทั้งหมด 16 แห่งอยู่ในพื้นที่ จ.กระบี่มากที่สุด รองลงมาตรัง พังงา และภูเก็ต
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น นางรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ได้ประสานกับทางสำนักงบประมาณแล้วจะใช้วิธีพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอกับค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่มีการแก้แบบก่อสร้างอาคารเรียน เพราะแบบก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าว เป็นความคาดหวังของเด็กนักเรียนและชุมชน หากมีการแก้แบบให้ราคาต่ำลงจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิได้
นายบุญรัตน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเสนอแบบก่อสร้างเข้าไปอีกรอบหนึ่ง โดยทุกอย่างจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.49 และนอกจากนี้ในเดือน ส.ค.จะมีการเชิญตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ทั้งในประเทศต่างประเทศ สื่อมวลชน ลงพื้นที่ จ.กระบี่ เพื่อดูความคืบหน้าการให้การช่วยเหลือ
“นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เน้นในเรื่องของติดตามเยียวยาเด็กนักเรียนที่กำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิอีกด้วย ส่วนเรื่องทุนการศึกษาที่มอบให้เด็กกำพร้า 1,500 กว่าคนและเด็กที่ได้รับผลกระทบประมาณ 32,000 คนไม่มีปัญหาอะไร เพราะการดำเนินการดังกล่าว ได้วางกรอบไว้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว”
วานนี้ (6 ก.ค.) พ.ญ.เบญจพร ปัญญายง ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัยสึนามิ กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงการเข้าไปดูสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิถล่มในพื้นที่ จ.พังงาช่วงปลายปี 2547 ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นอย่างมาก
โดยในช่วงแรกๆของการเหตุการณ์ พบว่ามีประชาชนและเด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยทางจิตสูงถึงกว่า 5,000 คน แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการคัดกรองและเข้าไปให้คำปรึกษาประชาชน จนมีจำนวนของผู้ป่วยจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนถึงขณะนี้ยังมีเด็กในพื้นที่ จ.พังงาที่ยังมีอาการป่วยทางจิตรุนแรงอยู่อีกประมาณ 8% จากจำนวนเด็กที่ป่วยประมาณ 13.3% ส่วนที่มีอาการซึมเศร้ามีประมาณ 42 % ของจำนวนเด็กที่เฝ้าระวังดูแลประมาณ 300 กว่าคน
เด็กที่ยังมีอาการป่วยทางจิต เป็นอาการป่วยที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงแต่เด็กจะยังมีอาการหวาดกลัวและมีความกลัวฝังอยู่ในใจ เช่น กรณีที่มีข่าวหรือได้ยินเรื่องของการเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณเกาะสุมาตรา เด็กเหล่านี้จะมีอาคารตื่นกลัว และไม่กล้าที่จะอาศัยอยู่ที่บ้านของตัวเอง
นอกจากนั้นกรณีที่เห็นคลื่นมีขนาดใหญ่ก็จะมีการตื่นกลัว มีอาการฝันร้ายต่อเนื่อง ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ทางศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัยสึนามิ ได้เข้าไปดูแลและคัดกรองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากนี้จะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ
พ.ญ.เบญจพร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นศูนย์ฯยังได้เข้าไปดูแลในส่วนของพ่อ-แม่ที่มีอาการซึมเศร้าเนื่องจากยังหาศพลูก ที่สูญหายจากเหตุการณ์สึนามิไม่พบอีกประมาณ 15% หรือจำนวน 40 ซึ่งคนเหล่านี้ยังมีอาคารซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัดและเชื่อว่าถ้าเขาได้รับศพลูกกลับไปประกอบพิธี จะทำให้อาการซึมเศร้าหายไป
“คนเหล่านี้เป็นอีกกลุ่มที่จะต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจากการติดตามเฝ้าระวังพบว่ามีพ่อแม่ของเด็กที่สูญหายจากเหตุการณ์สึนามิ บางคนคิดที่จะฆ่าตัวตาย เพื่อให้ตายตามลูกไป แต่เท่าที่ดำเนินการมายังไม่พบว่าคนกลุ่มเสี่ยง มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นแต่อย่างใด”
ด้านนายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงผลสรุปการประชุมสัมมนาบุคลากรและสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ 6 จังหวัดอันดามันระหว่างวันที่ 4-5 ก.ค. ที่โรงแรมเมโทรโพล จ.ภูเก็ต โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งมีผู้บริการสถานศึกษาในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน องค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องราว 100 คนเพื่อติดตามความคืบหน้าในการให้การช่วยเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรด้านการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ
โดยนายบุญรัตน์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปในเรื่องของโรงเรียน ที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน และยังไม่ได้ก่อสร้างแม้เวลาจะล่วงเลยมาปีครึ่งแล้วก็ตาม โดยสรุปโรงเรียนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่องจากมีปัญหาราคากลางที่กำหนดมา ผู้รับเหมาจะไม่สามารถที่จะรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากขาดทุน มีทั้งหมด 16 แห่งอยู่ในพื้นที่ จ.กระบี่มากที่สุด รองลงมาตรัง พังงา และภูเก็ต
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น นางรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ได้ประสานกับทางสำนักงบประมาณแล้วจะใช้วิธีพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอกับค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่มีการแก้แบบก่อสร้างอาคารเรียน เพราะแบบก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าว เป็นความคาดหวังของเด็กนักเรียนและชุมชน หากมีการแก้แบบให้ราคาต่ำลงจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิได้
นายบุญรัตน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเสนอแบบก่อสร้างเข้าไปอีกรอบหนึ่ง โดยทุกอย่างจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.49 และนอกจากนี้ในเดือน ส.ค.จะมีการเชิญตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ทั้งในประเทศต่างประเทศ สื่อมวลชน ลงพื้นที่ จ.กระบี่ เพื่อดูความคืบหน้าการให้การช่วยเหลือ
“นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เน้นในเรื่องของติดตามเยียวยาเด็กนักเรียนที่กำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิอีกด้วย ส่วนเรื่องทุนการศึกษาที่มอบให้เด็กกำพร้า 1,500 กว่าคนและเด็กที่ได้รับผลกระทบประมาณ 32,000 คนไม่มีปัญหาอะไร เพราะการดำเนินการดังกล่าว ได้วางกรอบไว้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว”