กพร.คลอดโบนัส 5.5 พันล้านปี 48 แล้ว ขรก.ระดับล่าง เฮ!หลังอืดมานาน เผยกรมธนารักษ์-สรรพากร คว้าแชมป์ 2 ปีซ้อน ส่วนมหาวิทยาลัยรัฐหนึ่งเดียวสุดซวย ส่งผลประเมินช้าอดเงินก้อน หวั่น ขรก.งงสูตรต้องแบ่งเค้กกันเอง กพร.เตรียมตั้งโต๊ะชี้แจง
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เปิดเผยว่า กพร.ได้ส่งหนังสือเวียน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จำนวน 5,500 ล้านบาท ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัด ตั้งแต่ระดับ 1-8 จำนวน 1.2 ล้านคนทั้งระบบ รวมทั้งตัวอย่างวิธีจัดสรรเงินรางวัลไปยังทุกส่วนราชการแล้ว โดยจะสามารถจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการได้ภายในเดือน พ.ค.นี้
ทั้งนี้หลังจากที่ กพร.ได้พิจารณามาตั้งแต่ต้นปี 2548 แต่ยังไม่สามารถสรุปให้กับทุกส่วนราชการ และจังหวัดได้ ทั้งนี้ กพร.ขอยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของกพร.เอง เนื่องจากตัวชี้วัดบางตัวยังไม่ชัดเจนและฐานเงินเดือนของแต่ละหน่วยงานก็ยังไม่ชัดเจน ไม่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณ หรือภาวะทางการเงินการคลังของรัฐบาลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยราชการใดมีข้อสงสัยทาง กพร.ก็จะเชิญหน่วยงานนั้นเข้ามาให้คำชี้แจง โดยเฉพาะสูตรวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ทั้งนี้ เงินรางวัลที่ส่วนราชการจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัว ได้แก่ ขนาดของหน่วยงานที่มีสูตรว่าจะนำฐานเงินเดือนเป็นตัวตั้ง และนำผลงานที่หน่วยงานนั้นๆได้รับ โดยจะมีคะแนนระดับตั้งแต่ 1-5 หากต่ำกว่า 3 ก็จะไม่ได้รับ อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2548 นี้ มีเพียงหน่วยงานเดียวที่ไม่ผ่านการประเมินและไม่ได้รับเงินรางวัล พบว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เนื่องจากจัดส่งผลการประเมินล่าช้า
นายทศพร กล่าวอีกว่า สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินรางวัลสูงสุด 2 อันดับแรก ยังคงเป็นหน่วยงานในกระทรวงการคลัง ได้แก่ กรมธนารักษ์ และ กรมสรรพากร ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้ในปีงบประมาณ 2547 ก็เคยได้รับเงินรางวัลอันดับ 1 และ 2 มาก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งยังพบว่าหน่วยงานที่ได้รับเงินรางวัลสูงสุด ยังมีผลงานที่ดีขึ้น
นายทศพร กล่าวด้วยว่า หัวหน้าหน่วยราชการของแต่ละส่วนราชการและจังหวัด จะต้องไปจัดทำระบบในการพิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสรรเงินรางวัลที่ได้เป็นก้อนไปให้กับข้าราชการทุกคนได้เท่าๆ กันก่อนจะเป็น 20 % หรือ 50 % ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน เพราะถือว่าข้าราชการทุกคนก็มีส่วนในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จและเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ผลักดันงาน แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลและ กพร.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า จะไม่ให้มีการแบ่งเงินรางวัลให้เท่ากันทุกคน เพราะจะเป็นการผิดเจตนารมณ์ของการให้เงินรางวัล เพราะหากมีการให้รางวัลเท่าๆกัน ก็จะทำให้คนที่ตั้งใจทำงานจริงๆไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นทุกหน่วยงานก็จะต้องไปคิดวิธีจัดสรรเพื่อให้กับข้าราชการที่ทำงานได้โดดเด่น และประสิทธิภาพที่สุด
สำหรับการป้องกันปัญหาหากมีข้อครหาว่าการจัดสรรเงินรางวัลไม่เป็นธรรม เช่นเดียวกับการจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการระดับผู้บริหาร ถือเป็นเรื่องภายในของหน่วยงานราชการนั้นๆ แต่ กพร.จะมีข้อแนะนำวิธีการจัดสรรเงินรางวัลอย่างเป็นธรรม แต่ไม่ใช่วิธีการบังคับ ซึ่งทุกส่วนราชการจะต้องไปคิดสูตรในการจัดสรรเงินรางวัลก้อนที่ได้รับกันเอง
เลขาฯ กพร.กล่าวด้วยว่า สำหรับปีงบประมาณ 2549 กพร.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน โดยว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นผู้ประเมินและลงพื้นที่เดินสายในจังหวัดต่างๆ เพื่อประเมินใน 6 เดือนแรกแล้ว ซึ่งกพร.ตั้งเป้าว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2550
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้นในปี 2548 กพร.ได้รับอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเงินรางวัลให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป ซึ่งภายหลังมีข่าวออกไป ทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยต่างทำหนังสือร้องเรียนมายังกพร.รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมากว่ามีการแบ่งเงินไม่เป็นธรรม เนื่องจากพบว่าหัวหน้าส่วนราชการระดับ 9 ขึ้นไปบางคนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่สมควรจะได้รับเงิน
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เปิดเผยว่า กพร.ได้ส่งหนังสือเวียน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จำนวน 5,500 ล้านบาท ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัด ตั้งแต่ระดับ 1-8 จำนวน 1.2 ล้านคนทั้งระบบ รวมทั้งตัวอย่างวิธีจัดสรรเงินรางวัลไปยังทุกส่วนราชการแล้ว โดยจะสามารถจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการได้ภายในเดือน พ.ค.นี้
ทั้งนี้หลังจากที่ กพร.ได้พิจารณามาตั้งแต่ต้นปี 2548 แต่ยังไม่สามารถสรุปให้กับทุกส่วนราชการ และจังหวัดได้ ทั้งนี้ กพร.ขอยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของกพร.เอง เนื่องจากตัวชี้วัดบางตัวยังไม่ชัดเจนและฐานเงินเดือนของแต่ละหน่วยงานก็ยังไม่ชัดเจน ไม่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณ หรือภาวะทางการเงินการคลังของรัฐบาลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยราชการใดมีข้อสงสัยทาง กพร.ก็จะเชิญหน่วยงานนั้นเข้ามาให้คำชี้แจง โดยเฉพาะสูตรวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ทั้งนี้ เงินรางวัลที่ส่วนราชการจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัว ได้แก่ ขนาดของหน่วยงานที่มีสูตรว่าจะนำฐานเงินเดือนเป็นตัวตั้ง และนำผลงานที่หน่วยงานนั้นๆได้รับ โดยจะมีคะแนนระดับตั้งแต่ 1-5 หากต่ำกว่า 3 ก็จะไม่ได้รับ อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2548 นี้ มีเพียงหน่วยงานเดียวที่ไม่ผ่านการประเมินและไม่ได้รับเงินรางวัล พบว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เนื่องจากจัดส่งผลการประเมินล่าช้า
นายทศพร กล่าวอีกว่า สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินรางวัลสูงสุด 2 อันดับแรก ยังคงเป็นหน่วยงานในกระทรวงการคลัง ได้แก่ กรมธนารักษ์ และ กรมสรรพากร ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้ในปีงบประมาณ 2547 ก็เคยได้รับเงินรางวัลอันดับ 1 และ 2 มาก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งยังพบว่าหน่วยงานที่ได้รับเงินรางวัลสูงสุด ยังมีผลงานที่ดีขึ้น
นายทศพร กล่าวด้วยว่า หัวหน้าหน่วยราชการของแต่ละส่วนราชการและจังหวัด จะต้องไปจัดทำระบบในการพิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสรรเงินรางวัลที่ได้เป็นก้อนไปให้กับข้าราชการทุกคนได้เท่าๆ กันก่อนจะเป็น 20 % หรือ 50 % ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน เพราะถือว่าข้าราชการทุกคนก็มีส่วนในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จและเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ผลักดันงาน แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลและ กพร.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า จะไม่ให้มีการแบ่งเงินรางวัลให้เท่ากันทุกคน เพราะจะเป็นการผิดเจตนารมณ์ของการให้เงินรางวัล เพราะหากมีการให้รางวัลเท่าๆกัน ก็จะทำให้คนที่ตั้งใจทำงานจริงๆไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นทุกหน่วยงานก็จะต้องไปคิดวิธีจัดสรรเพื่อให้กับข้าราชการที่ทำงานได้โดดเด่น และประสิทธิภาพที่สุด
สำหรับการป้องกันปัญหาหากมีข้อครหาว่าการจัดสรรเงินรางวัลไม่เป็นธรรม เช่นเดียวกับการจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการระดับผู้บริหาร ถือเป็นเรื่องภายในของหน่วยงานราชการนั้นๆ แต่ กพร.จะมีข้อแนะนำวิธีการจัดสรรเงินรางวัลอย่างเป็นธรรม แต่ไม่ใช่วิธีการบังคับ ซึ่งทุกส่วนราชการจะต้องไปคิดสูตรในการจัดสรรเงินรางวัลก้อนที่ได้รับกันเอง
เลขาฯ กพร.กล่าวด้วยว่า สำหรับปีงบประมาณ 2549 กพร.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน โดยว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นผู้ประเมินและลงพื้นที่เดินสายในจังหวัดต่างๆ เพื่อประเมินใน 6 เดือนแรกแล้ว ซึ่งกพร.ตั้งเป้าว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2550
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้นในปี 2548 กพร.ได้รับอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเงินรางวัลให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป ซึ่งภายหลังมีข่าวออกไป ทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยต่างทำหนังสือร้องเรียนมายังกพร.รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมากว่ามีการแบ่งเงินไม่เป็นธรรม เนื่องจากพบว่าหัวหน้าส่วนราชการระดับ 9 ขึ้นไปบางคนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่สมควรจะได้รับเงิน