เปิดวงจรอุบาทว์! โกงบูรณาการลำไยอบแห้งปี 48 เกี่ยวพันนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า สหกรณ์ แฉเอกสารสัญญาลำไยไม่เคยถูกส่งออก แต่เวียนเทียนขายในประเทศ ผลสุดท้ายเงินรัฐเสียหาย “สหกรณ์ลำไย” บุกกระทรวงเกษตรฯ 27 เม.ย.นี้ จี้ฟ้องชิโนคอมโบ 150 ล้าน ด้าน “เจ๊หน่อย” ยันชิโนคอมโบขายให้สหกรณ์ ไม่เกี่ยวกับลำไยในโครงการแลกรถจักร
แหล่งข่าวในแวดวงลำไย เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ถึงกระบวนการทุจริตลำไยอบแห้งฤดู 48 ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เข้ามาแก้ไขปัญหา โดยตั้งโครงการลำไยแลกหัวรถจักรจากจีน จำนวน 96 คัน แต่จนถึงปัจจุบันบริษัทตัวแทนจากจีนยังรับซื้อลำไยจากสหกรณ์ต่างๆ ไม่ถึง 200 ตัน (คิดเป็น 1% ของสัญญา) เนื่องจากข้อเท็จจริงลำไยไม่ได้ถูกส่งออกไปต่างประเทศ แต่มีกระบวนการขายเวียนอยู่ในประเทศเท่านั้น
ภายหลัง กระทรวงเกษตรฯ นำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ เปิดแถลงข่าวการทำบันทึกข้อตกลงกับ บ.ชิโนคอมโบ จากประเทศจีน วันที่ 9 ธ.ค.ให้เข้ามารับซื้อลำไยอบแห้งจากสหกรณ์ลำไย 107 แห่ง จำนวน 27,000 ตัน ในราคา เกรด AA 56 บาท/กก. เกรด A 39 บาท/กก. และเกรด B 23 บาท/กก. โดยให้ บ.ชิโนคอมโบ วางเงินค้ำประกันการรับซื้อ เป็นแบงก์การันตี (B/G) 150 ล้านบาท
** “ชิโนคอมโบ” ทิ้งปมบริษัทกำมะลอ
ผลปรากฏว่า จนถึงปัจจุบัน บ.ชิโนคอมโบ ไม่สามารถรับซื้อลำไยได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากสหกรณ์ลำไยต่างไม่ไว้ใจ บ.ชิโนคอมโบว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ขอดูสัญญาที่ทำไว้กับกระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่มีให้ดู ขอดูหลักฐานการค้ำประกัน (B/G) ก็ไม่มีเช่นกัน จึงไม่กล้าปล่อยสินค้าออกไป จนกระทั่งมีหนังสือเวียนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงนามโดยนายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ถึงสหกรณ์ต่างๆ ให้ปล่อยสินค้าให้แก่ บ.ชิโนคอมโบ ทางสหกรณ์ลำไยใน อ.สารภี และ อ.สันปาตอง จ.เชียงใหม่ จึงยอมส่งมอบลำไยอบแห้งส่วนหนึ่ง ประมาณ 200 ตัน ให้กับ บ.ชิโนคอมโบ
เบื้องหลัง บ.ชิโนคอมโบ มีข้อน่าพิรุธหลายประการ เพราะไม่ได้ส่งออกไปต่างประเทศจริง แต่มีการเวียนเทียนขายลำไยในประเทศ โดย “นายอุดม พุ่มไม้ทอง” กรรมการบริษัท อุดมซัพพลาย อิมเม็กซ์ (2001) จำกัด อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก บ.ชิโนคอมโบ ติดต่อขายลำไยให้กับ นายจรัส ศุภศรี ประธานสหกรณ์ชาวสวนลำไยภาคเหนือ มี นายวรพจน์ วนาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการ อ.ต.ก.เป็นผู้ประสานงาน (ดู เอกสารที่ 1 ประกอบ)
การที่ บ.ชิโนคอมโบ สามารถขายลำไยในราคาถูก (ปี 48 ขายเฉลี่ย 28 บาท/กก. ปี 46-47 ขาย 15 บาท/กก.) ให้กับนายจรัสได้ เพราะว่า บ.ชิโนคอมโบ ไม่ได้ซื้อตามราคาที่รัฐบาลประกาศ แต่ไปใช้เงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพสินค้ามากดราคารับซื้อจากสหกรณ์ โดยมี “บริษัท ขันดีการเกษตร จำกัด” ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (QC) ซึ่งเบื้องหลัง บ.ขันดีการเกษตรนั้นมีกรรมการคนหนึ่งมีสายสัมพันธ์โดยเป็นเมียน้อยข้าราชการระดับสูงในกระทรวงเกษตรฯ
“จริงๆ แล้ว บ.ชิโนคอมโบ เขาไม่อยากได้ลำไยปี 48 เขาอยากได้ของปี 46 และ 47 มากกว่า แต่คุณหญิงสุดารัตน์ ขอร้องให้เขาซื้อพ่วงไปด้วย เขาจึงตอบตกลง แล้วที่เขาไปทำสัญญาขายให้อาจารย์จรัส ก็เป็นของปี 46 และ ปี 47(ดูเอกสาร 1 ประกอบ)” แหล่งข่าวกล่าว
พอสหกรณ์ไม่ยอมขายให้กับ บ.ชิโนคอมโบ เพราะซื้อในราคาต่ำเกินไป จึงเป็นเหตุให้ บ.ชิโนคอมโบ ไม่มีสินค้าให้กับนายจรัส จึงถูกนายจรัสฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหลังจากถูก บ.ชิโนคอมโบเชิดเงิน 40 ล้านบาทไปก่อนหน้านั้น เงินจำนวนนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่าตกอยู่กับใครบ้าง โดยก่อนหน้านี้ บ.ชิโนคอมโบ เอาหนังสือที่อ้างว่า น.ต.ศิธา ทิวารี เลขานุการ รมว.เกษตรฯ เป็นผู้รับรองบริษัทมายืนยัน ไปอ้างกับนายจรัสจนต้องยอมทำสัญญาด้วย (อ่าน “เกษตรแหกตา ลำไย-รถจักร” ฉบับวานนี้ 25 เม.ย.)
โดยสิ่งที่ผิดสังเกตอีกอย่าง คือ กระทรวงเกษตรฯ ทำเอ็มโอยูกับ บ.ชิโนคอมโบ ในเดือนธันวาคม แต่หนังสือรับรองฉบับนั้นมีขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม และ บ.ชิโนคอมโบ ก็ไปคุยกับสหกรณ์ต่างๆ ว่าได้เซ็นสัญญากับกระทรวงเกษตรฯ แน่นอน (ดูเอกสาร 2 ประกอบ)
“บ.ชิโนคอมโบ ไม่มีตลาดต่างประเทศจริง จึงติดต่อขายให้อาจารย์จรัส ของปี 48 ราคาเฉลี่ย 28 บาท/กก. ปี 46-47 15 บาท/กก.โดย อ.จรัส ได้ส่งออกไปจำนวนหนึ่ง อีกจำนวนหนึ่ง ขายคืนให้สหกรณ์ในประเทศบางแห่ง ในราคาเกรด AA 35 บาท/กก. เป็นวงจรอุบาทว์ไม่จบสิ้น” แหล่งข่าวกล่าว
**สหกรณ์ฟันกำไรก้อนงาม
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า การซื้อขายเวียนเทียนในประเทศเกิดขึ้นได้ เพราะสหกรณ์ต่างรู้ดีว่าถึงที่สุดยังไงรัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงราคาลำไยอบแห้ง สหกรณ์หลายแห่งมีการแจ้งขอเงินกู้จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ สูงเกินกว่าลำไยอบแห้งที่มีอยู่จริง เมื่อถึงเวลาคืนเงินกู้จึงต้องหาซื้อลำไยอบแห้งตุนไว้เป็นหลักประกัน โดยรับซื้อจากนายจรัส เกรด AA 35 บาท/กก. แต่มูลค่าสินทรัพย์ ตามที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องรับซื้อคืนเกรด AA 56 บาท/กก.กำไรตก 21 บาท/กก.
“ตอนนี้สหกรณ์ต่างๆ เขาไม่เดือดร้อนอะไร บางแห่งแจ้งยอดสูงเกินจริง หรือบางแห่งแอบขายไปจีนทำกำไรทอดหนึ่งแล้ว สหกรณ์กลุ่มนี้จึงต้องหาซื้อลำไยกลับเข้าโกดัง พอรัฐบาลเรียกคืนเงินกู้ก็เอาลำไยอบแห้งไปวางเป็นหลักทรัพย์ ถ้ารัฐบาลยอมขาดทุนซื้อในราคา 56 บาท/กก. เขาก็ได้กำไรอีกทอดหนึ่ง จะว่าสหกรณ์โกงก็ไม่ได้ เขามี หัวการค้า เขาเป็นพ่อค้า เมื่อเห็นช่องทางที่ได้กำไรเขาก็ต้องทำ แต่ที่สูญเสียมากที่สุดคือ เงินภาษีอากรของประชาชน”
**บุกเกษตรฯ จี้ฟ้องชิโนฯ
นายอรรณพ ดวงติ๊บ ประธานเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า วันที่ 27 เม.ย.นี้ ตัวแทนสหกรณ์ลำไยส่วนหนึ่งจะเข้าพบคุณหญิงสุดารัตน์ เพื่อเล่าถึงปัญหาลำไยของ ปี 46-48 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี บ.ชิโนคอมโบ ที่ทางกระทรวงฯ เคยอ้างว่ามีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน 150 ล้าน แต่จนถึงตอนนี้ไม่สามารถรับซื้อลำไยจากสหกรณ์ได้ตามสัญญา กระทรวงเกษตรฯจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ นอกจากนี้ ลำไยปี 47ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ค้างจ่ายสหกรณ์อยู่ 70 ล้านบาท จะแก้ไขปัญหาอย่างไร
ด้าน คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ได้ยกเลิกสัญญากับ บ.ชิโนคอมโบ ไปแล้ว และได้มอบหมายให้นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับ บ.ชิโนคอมโบ ด้วยกรณีไม่ทำตามสัญญา ส่วนกรณีบริษัทไปเชิดเงินบริษัท 40 ล้านนั้น ได้รับรายงานจาก นายบุญมี จันทรวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า ไม่เกี่ยวกับโครงการลำไยแลกหัวรถจักรแต่อย่างใด แต่เป็นลำไยนอกโครงการที่ บ.ชิโนคอมโบ ไปทำสัญญากับสหกรณ์เอง
แหล่งข่าวในแวดวงลำไย เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ถึงกระบวนการทุจริตลำไยอบแห้งฤดู 48 ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เข้ามาแก้ไขปัญหา โดยตั้งโครงการลำไยแลกหัวรถจักรจากจีน จำนวน 96 คัน แต่จนถึงปัจจุบันบริษัทตัวแทนจากจีนยังรับซื้อลำไยจากสหกรณ์ต่างๆ ไม่ถึง 200 ตัน (คิดเป็น 1% ของสัญญา) เนื่องจากข้อเท็จจริงลำไยไม่ได้ถูกส่งออกไปต่างประเทศ แต่มีกระบวนการขายเวียนอยู่ในประเทศเท่านั้น
ภายหลัง กระทรวงเกษตรฯ นำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ เปิดแถลงข่าวการทำบันทึกข้อตกลงกับ บ.ชิโนคอมโบ จากประเทศจีน วันที่ 9 ธ.ค.ให้เข้ามารับซื้อลำไยอบแห้งจากสหกรณ์ลำไย 107 แห่ง จำนวน 27,000 ตัน ในราคา เกรด AA 56 บาท/กก. เกรด A 39 บาท/กก. และเกรด B 23 บาท/กก. โดยให้ บ.ชิโนคอมโบ วางเงินค้ำประกันการรับซื้อ เป็นแบงก์การันตี (B/G) 150 ล้านบาท
** “ชิโนคอมโบ” ทิ้งปมบริษัทกำมะลอ
ผลปรากฏว่า จนถึงปัจจุบัน บ.ชิโนคอมโบ ไม่สามารถรับซื้อลำไยได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากสหกรณ์ลำไยต่างไม่ไว้ใจ บ.ชิโนคอมโบว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ขอดูสัญญาที่ทำไว้กับกระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่มีให้ดู ขอดูหลักฐานการค้ำประกัน (B/G) ก็ไม่มีเช่นกัน จึงไม่กล้าปล่อยสินค้าออกไป จนกระทั่งมีหนังสือเวียนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงนามโดยนายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ถึงสหกรณ์ต่างๆ ให้ปล่อยสินค้าให้แก่ บ.ชิโนคอมโบ ทางสหกรณ์ลำไยใน อ.สารภี และ อ.สันปาตอง จ.เชียงใหม่ จึงยอมส่งมอบลำไยอบแห้งส่วนหนึ่ง ประมาณ 200 ตัน ให้กับ บ.ชิโนคอมโบ
เบื้องหลัง บ.ชิโนคอมโบ มีข้อน่าพิรุธหลายประการ เพราะไม่ได้ส่งออกไปต่างประเทศจริง แต่มีการเวียนเทียนขายลำไยในประเทศ โดย “นายอุดม พุ่มไม้ทอง” กรรมการบริษัท อุดมซัพพลาย อิมเม็กซ์ (2001) จำกัด อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก บ.ชิโนคอมโบ ติดต่อขายลำไยให้กับ นายจรัส ศุภศรี ประธานสหกรณ์ชาวสวนลำไยภาคเหนือ มี นายวรพจน์ วนาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการ อ.ต.ก.เป็นผู้ประสานงาน (ดู เอกสารที่ 1 ประกอบ)
การที่ บ.ชิโนคอมโบ สามารถขายลำไยในราคาถูก (ปี 48 ขายเฉลี่ย 28 บาท/กก. ปี 46-47 ขาย 15 บาท/กก.) ให้กับนายจรัสได้ เพราะว่า บ.ชิโนคอมโบ ไม่ได้ซื้อตามราคาที่รัฐบาลประกาศ แต่ไปใช้เงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพสินค้ามากดราคารับซื้อจากสหกรณ์ โดยมี “บริษัท ขันดีการเกษตร จำกัด” ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (QC) ซึ่งเบื้องหลัง บ.ขันดีการเกษตรนั้นมีกรรมการคนหนึ่งมีสายสัมพันธ์โดยเป็นเมียน้อยข้าราชการระดับสูงในกระทรวงเกษตรฯ
“จริงๆ แล้ว บ.ชิโนคอมโบ เขาไม่อยากได้ลำไยปี 48 เขาอยากได้ของปี 46 และ 47 มากกว่า แต่คุณหญิงสุดารัตน์ ขอร้องให้เขาซื้อพ่วงไปด้วย เขาจึงตอบตกลง แล้วที่เขาไปทำสัญญาขายให้อาจารย์จรัส ก็เป็นของปี 46 และ ปี 47(ดูเอกสาร 1 ประกอบ)” แหล่งข่าวกล่าว
พอสหกรณ์ไม่ยอมขายให้กับ บ.ชิโนคอมโบ เพราะซื้อในราคาต่ำเกินไป จึงเป็นเหตุให้ บ.ชิโนคอมโบ ไม่มีสินค้าให้กับนายจรัส จึงถูกนายจรัสฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหลังจากถูก บ.ชิโนคอมโบเชิดเงิน 40 ล้านบาทไปก่อนหน้านั้น เงินจำนวนนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่าตกอยู่กับใครบ้าง โดยก่อนหน้านี้ บ.ชิโนคอมโบ เอาหนังสือที่อ้างว่า น.ต.ศิธา ทิวารี เลขานุการ รมว.เกษตรฯ เป็นผู้รับรองบริษัทมายืนยัน ไปอ้างกับนายจรัสจนต้องยอมทำสัญญาด้วย (อ่าน “เกษตรแหกตา ลำไย-รถจักร” ฉบับวานนี้ 25 เม.ย.)
โดยสิ่งที่ผิดสังเกตอีกอย่าง คือ กระทรวงเกษตรฯ ทำเอ็มโอยูกับ บ.ชิโนคอมโบ ในเดือนธันวาคม แต่หนังสือรับรองฉบับนั้นมีขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม และ บ.ชิโนคอมโบ ก็ไปคุยกับสหกรณ์ต่างๆ ว่าได้เซ็นสัญญากับกระทรวงเกษตรฯ แน่นอน (ดูเอกสาร 2 ประกอบ)
“บ.ชิโนคอมโบ ไม่มีตลาดต่างประเทศจริง จึงติดต่อขายให้อาจารย์จรัส ของปี 48 ราคาเฉลี่ย 28 บาท/กก. ปี 46-47 15 บาท/กก.โดย อ.จรัส ได้ส่งออกไปจำนวนหนึ่ง อีกจำนวนหนึ่ง ขายคืนให้สหกรณ์ในประเทศบางแห่ง ในราคาเกรด AA 35 บาท/กก. เป็นวงจรอุบาทว์ไม่จบสิ้น” แหล่งข่าวกล่าว
**สหกรณ์ฟันกำไรก้อนงาม
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า การซื้อขายเวียนเทียนในประเทศเกิดขึ้นได้ เพราะสหกรณ์ต่างรู้ดีว่าถึงที่สุดยังไงรัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงราคาลำไยอบแห้ง สหกรณ์หลายแห่งมีการแจ้งขอเงินกู้จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ สูงเกินกว่าลำไยอบแห้งที่มีอยู่จริง เมื่อถึงเวลาคืนเงินกู้จึงต้องหาซื้อลำไยอบแห้งตุนไว้เป็นหลักประกัน โดยรับซื้อจากนายจรัส เกรด AA 35 บาท/กก. แต่มูลค่าสินทรัพย์ ตามที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องรับซื้อคืนเกรด AA 56 บาท/กก.กำไรตก 21 บาท/กก.
“ตอนนี้สหกรณ์ต่างๆ เขาไม่เดือดร้อนอะไร บางแห่งแจ้งยอดสูงเกินจริง หรือบางแห่งแอบขายไปจีนทำกำไรทอดหนึ่งแล้ว สหกรณ์กลุ่มนี้จึงต้องหาซื้อลำไยกลับเข้าโกดัง พอรัฐบาลเรียกคืนเงินกู้ก็เอาลำไยอบแห้งไปวางเป็นหลักทรัพย์ ถ้ารัฐบาลยอมขาดทุนซื้อในราคา 56 บาท/กก. เขาก็ได้กำไรอีกทอดหนึ่ง จะว่าสหกรณ์โกงก็ไม่ได้ เขามี หัวการค้า เขาเป็นพ่อค้า เมื่อเห็นช่องทางที่ได้กำไรเขาก็ต้องทำ แต่ที่สูญเสียมากที่สุดคือ เงินภาษีอากรของประชาชน”
**บุกเกษตรฯ จี้ฟ้องชิโนฯ
นายอรรณพ ดวงติ๊บ ประธานเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า วันที่ 27 เม.ย.นี้ ตัวแทนสหกรณ์ลำไยส่วนหนึ่งจะเข้าพบคุณหญิงสุดารัตน์ เพื่อเล่าถึงปัญหาลำไยของ ปี 46-48 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี บ.ชิโนคอมโบ ที่ทางกระทรวงฯ เคยอ้างว่ามีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน 150 ล้าน แต่จนถึงตอนนี้ไม่สามารถรับซื้อลำไยจากสหกรณ์ได้ตามสัญญา กระทรวงเกษตรฯจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ นอกจากนี้ ลำไยปี 47ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ค้างจ่ายสหกรณ์อยู่ 70 ล้านบาท จะแก้ไขปัญหาอย่างไร
ด้าน คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ได้ยกเลิกสัญญากับ บ.ชิโนคอมโบ ไปแล้ว และได้มอบหมายให้นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับ บ.ชิโนคอมโบ ด้วยกรณีไม่ทำตามสัญญา ส่วนกรณีบริษัทไปเชิดเงินบริษัท 40 ล้านนั้น ได้รับรายงานจาก นายบุญมี จันทรวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า ไม่เกี่ยวกับโครงการลำไยแลกหัวรถจักรแต่อย่างใด แต่เป็นลำไยนอกโครงการที่ บ.ชิโนคอมโบ ไปทำสัญญากับสหกรณ์เอง