ปัจจุบันนี้ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนโดยทั่วไป เพราะทุกวันนี้ น้อยคนนักที่ไม่รู้จักคอมพิวเตอร์ ไม่รู้จักอินเทอร์เน็ต และมีหลายคน ที่ใช้ประโยชน์จากมัน ทั้งการค้นหาข้อมูล การซื้อขายสินค้า และทำธุรกิจ นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้เปิดโอกาสให้สัมภาษณ์ถึงแผนการทำงานเชิงรุกในการผลักดันให้ธุรกิจนี้เติบโตไว้อย่างน่าสนใจ
ขอทราบแผนการสร้างความน่าเชื่อให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ
ก่อนอื่นขอบอกว่ากรมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเห็นว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในไทย ถ้าผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือหรือผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ธุรกรรมการค้าใหม่ๆ จากทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งแผนที่จะสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นนั้น กรมฯ จะดำเนินการใน 3 ด้านหลักๆ คือ การจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trustmark) และการจัดตั้งศูนย์จัดการข้อร้องเรียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รายละเอียดในแต่ละเรื่องมีการดำเนินการอย่างไร
ในเรื่องการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในไทย และมีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP-Internet Service Provider) เป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) และเป็นผู้ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (e-marketplace) จะต้องจดทะเบียนกับกรมฯ เพื่อให้สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ประกอบการ
สำหรับการให้เครื่องหมาย Trustmark เป็นเครื่องหมายที่กรมฯ ทำขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคของไทยให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยผู้ที่จะได้รับเครื่องหมายTrustmark จะต้องมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด 8 ข้อ คือ ความโปร่งใสของผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลของสินค้าและบริการที่ชัดเจนและเพียงพอ การยืนยันการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าและบริการ ระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรม การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ช่องทางในการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งหากผ่านเงื่อนไขข้างต้น กรมฯ จะมอบเครื่องหมายรับรองที่มีสัญลักษณ์คำว่า Verified ให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงบนเว็บไซต์ของตนหรือทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ได้
ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอเครื่องหมาย Trusmarkได้ จะต้องประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผ่านการจดทะเบียนจากกรมฯ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนและเป็นนิติบุคคล และต้องเป็นเจ้าของโดเมนเนมนั้น
ส่วนการจัดตั้งศูนย์จัดการข้อร้องเรียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Complaint Handling Center) นั้นเพื่อเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการซื้อขายสินค้าที่บริการทางอินเทอร์เน็ตและคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา แนะนำข้อมูลความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะขณะนี้มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย และก็มีผู้เสียหายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือร้านค้าโดนฉ้อโกง โดยไม่รู้ว่าจะไปแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานใด กรมฯ จึงจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อจะเป็นศูนย์กลางรับเรื่องต่างๆ ให้ก่อนที่จะประสานกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานยุติธรรม สมาคมธนาคารไทย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
ถามเรื่องแผนการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการ
ขณะนี้กรมฯ ได้ทำโปรแกรม e-Shop ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับสร้างร้านค้าออนไลน์ โดยโปรแกรม e-Shop นี้ จะมี Template ของหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก 57 แบบ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Window Unix และ Linux มีระบบตระกร้าสินค้า มีระบบคำนวนราคาอัตโนมัติ มีระบบบริการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และมีระบบ Payment Online และผู้ที่ต้องการจะใช้ จะต้องจดโดเมนเนม และเช่าพื้นที่ในการทำเว็บไซต์กับผู้ให้บริการจดโดเมนเนมและเว็บโฮลติ้งก่อน
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำเว็บไซต์ www.dbdmart.com สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทำ e-Commerce โดยระบบจะมี Template ของหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก 12 แบบ สามารถสร้าง Product Catalog ได้แบบไม่จำกัดจำนวนสินค้า มีระบบ Matching เมื่อผู้ซื้อ-ผู้ขายได้ลงประกาศซื้อ-ขายไว้บนกระดานซื้อ-ขาย เมื่อมีความต้องการสินค้าใดตรงกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายสินค้านั้น ระบบจะทำการจับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย และแจ้งเตือนไปยังอีเมล์ของผู้ซื้อและผู้ขายทันที มีระบบ Directory ร้านค้าและสินค้า สามารถเชื่อมข้อมูลไปยังฐานข้อมูลการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ได้ข่าวว่ามีโครงการที่จะช่วยธุรกิจ SMEs รูปแบบโครงการเป็นอย่างไร
กรมฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจัดตั้ง e-Commerce Clinic for SMEs โดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจะเป็นผู้สนับสนุนนักศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการให้คำปรึกษา แนะนำและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ e-Commerce แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจากกรมฯ โดยได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีบริการสร้างและบริหารจัดการเว็บไชต์สำหรับผู้ที่ยังไม่มีเว็บไซต์
บริการถ่ายภาพ ตัดแต่งภาพสินค้า และ upload ภาพสินค้าขึ้นบนเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บไซต์ที่มีอยู่ การแนะนำเกี่ยวกับระบบชำระเงิน การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และการแปลข้อมูลภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 02547-5961 หรือ 02547-5050 ต่อ 3192 หรืออีเมล์ e-commerce@dbd.go.th
ขอทราบแผนการสร้างความน่าเชื่อให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ
ก่อนอื่นขอบอกว่ากรมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเห็นว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในไทย ถ้าผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือหรือผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ธุรกรรมการค้าใหม่ๆ จากทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งแผนที่จะสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นนั้น กรมฯ จะดำเนินการใน 3 ด้านหลักๆ คือ การจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trustmark) และการจัดตั้งศูนย์จัดการข้อร้องเรียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รายละเอียดในแต่ละเรื่องมีการดำเนินการอย่างไร
ในเรื่องการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในไทย และมีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP-Internet Service Provider) เป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) และเป็นผู้ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (e-marketplace) จะต้องจดทะเบียนกับกรมฯ เพื่อให้สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ประกอบการ
สำหรับการให้เครื่องหมาย Trustmark เป็นเครื่องหมายที่กรมฯ ทำขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคของไทยให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยผู้ที่จะได้รับเครื่องหมายTrustmark จะต้องมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด 8 ข้อ คือ ความโปร่งใสของผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลของสินค้าและบริการที่ชัดเจนและเพียงพอ การยืนยันการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าและบริการ ระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรม การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ช่องทางในการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งหากผ่านเงื่อนไขข้างต้น กรมฯ จะมอบเครื่องหมายรับรองที่มีสัญลักษณ์คำว่า Verified ให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงบนเว็บไซต์ของตนหรือทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ได้
ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอเครื่องหมาย Trusmarkได้ จะต้องประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผ่านการจดทะเบียนจากกรมฯ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนและเป็นนิติบุคคล และต้องเป็นเจ้าของโดเมนเนมนั้น
ส่วนการจัดตั้งศูนย์จัดการข้อร้องเรียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Complaint Handling Center) นั้นเพื่อเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการซื้อขายสินค้าที่บริการทางอินเทอร์เน็ตและคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา แนะนำข้อมูลความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะขณะนี้มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย และก็มีผู้เสียหายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือร้านค้าโดนฉ้อโกง โดยไม่รู้ว่าจะไปแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานใด กรมฯ จึงจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อจะเป็นศูนย์กลางรับเรื่องต่างๆ ให้ก่อนที่จะประสานกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานยุติธรรม สมาคมธนาคารไทย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
ถามเรื่องแผนการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการ
ขณะนี้กรมฯ ได้ทำโปรแกรม e-Shop ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับสร้างร้านค้าออนไลน์ โดยโปรแกรม e-Shop นี้ จะมี Template ของหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก 57 แบบ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Window Unix และ Linux มีระบบตระกร้าสินค้า มีระบบคำนวนราคาอัตโนมัติ มีระบบบริการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และมีระบบ Payment Online และผู้ที่ต้องการจะใช้ จะต้องจดโดเมนเนม และเช่าพื้นที่ในการทำเว็บไซต์กับผู้ให้บริการจดโดเมนเนมและเว็บโฮลติ้งก่อน
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำเว็บไซต์ www.dbdmart.com สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทำ e-Commerce โดยระบบจะมี Template ของหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก 12 แบบ สามารถสร้าง Product Catalog ได้แบบไม่จำกัดจำนวนสินค้า มีระบบ Matching เมื่อผู้ซื้อ-ผู้ขายได้ลงประกาศซื้อ-ขายไว้บนกระดานซื้อ-ขาย เมื่อมีความต้องการสินค้าใดตรงกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายสินค้านั้น ระบบจะทำการจับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย และแจ้งเตือนไปยังอีเมล์ของผู้ซื้อและผู้ขายทันที มีระบบ Directory ร้านค้าและสินค้า สามารถเชื่อมข้อมูลไปยังฐานข้อมูลการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ได้ข่าวว่ามีโครงการที่จะช่วยธุรกิจ SMEs รูปแบบโครงการเป็นอย่างไร
กรมฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจัดตั้ง e-Commerce Clinic for SMEs โดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจะเป็นผู้สนับสนุนนักศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการให้คำปรึกษา แนะนำและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ e-Commerce แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจากกรมฯ โดยได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีบริการสร้างและบริหารจัดการเว็บไชต์สำหรับผู้ที่ยังไม่มีเว็บไซต์
บริการถ่ายภาพ ตัดแต่งภาพสินค้า และ upload ภาพสินค้าขึ้นบนเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บไซต์ที่มีอยู่ การแนะนำเกี่ยวกับระบบชำระเงิน การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และการแปลข้อมูลภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 02547-5961 หรือ 02547-5050 ต่อ 3192 หรืออีเมล์ e-commerce@dbd.go.th