ผู้จัดการรายวัน - กกต.ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมการเลือกตั้ง ส.ว. ขณะที่ ผู้ซึ่งอ้างเป็นตัวแทนชมรมนักกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ร้อง กกต.มี ผู้สมัคร ส.ว.10 คนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดทำผิด กม.เลือกตั้ง แต่ กกต.ไล่ให้กลับไปถอดเทป ข้อกล่าวหาแล้วมาร้องเรียนใหม่ ด้าน พีเน็ต แนะหลัก “4ต้อง” เลือก ส.ว. ขณะเดียวกันเฉ่ง กกต.ไม่สนใจตรวจสอบทุจริตทั้งที่มีกำลังนับแสน เหน็บถ้าจับโกงไม่ได้อย่ามีเลยดีกว่า ี่ “ชวน” บอกเลือก ส.ว. ต้องดูบทเรียน จากชุดแรก หากเลือกพวกขายตัวบ้านเมืองจะเสียหาย ทรท.แบ่ง 2 ฝ่ายยุบ-ไม่ยุบ ส.ว.ทิ้งในการปฏิรูปการเมือง
วานนี้ ( 18 เม.ย.) พ.ต.อ.ประเสริฐ สุทธิสนธิ์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงาน กกต. ได้เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เลือกตั้ง ส.ว.ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (19 เม.ย.) ที่สำนักงานเขตพญาไท โดยมีเจ้าหน้าที่มาจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จะมอบให้เจ้าพนักงานประจำเขตเลือกตั้ง 26 รายการ อาทิ หีบบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง คูหาลงคะแนน 3-5 คูหา ตรายาง ปากกา บัตรทาบสำหรับผู้พิการทางสายตา เทียนไข ถุงพลาสติกใส่ของและเตรียมไว้สำหรับกรณีฝนตก ป้ายชื่อตำแหน่งและกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และตระกร้าใส่บัตรดี บัตรเสีย เป็นต้น
นายประมุข เจริญพร ผู้อำนวยการเขตพญาไท กล่าวว่าขณะนี้ทางเขตพญาไท พร้อมแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ว. โดยในวันเลือกตั้งได้นัดให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมารับหีบบัตรและอุปกรณ์ต่างๆ ในเวลา 05.00 น. ซึ่งทางเขตจะเก็บหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมอุปกรณ์ไว้ที่สำนักงานเขต โดยมีการจัดเวรให้เจ้าหน้าที่ เทศกิจดูแล
พีเน็ตแนะหลัก“4ต้อง”เลือกส.ว.
พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานพีเน็ต กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ ในอำนาจการทำหน้าที่ของส.ว. ซึ่งยังเข้าใจว่าทำงานคล้ายๆกับ ส.ส. ทั้งที่หน้าที่ในการทำให้ประชาชนเข้าใจเป็นหน้าที่ของ กกต. แต่กกต.กลับทำไม่ได้ ซึ่งถ้า กกต.รู้ว่าทำเพียงหน่วยงานเดียวไม่ได้ ก็ขอให้องค์กรเอกชนเข้าไปช่วย เพื่อประชาชนจะได้เข้าใจมากขึ้น
พล.อ.สายหยุด ยังได้นะนำถึงวิธีเลือกส.ว. ด้วยหลัก 4 ต้องคือ 1.ต้องไม่เป็นเครือญาตินักการเมือง 2.ต้องไม่มีประวัติด่างพร้อย 3.ต้องกล้าหาญตรวจสอบ 4.ต้องมีวุฒิภาวะ
“คราวนี้ช่องไม่มีโนโหวตให้กา ต้องเลือกให้ดีที่สุด ถ้าเลือกคนดีไม่เลย ก็ให้เลือกคนที่มีความซื่อสัตย์ที่สุด และเมื่อเลือกแล้วก็อย่าไปบอกใครเพราะเป็นการป้องกันตัวเองและคนที่ได้คะแนนจะได้ไม่รู้ว่ามาจากเรา”
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย หรือ พีเน็ต กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งนี้ถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่าง มาก ขอให้ประชาชนต้องช่วยกันเลือกส.ว.ที่มีคุณภาพ มีความอิสระ เป็นกลาง ปราศจากพรรคการเมือง เข้ามาเป็นทำหน้าที่วุฒิสภาอันทรงเกียรติ ซึ่งหลังจากได้ ส.ว.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ พีเน็ตจะยื่นเรื่องถอดถอน กกต.ทั้ง 4 คนให้ทางวุฒิสภา ดำเนินการ
เฉ่งกกต.ไม่สนใจสอบทุจริตเลือกส.ว.
นายสกุล สื่อทรงธรรม คณะกรรมการพีเน็ต กล่าวว่าได้รับรายงานการทุจริต เลือกตั้ง ส.ว.มาเป็นระยะๆ เช่นที่ จ.พิษณุโลก มีการกลั่นงแกล้งผู้สมัครมีการนำบัตรแนะนำตัวผู้สมัคร แนบเงินไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่กกต.กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบแต่อย่างใด ซึ่ง กกต.ได้จัดกำลังกว่าแสนนายในการดูแล ก็ยังไม่มีผลการจับกุมอะไรขึ้นมา และในวันนี้(19เม.ย.) เวลา 13.30 น. และ16.00 น. พีเน็ตจะแถลงข่าวถึงความเคลื่อนไหวการเลือกตั้ง ส.ว.ที่บ้านมนังคสิลา
“กำลังตำรวจตั้งหลายแสนคน ถ้ามีเรื่องทุจริตแล้วจับไม่ได้ ผมว่าอย่ามีเลย ดีกว่า มีแล้วก็จับไม่ได้ เปลืองงบประมาณ”
นายวรินทร์ เทียมจรัส กรรมการและเลขานุการ พีเน็ต กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ว.ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 13-14 เม.ย. ที่ผ่านมา พีเน็ตได้รับเรื่องร้องเรียนที่ส่อไปสู่การ ทุจริต โดยพบว่าภายหลังจากปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งไม่ได้มีการนำผลการนับคะแนน( ส.ว.35) ที่ระบุคะแนนของหน่วยและยอดผู้มาใช้สิทธิ์ มาปิดบริเวณด้านหน้าหน่วยเลือกตั้งทันที และปล่อยข้ามไปอีกวัน ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางในการทำลายใบส.ว.35 ตัวจริง และสร้างใบส.ว.35ใหม่ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนแปลงผลคะแนนเลือกตั้งได้ เนื่องจากงว่าใบ ส.ว.35 จะมีตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ์ที่แน่นอนระบุอย่างครบถ้วนก่อนที่จะมีการนับคะแนนจริง จึงอยากเรียกร้องให้ กกต.ติดใบ ส.ว.35 หลังปิดหีบทันทีในทุกหน่วยเลือกตั้ง
ร้องกกต.10ผู้สมัครส.ว. ทำผิดกม.
วันเดียวกันที่สำนักงานกกต. นายคารม พลทะกลาง และ นายสุวิทย์ ทองนวล อ้างว่าเป็นตัวแทนชมรมนักกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เดินทางมาร้องเรียนต่อ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. กรณี ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากระทำผิดรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และส.ว. พ.ศ.2541 โดยได้นำหลักฐานเทปบันทึกคำปราศรัย ของผู้สมัครส.ว.บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้ง 10 คนที่ถูกกล่าวหา แบ่งเป็นผู้สมัครใน กทม.7คน และผู้สมัครต่างจังหวัดอีก 3 คน คือ จ.มหาสารคาม จ.อุดรธานี และจ.กระบี่
อย่างไรก็ตามผู้สมัครสว.ทั้ง 10 คน ที่ถูกระบุถึงไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพราะจะถือว่าเป็นการให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่ง แต่เป็นบุคคลที่คนในสังคมรู้จักเป็นอย่างดี
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า หลักฐานที่นายคารมและนายสุวิทย์นำมาร้องเรียนต่อ กกต. ประกอบด้วย เทปบันทึกกราปราศรัยเป็นวีดีโอ 2 ม้วนและวีซีดีอีก 3 แผ่น แต่เนื่องจากหลักฐานดังกล่าวยังไม่ได้ถอดเทปออกมาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สอบสวน กกต.จึงให้นำไปถอดเทปและนำมายื่นต่อกกต.อีกครั้ง
“ชวน”แนะดูให้ดีอย่าเลือกพวกขายตัว
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเลือก ส.ว.ในวันนี้ (19 เม.ย.)ว่า หากประชาชนเข้าใจบทบาทของ ส.ว.จะเห็นว่า มีความหมายในการเลือกคนที่เป็นอิสระมาทำหน้าที่ ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงการเลือก ส.ว.ชุดแรก เมื่อตอนเริ่มต้นมีคนสนใจไปสมัครไม่มากนัก ฉะนั้นคนที่ได้มาอาจจะมีคุณสมบัติที่วิพากษ์วิจารณ์กันได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าบทบาทของส.ว. ชุดที่แล้วในช่วง 2 ปีแรกไม่ได้มีปัญหา โดยมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น และลงมติ ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะขณะนั้นไม่ได้มีการแทรกแซง และไม่มีพรรคการเมืองเข้าไปยุ่ง แต่บทบาทของ ส.ว.ชุดที่ผ่านมาเริ่มมีปัญหาเมื่อตอนที่พรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล เริ่มมีการกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียงของ ส.ว.และในที่สุดส.ว.บางคนก็ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ทำตามโพย หรือใบสั่ง ทำให้ส.ว.ดีๆ พลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย
ดังนั้นประชาชนจะต้องติดตามเรื่องนี้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก เพราะทำให้หลักการของบ้านเมืองพังได้
“ประชาชนจะต้องตามเรื่องนี้ว่าความเสียหายรุนแรงมาก เมื่อส.ว.ส่วนหนึ่ง ขายตัว และเลือกองค์กรอิสระตามที่เขาสั่งมา จะได้คนที่ไม่มีความเหมาะสม คนเหล่านี้ ก็เข้าไปปกป้องคนที่ทำให้เขาได้เป็น ตรงนี้ที่ประชาชนไม่เข้าใจ มองไม่เห็น มองไม่ถึง จุดนี้ ซึ่งเสียหาต่อหลักการของบ้านเมืองอย่างยิ่ง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พี่น้องมีเวลาสั้น ๆ ขอให้คิดเรื่องนี้ด้วย เลือกใครก็เป็นสิทธิของประชาชน แต่ประสบการณ์ 6 ปีที่เราเห็นมันอย่างนี้”
ทรท.เสนอยุบทิ้งส.ว.เลือกตั้ง
นายลิขิต ธีรเวคิน ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทยและอดีตนักวิชาการรัฐศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่19เม.ย.และมีการเสนอ ว่าควรยุบ ส.ว.ทิ้งไปหลังการปฏิรูปการเมืองว่า การเลือกตั้งส.ว.ครั้งนี้มันไม่ง่าย เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องฟังเสียงประชาชนที่ค้ำอยู่ ฉะนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปใดๆ
ส่วนข้อเสนอหลังการปฏิรูปการเมืองให้ยุบการเลือกตั้งส.ว.นั้น ตนเคยเสนอ มาตั้งแต่ต้นในช่วงที่เป็น สสร.แล้วว่าไม่ควรมีการเลือกตั้งส.ว.เนื่องจากควรมี ส.ว. แบบผสมคือแต่งตั้งและเลือกตั้ง และโดยหลักการนั้นหากมีการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้น ควรต้องยุบองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทิ้งทั้งหมดเพราะถือว่าประเทศไทย มีการปฏิรูปแล้วองค์กรต่างๆ ก็ควรหมดไปเพื่อเปิดทางให้องค์กรใหม่เกิดขึ้นมา ทำหน้าที่แทน นอกเสียจากมีบทเฉพาะกาลว่าไม่ต้องยุบองค์กรเหล่านั้น
ส่วนการที่ญาติพี่น้องของนักการเมืองลงสมัครส.ว.ครั้งนี้มากมายที่อาจทำ ให้ ส.ว.ชุดหน้าขาดความเป็นกลางในการทำหน้าที่นั้น นายลิขิตกล่าวว่า การสมัคร ส.ว.นั้นกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามหาเสียง ทำให้ผู้สมัคร ส.ว.ต้องอาศัยฐานเสียง พรรคการเมือง ส่วนที่พูดกันว่าระบบญาติพี่น้องของนักการเมืองไปลงสมัครนั้น ของแบบนี้มันห้ามกันไม่ได้ เพราะทุกคนต้องอาศัยประโยชน์ที่จะทำได้ทั้งนั้น
ขณะที่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ยุบ ส.ว.เพราะ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องยุบเพราะ ส.ว.มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และแต่งตั้งและถอดถอนองค์กรอิสระเท่านั้น ส่วนงานด้านๆ อื่นที่เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลและรัฐสภามันเป็นหน้าที่ของส.ส.
นายวิชิต ปฏิเสธว่าพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลยว่าอยู่เบื้อหลังผู้สมัครส.ว. บางคนหรือที่เรียกกันว่าสภาผัวเมีย ยืนยันพรรคไม่เคยสนับสนุนผู้สมัครคนใดทั้งนั้นเพราะการเลือกตั้งส.ว.เป็นหน้าที่ของประชาชน แม้ผู้สมัครส.ว.บางคนนามสกุล เหมือนกับส.ส.แต่บางครั้งนามสกุลเหมือนกันก็ยังอยู่คนละพรรคเลย เช่น นายอภิสิทธิ์และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เรื่องแบบนี้มันแล้วแต่ดุลพินิจประชาชนว่าผู้สมัครส.ว.คนนั้นมีความสามารถ มีคุณสมบัติ มีความเป็นกลางและน่าไว้วางใจหรือไม่
วานนี้ ( 18 เม.ย.) พ.ต.อ.ประเสริฐ สุทธิสนธิ์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงาน กกต. ได้เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เลือกตั้ง ส.ว.ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (19 เม.ย.) ที่สำนักงานเขตพญาไท โดยมีเจ้าหน้าที่มาจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จะมอบให้เจ้าพนักงานประจำเขตเลือกตั้ง 26 รายการ อาทิ หีบบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง คูหาลงคะแนน 3-5 คูหา ตรายาง ปากกา บัตรทาบสำหรับผู้พิการทางสายตา เทียนไข ถุงพลาสติกใส่ของและเตรียมไว้สำหรับกรณีฝนตก ป้ายชื่อตำแหน่งและกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และตระกร้าใส่บัตรดี บัตรเสีย เป็นต้น
นายประมุข เจริญพร ผู้อำนวยการเขตพญาไท กล่าวว่าขณะนี้ทางเขตพญาไท พร้อมแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ว. โดยในวันเลือกตั้งได้นัดให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมารับหีบบัตรและอุปกรณ์ต่างๆ ในเวลา 05.00 น. ซึ่งทางเขตจะเก็บหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมอุปกรณ์ไว้ที่สำนักงานเขต โดยมีการจัดเวรให้เจ้าหน้าที่ เทศกิจดูแล
พีเน็ตแนะหลัก“4ต้อง”เลือกส.ว.
พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานพีเน็ต กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ ในอำนาจการทำหน้าที่ของส.ว. ซึ่งยังเข้าใจว่าทำงานคล้ายๆกับ ส.ส. ทั้งที่หน้าที่ในการทำให้ประชาชนเข้าใจเป็นหน้าที่ของ กกต. แต่กกต.กลับทำไม่ได้ ซึ่งถ้า กกต.รู้ว่าทำเพียงหน่วยงานเดียวไม่ได้ ก็ขอให้องค์กรเอกชนเข้าไปช่วย เพื่อประชาชนจะได้เข้าใจมากขึ้น
พล.อ.สายหยุด ยังได้นะนำถึงวิธีเลือกส.ว. ด้วยหลัก 4 ต้องคือ 1.ต้องไม่เป็นเครือญาตินักการเมือง 2.ต้องไม่มีประวัติด่างพร้อย 3.ต้องกล้าหาญตรวจสอบ 4.ต้องมีวุฒิภาวะ
“คราวนี้ช่องไม่มีโนโหวตให้กา ต้องเลือกให้ดีที่สุด ถ้าเลือกคนดีไม่เลย ก็ให้เลือกคนที่มีความซื่อสัตย์ที่สุด และเมื่อเลือกแล้วก็อย่าไปบอกใครเพราะเป็นการป้องกันตัวเองและคนที่ได้คะแนนจะได้ไม่รู้ว่ามาจากเรา”
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย หรือ พีเน็ต กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งนี้ถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่าง มาก ขอให้ประชาชนต้องช่วยกันเลือกส.ว.ที่มีคุณภาพ มีความอิสระ เป็นกลาง ปราศจากพรรคการเมือง เข้ามาเป็นทำหน้าที่วุฒิสภาอันทรงเกียรติ ซึ่งหลังจากได้ ส.ว.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ พีเน็ตจะยื่นเรื่องถอดถอน กกต.ทั้ง 4 คนให้ทางวุฒิสภา ดำเนินการ
เฉ่งกกต.ไม่สนใจสอบทุจริตเลือกส.ว.
นายสกุล สื่อทรงธรรม คณะกรรมการพีเน็ต กล่าวว่าได้รับรายงานการทุจริต เลือกตั้ง ส.ว.มาเป็นระยะๆ เช่นที่ จ.พิษณุโลก มีการกลั่นงแกล้งผู้สมัครมีการนำบัตรแนะนำตัวผู้สมัคร แนบเงินไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่กกต.กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบแต่อย่างใด ซึ่ง กกต.ได้จัดกำลังกว่าแสนนายในการดูแล ก็ยังไม่มีผลการจับกุมอะไรขึ้นมา และในวันนี้(19เม.ย.) เวลา 13.30 น. และ16.00 น. พีเน็ตจะแถลงข่าวถึงความเคลื่อนไหวการเลือกตั้ง ส.ว.ที่บ้านมนังคสิลา
“กำลังตำรวจตั้งหลายแสนคน ถ้ามีเรื่องทุจริตแล้วจับไม่ได้ ผมว่าอย่ามีเลย ดีกว่า มีแล้วก็จับไม่ได้ เปลืองงบประมาณ”
นายวรินทร์ เทียมจรัส กรรมการและเลขานุการ พีเน็ต กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ว.ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 13-14 เม.ย. ที่ผ่านมา พีเน็ตได้รับเรื่องร้องเรียนที่ส่อไปสู่การ ทุจริต โดยพบว่าภายหลังจากปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งไม่ได้มีการนำผลการนับคะแนน( ส.ว.35) ที่ระบุคะแนนของหน่วยและยอดผู้มาใช้สิทธิ์ มาปิดบริเวณด้านหน้าหน่วยเลือกตั้งทันที และปล่อยข้ามไปอีกวัน ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางในการทำลายใบส.ว.35 ตัวจริง และสร้างใบส.ว.35ใหม่ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนแปลงผลคะแนนเลือกตั้งได้ เนื่องจากงว่าใบ ส.ว.35 จะมีตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ์ที่แน่นอนระบุอย่างครบถ้วนก่อนที่จะมีการนับคะแนนจริง จึงอยากเรียกร้องให้ กกต.ติดใบ ส.ว.35 หลังปิดหีบทันทีในทุกหน่วยเลือกตั้ง
ร้องกกต.10ผู้สมัครส.ว. ทำผิดกม.
วันเดียวกันที่สำนักงานกกต. นายคารม พลทะกลาง และ นายสุวิทย์ ทองนวล อ้างว่าเป็นตัวแทนชมรมนักกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เดินทางมาร้องเรียนต่อ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. กรณี ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากระทำผิดรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และส.ว. พ.ศ.2541 โดยได้นำหลักฐานเทปบันทึกคำปราศรัย ของผู้สมัครส.ว.บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้ง 10 คนที่ถูกกล่าวหา แบ่งเป็นผู้สมัครใน กทม.7คน และผู้สมัครต่างจังหวัดอีก 3 คน คือ จ.มหาสารคาม จ.อุดรธานี และจ.กระบี่
อย่างไรก็ตามผู้สมัครสว.ทั้ง 10 คน ที่ถูกระบุถึงไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพราะจะถือว่าเป็นการให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่ง แต่เป็นบุคคลที่คนในสังคมรู้จักเป็นอย่างดี
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า หลักฐานที่นายคารมและนายสุวิทย์นำมาร้องเรียนต่อ กกต. ประกอบด้วย เทปบันทึกกราปราศรัยเป็นวีดีโอ 2 ม้วนและวีซีดีอีก 3 แผ่น แต่เนื่องจากหลักฐานดังกล่าวยังไม่ได้ถอดเทปออกมาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สอบสวน กกต.จึงให้นำไปถอดเทปและนำมายื่นต่อกกต.อีกครั้ง
“ชวน”แนะดูให้ดีอย่าเลือกพวกขายตัว
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเลือก ส.ว.ในวันนี้ (19 เม.ย.)ว่า หากประชาชนเข้าใจบทบาทของ ส.ว.จะเห็นว่า มีความหมายในการเลือกคนที่เป็นอิสระมาทำหน้าที่ ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงการเลือก ส.ว.ชุดแรก เมื่อตอนเริ่มต้นมีคนสนใจไปสมัครไม่มากนัก ฉะนั้นคนที่ได้มาอาจจะมีคุณสมบัติที่วิพากษ์วิจารณ์กันได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าบทบาทของส.ว. ชุดที่แล้วในช่วง 2 ปีแรกไม่ได้มีปัญหา โดยมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น และลงมติ ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะขณะนั้นไม่ได้มีการแทรกแซง และไม่มีพรรคการเมืองเข้าไปยุ่ง แต่บทบาทของ ส.ว.ชุดที่ผ่านมาเริ่มมีปัญหาเมื่อตอนที่พรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล เริ่มมีการกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียงของ ส.ว.และในที่สุดส.ว.บางคนก็ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ทำตามโพย หรือใบสั่ง ทำให้ส.ว.ดีๆ พลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย
ดังนั้นประชาชนจะต้องติดตามเรื่องนี้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก เพราะทำให้หลักการของบ้านเมืองพังได้
“ประชาชนจะต้องตามเรื่องนี้ว่าความเสียหายรุนแรงมาก เมื่อส.ว.ส่วนหนึ่ง ขายตัว และเลือกองค์กรอิสระตามที่เขาสั่งมา จะได้คนที่ไม่มีความเหมาะสม คนเหล่านี้ ก็เข้าไปปกป้องคนที่ทำให้เขาได้เป็น ตรงนี้ที่ประชาชนไม่เข้าใจ มองไม่เห็น มองไม่ถึง จุดนี้ ซึ่งเสียหาต่อหลักการของบ้านเมืองอย่างยิ่ง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พี่น้องมีเวลาสั้น ๆ ขอให้คิดเรื่องนี้ด้วย เลือกใครก็เป็นสิทธิของประชาชน แต่ประสบการณ์ 6 ปีที่เราเห็นมันอย่างนี้”
ทรท.เสนอยุบทิ้งส.ว.เลือกตั้ง
นายลิขิต ธีรเวคิน ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทยและอดีตนักวิชาการรัฐศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่19เม.ย.และมีการเสนอ ว่าควรยุบ ส.ว.ทิ้งไปหลังการปฏิรูปการเมืองว่า การเลือกตั้งส.ว.ครั้งนี้มันไม่ง่าย เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องฟังเสียงประชาชนที่ค้ำอยู่ ฉะนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปใดๆ
ส่วนข้อเสนอหลังการปฏิรูปการเมืองให้ยุบการเลือกตั้งส.ว.นั้น ตนเคยเสนอ มาตั้งแต่ต้นในช่วงที่เป็น สสร.แล้วว่าไม่ควรมีการเลือกตั้งส.ว.เนื่องจากควรมี ส.ว. แบบผสมคือแต่งตั้งและเลือกตั้ง และโดยหลักการนั้นหากมีการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้น ควรต้องยุบองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทิ้งทั้งหมดเพราะถือว่าประเทศไทย มีการปฏิรูปแล้วองค์กรต่างๆ ก็ควรหมดไปเพื่อเปิดทางให้องค์กรใหม่เกิดขึ้นมา ทำหน้าที่แทน นอกเสียจากมีบทเฉพาะกาลว่าไม่ต้องยุบองค์กรเหล่านั้น
ส่วนการที่ญาติพี่น้องของนักการเมืองลงสมัครส.ว.ครั้งนี้มากมายที่อาจทำ ให้ ส.ว.ชุดหน้าขาดความเป็นกลางในการทำหน้าที่นั้น นายลิขิตกล่าวว่า การสมัคร ส.ว.นั้นกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามหาเสียง ทำให้ผู้สมัคร ส.ว.ต้องอาศัยฐานเสียง พรรคการเมือง ส่วนที่พูดกันว่าระบบญาติพี่น้องของนักการเมืองไปลงสมัครนั้น ของแบบนี้มันห้ามกันไม่ได้ เพราะทุกคนต้องอาศัยประโยชน์ที่จะทำได้ทั้งนั้น
ขณะที่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ยุบ ส.ว.เพราะ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องยุบเพราะ ส.ว.มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และแต่งตั้งและถอดถอนองค์กรอิสระเท่านั้น ส่วนงานด้านๆ อื่นที่เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลและรัฐสภามันเป็นหน้าที่ของส.ส.
นายวิชิต ปฏิเสธว่าพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลยว่าอยู่เบื้อหลังผู้สมัครส.ว. บางคนหรือที่เรียกกันว่าสภาผัวเมีย ยืนยันพรรคไม่เคยสนับสนุนผู้สมัครคนใดทั้งนั้นเพราะการเลือกตั้งส.ว.เป็นหน้าที่ของประชาชน แม้ผู้สมัครส.ว.บางคนนามสกุล เหมือนกับส.ส.แต่บางครั้งนามสกุลเหมือนกันก็ยังอยู่คนละพรรคเลย เช่น นายอภิสิทธิ์และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เรื่องแบบนี้มันแล้วแต่ดุลพินิจประชาชนว่าผู้สมัครส.ว.คนนั้นมีความสามารถ มีคุณสมบัติ มีความเป็นกลางและน่าไว้วางใจหรือไม่