เวทีเจรจา 3 ฝ่าย ที่พีเน็ตเป็นตัวกลางล้มไม่เป็นท่า หลังรัฐบาลไม่เข้าร่วม พินิจ”ประกาศชัดจะร่วมเฉพาะเวที ทปอ. เท่านั้น ขณะที่ “สาทิตย์ - สุริยะใส” ยันพร้อมเจรจาในเวทีเปิดเท่านั้น พีเน็ตขีดเส้นตายรอฝ่ายรัฐบาล ถึง 11 โมงวันนี้ ส่วน ทปอ.ยันจุดยืนเดิมเปิดเจรจาแบบปิด ระบุหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่วางใจ ก็พร้อมวางมือให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน
วานนี้ (16 มี.ค.) มูลนิธิองค์กรกลางและเครือข่ายประชาชนตรวจสอบการเลือกตั้ง หรือพีเน็ต ได้นัดตัวแทนฝ่ายค้าน รัฐบาล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หารือร่วมกันในการกำหนดรูปแบบจัดเวทีประชันแนวคิด แต่ปรากฏว่า ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ได้ส่งตัวแทนมาเจรจาแต่อย่างใด
**พันธมิตรยันนายกฯไม่มาไม่แก้ปัญหา
นายสุริยะใส กตะศิลา ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า ผู้ที่เข้าร่วมหารือประกอบด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน พล.อ.สายหยุด เกิดผล นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้ประสานงานพีเน็ต นายสกุล สื่อทรงธรรม นายวรินทร์ เทียมจรัส และตนเอง
ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ เห็นความตั้งใจของพีเน็ตที่อาสาเป็นตัวกลางในการทำเรื่องนี้ แต่หากรัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มาร่วมในวันที่ 24 มี.ค. ประชาชนอาจสับสน ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ ได้มีการหารือกันชัดเจนว่า หากตัวปัญหา คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เข้าร่วมเจรจาก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า เป็นเจตนาที่รัฐบาลไม่มา เพราะที่ผ่านมาท่าทีของรัฐบาลชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วมในเวทีที่เป็นสาธารณะ
**พีเน็ตรอคำตอบรัฐบาลวันนี้
นายสมชัย กล่าวว่า ผู้ที่ประชุมทั้งฝ่ายค้านและพันธมิตรฯ ยินดีเข้าร่วมเวทีพีเน็ต แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าตกลงมาร่วมหรือไม่ ดังนั้น ทางพีเน็ตจะรอการติดต่อจากตัวแทนรัฐบาลในระดับสูงที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางโทรศัพท์ โดยขอบอกผ่านสื่อให้โทร.มาที่ตน หมายเลข 0-9666-9339 ซึ่งจะเปิดโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง จนถึง 11.00 น.วันนี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะติดต่อกลับมาหรือไม่ ทางพีเน็ตจะแถลงผลให้ทราบ พร้อมจะแสดงจุดยืนต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่านักการเมืองไทยเป็นคนอย่างไร
ทั้งนี้ ในระหว่างการรอ ก่อนที่ตัวแทนพันธมิตรฯเดินทางไปถึง พีเน็ตได้เตรียมหมวกไว้ 3 ใบคือ หมวกรัฐบาล หมวกฝ่ายค้าน และหมวกพันธมิตรฯ เพื่อสื่อความหมายว่าการเจรจาครั้งนี้ต้องถอดหมวกคุยกัน ไม่พูดถึงประโยชน์ของตัวเอง หากมีการเจรจากันต้องถอดหมวกก่อน
“ผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลคิดอย่างไร เพราะเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ได้ประสานไปยังนายพินิจ จารุสมบัติ (รมว.สาธารณสุข) ก่อนเวลา 13.00 น. ซึ่งได้รับคำตอบจากเลขานุการส่วนตัวของนายพินิจว่า นายพินิจกำลังเดินทางไปที่เวียงจันทน์ จะติดต่อกลับมา จากนั้นนายพินิจโทรศัพท์กลับมาเวลา 16.30 น.ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ไม่ชัดเจน แต่จับใจความได้ว่านายพินิจอยู่ที่เวียงจันทน์ ส่วนเรื่องการประสานงานของทางพีเน็ต นายพินิจบอกว่าไม่ทราบล่วงหน้า จึงขอให้ทำจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการ แต่ทางพีเน็ตเห็นว่าสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ไม่น่าจะต้องรอทำจดหมาย ทุกฝ่ายควรหันหน้าเข้าหากันเพื่อคลี่คลายปัญหา”
ส่วนการติดต่อไปยังกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประสานไปที่นายสุริยะใส และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการรอตัวแทนจากรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรฯ พล.อ.สายหยุด กล่าวว่า สิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวตรงกับที่พีเน็ตกำลังทำอยู่ คือเป็นคนกลางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์มาพูดคุยกัน หากรัฐบาลไม่ส่งคนมา คงต้องคุยกันแค่ 2 ฝ่าย เรื่องนี้ไม่อยากให้มองว่าเป็นการแพ้ ชนะ ควรหันหน้าเข้าหากันหาทางออกเพื่อประเทศ ซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน
**ฝ่ายค้านยันไม่รับเจรจาปิด ทปอ.
นายสาทิตย์กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านให้เป็นตัวแทนเจรจา ขณะนี้ไม่แน่ใจว่าการหารือจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ยืนยันว่า เวทีพบกัน 3 ฝ่ายต้องเป็นเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าฟังได้อย่างเปิดเผย ไม่ใช่ปิดห้องคุยกัน และบุคคลที่จะมาพูดคุยกัน อยากให้เป็นหัวหน้าแต่ละฝ่าย
ส่วนกรณีที่ผู้ใหญ่ออกมาเตือนให้แต่ละฝ่ายเจรจากันนั้น ยืนยันว่าฝ่ายค้านพร้อม และจุดยืนของฝ่ายค้านชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา เนื่องจากฝ่ายค้านได้เสนอผู้นำรัฐบาลว่าให้ลงสัตยาบันปฏิรูปการเมือง แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับปฏิเสธ
“การที่ผู้ใหญ่ออกมาพูดเช่นนี้ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเจรจาให้เกิดการแก้ไข และเป็นไปอย่างสงบ แต่ขณะนี้เหตุการณ์ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ขณะนี้ ตัวผู้มีอำนาจมีท่าทีแข็งกร้าว และวางเงื่อนไข เพราะผู้มีอำนาจไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา ดังนั้น เมื่อไม่ยอมรับแล้ว การแก้ไขสถานการณ์ใด ๆ คงไม่เกิดขึ้น” นายสาทิตย์ กล่าว
**รัฐบาลตั้งแท่นร่วมเวที ทปอ.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการส่งตัวแทนร่วมหารือกับพีเน็ตว่า รัฐบาลได้ประสานกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ไปไกลมากแล้ว และคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำงานซ้ำซ้อน เพราะ ทปอ.เสนอรูปแบบที่รัฐบาลเชื่อว่า เหมาะสมในการหาทางออกให้กับสังคม และคงได้ความชัดเจนภายใน 1-2 วันนี้
ทั้งนี้ ถ้าใช้รูปแบบของพีเน็ต สิ่งที่ควรทำให้ครบวงจร คือ ถ้าอยากให้ดีเบตเพื่อให้ประชาชนได้ฟัง น่าจะมีกลไกที่ทำให้ประชาชนมาตัดสินใจ และหากฝ่ายพันธมิตรฯ ยอมรับรูปแบบของพีเน็ต และคิดว่าอยากให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ก็น่าจะเป็นในลักษณะที่ว่าพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม และนำไปสู่การขอให้ประชาชนมาลงคะแนน ในวันที่ 2 เมษายน ถ้าหากประชาชนเลือกรัฐบาลจำนวนมาก พันธมิตรฯ ต้องเลิกการชุมนุมไปเลย แต่ถ้าหากประชาชนไม่เลือกรัฐบาล รัฐบาลก็ต้องออกไป
ด้านนายพินิจ จารุสมบัติ แถลงข่าวถึงกรณีที่ไม่ไปร่วมประชุม 3 ฝ่ายที่พีเน็ต ว่า ขอชื่นชมองค์กรทุกองค์กรที่มีความตั้งใจและเจตนาดีที่ต้องการแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งความเป็นมาที่พีเน็ตเชิญตนไปร่วมในวานนี้ (16 มี.ค.) เกิดจากเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ได้รับโทรศัพท์จาก พล.อ.สายหยุดและนายสมชัยว่า จะเชิญ 3 ฝ่ายหารือกัน และได้ตอบกลับไปว่า ถ้า ทปอ.แจ้งมาให้เข้าร่วม รัฐบาลก็ยินดี เพราะรัฐบาลได้ประสานงานกับ ทปอ.ก่อนแล้ว
“ผมได้ประสานกลับไปยังประธาน ทปอ. และได้รับแจ้งว่า ทปอ.เห็นด้วยในหลักการของพีเน็ต แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่จัดในวันนี้ (16 มี.ค.) ที่เป็นการหารือกันแบบเปิดเผย จึงได้แจ้งกลับไปยังนายสมชัย ว่า ไม่สามารถร่วมด้วยได้ เพราะ ทปอ.ไม่เห็นด้วย” นายพินิจ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการติดต่อไปทางพีเน็ตหรือไม่ นายพินิจ กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมที่จะเจรจากับทุกฝ่าย เพื่อแสดงความเห็นและหาทางออกของปัญหาต่าง ๆ แต่ที่ผ่านมาได้ทำงานประสานกับ ทปอ.ตั้งแต่ต้น ดังนั้น ต้องให้เกียรติ ทปอ.ว่าเห็นอย่างไร
**ทปอ.ยันเป็นกลาง
ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปรัชญา เวสารัชช์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้เปิดแถลงข่าว โดยกล่าวว่า ทปอ.ขอยืนยันเจตนาที่ต้องการทำงานเพื่อประโยชน์บ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมามีความกดดันสูง มีข่าวสร้างความไม่เข้าใจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา ทปอ.จึงขอเวลาในการทำงานเรื่องนี้ตามลำดับขั้น และวิธีการที่ทปอ.กำหนด ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่ทางออกได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้โอกาสนี้ในการช่วงชิงความได้เปรียบหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างกันเพิ่มขึ้นอีก จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเอื้อโอกาสให้ ทปอ.สามารถทำงานได้ในวิถีทางที่สร้างสรรค์ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการหันหน้าเข้าเจรจากัน
นายปรัชญา กล่าวอีกว่า ขณะนี้รู้สึกว่าทปอ.ไม่ใช่ผู้เจนจัดทางการเมือง และสถานการณ์การเมืองมีความอ่อนไหว เราพบว่าหากพูดอะไรออกไปก็มีบางคนนำไปตีความว่าเราอยู่ฝากใดฝากหนึ่ง จึงขอยืนยันว่าการเข้ามาเป็นตัวกลางในการนำไปสู่การเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนฯ ไม่ได้มีฝ่ายใดเข้ามาชี้นำ อธิการบดีอยากเห็นบ้านเมืองมีความสงบสุข อยากให้ทุกฝ่ายลดการหาประโยชน์แล้วร่วมมือหาทางออกให้สังคมไทย
“เราไม่มีบทบาทชี้นำสังคม และไม่มีใครสามารถชี้นำเราได้ ผมยืนยันความเป็นกลางเพราะที่ผ่านมามีการพูดผ่านสื่อ โดยพยายามผลักดันให้ที่ประชุมอธิการบดีไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อไปเราถูกกล่าวหามากจนไม่มีใครยอมรับได้ที่ประชุมอธิการบดีก็จะหมดบทบาทไป ทปอ.ยืนยันว่า หากผู้ร่วมเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ต้องการหรือยอมรับ ทปอ.ไม่ได้ ทปอ.ก็จะถอยตัวเองออกไป และเปิดทางให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทน”
ส่วนการดำเนินการของพีเน็ตในการจัดเจรจาผ่านเวทีสาธารณะนั้น นายปรัชชา กล่าวว่า ทปอ.คงไม่ได้เข้าไปร่วมกับพีเน็ต เพราะวิธีของพีเน็ตต่างจาก ทปอ. และตนยืนยันว่าต้องการให้มีการเจรจาอย่างเงียบๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ต้องรับผิดที่มีการให้ข่าวว่า ทปอ.จะเจรจากับพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคฝ่ายค้านขอเลื่อนการเจรจา และอาจรู้สึกไม่ไว้ใจ ทปอ.
อย่างไรก็ตาม การเจรจาแต่ละครั้งจะเป็นการเจรจาแบบไม่เป็นข่าว และหากจะต้องมีการเปิดเผยก็จะให้ผู้เจรจาตกลงร่วมกันว่าจะแถลงในประเด็นใด โดยการเจรจา 3 ฝ่าย จะมีการอัดเทปและนำพยายามมาร่วม หากมีการแถลงข่าวบิดเบือนอีกฝ่ายสามารถนำเทปมายืนยันได้
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การเจรจาจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. นายปรัชญา กล่าวว่า พยายามจะดำเนินการให้การเจรจาเกิดขึ้นเร็วที่สุด แต่การเจรจาจะใช้วิธีการคุยกันไปเรื่อยๆ เรื่องใดยุติได้ก็จะยุติ ส่วนเรื่องใดที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ก็จะหารือกันไปเรื่อยๆ
วานนี้ (16 มี.ค.) มูลนิธิองค์กรกลางและเครือข่ายประชาชนตรวจสอบการเลือกตั้ง หรือพีเน็ต ได้นัดตัวแทนฝ่ายค้าน รัฐบาล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หารือร่วมกันในการกำหนดรูปแบบจัดเวทีประชันแนวคิด แต่ปรากฏว่า ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ได้ส่งตัวแทนมาเจรจาแต่อย่างใด
**พันธมิตรยันนายกฯไม่มาไม่แก้ปัญหา
นายสุริยะใส กตะศิลา ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า ผู้ที่เข้าร่วมหารือประกอบด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน พล.อ.สายหยุด เกิดผล นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้ประสานงานพีเน็ต นายสกุล สื่อทรงธรรม นายวรินทร์ เทียมจรัส และตนเอง
ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ เห็นความตั้งใจของพีเน็ตที่อาสาเป็นตัวกลางในการทำเรื่องนี้ แต่หากรัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มาร่วมในวันที่ 24 มี.ค. ประชาชนอาจสับสน ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ ได้มีการหารือกันชัดเจนว่า หากตัวปัญหา คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เข้าร่วมเจรจาก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า เป็นเจตนาที่รัฐบาลไม่มา เพราะที่ผ่านมาท่าทีของรัฐบาลชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วมในเวทีที่เป็นสาธารณะ
**พีเน็ตรอคำตอบรัฐบาลวันนี้
นายสมชัย กล่าวว่า ผู้ที่ประชุมทั้งฝ่ายค้านและพันธมิตรฯ ยินดีเข้าร่วมเวทีพีเน็ต แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าตกลงมาร่วมหรือไม่ ดังนั้น ทางพีเน็ตจะรอการติดต่อจากตัวแทนรัฐบาลในระดับสูงที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางโทรศัพท์ โดยขอบอกผ่านสื่อให้โทร.มาที่ตน หมายเลข 0-9666-9339 ซึ่งจะเปิดโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง จนถึง 11.00 น.วันนี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะติดต่อกลับมาหรือไม่ ทางพีเน็ตจะแถลงผลให้ทราบ พร้อมจะแสดงจุดยืนต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่านักการเมืองไทยเป็นคนอย่างไร
ทั้งนี้ ในระหว่างการรอ ก่อนที่ตัวแทนพันธมิตรฯเดินทางไปถึง พีเน็ตได้เตรียมหมวกไว้ 3 ใบคือ หมวกรัฐบาล หมวกฝ่ายค้าน และหมวกพันธมิตรฯ เพื่อสื่อความหมายว่าการเจรจาครั้งนี้ต้องถอดหมวกคุยกัน ไม่พูดถึงประโยชน์ของตัวเอง หากมีการเจรจากันต้องถอดหมวกก่อน
“ผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลคิดอย่างไร เพราะเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ได้ประสานไปยังนายพินิจ จารุสมบัติ (รมว.สาธารณสุข) ก่อนเวลา 13.00 น. ซึ่งได้รับคำตอบจากเลขานุการส่วนตัวของนายพินิจว่า นายพินิจกำลังเดินทางไปที่เวียงจันทน์ จะติดต่อกลับมา จากนั้นนายพินิจโทรศัพท์กลับมาเวลา 16.30 น.ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ไม่ชัดเจน แต่จับใจความได้ว่านายพินิจอยู่ที่เวียงจันทน์ ส่วนเรื่องการประสานงานของทางพีเน็ต นายพินิจบอกว่าไม่ทราบล่วงหน้า จึงขอให้ทำจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการ แต่ทางพีเน็ตเห็นว่าสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ไม่น่าจะต้องรอทำจดหมาย ทุกฝ่ายควรหันหน้าเข้าหากันเพื่อคลี่คลายปัญหา”
ส่วนการติดต่อไปยังกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประสานไปที่นายสุริยะใส และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการรอตัวแทนจากรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรฯ พล.อ.สายหยุด กล่าวว่า สิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวตรงกับที่พีเน็ตกำลังทำอยู่ คือเป็นคนกลางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์มาพูดคุยกัน หากรัฐบาลไม่ส่งคนมา คงต้องคุยกันแค่ 2 ฝ่าย เรื่องนี้ไม่อยากให้มองว่าเป็นการแพ้ ชนะ ควรหันหน้าเข้าหากันหาทางออกเพื่อประเทศ ซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน
**ฝ่ายค้านยันไม่รับเจรจาปิด ทปอ.
นายสาทิตย์กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านให้เป็นตัวแทนเจรจา ขณะนี้ไม่แน่ใจว่าการหารือจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ยืนยันว่า เวทีพบกัน 3 ฝ่ายต้องเป็นเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าฟังได้อย่างเปิดเผย ไม่ใช่ปิดห้องคุยกัน และบุคคลที่จะมาพูดคุยกัน อยากให้เป็นหัวหน้าแต่ละฝ่าย
ส่วนกรณีที่ผู้ใหญ่ออกมาเตือนให้แต่ละฝ่ายเจรจากันนั้น ยืนยันว่าฝ่ายค้านพร้อม และจุดยืนของฝ่ายค้านชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา เนื่องจากฝ่ายค้านได้เสนอผู้นำรัฐบาลว่าให้ลงสัตยาบันปฏิรูปการเมือง แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับปฏิเสธ
“การที่ผู้ใหญ่ออกมาพูดเช่นนี้ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเจรจาให้เกิดการแก้ไข และเป็นไปอย่างสงบ แต่ขณะนี้เหตุการณ์ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ขณะนี้ ตัวผู้มีอำนาจมีท่าทีแข็งกร้าว และวางเงื่อนไข เพราะผู้มีอำนาจไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา ดังนั้น เมื่อไม่ยอมรับแล้ว การแก้ไขสถานการณ์ใด ๆ คงไม่เกิดขึ้น” นายสาทิตย์ กล่าว
**รัฐบาลตั้งแท่นร่วมเวที ทปอ.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการส่งตัวแทนร่วมหารือกับพีเน็ตว่า รัฐบาลได้ประสานกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ไปไกลมากแล้ว และคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำงานซ้ำซ้อน เพราะ ทปอ.เสนอรูปแบบที่รัฐบาลเชื่อว่า เหมาะสมในการหาทางออกให้กับสังคม และคงได้ความชัดเจนภายใน 1-2 วันนี้
ทั้งนี้ ถ้าใช้รูปแบบของพีเน็ต สิ่งที่ควรทำให้ครบวงจร คือ ถ้าอยากให้ดีเบตเพื่อให้ประชาชนได้ฟัง น่าจะมีกลไกที่ทำให้ประชาชนมาตัดสินใจ และหากฝ่ายพันธมิตรฯ ยอมรับรูปแบบของพีเน็ต และคิดว่าอยากให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ก็น่าจะเป็นในลักษณะที่ว่าพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม และนำไปสู่การขอให้ประชาชนมาลงคะแนน ในวันที่ 2 เมษายน ถ้าหากประชาชนเลือกรัฐบาลจำนวนมาก พันธมิตรฯ ต้องเลิกการชุมนุมไปเลย แต่ถ้าหากประชาชนไม่เลือกรัฐบาล รัฐบาลก็ต้องออกไป
ด้านนายพินิจ จารุสมบัติ แถลงข่าวถึงกรณีที่ไม่ไปร่วมประชุม 3 ฝ่ายที่พีเน็ต ว่า ขอชื่นชมองค์กรทุกองค์กรที่มีความตั้งใจและเจตนาดีที่ต้องการแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งความเป็นมาที่พีเน็ตเชิญตนไปร่วมในวานนี้ (16 มี.ค.) เกิดจากเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ได้รับโทรศัพท์จาก พล.อ.สายหยุดและนายสมชัยว่า จะเชิญ 3 ฝ่ายหารือกัน และได้ตอบกลับไปว่า ถ้า ทปอ.แจ้งมาให้เข้าร่วม รัฐบาลก็ยินดี เพราะรัฐบาลได้ประสานงานกับ ทปอ.ก่อนแล้ว
“ผมได้ประสานกลับไปยังประธาน ทปอ. และได้รับแจ้งว่า ทปอ.เห็นด้วยในหลักการของพีเน็ต แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่จัดในวันนี้ (16 มี.ค.) ที่เป็นการหารือกันแบบเปิดเผย จึงได้แจ้งกลับไปยังนายสมชัย ว่า ไม่สามารถร่วมด้วยได้ เพราะ ทปอ.ไม่เห็นด้วย” นายพินิจ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการติดต่อไปทางพีเน็ตหรือไม่ นายพินิจ กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมที่จะเจรจากับทุกฝ่าย เพื่อแสดงความเห็นและหาทางออกของปัญหาต่าง ๆ แต่ที่ผ่านมาได้ทำงานประสานกับ ทปอ.ตั้งแต่ต้น ดังนั้น ต้องให้เกียรติ ทปอ.ว่าเห็นอย่างไร
**ทปอ.ยันเป็นกลาง
ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปรัชญา เวสารัชช์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้เปิดแถลงข่าว โดยกล่าวว่า ทปอ.ขอยืนยันเจตนาที่ต้องการทำงานเพื่อประโยชน์บ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมามีความกดดันสูง มีข่าวสร้างความไม่เข้าใจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา ทปอ.จึงขอเวลาในการทำงานเรื่องนี้ตามลำดับขั้น และวิธีการที่ทปอ.กำหนด ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่ทางออกได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้โอกาสนี้ในการช่วงชิงความได้เปรียบหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างกันเพิ่มขึ้นอีก จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเอื้อโอกาสให้ ทปอ.สามารถทำงานได้ในวิถีทางที่สร้างสรรค์ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการหันหน้าเข้าเจรจากัน
นายปรัชญา กล่าวอีกว่า ขณะนี้รู้สึกว่าทปอ.ไม่ใช่ผู้เจนจัดทางการเมือง และสถานการณ์การเมืองมีความอ่อนไหว เราพบว่าหากพูดอะไรออกไปก็มีบางคนนำไปตีความว่าเราอยู่ฝากใดฝากหนึ่ง จึงขอยืนยันว่าการเข้ามาเป็นตัวกลางในการนำไปสู่การเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนฯ ไม่ได้มีฝ่ายใดเข้ามาชี้นำ อธิการบดีอยากเห็นบ้านเมืองมีความสงบสุข อยากให้ทุกฝ่ายลดการหาประโยชน์แล้วร่วมมือหาทางออกให้สังคมไทย
“เราไม่มีบทบาทชี้นำสังคม และไม่มีใครสามารถชี้นำเราได้ ผมยืนยันความเป็นกลางเพราะที่ผ่านมามีการพูดผ่านสื่อ โดยพยายามผลักดันให้ที่ประชุมอธิการบดีไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อไปเราถูกกล่าวหามากจนไม่มีใครยอมรับได้ที่ประชุมอธิการบดีก็จะหมดบทบาทไป ทปอ.ยืนยันว่า หากผู้ร่วมเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ต้องการหรือยอมรับ ทปอ.ไม่ได้ ทปอ.ก็จะถอยตัวเองออกไป และเปิดทางให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทน”
ส่วนการดำเนินการของพีเน็ตในการจัดเจรจาผ่านเวทีสาธารณะนั้น นายปรัชชา กล่าวว่า ทปอ.คงไม่ได้เข้าไปร่วมกับพีเน็ต เพราะวิธีของพีเน็ตต่างจาก ทปอ. และตนยืนยันว่าต้องการให้มีการเจรจาอย่างเงียบๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ต้องรับผิดที่มีการให้ข่าวว่า ทปอ.จะเจรจากับพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคฝ่ายค้านขอเลื่อนการเจรจา และอาจรู้สึกไม่ไว้ใจ ทปอ.
อย่างไรก็ตาม การเจรจาแต่ละครั้งจะเป็นการเจรจาแบบไม่เป็นข่าว และหากจะต้องมีการเปิดเผยก็จะให้ผู้เจรจาตกลงร่วมกันว่าจะแถลงในประเด็นใด โดยการเจรจา 3 ฝ่าย จะมีการอัดเทปและนำพยายามมาร่วม หากมีการแถลงข่าวบิดเบือนอีกฝ่ายสามารถนำเทปมายืนยันได้
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การเจรจาจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. นายปรัชญา กล่าวว่า พยายามจะดำเนินการให้การเจรจาเกิดขึ้นเร็วที่สุด แต่การเจรจาจะใช้วิธีการคุยกันไปเรื่อยๆ เรื่องใดยุติได้ก็จะยุติ ส่วนเรื่องใดที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ก็จะหารือกันไปเรื่อยๆ