“อัมมาร”ชำแหละ 4 ปี โครงการ 30 บาท ขาดเงินกว่า 8 หมื่นล้าน ชี้ชัดเป็นปัญหาเรื้อรัง สร้างปัญหาลูกโซ่ หากไม่เร่งแก้ไข ระวังเป็นการรักษาแบบตามมีตามเกิด จ่ายแต่ยาพาราฯ ข้องใจรัฐบาลไทยรักไทยสัญญากับประชาชน แต่ไม่จัดการให้ดี สร้างปัญหารอบด้าน ถือเป็นเรื่องผิดจริยธรรม แนะรัฐต้องลดรายจ่าย เจียดงบ 1-2 % โปะ 30 บาท เพื่อคนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
วานนี้ (30 ม.ค.)ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในการเสวนาเรื่อง"ชำแหละ 4 ปี ระบบประกันสุขภาพ 4 ปีทักษิณ ล้มเหลว หรือเดินหน้า" โดยมี ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโนทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร ร่วมเสวนา
ดร.อัมมาร กล่าวว่า โครงการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในวันนี้สามารถพูดได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ตรงที่สามารถทำให้นโยบายนี้เป็นจริงได้ แม้แต่ในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ แต่ไทยทำได้ ต้องชื่นชมตรงนี้ แต่เมื่อทำได้แล้ว ต้องมาดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
ปัญหาแรกที่ต้องยอมรับคือ โครงการนี้เริ่มต้นด้วยความเร่งรีบในการปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความขลุกขลักและมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องงบประมาณที่เป็นแบบแบบเหมาจ่าย และมีการประมาณงบประมาณปีแรกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คือตั้งไว้ที่ประมาณ 1,200 บ./คน/ปี แต่รัฐบาลไม่ได้ประเมินว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เงินบำรุงที่เคยได้รับจากค่ารักษาพยาบาลจากคนทั่วไปลดลง
ทั้งนี้ เมื่อความคาดหวังการบริการสูงขึ้น แต่งบประมาณจำกัด ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาพยาบาล แม้รัฐบาลจะสัญญาว่าจะหาเงินมาอุดหนุนให้เพิ่มมากขึ้น แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถทำได้จริง เกิดความไม่แน่นอนของสถานพยาบาลในการตัดสินใจ มีการทำงานอย่างยากลำบากมากขึ้น ถูกกดดันมาก เกิดปัญหาระหว่างแพทย์กับผู้อำนวยการโรงพยาบาล ขณะที่แพทย์ต้องการทำการรักษาอย่างดี แต่ผู้อำนวยการต้องบริหารงบให้พอ ส่งผลถึงแพทย์กับผู้ป่วยมีความขัดแย้งกัน
"หากยังปล่อยให้ปัญหาเรื่องงบไม่พอดำเนินอยู่เรื่อยไป ระบบหลักประกันสุขภาพนี้จะเป็นการรักษาแบบชั้น 2 แต่โรงพยาบาลก็ยังอยู่ได้ ถึงแม้ว่าเงินที่ให้จะน้อยขนาดไหน เพราะโรงพยาบาลของรัฐก็ไม่เคยเจ๊ง แต่อยู่แบบไปเรื่อยๆ อยู่แบบคนจน รักษาเท่าที่ทำได้กระทั่งคนทนไม่ไหวหนีไปเอง นี่เป็นสิ่งที่ยังมองไม่เห็นตอนนี้ แต่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่ควรเป็นอย่างนั้น ถือเป็นเรื่องผิดจริยธรรมมาก"
"อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้สัญญาไว้แล้ว และเป็นสิทธิ์ของประชาชนที่ต้องได้รับการบริการที่ดีที่สุด รวมถึงการได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ด้วย ไม่ใช่เดินเข้ามาได้รับแต่ยาพาราอย่างเดียว ดังนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องหางบประมาณมาให้พอ"
ดร.อัมมาร กล่าวว่า การวิจัยพบว่าในปี 45-49 โครงการ 30 บาท ขาดเงินถึง 81,138 ล้านบาท คณะทำงานได้ประมาณการไว้ว่า งบประมาณที่จะเพียงพอคือ 2,100 บ./คน/ปี หรือประมาณ 20,000-30,000 ล้าน/ปี ขณะที่ปัจจุบันได้รับเพียงแค่ 1,659 บ./คน/ปีเท่านั้น
ทางเลือกของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหานี้มี 2 ทาง คือ เจียดเงิน 1-2 % ของงบประมาณรัฐ ซึ่งมีโอกาสทำได้ เพราะปกติรัฐก็มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทางเลือกที่รัฐทำได้ หรือถ้าลดไม่ได้ ก็ขึ้นภาษีแต่จะมีผลกระทบต่อคนจน เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่เกิน 1 % ภาษีมหรสพ ภาษีเหล้า-บุหรี่
ด้านนพ.ศุภสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการ 30 บาท ยังให้การรักษาที่ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะโรคที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น ไตวาย เบาหวานขึ้นตา คนไข้ 30 บาทมีโอกาสเข้าถึงการรักษาโรคราคาแพง 30 % ส่วนคนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาเสียชีวิตกว่า 70 % ขณะที่คนที่สามารถเข้าถึงบริการนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 90 % ชี้ให้เห็นว่าถ้าคนไข้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาก็จะสามารถรอดชีวิตได้ ปัญหาหนึ่งของ 30 บาท จึงเป็นเรื่องของการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ยังไม่ครอบคลุม
สิ่งที่เป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้ คือ ความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป ความคาดหวังของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ขณะที่งบประมาณมีจำกัด ทำให้เกิดความเครียดขึ้นในระบบ การที่ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น แต่ปัญหาเรื้อรังของไทยที่ขาดแคลนแพทย์ ก็ทำให้แพทย์-พยาบาลทำงานหนัก บางคนทนไม่ไหว ลาออก ก็เท่ากับว่าคนที่เหลืออยู่ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ตามมา
ขณะที่ประชาชนยังไม่ทราบว่าในการรักษาจะเกิด ภาวะอันไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์ขึ้น เช่น การติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งประเทศไทยมีอัตราภาวะไม่พึงประสงค์ 9-10 % ขณะที่บางประเทศมีอยู่ถึง 30 % แม้แต่สหรัฐฯก็ยังมี 2 %
วานนี้ (30 ม.ค.)ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในการเสวนาเรื่อง"ชำแหละ 4 ปี ระบบประกันสุขภาพ 4 ปีทักษิณ ล้มเหลว หรือเดินหน้า" โดยมี ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโนทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร ร่วมเสวนา
ดร.อัมมาร กล่าวว่า โครงการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในวันนี้สามารถพูดได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ตรงที่สามารถทำให้นโยบายนี้เป็นจริงได้ แม้แต่ในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ แต่ไทยทำได้ ต้องชื่นชมตรงนี้ แต่เมื่อทำได้แล้ว ต้องมาดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
ปัญหาแรกที่ต้องยอมรับคือ โครงการนี้เริ่มต้นด้วยความเร่งรีบในการปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความขลุกขลักและมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องงบประมาณที่เป็นแบบแบบเหมาจ่าย และมีการประมาณงบประมาณปีแรกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คือตั้งไว้ที่ประมาณ 1,200 บ./คน/ปี แต่รัฐบาลไม่ได้ประเมินว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เงินบำรุงที่เคยได้รับจากค่ารักษาพยาบาลจากคนทั่วไปลดลง
ทั้งนี้ เมื่อความคาดหวังการบริการสูงขึ้น แต่งบประมาณจำกัด ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาพยาบาล แม้รัฐบาลจะสัญญาว่าจะหาเงินมาอุดหนุนให้เพิ่มมากขึ้น แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถทำได้จริง เกิดความไม่แน่นอนของสถานพยาบาลในการตัดสินใจ มีการทำงานอย่างยากลำบากมากขึ้น ถูกกดดันมาก เกิดปัญหาระหว่างแพทย์กับผู้อำนวยการโรงพยาบาล ขณะที่แพทย์ต้องการทำการรักษาอย่างดี แต่ผู้อำนวยการต้องบริหารงบให้พอ ส่งผลถึงแพทย์กับผู้ป่วยมีความขัดแย้งกัน
"หากยังปล่อยให้ปัญหาเรื่องงบไม่พอดำเนินอยู่เรื่อยไป ระบบหลักประกันสุขภาพนี้จะเป็นการรักษาแบบชั้น 2 แต่โรงพยาบาลก็ยังอยู่ได้ ถึงแม้ว่าเงินที่ให้จะน้อยขนาดไหน เพราะโรงพยาบาลของรัฐก็ไม่เคยเจ๊ง แต่อยู่แบบไปเรื่อยๆ อยู่แบบคนจน รักษาเท่าที่ทำได้กระทั่งคนทนไม่ไหวหนีไปเอง นี่เป็นสิ่งที่ยังมองไม่เห็นตอนนี้ แต่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่ควรเป็นอย่างนั้น ถือเป็นเรื่องผิดจริยธรรมมาก"
"อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้สัญญาไว้แล้ว และเป็นสิทธิ์ของประชาชนที่ต้องได้รับการบริการที่ดีที่สุด รวมถึงการได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ด้วย ไม่ใช่เดินเข้ามาได้รับแต่ยาพาราอย่างเดียว ดังนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องหางบประมาณมาให้พอ"
ดร.อัมมาร กล่าวว่า การวิจัยพบว่าในปี 45-49 โครงการ 30 บาท ขาดเงินถึง 81,138 ล้านบาท คณะทำงานได้ประมาณการไว้ว่า งบประมาณที่จะเพียงพอคือ 2,100 บ./คน/ปี หรือประมาณ 20,000-30,000 ล้าน/ปี ขณะที่ปัจจุบันได้รับเพียงแค่ 1,659 บ./คน/ปีเท่านั้น
ทางเลือกของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหานี้มี 2 ทาง คือ เจียดเงิน 1-2 % ของงบประมาณรัฐ ซึ่งมีโอกาสทำได้ เพราะปกติรัฐก็มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทางเลือกที่รัฐทำได้ หรือถ้าลดไม่ได้ ก็ขึ้นภาษีแต่จะมีผลกระทบต่อคนจน เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่เกิน 1 % ภาษีมหรสพ ภาษีเหล้า-บุหรี่
ด้านนพ.ศุภสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการ 30 บาท ยังให้การรักษาที่ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะโรคที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น ไตวาย เบาหวานขึ้นตา คนไข้ 30 บาทมีโอกาสเข้าถึงการรักษาโรคราคาแพง 30 % ส่วนคนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาเสียชีวิตกว่า 70 % ขณะที่คนที่สามารถเข้าถึงบริการนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 90 % ชี้ให้เห็นว่าถ้าคนไข้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาก็จะสามารถรอดชีวิตได้ ปัญหาหนึ่งของ 30 บาท จึงเป็นเรื่องของการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ยังไม่ครอบคลุม
สิ่งที่เป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้ คือ ความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป ความคาดหวังของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ขณะที่งบประมาณมีจำกัด ทำให้เกิดความเครียดขึ้นในระบบ การที่ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น แต่ปัญหาเรื้อรังของไทยที่ขาดแคลนแพทย์ ก็ทำให้แพทย์-พยาบาลทำงานหนัก บางคนทนไม่ไหว ลาออก ก็เท่ากับว่าคนที่เหลืออยู่ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ตามมา
ขณะที่ประชาชนยังไม่ทราบว่าในการรักษาจะเกิด ภาวะอันไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์ขึ้น เช่น การติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งประเทศไทยมีอัตราภาวะไม่พึงประสงค์ 9-10 % ขณะที่บางประเทศมีอยู่ถึง 30 % แม้แต่สหรัฐฯก็ยังมี 2 %