ผู้จัดการรายวัน - องค์กรภาคประชาชนฉะ ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาทำงานสุดเฉื่อย ส่งเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้ตีความขัด รธน.หรือไม่กว่า 6 เดือน รัฐบาลต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินถึง 2 รอบเพิ่งตอบกลับ แถมทำตัวเป็นตุลาการศาลรธน.ตัดโอกาสประชาชน
นายสุริยะใส ตกะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) กล่าวว่า ตามที่องค์กรภาคประชาชน ยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา พิจารณา วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.บริหารรารชการฉุกเฉินขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นล่าสุด ผู้ตรวจการแผ่นดินฯ ได้ทำหนังสือมายัง ครป.สรุปว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมากเกินไป
นายสุริยะใส กล่าว่า ในขณะนั้นการส่งเรื่องดังกล่าวให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา พิจารณาก่อนที่จะส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตราดังกล่าวในพ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ผ่านไปกว่า 6 เดือน มีการต่ออายุพ.ร.ก.ดังกล่าว ไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ตนเพิ่งได้รับหนังสือแจ้งกลับมาเมื่อวันที่ 13 ม.ค. นี้เอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าในเวลามากกว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยบางกรณีเสียอีก
นายสุริยะใส กล่าวว่าซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินควรทบทวนบทบาทตัวเอง อีกทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามีหน้าที่เพียงพิจารณาและส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่กลับตีความและทำเหมือนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้ววินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ทำตัวเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียเอง
“ผมคิดว่าคำวินิจฉัยผู้ตรวจครั้งนี้เป็นการปิดโอกาสของประชาชนที่จะนำ เรื่องขึ้นศาลรัฐธรรมนูญฯ เพราะนี่เป็นช่องทางเดียวที่ประชาชนสามารถร้องเรียนได้ นอกจากนี้คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการฯ เองก็ยังแนะให้รัฐบาลระมัดระวังในการใช้อำนาจ ตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ย่อมแสดงว่าผู้ตรวจการฯ ก็ไม่มั่นใจว่า กฎหมายฉบับนี้ชอบหรือไม่ ซึ่งน่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรวินิจฉัยสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดจะดีกว่า”
นายสุริยะใส ตกะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) กล่าวว่า ตามที่องค์กรภาคประชาชน ยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา พิจารณา วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.บริหารรารชการฉุกเฉินขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นล่าสุด ผู้ตรวจการแผ่นดินฯ ได้ทำหนังสือมายัง ครป.สรุปว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมากเกินไป
นายสุริยะใส กล่าว่า ในขณะนั้นการส่งเรื่องดังกล่าวให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา พิจารณาก่อนที่จะส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตราดังกล่าวในพ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ผ่านไปกว่า 6 เดือน มีการต่ออายุพ.ร.ก.ดังกล่าว ไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ตนเพิ่งได้รับหนังสือแจ้งกลับมาเมื่อวันที่ 13 ม.ค. นี้เอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าในเวลามากกว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยบางกรณีเสียอีก
นายสุริยะใส กล่าวว่าซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินควรทบทวนบทบาทตัวเอง อีกทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามีหน้าที่เพียงพิจารณาและส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่กลับตีความและทำเหมือนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้ววินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ทำตัวเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียเอง
“ผมคิดว่าคำวินิจฉัยผู้ตรวจครั้งนี้เป็นการปิดโอกาสของประชาชนที่จะนำ เรื่องขึ้นศาลรัฐธรรมนูญฯ เพราะนี่เป็นช่องทางเดียวที่ประชาชนสามารถร้องเรียนได้ นอกจากนี้คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการฯ เองก็ยังแนะให้รัฐบาลระมัดระวังในการใช้อำนาจ ตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ย่อมแสดงว่าผู้ตรวจการฯ ก็ไม่มั่นใจว่า กฎหมายฉบับนี้ชอบหรือไม่ ซึ่งน่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรวินิจฉัยสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดจะดีกว่า”