"ภูมิธรรม"ยืนยันพร้อมแจงข้อข้องใจ"ปองพล "ในฐานะอดีตผู้อำนวยการองค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)กรณียุบเลิกกิจการ อ้างทำไปด้วยความจำใจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วย 3 เงื่อนไข ทั้งการโดนอายัดบัญชี ปัญหาความไม่โปร่งใส และไม่จำเป็นต้องมีองค์กรไปทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่ นายปองพล อดิเรกสาร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และอดีต ผอ.ร.ส.พ.หลายสมัย ออกมาระบุว่า การยุบเลิกกิจการร.ส.พ.เป็นเรื่องไม่เหมาะสม โดยกระทรวงคมนาคมควรใช้เงินที่จะชำระหนี้ 1,800 ล้านบาทไปฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งการยุบเลิกกิจการ จะทำให้ขาดหน่วยงานบริการขนส่งสินค้าของภาครัฐ ที่ช่วยถ่วงดุลให้ราคาค่าขนส่งของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ และทำให้เอกชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการยุบกิจการครั้งนี้
นายภูมิธรรม กล่าวว่า นายปองพล เป็นผู้ใหญ่ของพรรคที่ตนเคารพ ถ้ามีโอกาสได้พบก็จะชี้แจงให้เข้าใจสาเหตุการยุบเลิกกิจการ ร.ส.พ. ทั้งนี้เข้าใจเหตุผลของนายปองพลดี เพราะในช่วงที่นายปองพลเป็นผู้บริหาร ร.ส.พ.ก็เป็นช่วงหนึ่ง ที่ทำให้ ร.ส.พ.กลับมามีกำไร โดยเมื่อตนเข้ามารับผิดชอบ กำกับดูแล ร.ส.พ.ก็เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และปัญหาที่สะสมมานาน จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สิ่งสำคัญคือ การที่ ร.ส.พ.โดนเจ้าหนี้ฟ้องอายัดบัญชี จนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ รวมถึงปัญหาการทุจริตไม่โปร่งใสภายในองค์กร ซึ่งมีข้อเท็จจริงยืนยันว่า ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่เซ็นรับรองงบการเงินแก่ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงปัญหาความรั่วไหลได้ดี รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการด้านธุรกิจขนส่งมวลชนแข่งกับเอกชน และควรอยู่ในฐานะกำกับดูแลมากกว่า เนื่องจากหน่วยงานเช่น กรมการขนส่งทางบก ก็ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว
สำหรับแผนการจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ร.ส.พ.จำนวน 1,600 คน นั้น หลังมีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกการแล้ว กระทรวงคมนาคม จะจัดลำดับความสำคัญ ให้การชำระคืนหนี้พนักงาน เป็นการชำระบัญชีอันดับแรก ภายใน 30 วัน ก่อนการชำระหนี้การค้าด้วย โดยพนักงาน ร.ส.พ.ทั้งหมด จะได้รับเงิดชดเชยตามกฎหมาย สำหรับการจัดหางานให้ใหม่นี้ ในสัดส่วนพนักงานทั้งหมด จะมีพนักงาน 600-700 คน ที่สูงอายุและพร้อมเข้าโครงการเกษียณอายุทำงานก่อนกำหนด (Early Retire )โดยส่วนที่เหลือ 500-700 คน จะถูกโอนย้ายไปรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งทางบกอื่นๆ และมี 300 คน ที่จะเข้ากระบวนการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน ในการจัดหาอาชีพ เช่น การให้เช่าซื้อรถขนส่งสินค้าในท่าเรือ และเช่าซื้อขับรถแท็กซี่ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาพนักงาน ร.ส.พ.ได้ข้อยุติที่ดีในที่สุด
ก่อนหน้านี้ นายปองพล อดิเรกสาร อดีตผู้อำนวยการ ร.ส.พ.ได้กล่าวว่า รู้สึกเสียดายและเสียใจที่ ร.ส.พ.ถูกยุบ เพราะ ร.ส.พ.อยู่มาจะครบ 60 ปี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ต้องมีข้อดีมากกว่าข้อด้อย จึงอยู่มาได้เกือบ 60 ปี ถึงแม้ ร.ส.พ.จะมีปัญหา จะแก้ยังไง เพราะว่านโยบายรัฐบาลพูดเรื่องส่งเสริมลอจิสติกส์ ซึ่งลอจิสติกส์คือการส่งกำลังบำรุง ร.ส.พ.ก็เป็นส่วนหนึ่ง เพราะเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องรถบรรทุก การส่งกำลังบำรุงมีทั้งเครื่องบิน เรือ รถบรรทุก รถไฟ และต้องประสานกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นข้อดีของ ร.ส.พ.ก็มี และยังทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการขนส่งของรัฐ ซึ่งร.ส.พ.เป็นองค์กรที่ช่วยรักษาระดับราคาค่าบริการการขนส่ง เพราะถ้าบริษัทเอกชนรวมกันขึ้นราคาได้ อย่างน้อยก็มี ร.ส.พ.ที่รักษาราคาต่ำอยู่ และเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้ กิจการร.ส.พ.จึงเหมือนกับรถเมล์ หรือไปรษณีย์ ซึ่งไม่ได้หวังกำไร แต่เป็นการบริการประชาชน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่ นายปองพล อดิเรกสาร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และอดีต ผอ.ร.ส.พ.หลายสมัย ออกมาระบุว่า การยุบเลิกกิจการร.ส.พ.เป็นเรื่องไม่เหมาะสม โดยกระทรวงคมนาคมควรใช้เงินที่จะชำระหนี้ 1,800 ล้านบาทไปฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งการยุบเลิกกิจการ จะทำให้ขาดหน่วยงานบริการขนส่งสินค้าของภาครัฐ ที่ช่วยถ่วงดุลให้ราคาค่าขนส่งของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ และทำให้เอกชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการยุบกิจการครั้งนี้
นายภูมิธรรม กล่าวว่า นายปองพล เป็นผู้ใหญ่ของพรรคที่ตนเคารพ ถ้ามีโอกาสได้พบก็จะชี้แจงให้เข้าใจสาเหตุการยุบเลิกกิจการ ร.ส.พ. ทั้งนี้เข้าใจเหตุผลของนายปองพลดี เพราะในช่วงที่นายปองพลเป็นผู้บริหาร ร.ส.พ.ก็เป็นช่วงหนึ่ง ที่ทำให้ ร.ส.พ.กลับมามีกำไร โดยเมื่อตนเข้ามารับผิดชอบ กำกับดูแล ร.ส.พ.ก็เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และปัญหาที่สะสมมานาน จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สิ่งสำคัญคือ การที่ ร.ส.พ.โดนเจ้าหนี้ฟ้องอายัดบัญชี จนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ รวมถึงปัญหาการทุจริตไม่โปร่งใสภายในองค์กร ซึ่งมีข้อเท็จจริงยืนยันว่า ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่เซ็นรับรองงบการเงินแก่ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงปัญหาความรั่วไหลได้ดี รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการด้านธุรกิจขนส่งมวลชนแข่งกับเอกชน และควรอยู่ในฐานะกำกับดูแลมากกว่า เนื่องจากหน่วยงานเช่น กรมการขนส่งทางบก ก็ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว
สำหรับแผนการจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ร.ส.พ.จำนวน 1,600 คน นั้น หลังมีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกการแล้ว กระทรวงคมนาคม จะจัดลำดับความสำคัญ ให้การชำระคืนหนี้พนักงาน เป็นการชำระบัญชีอันดับแรก ภายใน 30 วัน ก่อนการชำระหนี้การค้าด้วย โดยพนักงาน ร.ส.พ.ทั้งหมด จะได้รับเงิดชดเชยตามกฎหมาย สำหรับการจัดหางานให้ใหม่นี้ ในสัดส่วนพนักงานทั้งหมด จะมีพนักงาน 600-700 คน ที่สูงอายุและพร้อมเข้าโครงการเกษียณอายุทำงานก่อนกำหนด (Early Retire )โดยส่วนที่เหลือ 500-700 คน จะถูกโอนย้ายไปรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งทางบกอื่นๆ และมี 300 คน ที่จะเข้ากระบวนการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน ในการจัดหาอาชีพ เช่น การให้เช่าซื้อรถขนส่งสินค้าในท่าเรือ และเช่าซื้อขับรถแท็กซี่ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาพนักงาน ร.ส.พ.ได้ข้อยุติที่ดีในที่สุด
ก่อนหน้านี้ นายปองพล อดิเรกสาร อดีตผู้อำนวยการ ร.ส.พ.ได้กล่าวว่า รู้สึกเสียดายและเสียใจที่ ร.ส.พ.ถูกยุบ เพราะ ร.ส.พ.อยู่มาจะครบ 60 ปี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ต้องมีข้อดีมากกว่าข้อด้อย จึงอยู่มาได้เกือบ 60 ปี ถึงแม้ ร.ส.พ.จะมีปัญหา จะแก้ยังไง เพราะว่านโยบายรัฐบาลพูดเรื่องส่งเสริมลอจิสติกส์ ซึ่งลอจิสติกส์คือการส่งกำลังบำรุง ร.ส.พ.ก็เป็นส่วนหนึ่ง เพราะเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องรถบรรทุก การส่งกำลังบำรุงมีทั้งเครื่องบิน เรือ รถบรรทุก รถไฟ และต้องประสานกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นข้อดีของ ร.ส.พ.ก็มี และยังทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการขนส่งของรัฐ ซึ่งร.ส.พ.เป็นองค์กรที่ช่วยรักษาระดับราคาค่าบริการการขนส่ง เพราะถ้าบริษัทเอกชนรวมกันขึ้นราคาได้ อย่างน้อยก็มี ร.ส.พ.ที่รักษาราคาต่ำอยู่ และเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้ กิจการร.ส.พ.จึงเหมือนกับรถเมล์ หรือไปรษณีย์ ซึ่งไม่ได้หวังกำไร แต่เป็นการบริการประชาชน