ผู้จัดการรายวัน - อดีตหัวหน้าข่าวด้านความมมันคง บางกอกโพลต์ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 13 ล้าน ฐานเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
วานนี้ (20 ธ.ค.) ที่ศาลแรงงานกลาง ปทุมวัน นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/78 หมู่ 12 ถ.รามอินทรา แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กทม. อดีตหัวหน้าข่าวโต๊ะข่าวความมั่นคง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ยื่นคำฟ้องบริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด(มหาชน) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 นายเดวิด อาร์มสตรอง จำเลยที่ 2 และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นจำเลยที่ 3 ในข้อหาการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ในการบรรยายฟ้องระบุว่า ว่าเมื่อวันที่ 29 ส.ค.48 บริษัท โพสต์ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ และนายเดวิด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ทำหนังสือเลิกจ้าง โดยระบุเหตุในการเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ในการทำข่าว ด้วยการนำเสนอข่าวเรื่อง “รอยร้าที่รันเวย์สนามบินสุวรรณภูม” และมีการนำคณะผู้ชำนาญการจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาตรวจสอบรอยร้าว ซึ่งผลการตรวจสอบยืนยันว่า มีความเสียหายอย่างมากถึงกับต้องก่อสร้างใหม่ เพราะเป็นหลุมใหญ่จนอาจเกิดอันตรายในการลงจอดของเครื่องบิน” ต่อที่ประชุมข่าว และมีการนำเสนอข่าวลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 6 และ 9 ส.ค.2548
ซึ่งผลจากการลงข่าวนี้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และบริษัท โพสต์ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียและความเชื่อถือ ทั้งยังถูกบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ฟ้องร้องคดีอาญาและคดีแพ่งในข้อหาหมิ่นประมาท และเรียกร้องค่าเสียหาย อย่างรุนแรง บริษัท โพสต์ จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้กระทำให้บริษัท โพสต์ ได้รับความเสียหาย โดยมีหนังสือเลิกจ้างพ้นจากสภาพการเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 29 ส.ค.48 และลงโทษโจทก์โดยการเลิกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ซึ่งการเลิกจ้างของบริษัท โพสต์ จำเลยที่ 1 นั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์ไม่ได้กระทำการประมาทเลินเล่อในการทำงาน หาข่าวตามที่ถูกกล่าวหา เหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้าง คือ จำเลยที่ 2 และนายสุทธิเกียรติ ไม่ต้องการให้โจทก์และนายชฎิล เทพวัลย์ บรรณาธิการข่าว ทำงานที่บริษัท โพสต์ อีกต่อไป
คำฟ้องระบุว่า การพิจารณาลงข่าวนี้ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์หรือไม่นั้น อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกองบรรณาธิการและจำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ไม่มีอำนาจ หรือหน้าที่ใดๆ ไปเกี่ยวข้องกับการลงข่าวนั้นได้ ซึ่งการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติยศ ตั้งตัวโจทก์และครอบครัว รวมทั้งวิชาชีพที่โจทก์ไม่อาจกระทำได้เหมือนเดิม แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยอมจ่ายเงินค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังแจ้งต่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้จ่าย เงินสมทบที่โจทก์ควรจะได้รับอีก 623,700 บาท ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์ควรได้รับ
จึงฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยจ่ายค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้าง เป็นเงิน 8 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ถูกเลิกจ้าง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ละเมิดต่อโจทก์ เป็นเงิน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากนี้ยังขอให้จำเลยรับกลับเข้าทำงานและจ่ายเงินค่าเสียหายเดือนละ 69,768บาท ให้แก่โจทก์ นับจากวันเลิกจ้างจนกว่าจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ทั้งยังต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบของจำเลยที่ 1 จำนวน 623,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยด้วย ทั้งนี้ศาลรับคำฟ้องและนัดไกล่เกลี่ย ในเวลา 13.00 น.วันที่ 13 ก.พ.49
วานนี้ (20 ธ.ค.) ที่ศาลแรงงานกลาง ปทุมวัน นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/78 หมู่ 12 ถ.รามอินทรา แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กทม. อดีตหัวหน้าข่าวโต๊ะข่าวความมั่นคง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ยื่นคำฟ้องบริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด(มหาชน) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 นายเดวิด อาร์มสตรอง จำเลยที่ 2 และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นจำเลยที่ 3 ในข้อหาการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ในการบรรยายฟ้องระบุว่า ว่าเมื่อวันที่ 29 ส.ค.48 บริษัท โพสต์ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ และนายเดวิด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ทำหนังสือเลิกจ้าง โดยระบุเหตุในการเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ในการทำข่าว ด้วยการนำเสนอข่าวเรื่อง “รอยร้าที่รันเวย์สนามบินสุวรรณภูม” และมีการนำคณะผู้ชำนาญการจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาตรวจสอบรอยร้าว ซึ่งผลการตรวจสอบยืนยันว่า มีความเสียหายอย่างมากถึงกับต้องก่อสร้างใหม่ เพราะเป็นหลุมใหญ่จนอาจเกิดอันตรายในการลงจอดของเครื่องบิน” ต่อที่ประชุมข่าว และมีการนำเสนอข่าวลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 6 และ 9 ส.ค.2548
ซึ่งผลจากการลงข่าวนี้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และบริษัท โพสต์ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียและความเชื่อถือ ทั้งยังถูกบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ฟ้องร้องคดีอาญาและคดีแพ่งในข้อหาหมิ่นประมาท และเรียกร้องค่าเสียหาย อย่างรุนแรง บริษัท โพสต์ จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้กระทำให้บริษัท โพสต์ ได้รับความเสียหาย โดยมีหนังสือเลิกจ้างพ้นจากสภาพการเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 29 ส.ค.48 และลงโทษโจทก์โดยการเลิกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ซึ่งการเลิกจ้างของบริษัท โพสต์ จำเลยที่ 1 นั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์ไม่ได้กระทำการประมาทเลินเล่อในการทำงาน หาข่าวตามที่ถูกกล่าวหา เหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้าง คือ จำเลยที่ 2 และนายสุทธิเกียรติ ไม่ต้องการให้โจทก์และนายชฎิล เทพวัลย์ บรรณาธิการข่าว ทำงานที่บริษัท โพสต์ อีกต่อไป
คำฟ้องระบุว่า การพิจารณาลงข่าวนี้ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์หรือไม่นั้น อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกองบรรณาธิการและจำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ไม่มีอำนาจ หรือหน้าที่ใดๆ ไปเกี่ยวข้องกับการลงข่าวนั้นได้ ซึ่งการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติยศ ตั้งตัวโจทก์และครอบครัว รวมทั้งวิชาชีพที่โจทก์ไม่อาจกระทำได้เหมือนเดิม แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยอมจ่ายเงินค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังแจ้งต่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้จ่าย เงินสมทบที่โจทก์ควรจะได้รับอีก 623,700 บาท ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์ควรได้รับ
จึงฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยจ่ายค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้าง เป็นเงิน 8 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ถูกเลิกจ้าง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ละเมิดต่อโจทก์ เป็นเงิน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากนี้ยังขอให้จำเลยรับกลับเข้าทำงานและจ่ายเงินค่าเสียหายเดือนละ 69,768บาท ให้แก่โจทก์ นับจากวันเลิกจ้างจนกว่าจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ทั้งยังต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบของจำเลยที่ 1 จำนวน 623,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยด้วย ทั้งนี้ศาลรับคำฟ้องและนัดไกล่เกลี่ย ในเวลา 13.00 น.วันที่ 13 ก.พ.49