ผู้จัดการรายวัน - องค์กรครูถวายฎีกาพร้อมแถลงการณ์เฉ่ง ทรท.ที่กระทำย่ำยีผู้ประกอบวิชาชีพครู ประกาศเลิกใช้ซิมการ์ด AIS เริ่มนครปฐมจังหวัดแรก ประกาศแจ้งความดำเนินคดีกับรัฐบาล และ ศธ. รวมทั้งเตรียมล่า 5 หมื่นชื่อเสนอ แก้กฎหมายเอง ยันวันนี้ยกพลครู และญาติ พี่น้องไปสวนลุมฯ ด้าน “จาตุรนต์” รุดหารือ "วิษณุ" ยันเดินหน้าถ่ายโอน ยื่นเงื่อนไขใหม่ต่อ กกถ. ให้ครูสังกัด ศธ.ได้แม้ ร.ร.จะไปอยู่ท้องถิ่น ขณะที่ "สุวิทย์"มั่นใจ ไม่กระทบฐานเสียง
ภายหลังจากที่ประชุมสภาแทนราษฎร ผ่านร่างพ.ร.บ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่อปท. โดยยังคงคำว่าสมัครใจเอาไว้ สถานการณ์การต่อต้านจากกลุ่มครูก็เป็นไปด้วยความดุเดือดมากขึ้น
เดินเท้าถวายฎีกา
เวลาประมาณ 11.20 น. กลุ่มครูประมาณ 1,000 คนได้เคลื่อนขบวนจากบริเวณหน้ารัฐสภามายังกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ทำพิธีสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 และถวายคำสัตย์ปฏิญาณ จากนั้นได้นำพวงหรีดติดข้อความไว้อาลัยกระทรวงศึกษาธิการไปวางไว้หน้าป้ายชื่อผู้บริหาร และได้เดินทางไปยื่นหนังสือถวายฎีกาภายในสำนักราชเลขาธิการ
ทั้งนี้ หนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีการะบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพครูทั่วประเทศ ได้รับความทุกข์จากการกระทำของรัฐบาล ที่ถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ก่อความเสียหายต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูโดยตรงและส่งผลกระทบต่ออนาคตเยาวชนของชาติ และทำลายเอกภาพการจัดการศึกษาของชาติ
จากนั้น เวลา 12.30 น.นายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์การคัดค้านการถ่ายโอน พร้อมด้วยแกนนำครูกว่า 50 คน เข้าพบ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์และผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยมอบดอกไม้เพื่อให้กำลังใจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลมาเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้
นายอวยชัยกล่าวว่า การศึกษาของเราเติบโตจากโรงเรียนวิถีตะวันออก แต่กำลังจะถูกถ่ายโอนไปอยู่ภายใต้คมหอกคมดาบของนักการเมือง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออนาคตการศึกษาของลูกหลาน ดังนั้น จึงมาจับมือเป็นพันธมิตร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
“ถ้าวันไหนคุณสนธิรู้สึกเหนื่อย อ่อนแรง ขอให้รู้ว่ามีครูกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศจะมาให้กำลังใจ”
ด้านนายสนธิ กล่าวว่า บ้านเมืองกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต วิกฤตหมายถึงการล่มสลายโครงสร้าง รากเหง้า วัฒนธรรม คนที่อยู่ต่างจังหวัดขาดปัญญา ครูต้องสานต่อในเรื่องนี้ เพราะครูเป็นเหมือนต้นน้ำและนักปราชญ์ ครูต่างจังหวัดเป็นปูชนียบุคคล จะดีชั่ว มีลูกศิษย์ฟังครูและเป็นที่เคารพของชาวบ้าน เพราะฉะนั้นต้องครูต้องสอนให้แยกแยะ โดยใช้นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิต
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีกลุ่มองค์การครูนำโดยนายพีรพล สระแก้ว นายกสมาคมครูจังหวัดสุรินทร์ เดินทางมาเข้าพบนายสนธิเพื่อให้กำลังใจ พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้โกหกครูตลอด โดยสัญญาก่อนเลือกตั้งว่าหากได้รับเลือกเข้ามาจะชะลอการถ่ายโอนฯ แต่พอได้รับเลือกจนเป็นรัฐบาลจริงๆ กลับผิดสัญญา ครูได้รับความเดือดร้อนมาก จึงได้รวมตัวกันเข้ามาร่วมชุมนุมคัดค้านถึงในกรุงเทพฯ
เลิกใช้ AIS-แจ้งความรัฐบาล-ศธ.
เวลาประมาณ 15.30 น. องค์กรครูได้แถลงการณ์ร่วมเพื่อตอบโต้พรรคไทยรักไทย โดยประเด็นหลักๆ ก็คือ 1.ร่วมกิจกรรมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ (ตามความสมัครใจ) 2. เลิกใช้ซิม AIS เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงการคุกคามการประกอบอาชีพ หลังจากที่ผู้มีอำนาจได้คุกคามอาชีพครู 3.แจ้งความดำเนินคดีรัฐบาล และ ศธ. กรณีไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในประเด็นค่าตอบแทนวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท ให้ครูชำนาญการทั่วประเทศประมาณ 300,000 ราย 4.จัดประชุมทำความเข้าใจกับประชาชน อปท. ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ครู 1 คน หาประชาชน ลูกศิษย์ ไม่น้อยกว่า 10 คน เพื่อไม่ร่วมสังฆกรรมกับพรรคไทยรักไทยตลอดชีวิต 5.ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์หน้าโรงเรียนให้รัฐบาลรับผิดชอบจัดการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด 6.เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของพรรคไทยรักไทย
นายอวยชัยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวนับจากนี้กลุ่มครูจะพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายผ่านทางวุฒิสภา เพื่อให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้อันตรายต่อการศึกษาของชาติ หากวุฒิสมาชิกยังยืนยันตามมติเดิม เท่ากับว่าวุฒิสมาชิกทั้งหมดถูกครอบงำทางการเมือง และกลุ่มครูจะทำการล่ารายชื่ออย่างน้อย 5 หมื่นชื่อ เพื่อขอแก้ไขกฎหมายเอง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนไม่เหลือความหวังว่าจะมีการพิจารณากฎหมายใหม่ แต่จะขอสู้ต่อไปและรอดูผลในระยะยาว
“เรื่องการยกเลิกใช้ซิมการ์ดในระบบ เอไอเอส ขณะนี้ใน จ.นครปฐมได้เริ่มประชาสัมพันธ์กันในกลุ่มครูและเครือญาติเพื่อยกเลิกการใช้แล้ว”
**ประธานวุฒิสภาขอให้ใจเย็น
นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าการประชุมวุฒิสภาในวันที่ 13 ธ.ค.ส่วนจะพิจารณา 3 วาระรวด หรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมวุฒิว่าจะรับกฎหมายอย่างไร หากตั้งกรรมาธิการ เต็มสภาไม่ได้ก็อาจจะตั้งคณะกรรมาธิการแปรญัตติภายในกี่วันก็ว่ากันไป แต่ทั้งนี้จะต้องเร่งรีบให้เสร็จทันสมัยประชุมนี้
ทั้งนี้ หากวุฒิสภาพิจารณาเสร็จภายในวันที่ 13 ธ.ค.และส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบได้ในวันที่ 15 ธ.ค. ทุกอย่างก็จบเพราะสภาผู้แทนราษฎรจะประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 14-15 ธ.ค.แต่ถ้าวุฒิสภาจะนำเข้าที่ประชุมวันที่ 19 ธ.ค.ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย สภาผู้แทนฯ ก็พิจารณาไม่ได้ กฎหมายก็จะค้างอยู่ในสภา จึงจะปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาว่าจะสามารถเร่งในการแปรญัตติแบบใดแบบหนึ่งให้ทันได้หรือไม่
“ขอร้องให้ครูใจเย็น ซึ่งการชุมนุมเคลื่อนไหวคงไม่สามารถ กดดันวุฒิสภาได้ เพราะวุฒิสภาเป็นอิสระ จะแก้หรือไม่แก้เราก็ต้องส่งกลับสภาฯอยู่แล้ว แต่ถ้าแก้ไขมากทางสภาฯก็ไม่เห็นด้วย แต่หวังว่าทุกฝ่ายจะฟังเหตุผล ถ้าวุฒิสภา แก้ไขในสิ่งที่ดีกว่าร่างของสภาผู้แทนราษฎร ก็คงต้องฟังเสียงวุฒิสภาบ้าง”
**จาตุรนต์รุดหารือวิษณุ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายระบุว่าให้ถ่ายโอนสถานศึกษาไป อปท.แล้ว โดยต้องคำนึงถึงความพร้อมและความสมัครใจ ดังนั้น จึงต้องเร่งเสนอเรื่องต่างๆ ต่อ คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) พิจารณา โดยเฉพาะเรื่องสำคัญมากคือการให้ครูหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่ประสงค์จะย้ายสังกัดไปอยู่ อปท. และยังต้องการสอนอยู่ที่โรงเรียนเดิม แม้ว่าโรงเรียนจะถ่ายโอนไปท้องถิ่นแล้วก็ตาม สามารถให้บุคคลเหล่านี้เป็นครูสังกัด ศธ.ต่อไปได้ โดยการแต่งตั้งโยกย้ายและการพิจารณาความดีความชอบเป็นเรื่องของ ศธ.
นอกจากนี้ ได้ขอให้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับผู้บริหารสถานศึกษาและท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี เช่น ผู้บริหารท้องถิ่นจะไม่สั่งให้ครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา ไปยกน้ำชา กาแฟ เป็นต้น
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า สำหรับ อปท.ที่สามารถรับถ่ายโอนการศึกษาได้ โดยใช้หลักความสมัครใจและความพร้อม มีข้อเสนอให้เทศบาลเมือง เทศบาลนคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เป็นผู้รับถ่ายโอนฯ ได้ก่อน ส่วนเทศบาลตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)หากจะมีการรับโอนขอให้มีการยกเว้นลักษณะพิเศษ เช่น ต้องมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น
“ผมได้นำเสนอเรื่องทั้งหมดต่อรองวิษณุ(เครืองาม) ในฐานะประธาน กกถ.ไปแล้ว และท่านก็เห็นชอบ และจะนำเสนอต่อ กกถ.ต่อไป”
นายจาตุรนต์กล่วด้วยว่า การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างของครูก็สามารถทำได้ แต่คงต้องขอร้องว่าอย่าทำให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน จะหยุดการเรียนการสอนไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นการหยุด ประท้วงหรือกดดันยิ่งไม่ได้ใหญ่ ซึ่งคงต้องไปดูว่าครูทำผิดระเบียบ จนเกิดความเสียหายต่อการเรียนการสอนหรือไม่ ถ้าผิดทาง สพฐ.ต้องดำเนินการ ส่วนการครูจะไปร่วมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ครูก็ต้องชี้แจ้งด้วยว่า ไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ไม่เช่นนั้นสังคมก็เกิดความสับสน
ด้านนายสุวิทย์ คุณกิตติ กล่าวว่า ครูส่วนใหญ่ยอมรับการโอนย้ายอยู่แล้ว และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยอมรับเพราะทั้งหมดนี้เป็นกติกาตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมั่นใจว่า เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาทางการเมือง ส่วนที่จะมีการต่อต้านกิจกรรมของพรรคไทยรักไทย ทุกกิจกรรมนั้น ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเพราะมีทั้งคนที่เป็นคนของไทยรักไทยและไม่ใช่ไทยรักไทยซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย และมั่นใจว่าไม่มีผลกระทบอะไร
ภายหลังจากที่ประชุมสภาแทนราษฎร ผ่านร่างพ.ร.บ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่อปท. โดยยังคงคำว่าสมัครใจเอาไว้ สถานการณ์การต่อต้านจากกลุ่มครูก็เป็นไปด้วยความดุเดือดมากขึ้น
เดินเท้าถวายฎีกา
เวลาประมาณ 11.20 น. กลุ่มครูประมาณ 1,000 คนได้เคลื่อนขบวนจากบริเวณหน้ารัฐสภามายังกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ทำพิธีสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 และถวายคำสัตย์ปฏิญาณ จากนั้นได้นำพวงหรีดติดข้อความไว้อาลัยกระทรวงศึกษาธิการไปวางไว้หน้าป้ายชื่อผู้บริหาร และได้เดินทางไปยื่นหนังสือถวายฎีกาภายในสำนักราชเลขาธิการ
ทั้งนี้ หนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีการะบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพครูทั่วประเทศ ได้รับความทุกข์จากการกระทำของรัฐบาล ที่ถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ก่อความเสียหายต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูโดยตรงและส่งผลกระทบต่ออนาคตเยาวชนของชาติ และทำลายเอกภาพการจัดการศึกษาของชาติ
จากนั้น เวลา 12.30 น.นายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์การคัดค้านการถ่ายโอน พร้อมด้วยแกนนำครูกว่า 50 คน เข้าพบ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์และผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยมอบดอกไม้เพื่อให้กำลังใจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลมาเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้
นายอวยชัยกล่าวว่า การศึกษาของเราเติบโตจากโรงเรียนวิถีตะวันออก แต่กำลังจะถูกถ่ายโอนไปอยู่ภายใต้คมหอกคมดาบของนักการเมือง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออนาคตการศึกษาของลูกหลาน ดังนั้น จึงมาจับมือเป็นพันธมิตร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
“ถ้าวันไหนคุณสนธิรู้สึกเหนื่อย อ่อนแรง ขอให้รู้ว่ามีครูกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศจะมาให้กำลังใจ”
ด้านนายสนธิ กล่าวว่า บ้านเมืองกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต วิกฤตหมายถึงการล่มสลายโครงสร้าง รากเหง้า วัฒนธรรม คนที่อยู่ต่างจังหวัดขาดปัญญา ครูต้องสานต่อในเรื่องนี้ เพราะครูเป็นเหมือนต้นน้ำและนักปราชญ์ ครูต่างจังหวัดเป็นปูชนียบุคคล จะดีชั่ว มีลูกศิษย์ฟังครูและเป็นที่เคารพของชาวบ้าน เพราะฉะนั้นต้องครูต้องสอนให้แยกแยะ โดยใช้นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิต
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีกลุ่มองค์การครูนำโดยนายพีรพล สระแก้ว นายกสมาคมครูจังหวัดสุรินทร์ เดินทางมาเข้าพบนายสนธิเพื่อให้กำลังใจ พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้โกหกครูตลอด โดยสัญญาก่อนเลือกตั้งว่าหากได้รับเลือกเข้ามาจะชะลอการถ่ายโอนฯ แต่พอได้รับเลือกจนเป็นรัฐบาลจริงๆ กลับผิดสัญญา ครูได้รับความเดือดร้อนมาก จึงได้รวมตัวกันเข้ามาร่วมชุมนุมคัดค้านถึงในกรุงเทพฯ
เลิกใช้ AIS-แจ้งความรัฐบาล-ศธ.
เวลาประมาณ 15.30 น. องค์กรครูได้แถลงการณ์ร่วมเพื่อตอบโต้พรรคไทยรักไทย โดยประเด็นหลักๆ ก็คือ 1.ร่วมกิจกรรมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ (ตามความสมัครใจ) 2. เลิกใช้ซิม AIS เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงการคุกคามการประกอบอาชีพ หลังจากที่ผู้มีอำนาจได้คุกคามอาชีพครู 3.แจ้งความดำเนินคดีรัฐบาล และ ศธ. กรณีไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในประเด็นค่าตอบแทนวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท ให้ครูชำนาญการทั่วประเทศประมาณ 300,000 ราย 4.จัดประชุมทำความเข้าใจกับประชาชน อปท. ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ครู 1 คน หาประชาชน ลูกศิษย์ ไม่น้อยกว่า 10 คน เพื่อไม่ร่วมสังฆกรรมกับพรรคไทยรักไทยตลอดชีวิต 5.ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์หน้าโรงเรียนให้รัฐบาลรับผิดชอบจัดการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด 6.เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของพรรคไทยรักไทย
นายอวยชัยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวนับจากนี้กลุ่มครูจะพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายผ่านทางวุฒิสภา เพื่อให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้อันตรายต่อการศึกษาของชาติ หากวุฒิสมาชิกยังยืนยันตามมติเดิม เท่ากับว่าวุฒิสมาชิกทั้งหมดถูกครอบงำทางการเมือง และกลุ่มครูจะทำการล่ารายชื่ออย่างน้อย 5 หมื่นชื่อ เพื่อขอแก้ไขกฎหมายเอง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนไม่เหลือความหวังว่าจะมีการพิจารณากฎหมายใหม่ แต่จะขอสู้ต่อไปและรอดูผลในระยะยาว
“เรื่องการยกเลิกใช้ซิมการ์ดในระบบ เอไอเอส ขณะนี้ใน จ.นครปฐมได้เริ่มประชาสัมพันธ์กันในกลุ่มครูและเครือญาติเพื่อยกเลิกการใช้แล้ว”
**ประธานวุฒิสภาขอให้ใจเย็น
นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าการประชุมวุฒิสภาในวันที่ 13 ธ.ค.ส่วนจะพิจารณา 3 วาระรวด หรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมวุฒิว่าจะรับกฎหมายอย่างไร หากตั้งกรรมาธิการ เต็มสภาไม่ได้ก็อาจจะตั้งคณะกรรมาธิการแปรญัตติภายในกี่วันก็ว่ากันไป แต่ทั้งนี้จะต้องเร่งรีบให้เสร็จทันสมัยประชุมนี้
ทั้งนี้ หากวุฒิสภาพิจารณาเสร็จภายในวันที่ 13 ธ.ค.และส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบได้ในวันที่ 15 ธ.ค. ทุกอย่างก็จบเพราะสภาผู้แทนราษฎรจะประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 14-15 ธ.ค.แต่ถ้าวุฒิสภาจะนำเข้าที่ประชุมวันที่ 19 ธ.ค.ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย สภาผู้แทนฯ ก็พิจารณาไม่ได้ กฎหมายก็จะค้างอยู่ในสภา จึงจะปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาว่าจะสามารถเร่งในการแปรญัตติแบบใดแบบหนึ่งให้ทันได้หรือไม่
“ขอร้องให้ครูใจเย็น ซึ่งการชุมนุมเคลื่อนไหวคงไม่สามารถ กดดันวุฒิสภาได้ เพราะวุฒิสภาเป็นอิสระ จะแก้หรือไม่แก้เราก็ต้องส่งกลับสภาฯอยู่แล้ว แต่ถ้าแก้ไขมากทางสภาฯก็ไม่เห็นด้วย แต่หวังว่าทุกฝ่ายจะฟังเหตุผล ถ้าวุฒิสภา แก้ไขในสิ่งที่ดีกว่าร่างของสภาผู้แทนราษฎร ก็คงต้องฟังเสียงวุฒิสภาบ้าง”
**จาตุรนต์รุดหารือวิษณุ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายระบุว่าให้ถ่ายโอนสถานศึกษาไป อปท.แล้ว โดยต้องคำนึงถึงความพร้อมและความสมัครใจ ดังนั้น จึงต้องเร่งเสนอเรื่องต่างๆ ต่อ คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) พิจารณา โดยเฉพาะเรื่องสำคัญมากคือการให้ครูหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่ประสงค์จะย้ายสังกัดไปอยู่ อปท. และยังต้องการสอนอยู่ที่โรงเรียนเดิม แม้ว่าโรงเรียนจะถ่ายโอนไปท้องถิ่นแล้วก็ตาม สามารถให้บุคคลเหล่านี้เป็นครูสังกัด ศธ.ต่อไปได้ โดยการแต่งตั้งโยกย้ายและการพิจารณาความดีความชอบเป็นเรื่องของ ศธ.
นอกจากนี้ ได้ขอให้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับผู้บริหารสถานศึกษาและท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี เช่น ผู้บริหารท้องถิ่นจะไม่สั่งให้ครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา ไปยกน้ำชา กาแฟ เป็นต้น
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า สำหรับ อปท.ที่สามารถรับถ่ายโอนการศึกษาได้ โดยใช้หลักความสมัครใจและความพร้อม มีข้อเสนอให้เทศบาลเมือง เทศบาลนคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เป็นผู้รับถ่ายโอนฯ ได้ก่อน ส่วนเทศบาลตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)หากจะมีการรับโอนขอให้มีการยกเว้นลักษณะพิเศษ เช่น ต้องมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น
“ผมได้นำเสนอเรื่องทั้งหมดต่อรองวิษณุ(เครืองาม) ในฐานะประธาน กกถ.ไปแล้ว และท่านก็เห็นชอบ และจะนำเสนอต่อ กกถ.ต่อไป”
นายจาตุรนต์กล่วด้วยว่า การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างของครูก็สามารถทำได้ แต่คงต้องขอร้องว่าอย่าทำให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน จะหยุดการเรียนการสอนไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นการหยุด ประท้วงหรือกดดันยิ่งไม่ได้ใหญ่ ซึ่งคงต้องไปดูว่าครูทำผิดระเบียบ จนเกิดความเสียหายต่อการเรียนการสอนหรือไม่ ถ้าผิดทาง สพฐ.ต้องดำเนินการ ส่วนการครูจะไปร่วมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ครูก็ต้องชี้แจ้งด้วยว่า ไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ไม่เช่นนั้นสังคมก็เกิดความสับสน
ด้านนายสุวิทย์ คุณกิตติ กล่าวว่า ครูส่วนใหญ่ยอมรับการโอนย้ายอยู่แล้ว และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยอมรับเพราะทั้งหมดนี้เป็นกติกาตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมั่นใจว่า เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาทางการเมือง ส่วนที่จะมีการต่อต้านกิจกรรมของพรรคไทยรักไทย ทุกกิจกรรมนั้น ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเพราะมีทั้งคนที่เป็นคนของไทยรักไทยและไม่ใช่ไทยรักไทยซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย และมั่นใจว่าไม่มีผลกระทบอะไร