ผู้จัดการรายวัน - ม็อบครูกว่าแสนรวมพลังต้านถ่ายโอน ชี้ชัด อปท.ไม่มีความสามารถ ในการจัดการศึกษา พร้อมเดินเครื่องยื่นศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ขีดเส้นตาย 7 ธ.ค. ถ้าไม่ตัด “สมัครใจ” ทิ้งเคลื่อนทัพมากกว่าเดิมกดดันแน่ “จาตุรนต์” ยันต้องเป็นไปตามที่คณะทำงาน ทรท.และองค์กรครูที่ดำเนินการมาตามขั้นตอน “ทักษิณ” วอน อปท. อย่าเคลื่อนไหว มหาดไทย กำลังช่วยอยู่ ขณะที่ องค์กรท้องถิ่น ทนไม่ไหวขู่ขนม็อบสู้ถ้าคุยไม่รู้เรื่อง
วานนี้ (29 พ.ย.)ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครูจากทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวนกว่า 100,000 คนได้เดินทางมาถึงเพื่อชุมนุมคัดค้านการถ่ายโอนครูไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายสานิตย์ พลศรี ประธานสภาองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ได้ออก แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2548 เรื่องปัญหาแนวโน้มการจัดการศึกษาของท้องถิ่น โดยสามารถสรุปได้ว่า หากถ่ายโอนไป อปท. จะทำให้อำนาจการบริหารการศึกษาจะขึ้นอยู่กับบุคคลซึ่งไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญ ไม่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการจัดการศึกษาอย่างมืออาชีพ ขณะที่ครูต้องดำรงสถานะเป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แทนที่จะเป็นข้าราชการ ซึ่งครูส่วนใหญ่ทำใจไม่ได้
ที่สำคัญคือ ไม่มั่นใจในคุณภาพของผู้บังคับบัญชา เนื่องจากในอดีต พ.ศ.2509-2523 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ โรงเรียนประชาบาล ซึ่งเสมียนบนที่ว่าการอำเภอ จนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้ครูสามารถทำได้ทุกเรื่อง และเป็นห่วงเรื่องการจัดสรรงบ โดยเกรงกว่า งบการศึกษาจะถูกตัดไปพัฒนาด้านอื่นหมด เช่น แหล่งน้ำประปาไฟฟ้า ถนน โทรศัพท์
จากนั้น เวลา 09.00 น. เวทีคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาฯ ได้เริ่มอภิปราย เพื่อโจมตีบุคคลที่ดึงดันถ่ายโอนสถานศึกษาให้อปท. และร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ จะปกป้องรักษา ศธ. และสถานศึกษาให้เป็นมรดกของชาติ ครูร่วมกันร้องเพลง สดุดีมหาราชาและประกอบพิธีขับไล่วิญญาณชั่วร้าย โดยระบุว่าขณะนี้มีวิญญาณชั่วร้ายสิงสถิตในศธ.และรัฐบาล และสาปแช่งคนที่ดำเนินการให้มีการถ่ายโอน สถานศึกษาด้วย
ขณะเดียวกันตัวแทนครู 5 คนได้จุดเทียนขนาดใหญ่ด้านหน้าเวที 5 เล่ม เพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ให้แสงสว่างกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก และให้การศึกษาอยู่คู่กับศธ.ตลอดไป
นายวีระ โทนุบล อาจารย์ ร.ร.บ้านโคกยาง จ.บุรีรัมย์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมคัดค้าน กล่าวว่า มีครูจากบุรีรัมย์มาร่วมประมาณ 600 คน โดยยืนยันว่า ครู กับ อบต. ในพื้นที่ไม่เคยขัดแย้ง และทาง อบต.เองก็บอกด้วยว่า ไม่อยากรับ เพราะการบริหารจัดการด้านการศึกษาต่างกับการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค หาก อปท.รับจะมีปัญหาตามมาเรื่องงบประมาณและระบบเลื่อนขั้น ระบบหนี้สินของครู เพราะรัฐจัดสรรให้ ร้อยละ 35 แต่ประมาณร้อยละ 24 เป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนครู ส่วนที่เหลือร้อยละ 11 เป็นงบพัฒนา ซึ่งไม่พออย่างแน่นอน
ด้านนายทวี พิมพขันธ์ แกนนำครูจสุพรรณบุรี ที่โกนหัวเมื่อครั้งที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา บอกว่า กฎหมายการกระจายอำนาจเป็นกฎหมาย ที่ยากต่อการนำไปปฏิบัติ ที่สำคัญคือ เป็นกฎหมายที่ครู ประชาชนทั่วประเทศไม่ยอมรับ ซึ่งถ้าไม่แก้รัฐบาลจะอยู่อย่างไม่มีความสุข เพราะครูทั่วประเทศจะเดินทางมาเรียกร้องเพิ่มมากขึ้น
ต่อมาเวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศธ.ได้เชิญตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มาชุมนุมเขตละ 2 คนไปประชุมหารือรับฟังความคิดเห็น ที่หอประชุมคุรุสภา ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการให้ตัดคำว่า “สมัครใจ” ออกจาก กฎหมายถ่ายโอนการศึกษา โดยนายจาตุรนต์ กล่าวยืนยันว่าการแก้กฎหมาย ให้เป็นไปตามคณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และองค์กรครูที่ดำเนินการมาตามขั้นตอนตามลำดับ
ทั้งนี้ หลังจากนายจาตุรนต์ชี้แจง กลุ่มครูยืนยันที่จะพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้พบและสลายการชุมนุมในที่สุด โดยแกนนำฯ ได้แจ้งว่า ครูมาชุมนุมหลายครั้งแล้ว นายกรัฐมนตรีไม่เคยมาพบเลย ถ้าไม่ออกมาพบสมัยหน้าก็อย่าหวังจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ส่วนแกนนำองค์กรพันธมิตรกว่า 100 คน ประชุมกำหนดทิศทาง การเคลื่อนไหวต่อที่หอประชุมคุรุสภา
นายประภาศ ศาสตร์แก้ว ประธานชมรมครูประชาบาลภาคอีสาน ให้สัมภาษณ์ หลังจากการประชุมว่า มีความพอใจในตัวรมว.ศธ.ระดับหนึ่งในการออกมารับปากว่าจะดำเนินการด้านกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อนปิดสมัยการประชุมสภาวันที่ 19 ธ.ค. อย่างไรก็ตาม ครูก็ยังไม่พอใจเพราะยังไม่มีการตัดคำว่า “สมัครใจ” ออก ดังนั้น จะรอดูจนถึงวันที่ 7 ธ.ค. ถือว่าเป็นวันขีดเส้นตาย แล้วถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไข กฎหมายให้เสร็จทันและไม่ตัดคำว่า “สมัครใจ” ออกจะถือว่าเบี้ยว จะทำการเคลื่อนม็อบอีกในวันที่ 8 ธ.ค. อย่างแน่นอน และจะมามากกว่านี้
สำหรับตัวแทน 5 คนที่จะไปร่วมแปรญัตติแก้ไขกฎหมาย ประกอบด้วย นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ นายประภาส ศาสตร์แก้ว นายชัยณรงค์ มนตรีโพธิ์ นายจำเริญ พรหมมาศ และนายอวยชัย วะทา อย่างไรก็ตาม วิปรัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะให้ครูเข้าร่วมในกรรมาธิการกี่คน
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนอำนาจ ของพรรคไทยรักไทย แถลงภายหลังการประชุมร่วมของคณะกรรมการประสานงานองค์กรครูและอปท.ว่า ได้บรรจุร่างพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจเข้าสู่วาระการประชุมสภาฯในวันที่ 30 พ.ย.นี้ โดยจะมีการรับหลักการในวาระแรก หลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขึ้นมาดูรายละเอียดจำนวน 35 คน ซึ่งทรท.ได้เชิญตัวแทนองค์กรครูจำนวน 5 คน เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการฯด้วย
ส่วนเหตุผลที่ยังต้องคงคำว่า"สมัครใจ"ไว้ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะหากมีความพร้อมก็ต้องมีความสมัครใจด้วย
ด้านนายคำพันธ์ ป้องปาน ส.ว.อุดรธานี ตัวแทนครูอีกขั้วหนึ่ง กล่าวว่า ครูจะผลัดเปลี่ยนกันเข้ารับฟังการประชุมสภาฯตลอดทั้งวัน ซึ่งตอนแรกได้ขอร้องให้ เขตการศึกษาหนึ่งมาได้ไม่เกิน 40 คนเพื่อไม่ให้กระทบการเรียนการสอน แต่ครูบางส่วนไม่ยอม ส่วนตัวแทนของกลุ่มที่จะเสนอเข้าไปเป็นกมธ.มี 4 คน คือ นายนิพนธ์ ชื่นตา นายพิษณุ ตุลสุข นายถวิล น้อยเขียว และนายธีระพัฒน์ คำคูบอน
ขณะที่นายธนารัชต์ สมคะเน นายกสมาคมนักพัฒนาการศึกษาแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ในวันนี้(30 พ.ย.) จะเดินทางไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายกระจายอำนาจขัดกฎหมายการศึกษาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งเป็นความหวังทางเดียวที่เหลืออยู่
สำหรับผลการประชุมของนายปองพล ซึ่งยืนยันจะไม่แก้ไขถ้อยคำ “สมัครใจ” นั้น ตนและเพื่อนครู ไม่หวังจากกรรมการชุดนี้อยู่แล้ว จึงได้ถอนตัวออกมาแล้ว มาหาทางออกด้านอื่นแทน
วันเดียวกันนายวีระวัฒน์ ภักตรนิกร ประธานสมาพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย พร้อมสมาชิกจำนวนกว่า 20 คน เดินทางไปที่พรรคไทยรักไทย เพื่อยื่นหนังสือเสนอความเห็นกรณีการจัดการศึกษาของ อปท. โดยระบุว่า ไม่ขัดข้องในเรื่องของการโอนย้ายตามความสมัครใจ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไข พ.ร.บ.กระจายอำนาจ และขอให้ถอนร่างแก้ไขออกมา
ที่สำคัญอยากให้ทางรัฐบาล และทรท.ช่วยจัดเวทีกลางเพื่อให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกของทุกฝ่ายเพื่อยุติปัญหา เพราะหากไม่มีข้อยุติอาจจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ
ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิชย์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุม ครม.ว่า อยากให้ อปท.อยู่เฉยๆ อยู่อย่างสงบ อย่าออกมาเคลื่อนไหวอะไร เพราะทางมหาดไทยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้แล้ว
วานนี้ (29 พ.ย.)ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครูจากทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวนกว่า 100,000 คนได้เดินทางมาถึงเพื่อชุมนุมคัดค้านการถ่ายโอนครูไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายสานิตย์ พลศรี ประธานสภาองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ได้ออก แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2548 เรื่องปัญหาแนวโน้มการจัดการศึกษาของท้องถิ่น โดยสามารถสรุปได้ว่า หากถ่ายโอนไป อปท. จะทำให้อำนาจการบริหารการศึกษาจะขึ้นอยู่กับบุคคลซึ่งไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญ ไม่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการจัดการศึกษาอย่างมืออาชีพ ขณะที่ครูต้องดำรงสถานะเป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แทนที่จะเป็นข้าราชการ ซึ่งครูส่วนใหญ่ทำใจไม่ได้
ที่สำคัญคือ ไม่มั่นใจในคุณภาพของผู้บังคับบัญชา เนื่องจากในอดีต พ.ศ.2509-2523 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ โรงเรียนประชาบาล ซึ่งเสมียนบนที่ว่าการอำเภอ จนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้ครูสามารถทำได้ทุกเรื่อง และเป็นห่วงเรื่องการจัดสรรงบ โดยเกรงกว่า งบการศึกษาจะถูกตัดไปพัฒนาด้านอื่นหมด เช่น แหล่งน้ำประปาไฟฟ้า ถนน โทรศัพท์
จากนั้น เวลา 09.00 น. เวทีคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาฯ ได้เริ่มอภิปราย เพื่อโจมตีบุคคลที่ดึงดันถ่ายโอนสถานศึกษาให้อปท. และร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ จะปกป้องรักษา ศธ. และสถานศึกษาให้เป็นมรดกของชาติ ครูร่วมกันร้องเพลง สดุดีมหาราชาและประกอบพิธีขับไล่วิญญาณชั่วร้าย โดยระบุว่าขณะนี้มีวิญญาณชั่วร้ายสิงสถิตในศธ.และรัฐบาล และสาปแช่งคนที่ดำเนินการให้มีการถ่ายโอน สถานศึกษาด้วย
ขณะเดียวกันตัวแทนครู 5 คนได้จุดเทียนขนาดใหญ่ด้านหน้าเวที 5 เล่ม เพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ให้แสงสว่างกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก และให้การศึกษาอยู่คู่กับศธ.ตลอดไป
นายวีระ โทนุบล อาจารย์ ร.ร.บ้านโคกยาง จ.บุรีรัมย์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมคัดค้าน กล่าวว่า มีครูจากบุรีรัมย์มาร่วมประมาณ 600 คน โดยยืนยันว่า ครู กับ อบต. ในพื้นที่ไม่เคยขัดแย้ง และทาง อบต.เองก็บอกด้วยว่า ไม่อยากรับ เพราะการบริหารจัดการด้านการศึกษาต่างกับการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค หาก อปท.รับจะมีปัญหาตามมาเรื่องงบประมาณและระบบเลื่อนขั้น ระบบหนี้สินของครู เพราะรัฐจัดสรรให้ ร้อยละ 35 แต่ประมาณร้อยละ 24 เป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนครู ส่วนที่เหลือร้อยละ 11 เป็นงบพัฒนา ซึ่งไม่พออย่างแน่นอน
ด้านนายทวี พิมพขันธ์ แกนนำครูจสุพรรณบุรี ที่โกนหัวเมื่อครั้งที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา บอกว่า กฎหมายการกระจายอำนาจเป็นกฎหมาย ที่ยากต่อการนำไปปฏิบัติ ที่สำคัญคือ เป็นกฎหมายที่ครู ประชาชนทั่วประเทศไม่ยอมรับ ซึ่งถ้าไม่แก้รัฐบาลจะอยู่อย่างไม่มีความสุข เพราะครูทั่วประเทศจะเดินทางมาเรียกร้องเพิ่มมากขึ้น
ต่อมาเวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศธ.ได้เชิญตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มาชุมนุมเขตละ 2 คนไปประชุมหารือรับฟังความคิดเห็น ที่หอประชุมคุรุสภา ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการให้ตัดคำว่า “สมัครใจ” ออกจาก กฎหมายถ่ายโอนการศึกษา โดยนายจาตุรนต์ กล่าวยืนยันว่าการแก้กฎหมาย ให้เป็นไปตามคณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และองค์กรครูที่ดำเนินการมาตามขั้นตอนตามลำดับ
ทั้งนี้ หลังจากนายจาตุรนต์ชี้แจง กลุ่มครูยืนยันที่จะพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้พบและสลายการชุมนุมในที่สุด โดยแกนนำฯ ได้แจ้งว่า ครูมาชุมนุมหลายครั้งแล้ว นายกรัฐมนตรีไม่เคยมาพบเลย ถ้าไม่ออกมาพบสมัยหน้าก็อย่าหวังจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ส่วนแกนนำองค์กรพันธมิตรกว่า 100 คน ประชุมกำหนดทิศทาง การเคลื่อนไหวต่อที่หอประชุมคุรุสภา
นายประภาศ ศาสตร์แก้ว ประธานชมรมครูประชาบาลภาคอีสาน ให้สัมภาษณ์ หลังจากการประชุมว่า มีความพอใจในตัวรมว.ศธ.ระดับหนึ่งในการออกมารับปากว่าจะดำเนินการด้านกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อนปิดสมัยการประชุมสภาวันที่ 19 ธ.ค. อย่างไรก็ตาม ครูก็ยังไม่พอใจเพราะยังไม่มีการตัดคำว่า “สมัครใจ” ออก ดังนั้น จะรอดูจนถึงวันที่ 7 ธ.ค. ถือว่าเป็นวันขีดเส้นตาย แล้วถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไข กฎหมายให้เสร็จทันและไม่ตัดคำว่า “สมัครใจ” ออกจะถือว่าเบี้ยว จะทำการเคลื่อนม็อบอีกในวันที่ 8 ธ.ค. อย่างแน่นอน และจะมามากกว่านี้
สำหรับตัวแทน 5 คนที่จะไปร่วมแปรญัตติแก้ไขกฎหมาย ประกอบด้วย นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ นายประภาส ศาสตร์แก้ว นายชัยณรงค์ มนตรีโพธิ์ นายจำเริญ พรหมมาศ และนายอวยชัย วะทา อย่างไรก็ตาม วิปรัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะให้ครูเข้าร่วมในกรรมาธิการกี่คน
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนอำนาจ ของพรรคไทยรักไทย แถลงภายหลังการประชุมร่วมของคณะกรรมการประสานงานองค์กรครูและอปท.ว่า ได้บรรจุร่างพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจเข้าสู่วาระการประชุมสภาฯในวันที่ 30 พ.ย.นี้ โดยจะมีการรับหลักการในวาระแรก หลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขึ้นมาดูรายละเอียดจำนวน 35 คน ซึ่งทรท.ได้เชิญตัวแทนองค์กรครูจำนวน 5 คน เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการฯด้วย
ส่วนเหตุผลที่ยังต้องคงคำว่า"สมัครใจ"ไว้ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะหากมีความพร้อมก็ต้องมีความสมัครใจด้วย
ด้านนายคำพันธ์ ป้องปาน ส.ว.อุดรธานี ตัวแทนครูอีกขั้วหนึ่ง กล่าวว่า ครูจะผลัดเปลี่ยนกันเข้ารับฟังการประชุมสภาฯตลอดทั้งวัน ซึ่งตอนแรกได้ขอร้องให้ เขตการศึกษาหนึ่งมาได้ไม่เกิน 40 คนเพื่อไม่ให้กระทบการเรียนการสอน แต่ครูบางส่วนไม่ยอม ส่วนตัวแทนของกลุ่มที่จะเสนอเข้าไปเป็นกมธ.มี 4 คน คือ นายนิพนธ์ ชื่นตา นายพิษณุ ตุลสุข นายถวิล น้อยเขียว และนายธีระพัฒน์ คำคูบอน
ขณะที่นายธนารัชต์ สมคะเน นายกสมาคมนักพัฒนาการศึกษาแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ในวันนี้(30 พ.ย.) จะเดินทางไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายกระจายอำนาจขัดกฎหมายการศึกษาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งเป็นความหวังทางเดียวที่เหลืออยู่
สำหรับผลการประชุมของนายปองพล ซึ่งยืนยันจะไม่แก้ไขถ้อยคำ “สมัครใจ” นั้น ตนและเพื่อนครู ไม่หวังจากกรรมการชุดนี้อยู่แล้ว จึงได้ถอนตัวออกมาแล้ว มาหาทางออกด้านอื่นแทน
วันเดียวกันนายวีระวัฒน์ ภักตรนิกร ประธานสมาพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย พร้อมสมาชิกจำนวนกว่า 20 คน เดินทางไปที่พรรคไทยรักไทย เพื่อยื่นหนังสือเสนอความเห็นกรณีการจัดการศึกษาของ อปท. โดยระบุว่า ไม่ขัดข้องในเรื่องของการโอนย้ายตามความสมัครใจ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไข พ.ร.บ.กระจายอำนาจ และขอให้ถอนร่างแก้ไขออกมา
ที่สำคัญอยากให้ทางรัฐบาล และทรท.ช่วยจัดเวทีกลางเพื่อให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกของทุกฝ่ายเพื่อยุติปัญหา เพราะหากไม่มีข้อยุติอาจจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ
ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิชย์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุม ครม.ว่า อยากให้ อปท.อยู่เฉยๆ อยู่อย่างสงบ อย่าออกมาเคลื่อนไหวอะไร เพราะทางมหาดไทยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้แล้ว