ศูนย์ข่าวนครราชสีมา – แกนนำครูอีสานไม่รับผลการเจรจาร่วม ทรท.กับ 9 ผู้แทนครู ชี้ไม่เป็นไปตามมติขององค์กรครูที่ตกลงกันไว้ เพราะมีการหมกเม็ดเดินหน้าถ่ายโอน แถมผลที่ออกมายังจะสร้างความแตกแยกครั้งใหญ่ระหว่างองค์กรครูกับ อปท.และประชาชน ให้จัดประชุมเจรจารอบใหม่แบบเปิด 23 พ.ย. พร้อมระดมครูเรือนแสนเข้ากรุงเทพฯกดดัน 29-30 พ.ย.นี้ นักวิชาการตัวการปั่น “ครูประถมฯ-ครูมัธยม-อปท.เผชิญหน้าถึงขั้นวิกฤต
วานนี้ (20 พ.ย.) องค์กรครูได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านการโอนการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยนายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษา กล่าวว่า จากการที่องค์กรวิชาชีพครูในนาม "องค์กรเครือข่ายคัดค้านการถ่านโอนการศึกษา" ได้ส่งตัวแทนครู 9 คน เข้าเจรจากับผู้แทนพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ที่มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าคณะ โดยมอบหมายให้เจรจา 2 ประเด็น คือ 1. ให้เพิ่มข้อความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ว่า "มิให้นำความใน (1) และ ( 2 ) มาใช้บังคับภารกิจการจัดการศึกษา ทั้งนี้ในการจัดการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและ กฎหมายว่า ด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษา" และ 2. มิให้ระบุข้อความเกี่ยวกับความสมัครใจของครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษา แต่หากจะระบุก็ให้เขียนว่า “หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีความประสงค์และสมัครใจจะจัดการศึกษา ก็ให้ยื่นเรื่องขอประเมินความพร้อม เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาเองได้ ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสงค์จะโอนย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็สามารถกระทำได้”
ซึ่งการเจรจาปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้นำองค์กรครูดังกล่าวข้างต้น และมิได้นำกลับมาหารือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้นำองค์กรครูตามข้อตกลงแต่อย่าง องค์กรครูจึงได้จัดประชุมผู้นำองค์กรครูทั่วประเทศและจัดประชุมใหญ่เพื่อนครูในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อขอประชามติ ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความเห็นสอดคล้องกันดังนี้
1.ไม่ยอมรับผลการเจรจาระหว่างผู้แทนพรรค ทรท.และผู้แทนองค์กรครู เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ระบุความสมัครใจของฝ่ายต่างๆ ไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 เพราะจะสร้างความแตกแยกร้าวฉานครั้งใหญ่ในวงการศึกษา, อปท. และประชาชนทั่วไปประเทศ เป็นการใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล และหลักการของการจัดการศึกษาชาติ นอกจากนั้น ข้อความที่ระบุดังกล่าวยังเท่ากับว่า จะยังคงมีการเดินหน้าถ่ายโอน ฉกฉวยและยัดเยียดสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการไปยัง อปท.ต่อไป แทนที่จะให้ อปท. ที่มีความพร้อมจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อจัดการศึกษาเอง
2. ขอให้มีการประชุมเจรจารอบใหม่ ระหว่างผู้แทน พรรค ทรท.และผู้นำองค์กรครูทั่วประเทศใน วันที่ 23 พ.ย. นี้ ทั้งนี้การประชุมจะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยและไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมโดยไม่จำเป็น
3.ขอให้มีการระดมกำลังจัดชุมนุมใหญ่ ครูและผู้ปกครองทั่วประเทศอย่างน้อย 1 แสนคนที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 29-30 พ.ย. นี้ เพื่อแสดงประชามติความต้องการที่แท้จริงของครูให้รัฐบาลและรัฐสภานำไปปฏิบัติ
4.ขอให้ผู้แทนเจรจาขององค์กรครู 3 คน ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในจำนวน 9 คน ที่เห็นด้วยกับผู้แทนพรรคทรท. ประกอบด้วย 1. นายคำพันธ์ ป้องปราน ประธานเครือข่ายคัดค้านถ่ายโอนการศึกษา และส.ว. อุดรธานี 2. นายถวิล น้อยเขียว รองประธานเครือข่ายคัดค้านฯ และ นายพิษณุ กุลสุข รองประธานเครือข่ายคัดค้านฯ และ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1 จ.สกลนคร ให้หันมายอมรับประชามติความต้องการของครูทั่วประเทศ งดการเดินสายชี้นำผิดๆ ให้ครูยอมสวามิภักดิ์ต่อข้อตกลงที่เป็นภัยร้ายต่อการศึกษาของชาติและยุติการขัดขวางการชุมนุมใหญ่เพื่อแสดงประชามติคัดค้านการถ่านโอนการศึกษา
5. ใข้อชี้แจงว่า การเคลื่อนไหวของครูทั่วประเทศครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อปกปักรักษาสถาบันการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการที่พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราชทรงพระราชทานให้เมื่อ 113 ปี ก่อนโดยมิได้กระทบต่อการเรียนการสอนและมิได้เป็นความขัดแย้งระหว่างครูและอปท.แต่ประการ
“รัฐบาลไทยรักไทย ไม่มีความจริงใจต่อการแก้ปัญหานี้ โดยได้โยนการแก้กฎหมายให้เป็นเรื่องของรัฐสภา ทั้งที่จะนำเข้าครม.เพื่อผลักดันเอง ซึ่งรวดเร็วกล่าว อีกทั้งได้นำการเมืองเข้าแทรกแซงบ่อนทำลายสลายพลังขององค์กรครูและสร้างความแตกแยกขัดแย้งขึ้นระหว่างครูกับอปท.เพื่อหวังผลแฝงเร้นไม่ต้องการจัดสรรงบฯให้กับท้องถิ่น 35% ตามกฎหมายกำหนด”
ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาสหพันธ์ครูแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 23-25 พ.ย.นี้ ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 2,669 แห่งที่สังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมนัดกันไปชุมนุมใหญ่ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียนพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อหารือกันถึงเรื่อง การขอแยกตัวออกจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง ไม่ต้องการอยู่กับครูประถมศึกษาอีกต่อไป
“อันนี้เป็นกระแสคลื่นลูกใหม่ลูกที่ 3 ที่จะมาตอกลิ่มความเละตุ้มเปะและความขัดแย้งในวงการศึกษาไทย จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 2 ลูก คือ คลื่นลูกที่ 1 ครูประถมศึกษาปฏิเสธถ่ายโอนเข้าสังกัด อปท. และ คลื่นลูกที่ 2 คือ อปท. ไม่พอใจ และจะพร้อมใจกันแต่งชุดขาวชุมนุมใหญ่ต่อต้านคัดค้านการแก้พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ โดยเฉพาะประเด็นตัดงบประมาณให้น้อยกว่า 35 % วันที่ 28 พ.ย.นี้”
ทั้งนี้กระแสตอกลิ่มความเละตุ้มเปะและความขัดแย้งทั้งหมดของการศึกษาไทยดังกล่าว เป็นความไม่เอาถ่านของรัฐบาลเองในการจัดการศึกษา ส่งผลทำให้คนที่อยู่ดี ๆ กับประชาชนทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลไกที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดต้องมาเผชิญหน้ากัน
“กระแสการศึกษาขณะนี้จะนำไปสู่ความยุ่งเหยิง เละตุ้มเป๊ะเลวร้าย จริงๆ และถ้าสมาคมโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีอยู่ 2,669 แห่งทั่วประเทศ มีมติบอกว่า ขอถอนตัวออกจาก สพฐ.บ้านเมืองจะยุ่งเหยิงหนักขึ้นไปอีก ซึ่งหลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์การศึกษาอันเลวร้ายครั้งนี้มาก รัฐบาลพรรคไทยรักไทยใช้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเปลืองมากถึง 5-6 คน แทนที่จะแก้ปัญหาของชาติกลับมาเพิ่มปัญหา และเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดาเพราะทำให้คนในชาติทะเลาะกันเป็นแสน ๆ ขนกองทัพไปชนกัน...มันบ้า บริหารชาติบ้านเมืองแบบบ้าๆ”
วานนี้ (20 พ.ย.) องค์กรครูได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านการโอนการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยนายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษา กล่าวว่า จากการที่องค์กรวิชาชีพครูในนาม "องค์กรเครือข่ายคัดค้านการถ่านโอนการศึกษา" ได้ส่งตัวแทนครู 9 คน เข้าเจรจากับผู้แทนพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ที่มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าคณะ โดยมอบหมายให้เจรจา 2 ประเด็น คือ 1. ให้เพิ่มข้อความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ว่า "มิให้นำความใน (1) และ ( 2 ) มาใช้บังคับภารกิจการจัดการศึกษา ทั้งนี้ในการจัดการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและ กฎหมายว่า ด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษา" และ 2. มิให้ระบุข้อความเกี่ยวกับความสมัครใจของครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษา แต่หากจะระบุก็ให้เขียนว่า “หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีความประสงค์และสมัครใจจะจัดการศึกษา ก็ให้ยื่นเรื่องขอประเมินความพร้อม เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาเองได้ ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสงค์จะโอนย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็สามารถกระทำได้”
ซึ่งการเจรจาปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้นำองค์กรครูดังกล่าวข้างต้น และมิได้นำกลับมาหารือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้นำองค์กรครูตามข้อตกลงแต่อย่าง องค์กรครูจึงได้จัดประชุมผู้นำองค์กรครูทั่วประเทศและจัดประชุมใหญ่เพื่อนครูในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อขอประชามติ ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความเห็นสอดคล้องกันดังนี้
1.ไม่ยอมรับผลการเจรจาระหว่างผู้แทนพรรค ทรท.และผู้แทนองค์กรครู เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ระบุความสมัครใจของฝ่ายต่างๆ ไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 เพราะจะสร้างความแตกแยกร้าวฉานครั้งใหญ่ในวงการศึกษา, อปท. และประชาชนทั่วไปประเทศ เป็นการใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล และหลักการของการจัดการศึกษาชาติ นอกจากนั้น ข้อความที่ระบุดังกล่าวยังเท่ากับว่า จะยังคงมีการเดินหน้าถ่ายโอน ฉกฉวยและยัดเยียดสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการไปยัง อปท.ต่อไป แทนที่จะให้ อปท. ที่มีความพร้อมจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อจัดการศึกษาเอง
2. ขอให้มีการประชุมเจรจารอบใหม่ ระหว่างผู้แทน พรรค ทรท.และผู้นำองค์กรครูทั่วประเทศใน วันที่ 23 พ.ย. นี้ ทั้งนี้การประชุมจะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยและไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมโดยไม่จำเป็น
3.ขอให้มีการระดมกำลังจัดชุมนุมใหญ่ ครูและผู้ปกครองทั่วประเทศอย่างน้อย 1 แสนคนที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 29-30 พ.ย. นี้ เพื่อแสดงประชามติความต้องการที่แท้จริงของครูให้รัฐบาลและรัฐสภานำไปปฏิบัติ
4.ขอให้ผู้แทนเจรจาขององค์กรครู 3 คน ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในจำนวน 9 คน ที่เห็นด้วยกับผู้แทนพรรคทรท. ประกอบด้วย 1. นายคำพันธ์ ป้องปราน ประธานเครือข่ายคัดค้านถ่ายโอนการศึกษา และส.ว. อุดรธานี 2. นายถวิล น้อยเขียว รองประธานเครือข่ายคัดค้านฯ และ นายพิษณุ กุลสุข รองประธานเครือข่ายคัดค้านฯ และ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1 จ.สกลนคร ให้หันมายอมรับประชามติความต้องการของครูทั่วประเทศ งดการเดินสายชี้นำผิดๆ ให้ครูยอมสวามิภักดิ์ต่อข้อตกลงที่เป็นภัยร้ายต่อการศึกษาของชาติและยุติการขัดขวางการชุมนุมใหญ่เพื่อแสดงประชามติคัดค้านการถ่านโอนการศึกษา
5. ใข้อชี้แจงว่า การเคลื่อนไหวของครูทั่วประเทศครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อปกปักรักษาสถาบันการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการที่พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราชทรงพระราชทานให้เมื่อ 113 ปี ก่อนโดยมิได้กระทบต่อการเรียนการสอนและมิได้เป็นความขัดแย้งระหว่างครูและอปท.แต่ประการ
“รัฐบาลไทยรักไทย ไม่มีความจริงใจต่อการแก้ปัญหานี้ โดยได้โยนการแก้กฎหมายให้เป็นเรื่องของรัฐสภา ทั้งที่จะนำเข้าครม.เพื่อผลักดันเอง ซึ่งรวดเร็วกล่าว อีกทั้งได้นำการเมืองเข้าแทรกแซงบ่อนทำลายสลายพลังขององค์กรครูและสร้างความแตกแยกขัดแย้งขึ้นระหว่างครูกับอปท.เพื่อหวังผลแฝงเร้นไม่ต้องการจัดสรรงบฯให้กับท้องถิ่น 35% ตามกฎหมายกำหนด”
ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาสหพันธ์ครูแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 23-25 พ.ย.นี้ ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 2,669 แห่งที่สังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมนัดกันไปชุมนุมใหญ่ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียนพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อหารือกันถึงเรื่อง การขอแยกตัวออกจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง ไม่ต้องการอยู่กับครูประถมศึกษาอีกต่อไป
“อันนี้เป็นกระแสคลื่นลูกใหม่ลูกที่ 3 ที่จะมาตอกลิ่มความเละตุ้มเปะและความขัดแย้งในวงการศึกษาไทย จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 2 ลูก คือ คลื่นลูกที่ 1 ครูประถมศึกษาปฏิเสธถ่ายโอนเข้าสังกัด อปท. และ คลื่นลูกที่ 2 คือ อปท. ไม่พอใจ และจะพร้อมใจกันแต่งชุดขาวชุมนุมใหญ่ต่อต้านคัดค้านการแก้พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ โดยเฉพาะประเด็นตัดงบประมาณให้น้อยกว่า 35 % วันที่ 28 พ.ย.นี้”
ทั้งนี้กระแสตอกลิ่มความเละตุ้มเปะและความขัดแย้งทั้งหมดของการศึกษาไทยดังกล่าว เป็นความไม่เอาถ่านของรัฐบาลเองในการจัดการศึกษา ส่งผลทำให้คนที่อยู่ดี ๆ กับประชาชนทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลไกที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดต้องมาเผชิญหน้ากัน
“กระแสการศึกษาขณะนี้จะนำไปสู่ความยุ่งเหยิง เละตุ้มเป๊ะเลวร้าย จริงๆ และถ้าสมาคมโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีอยู่ 2,669 แห่งทั่วประเทศ มีมติบอกว่า ขอถอนตัวออกจาก สพฐ.บ้านเมืองจะยุ่งเหยิงหนักขึ้นไปอีก ซึ่งหลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์การศึกษาอันเลวร้ายครั้งนี้มาก รัฐบาลพรรคไทยรักไทยใช้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเปลืองมากถึง 5-6 คน แทนที่จะแก้ปัญหาของชาติกลับมาเพิ่มปัญหา และเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดาเพราะทำให้คนในชาติทะเลาะกันเป็นแสน ๆ ขนกองทัพไปชนกัน...มันบ้า บริหารชาติบ้านเมืองแบบบ้าๆ”