รพ.กรุงเทพฯทุ่ม 1.3 พันล้านสร้างรพ.มะเร็งและอาคารรับลูกค้าต่างชาติ เผยปีหน้าดันกรุ๊ปรพ.กรุงเทพในซอยศูนย์วิจัยขึ้นเป็น "กรุงเทพ เมดิคัล คอมเพล็กซ์" เปิดรักษาและบริการลูกค้าครบวงจร หวังเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติ เจาะฐานลูกค้าระดับบน ลดความเสี่ยงธุรกิจ เหตุเห็นแววเศรษฐกิจปีหน้าชะลอตัวลูกค้าคนไทยอาจหดหายไปบ้าง
นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้อำนวยการบริษัท/ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มที่ 1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ดำเนินกิจการ "โรงพยาบาลกรุงเทพ" เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของรพ.กรุงเทพได้ใช้เงินลงทุนกว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อขยายบริการ, เปิดรพ.มะเร็งกรุงเทพ พร้อมให้บริการได้ในต้นปีหน้า โดยเงินดังกล่าวจะลงทุนใน 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย 1.ลงทุนสร้างอาคาร 3 อาคาร ประกอบด้วย อาคารโรงพยาบาลมะเร็ง 450 ล้านบาท ,อาคารอินเตอร์ รองรับลูกค้าที่มาจากต่างประเทศ มูลค่า 300 ล้านบาท และ อาคารที่จอดรถ 75 ล้านบาท
2.ลงทุนซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของการตรวจเช็คมะเร็งไปจนถึงการรักษามะเร็งในระยะต่างๆรวม 570 ล้านบาท และ3. การจัดจ้างบุคลากรที่มีคุณภาพและความชำนาญเรื่องการรักษาโรคมะเร็งใน 4 ด้านหลัก คือ แพทย์รักษาและตรวจเช็ค , แพทย์รังสีรักษา ,นิวเคลียร์เมดิชั่น และ แพทย์มะเร็งในเด็ก การลงทุนดังกล่าวใช้ทุนของบริษัท และยังไม่มีแนวคิดเพิ่มทุน
ทั้งนี้เมื่อรพ.มะเร็งกรุงเทพสร้างเสร็จพร้อมเปิดให้บริการจะส่งผลให้รพ.กรุงเทพในซอยศูนย์วิจัยถูกผลักดันขึ้นเป็น "กรุงเทพ เมดิคัล คอมเพล็กซ์" ภายในปี 2549 โดยจะเป็นอาณาจักรที่ให้บริการรักษาแบบครบวงจรในหลายโรค เพราะปัจจุบันรพ.กรุงเทพ นอกจากรักษาโรคทั่วไปแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ เช่น ศูนย์โรคหัวใจ มะเร็ง และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ศูนย์รักษาความงามครบวงจร และยังเป็นศูนย์ให้บริการตรวจสุขภาพ และรักษาโรคให้กับชาวต่างชาติ
นอกจากการสร้างอาคารใหม่ยังได้ปรับปรุงอาคารเดิมให้ดูใหม่ พร้อมรับรองลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงยังมีแผนที่จะสร้างมาตรฐานการรักษาในทุกแผนกของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ของรพ.กรุงเทพเป็นคนไทยกว่า80% และชาวต่างประเทศ18%
"อัตราค่าบริการรักษาโรคมะเร็งของรพ.กรุงเทพ เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ เราถูกกว่าประมาณ 50% และเมื่อเทียบกับการรักษาในยุโรปเราจะถูกมากกว่า 50% ซึ่งลูกค้าต่างชาติกลุ่มเป้าหมายแรก คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากนั้นต่อไปเราจะบุกตลาดยุโรปและอเมริกา"
ส่วนเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้ การปรับปรุงบริการ และเพิ่มพื้นที่การให้บริการในครั้งนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง เพราะหากเศรษฐกิจไม่ดี ผลกระทบที่รพ.เอกชนจะได้รับคือ จะมีลูกค้าบางกลุ่มย้ายไปรับบริการในรพ.ของรัฐแทน ดังนั้นจึงมองตลาดลูกค้าต่างประเทศเข้ามาเสริม ในกลุ่มบริการระดับบน ซึ่งรพ.มะเร็ง และอาคารอินเตอร์ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติในปีหน้าให้เป็น 25% และเพิ่มเป็น 30%ในปี 2550
"การแยกลูกค้าชาวต่างชาติไปอีกอาคารหนึ่งเพื่อความสะดวกในเรื่องบริการ และยังทำให้ลูกค้าคนไทยได้รับบริการเต็มที่ แต่ทั้งนี้เมื่อลงลึกในการรักษา ไม่ว่าต่างชาติหรือคนไทยก็จะถูกส่งไปตามแผนกเฉพาะโรคเหมือนกัน โดยหลังจากเพิ่มอาคารและบริการ คาดว่าต่อวันจะมีคนไข้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้จาก 2,000 คนต่อวันในปีนี้ เป็น 3,500 คนในสิ้นปีหน้า"
ส่วนยอดรายได้รวมของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการฯ ซึ่งมีโรงพยาบาลเครือข่ายอยู่ 14 แห่งกระจายอยู่ในกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ รวมถึงบริษัทผลิตยา คาดว่าปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท เติบโต 25% จากปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ปีหน้าตั้งเป้าธุรกิจต้องเติบโตไม่น้อยกว่า30% โดยสิ่งที่บริษัทจะเร่งดำเนินการต่อไปคือ การให้ความสำคัญกับการวิจัยตลาด และการพัฒนาบุคลากร เพื่อเทียบชั้นให้ทันกับคู่แข่งในภูมิภาค คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย นอกจากนั้นยังสนใจที่จะเพิ่มบริการตรวจเช็คและรักษาโรคสมอง ซึ่งการจะเป็นโครงการต่อไป
นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้อำนวยการบริษัท/ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มที่ 1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ดำเนินกิจการ "โรงพยาบาลกรุงเทพ" เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของรพ.กรุงเทพได้ใช้เงินลงทุนกว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อขยายบริการ, เปิดรพ.มะเร็งกรุงเทพ พร้อมให้บริการได้ในต้นปีหน้า โดยเงินดังกล่าวจะลงทุนใน 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย 1.ลงทุนสร้างอาคาร 3 อาคาร ประกอบด้วย อาคารโรงพยาบาลมะเร็ง 450 ล้านบาท ,อาคารอินเตอร์ รองรับลูกค้าที่มาจากต่างประเทศ มูลค่า 300 ล้านบาท และ อาคารที่จอดรถ 75 ล้านบาท
2.ลงทุนซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของการตรวจเช็คมะเร็งไปจนถึงการรักษามะเร็งในระยะต่างๆรวม 570 ล้านบาท และ3. การจัดจ้างบุคลากรที่มีคุณภาพและความชำนาญเรื่องการรักษาโรคมะเร็งใน 4 ด้านหลัก คือ แพทย์รักษาและตรวจเช็ค , แพทย์รังสีรักษา ,นิวเคลียร์เมดิชั่น และ แพทย์มะเร็งในเด็ก การลงทุนดังกล่าวใช้ทุนของบริษัท และยังไม่มีแนวคิดเพิ่มทุน
ทั้งนี้เมื่อรพ.มะเร็งกรุงเทพสร้างเสร็จพร้อมเปิดให้บริการจะส่งผลให้รพ.กรุงเทพในซอยศูนย์วิจัยถูกผลักดันขึ้นเป็น "กรุงเทพ เมดิคัล คอมเพล็กซ์" ภายในปี 2549 โดยจะเป็นอาณาจักรที่ให้บริการรักษาแบบครบวงจรในหลายโรค เพราะปัจจุบันรพ.กรุงเทพ นอกจากรักษาโรคทั่วไปแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ เช่น ศูนย์โรคหัวใจ มะเร็ง และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ศูนย์รักษาความงามครบวงจร และยังเป็นศูนย์ให้บริการตรวจสุขภาพ และรักษาโรคให้กับชาวต่างชาติ
นอกจากการสร้างอาคารใหม่ยังได้ปรับปรุงอาคารเดิมให้ดูใหม่ พร้อมรับรองลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงยังมีแผนที่จะสร้างมาตรฐานการรักษาในทุกแผนกของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ของรพ.กรุงเทพเป็นคนไทยกว่า80% และชาวต่างประเทศ18%
"อัตราค่าบริการรักษาโรคมะเร็งของรพ.กรุงเทพ เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ เราถูกกว่าประมาณ 50% และเมื่อเทียบกับการรักษาในยุโรปเราจะถูกมากกว่า 50% ซึ่งลูกค้าต่างชาติกลุ่มเป้าหมายแรก คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากนั้นต่อไปเราจะบุกตลาดยุโรปและอเมริกา"
ส่วนเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้ การปรับปรุงบริการ และเพิ่มพื้นที่การให้บริการในครั้งนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง เพราะหากเศรษฐกิจไม่ดี ผลกระทบที่รพ.เอกชนจะได้รับคือ จะมีลูกค้าบางกลุ่มย้ายไปรับบริการในรพ.ของรัฐแทน ดังนั้นจึงมองตลาดลูกค้าต่างประเทศเข้ามาเสริม ในกลุ่มบริการระดับบน ซึ่งรพ.มะเร็ง และอาคารอินเตอร์ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติในปีหน้าให้เป็น 25% และเพิ่มเป็น 30%ในปี 2550
"การแยกลูกค้าชาวต่างชาติไปอีกอาคารหนึ่งเพื่อความสะดวกในเรื่องบริการ และยังทำให้ลูกค้าคนไทยได้รับบริการเต็มที่ แต่ทั้งนี้เมื่อลงลึกในการรักษา ไม่ว่าต่างชาติหรือคนไทยก็จะถูกส่งไปตามแผนกเฉพาะโรคเหมือนกัน โดยหลังจากเพิ่มอาคารและบริการ คาดว่าต่อวันจะมีคนไข้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้จาก 2,000 คนต่อวันในปีนี้ เป็น 3,500 คนในสิ้นปีหน้า"
ส่วนยอดรายได้รวมของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการฯ ซึ่งมีโรงพยาบาลเครือข่ายอยู่ 14 แห่งกระจายอยู่ในกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ รวมถึงบริษัทผลิตยา คาดว่าปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท เติบโต 25% จากปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ปีหน้าตั้งเป้าธุรกิจต้องเติบโตไม่น้อยกว่า30% โดยสิ่งที่บริษัทจะเร่งดำเนินการต่อไปคือ การให้ความสำคัญกับการวิจัยตลาด และการพัฒนาบุคลากร เพื่อเทียบชั้นให้ทันกับคู่แข่งในภูมิภาค คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย นอกจากนั้นยังสนใจที่จะเพิ่มบริการตรวจเช็คและรักษาโรคสมอง ซึ่งการจะเป็นโครงการต่อไป