ผู้จัดการรายวัน-เกรฮาวด์ คาเฟ่ เปิดตัวธุรกิจใหม่ เกรฮาวด์ แคร์เทอร์ริ่ง หลังพบยอดขายพุ่งรับบีโลว์เดอะไลน์ ปั้นฟู้ดสไตลิสต์ปรับโฉมเมนูร่วม 100 รายการ พร้อมดันสแน็คบ็อกซ์ไฮโซติดตลาด โดยชูคอนเซ็ปต์แฟชันฟู้ด พร้อมดึงไอเบอร์รี่และทาเปียร์เสริมทัพ หวังกวาดรายได้เพิ่มปีละ 20%
นางพรศิริ โรจน์เมธา กรรมการผู้จัดการเกรฮาวด์ คาเฟ่ เปิดเผยว่า ทางร้านฯได้เปิดตัวธุรกิจเกรฮาวด์แคเทอร์ริ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาได้พัฒนาความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร โดยได้จัดให้มีฟู้ดสไตลิสต์เข้ามาปรับปรุงโฉมและเมนูอาหารจากเดิม 50 เมนูเพิ่มเป็น 100 เมนูแล้ว รวมทั้งจัดทำสินค้าใหม่ "สแน็ค บ็อกซ์" ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ฟู้ด แฟชัน ฟอร์ ฟู้ด พีเพิล" นอกจากนี้ยังลงทุนสร้างครัวใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม และมีอุปกรณ์ครัวที่ทันสมัย โดยใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจส่วนนี้ด้วย ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะเติบโต 10%
ก่อนหน้านั้นทางร้านฯได้ร่วมมือกับลูกค้าที่เป็นออร์แกนไนเซอร์ในการจัดอีเว้นท์แคเทอร์ริ่งให้มานาน 5-6 ปีแล้ว โดยมีรายได้จากธุรกิจนี้ 5-8% ของรายได้ทั้งหมด เนื่องจากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทำให้ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้กลยุทธ์ทำตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์มากขึ้น เช่น
การจัดงานอีเว้นท์ทางการตลาด จึงทำให้ทางร้านฯมีรายได้จากธุรกิจนี้เข้ามามากขึ้นทุกปี
ดังนั้นในปีนี้จึงได้เริ่มจัดตั้งธุรกิจเกรฮาวด์แคเทอร์ริ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับรู้อย่างจริงจัง โดยมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นออร์แกนไนเซอร์ในการจัดอีเว้นท์เป็นหลัก นอกจากนั้นเป็นกลุ่มธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องการจัดปาร์ตี้ส่วนตัวที่บ้านด้วย
สำหรับตลาดรวมธุรกิจแคเทอร์ริ่งในไทยไม่นับรวมโรงแรมนั้นมีมูลค่าตลาด 300 ล้านบาท โดยมีคู่แข่งในตลาดที่จำหน่ายสินค้าระดับบนด้วยกัน ได้แก่ ยาป่าน แคเทอร์ริ่ง, ไวท์คาเฟ่ ซึ่งมีอาหารสแน็คบ็อกซ์ในระดับราคา 120 บาทต่อกล่องซึ่งใกล้เคียง นอกนั้นเป็นธุรกิจแคเทอร์ริ่งที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นตลาดสินค้าแมส เช่น เอสแอนด์พี,สีฟ้า ซึ่งมีเมนูอาหารเฉพาะสแน็คบ็อกซ์ขายในราคา 35-60 บาทต่อกล่อง ซึ่งถูกกว่าเพราะส่วนใหญ่เป็นเมนูแซนวิชและพายธรรมดา
ทั้งนี้ทางร้านฯคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 20% ในปีหน้า โดยอาศัยจุดเด่นที่เหนือคู่แข่ง เช่น
การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจโดยล่าสุดได้แก่ไอศกรีนไอเบอร์รี่และบริษัท ทาเปียร์ เพื่อมาเสริมจุดอ่อน เนื่องจากทางร้านฯไม่มีจำหน่ายไอศกรีม และไม่มีความพร้อมด้านโต๊ะอาหารและพนักงานเสิร์ฟ นอกจากนั้นยังมีบริการปรับเมนูอาหารให้คัสโตไมซ์กับความต้องการของลูกค้า
ปัจจุบันทางร้านฯมีรายได้มาจากธุรกิจเกรฮาวด์ คาเฟ่ ที่มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ
ได้แก่ เกษรพลาซ่า, ดิเอ็มโพเรียม, ซอยทองหล่อ, เซ็นทรัลชิดลม และตึกเอ็มไพร์สเตท โดยในปีหน้าจะมีรายได้เพิ่มอีก 20% จากการเปิดสาขาใหม่ 3 สาขา ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน และศูนย์การค้าแห่งใหม่พหลโยธิน นอกจากนั้นยังมีรายได้มาจากร้านทู ดาย ฟอร์
ซึ่งมีแห่งเดียวที่โครงการเอชวันทองหล่อ โดยทางร้านฯเตรียมใช้เป็นสถานที่ในการจัดอีเว้นท์ให้กับออร์แกนไนเซอร์ต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ด้วย
นางพรศิริ โรจน์เมธา กรรมการผู้จัดการเกรฮาวด์ คาเฟ่ เปิดเผยว่า ทางร้านฯได้เปิดตัวธุรกิจเกรฮาวด์แคเทอร์ริ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาได้พัฒนาความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร โดยได้จัดให้มีฟู้ดสไตลิสต์เข้ามาปรับปรุงโฉมและเมนูอาหารจากเดิม 50 เมนูเพิ่มเป็น 100 เมนูแล้ว รวมทั้งจัดทำสินค้าใหม่ "สแน็ค บ็อกซ์" ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ฟู้ด แฟชัน ฟอร์ ฟู้ด พีเพิล" นอกจากนี้ยังลงทุนสร้างครัวใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม และมีอุปกรณ์ครัวที่ทันสมัย โดยใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจส่วนนี้ด้วย ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะเติบโต 10%
ก่อนหน้านั้นทางร้านฯได้ร่วมมือกับลูกค้าที่เป็นออร์แกนไนเซอร์ในการจัดอีเว้นท์แคเทอร์ริ่งให้มานาน 5-6 ปีแล้ว โดยมีรายได้จากธุรกิจนี้ 5-8% ของรายได้ทั้งหมด เนื่องจากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทำให้ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้กลยุทธ์ทำตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์มากขึ้น เช่น
การจัดงานอีเว้นท์ทางการตลาด จึงทำให้ทางร้านฯมีรายได้จากธุรกิจนี้เข้ามามากขึ้นทุกปี
ดังนั้นในปีนี้จึงได้เริ่มจัดตั้งธุรกิจเกรฮาวด์แคเทอร์ริ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับรู้อย่างจริงจัง โดยมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นออร์แกนไนเซอร์ในการจัดอีเว้นท์เป็นหลัก นอกจากนั้นเป็นกลุ่มธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องการจัดปาร์ตี้ส่วนตัวที่บ้านด้วย
สำหรับตลาดรวมธุรกิจแคเทอร์ริ่งในไทยไม่นับรวมโรงแรมนั้นมีมูลค่าตลาด 300 ล้านบาท โดยมีคู่แข่งในตลาดที่จำหน่ายสินค้าระดับบนด้วยกัน ได้แก่ ยาป่าน แคเทอร์ริ่ง, ไวท์คาเฟ่ ซึ่งมีอาหารสแน็คบ็อกซ์ในระดับราคา 120 บาทต่อกล่องซึ่งใกล้เคียง นอกนั้นเป็นธุรกิจแคเทอร์ริ่งที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นตลาดสินค้าแมส เช่น เอสแอนด์พี,สีฟ้า ซึ่งมีเมนูอาหารเฉพาะสแน็คบ็อกซ์ขายในราคา 35-60 บาทต่อกล่อง ซึ่งถูกกว่าเพราะส่วนใหญ่เป็นเมนูแซนวิชและพายธรรมดา
ทั้งนี้ทางร้านฯคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 20% ในปีหน้า โดยอาศัยจุดเด่นที่เหนือคู่แข่ง เช่น
การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจโดยล่าสุดได้แก่ไอศกรีนไอเบอร์รี่และบริษัท ทาเปียร์ เพื่อมาเสริมจุดอ่อน เนื่องจากทางร้านฯไม่มีจำหน่ายไอศกรีม และไม่มีความพร้อมด้านโต๊ะอาหารและพนักงานเสิร์ฟ นอกจากนั้นยังมีบริการปรับเมนูอาหารให้คัสโตไมซ์กับความต้องการของลูกค้า
ปัจจุบันทางร้านฯมีรายได้มาจากธุรกิจเกรฮาวด์ คาเฟ่ ที่มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ
ได้แก่ เกษรพลาซ่า, ดิเอ็มโพเรียม, ซอยทองหล่อ, เซ็นทรัลชิดลม และตึกเอ็มไพร์สเตท โดยในปีหน้าจะมีรายได้เพิ่มอีก 20% จากการเปิดสาขาใหม่ 3 สาขา ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน และศูนย์การค้าแห่งใหม่พหลโยธิน นอกจากนั้นยังมีรายได้มาจากร้านทู ดาย ฟอร์
ซึ่งมีแห่งเดียวที่โครงการเอชวันทองหล่อ โดยทางร้านฯเตรียมใช้เป็นสถานที่ในการจัดอีเว้นท์ให้กับออร์แกนไนเซอร์ต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ด้วย