ผู้จัดการรายวัน - ชท.ให้ทุกพรรคส่งตัวแทนเป็นตั้งคณะทำงานยกร่างแก้กม.เลือกตั้ง ก่อนดำเนินการ ยันตั้งศาลฎิกาฝ่ายการเลือกตั้งทำหน้าที่แจกใบเหลือง - แดง ส.ส. ส่วนระหว่างเลือกตั้งให้สิทธิ กกต.ชักใบเหลืองได้
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าจากการที่พรรคชาติไทย เป็นเจ้าภาพร่วมกับ กกต. จัดประชุมผู้บริหารพรรคการเมืองเพื่อร่วมกันเสนอแนวคิด ในการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งสรุปว่า จะมีการแก้ไขให้การพิจารณาเรื่องการเลือกตั้งไปสิ้นสุดที่ ศาลฎีกาฝ่ายการเลือกตั้ง ตามที่เสนอโดยไม่ต้องไปตั้งศาลขึ้นมาใหม่ และยังมีการเสนอให้แก้ไข หลายประเด็นจึงมีมติตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยให้ทุกพรรค เสนอชื่อ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะทำงานพรรคละ 1 คนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ก.ย.
ทั้งนี้คณะกรรมการยกร่างแก้กฎหมายเลือกตั้ง จะประกอบด้วยตัวแทนพรรคการเมือง , กกต. , ตัวแทนสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งจะประชุมกันทุกสัปดาห์ เพื่อให้มีผลในการปฏิบัติ และยกร่างให้เสร็จเพื่อเสนอแก้กฎหมาย ซึ่งจะเลือกแก้ประเด็นที่สำคัญ และหากเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ก็ต้องแก้ในประเด็นนั้นด้วย ทั้งนี้จะต้องยึดหลักว่าแก้ไขให้น้อยที่สุด
“ถ้าอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง กกต.จะออกใบเลือกก็ออกได้ แต่เมื่อประกาศเป็นส.ส.แล้ว จะมาทำให้เขาหมดสิทธิโดยให้ใบเลือก-ใบแดงไม่ได้ ซึ่งเราเห็นว่าผู้ที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง น่าจะเป็นศาลเท่านั้น เพราะส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามีสภาพเป็นตัวแทนประชาชนไปแล้ว”
นายนิกร ย้ำว่าการให้ศาลฎิกาฝ่ายการเลือกตั้งดำเนินการ คิดว่าจะดีกว่า กกต.เสียด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้กลายเป็นว่า กกต.ไม่ได้อยู่ตรงกลาง แต่อยู่ฝ่าย ตรงข้ามของทั้งฝ่ายใบเหลือง-ใบแดง ดังนั้นควรใช้คนกลางคือใช้ศาลยุติธรรมดีกว่า แต่ไม่ได้เป็นการเพิ่มศาลเพียงแต่มีอีกแผนกหนึ่งของศาลฎีกาเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ กกต.เขาก็เห็นด้วย เพราะไม่เช่นนั้น กกต.จะกลายเป็นจำเลย
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าจากการที่พรรคชาติไทย เป็นเจ้าภาพร่วมกับ กกต. จัดประชุมผู้บริหารพรรคการเมืองเพื่อร่วมกันเสนอแนวคิด ในการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งสรุปว่า จะมีการแก้ไขให้การพิจารณาเรื่องการเลือกตั้งไปสิ้นสุดที่ ศาลฎีกาฝ่ายการเลือกตั้ง ตามที่เสนอโดยไม่ต้องไปตั้งศาลขึ้นมาใหม่ และยังมีการเสนอให้แก้ไข หลายประเด็นจึงมีมติตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยให้ทุกพรรค เสนอชื่อ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะทำงานพรรคละ 1 คนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ก.ย.
ทั้งนี้คณะกรรมการยกร่างแก้กฎหมายเลือกตั้ง จะประกอบด้วยตัวแทนพรรคการเมือง , กกต. , ตัวแทนสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งจะประชุมกันทุกสัปดาห์ เพื่อให้มีผลในการปฏิบัติ และยกร่างให้เสร็จเพื่อเสนอแก้กฎหมาย ซึ่งจะเลือกแก้ประเด็นที่สำคัญ และหากเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ก็ต้องแก้ในประเด็นนั้นด้วย ทั้งนี้จะต้องยึดหลักว่าแก้ไขให้น้อยที่สุด
“ถ้าอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง กกต.จะออกใบเลือกก็ออกได้ แต่เมื่อประกาศเป็นส.ส.แล้ว จะมาทำให้เขาหมดสิทธิโดยให้ใบเลือก-ใบแดงไม่ได้ ซึ่งเราเห็นว่าผู้ที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง น่าจะเป็นศาลเท่านั้น เพราะส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามีสภาพเป็นตัวแทนประชาชนไปแล้ว”
นายนิกร ย้ำว่าการให้ศาลฎิกาฝ่ายการเลือกตั้งดำเนินการ คิดว่าจะดีกว่า กกต.เสียด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้กลายเป็นว่า กกต.ไม่ได้อยู่ตรงกลาง แต่อยู่ฝ่าย ตรงข้ามของทั้งฝ่ายใบเหลือง-ใบแดง ดังนั้นควรใช้คนกลางคือใช้ศาลยุติธรรมดีกว่า แต่ไม่ได้เป็นการเพิ่มศาลเพียงแต่มีอีกแผนกหนึ่งของศาลฎีกาเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ กกต.เขาก็เห็นด้วย เพราะไม่เช่นนั้น กกต.จะกลายเป็นจำเลย