พบพิรุธ "มหกรรมพืชสวนโลก" ต้มครม.ครั้งมโหฬาร ลงทุนจัดงานใหญ่โตกว่า 2 พันล้าน แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากสมาคมพืชสวนโลกให้เป็นเจ้าภาพ "สุดารัตน์" ว๊ากคณะกรรมการ คาดนายกทราบเป็นเรื่องใหญ่แน่ แถมตั้งวงเงินค่าต้นไม้ 232 ล้านบาท แต่ใช้เงินค่าก่อสร้างแพงลิบลิ่ว 1,500 ล้านบาท
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ว่า การที่ไทยเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ในช่วงเดือนพ.ย.2549 ล่าสุดเกิดปัญหาขึ้น โดยทางสมาคมพืชสวนโลกยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว แต่คณะรัฐมนตรีได้ลงทุนคิดเป็นเงินงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท
"ท่านนายกเองก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้ ดิฉันเองก็เพิ่งทราบ จัดเตรียมงานกันมาใหญ่โต แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตอะไรเลย ลงทุนไปแล้ว 2,000 ล้าน ไม่เข้าใจทำงานกันอย่างไร อันนี้เป็นสิ่งไม่ดีเลย การทำงานอย่างนี้ไม่ถูกต้อง
ดิฉันไม่เคยทำงานอะไรอย่างนี้ ทำงานแล้วเจอแบบนี้หลายๆครั้งไม่ไหวนะ ท่านปลัดช่วยรายงานหน่อยเกิดอะไรขึ้น" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการจัดงานได้ทำเรื่องลาออกจากสมาคมพืชสวนโลก ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางสมาคมได้อนุญาตให้ประเทศจีนชิงเป็นเจ้าภาพจัดงานไปก่อน ต่อมาภายหลังคณะกรรมการเกรงว่าหากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานเองโดยไม่ง้อทางสมาคมจะทำให้ไม่มีประเทศอื่นเข้าร่วมงาน
ทางคณะกรรมการของไทยจึงทำเรื่องขอเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตอบรับจากสมาคมให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าไทยจะเป็นสมาชิกแล้ว ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าไทยจะได้เป็นเจ้าภาพหรือไม่ สำหรับการจัดงานดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัย นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรมช.เกษตรฯ และมอบให้ กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้บริหารงาน
สำหรับสถานการณ์การจัดงานล่าสุด ทางคณะกรรมการได้ทำหนังสือประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมจำนวน 50 ประเทศ แต่พบว่าจนถึงขณะนี้มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น ที่ยืนยันเข้าร่วมงาน คือ กัมพูชา เวียดนาม บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สเปน และอิหร่าน โดยประเทศที่มีแนวโน้มเข้าร่วมงานแน่นอนมี 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ส่วนประเทศที่มีแนวโน้มการเข้าร่วมงาน ประมาณ 50 % มี 25 ประเทศ แยกเป็นทวีปเอเซีย ประกอบด้วย เกาหลีเหนือ รัสเซีย คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ ภูฐาน ทวีปแอฟริกา ประกอบด้วย ไนจีเรีย เคนยา อาฟฟริกาใต้ แซมเบีย โมร๊อคโค และทวีปยุโรป ประกอบด้วย เบลเยี่ยม อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรีย เนเธอแลนด์ เช็คโกสโลวาเกีย เยอร์มัน ฟินแลนด์ สโลวาเกีย สวีเดน ยูเครน และโปแลนด์ เป็นต้น
ทางกระทรวงต่างประเทศรายงานต่อที่ประชุมถึงสาเหตุสำคัญที่ทางประเทศต่างๆไม่ยืนยันการเข้าร่วมงานว่า เป็นเพราะการจัดงานของไทยยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของระดับการจัดงานตามที่ได้รับการอนุมัติ จากสมาคมพืชสวนโลก ที่ปัจจุบัน ไทยมีระดับการจัดงานอยู่ที่ A2B1 ซึ่ง มีกำหนดให้จัดงานได้เพียง 21 วัน และมีข้อบังคับเฉพาะผู้ประกอบการภาคเอกชน หรือ สมาคมต่างๆเท่านั้น ที่สามารถเข้าร่วมงานได้
ขณะที่วัตถุประสงค์ของรัฐบาลไทยก่อนหน้านี้ ต้องการที่จะจัดงานในระดับ A1 ซึ่งตามข้อบังคับของสมาคมพืชสวนโลก นั้น บังคับให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมการจัดงานในระดับรัฐต่อรัฐ ภาคเอกชน และสมาคมต่างๆ รวมทั้ง กำหนดให้มีระยะเวลาการจัดงานนาน อย่างน้อย 3 เดือน
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวด้วยว่า กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่เป็นแม่งาน การจัดงานครั้งนี้จะต้องทำทุกวิถีทาง ที่จะผลักดันให้สมาคมพืชสวนโลก เห็นชอบให้ไทยจัดงานในระดับ A1 ให้ได้ นอกจากนี้ให้เข้าไปดูด้วยว่าทำไมต้องตั้งงบประมาณในการก่อสร้างไว้แพงลิบลิ่วถึง 1,500 ล้าน ในขณะที่ตั้งงบประมาณในการซื้อต้นไม้เพียง 232 ล้านบาทเท่านั้น และขณะนี้ต้นไม้ก็ต้นเล็กมากๆ ขอให้กรมวิชาการเกษตรทำรายงานภายใน 2 สัปดาห์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ว่า การที่ไทยเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ในช่วงเดือนพ.ย.2549 ล่าสุดเกิดปัญหาขึ้น โดยทางสมาคมพืชสวนโลกยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว แต่คณะรัฐมนตรีได้ลงทุนคิดเป็นเงินงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท
"ท่านนายกเองก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้ ดิฉันเองก็เพิ่งทราบ จัดเตรียมงานกันมาใหญ่โต แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตอะไรเลย ลงทุนไปแล้ว 2,000 ล้าน ไม่เข้าใจทำงานกันอย่างไร อันนี้เป็นสิ่งไม่ดีเลย การทำงานอย่างนี้ไม่ถูกต้อง
ดิฉันไม่เคยทำงานอะไรอย่างนี้ ทำงานแล้วเจอแบบนี้หลายๆครั้งไม่ไหวนะ ท่านปลัดช่วยรายงานหน่อยเกิดอะไรขึ้น" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการจัดงานได้ทำเรื่องลาออกจากสมาคมพืชสวนโลก ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางสมาคมได้อนุญาตให้ประเทศจีนชิงเป็นเจ้าภาพจัดงานไปก่อน ต่อมาภายหลังคณะกรรมการเกรงว่าหากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานเองโดยไม่ง้อทางสมาคมจะทำให้ไม่มีประเทศอื่นเข้าร่วมงาน
ทางคณะกรรมการของไทยจึงทำเรื่องขอเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตอบรับจากสมาคมให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าไทยจะเป็นสมาชิกแล้ว ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าไทยจะได้เป็นเจ้าภาพหรือไม่ สำหรับการจัดงานดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัย นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรมช.เกษตรฯ และมอบให้ กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้บริหารงาน
สำหรับสถานการณ์การจัดงานล่าสุด ทางคณะกรรมการได้ทำหนังสือประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมจำนวน 50 ประเทศ แต่พบว่าจนถึงขณะนี้มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น ที่ยืนยันเข้าร่วมงาน คือ กัมพูชา เวียดนาม บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สเปน และอิหร่าน โดยประเทศที่มีแนวโน้มเข้าร่วมงานแน่นอนมี 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ส่วนประเทศที่มีแนวโน้มการเข้าร่วมงาน ประมาณ 50 % มี 25 ประเทศ แยกเป็นทวีปเอเซีย ประกอบด้วย เกาหลีเหนือ รัสเซีย คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ ภูฐาน ทวีปแอฟริกา ประกอบด้วย ไนจีเรีย เคนยา อาฟฟริกาใต้ แซมเบีย โมร๊อคโค และทวีปยุโรป ประกอบด้วย เบลเยี่ยม อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรีย เนเธอแลนด์ เช็คโกสโลวาเกีย เยอร์มัน ฟินแลนด์ สโลวาเกีย สวีเดน ยูเครน และโปแลนด์ เป็นต้น
ทางกระทรวงต่างประเทศรายงานต่อที่ประชุมถึงสาเหตุสำคัญที่ทางประเทศต่างๆไม่ยืนยันการเข้าร่วมงานว่า เป็นเพราะการจัดงานของไทยยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของระดับการจัดงานตามที่ได้รับการอนุมัติ จากสมาคมพืชสวนโลก ที่ปัจจุบัน ไทยมีระดับการจัดงานอยู่ที่ A2B1 ซึ่ง มีกำหนดให้จัดงานได้เพียง 21 วัน และมีข้อบังคับเฉพาะผู้ประกอบการภาคเอกชน หรือ สมาคมต่างๆเท่านั้น ที่สามารถเข้าร่วมงานได้
ขณะที่วัตถุประสงค์ของรัฐบาลไทยก่อนหน้านี้ ต้องการที่จะจัดงานในระดับ A1 ซึ่งตามข้อบังคับของสมาคมพืชสวนโลก นั้น บังคับให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมการจัดงานในระดับรัฐต่อรัฐ ภาคเอกชน และสมาคมต่างๆ รวมทั้ง กำหนดให้มีระยะเวลาการจัดงานนาน อย่างน้อย 3 เดือน
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวด้วยว่า กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่เป็นแม่งาน การจัดงานครั้งนี้จะต้องทำทุกวิถีทาง ที่จะผลักดันให้สมาคมพืชสวนโลก เห็นชอบให้ไทยจัดงานในระดับ A1 ให้ได้ นอกจากนี้ให้เข้าไปดูด้วยว่าทำไมต้องตั้งงบประมาณในการก่อสร้างไว้แพงลิบลิ่วถึง 1,500 ล้าน ในขณะที่ตั้งงบประมาณในการซื้อต้นไม้เพียง 232 ล้านบาทเท่านั้น และขณะนี้ต้นไม้ก็ต้นเล็กมากๆ ขอให้กรมวิชาการเกษตรทำรายงานภายใน 2 สัปดาห์