ปปง.โชว์ผลงาน 6 ปี ยึด-อายัดทรัพย์แล้ว 4 พันล้านบาท เร่งเสนอ 3 มาตรการแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ตามยึดทรัพย์นายทุนเงินกู้นอกระบบ ธุรกิจผิดกฏหมาย พร้อมแก้ กม.ล้มละลาย เปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอล้มละลายตนเองต่อศาลเพื่อขอปลดหนี้
วานนี้(19 ส.ค.)พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) แถลงผลการปฏิบัติงานของปปง.เนื่องในวันสถาปนาครบรอบ 6 ปีว่า ที่ผ่านมาปปง.ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย และสามารถยึด-อายัดเงินและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด 8 มูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท มีคดี 135 คดี ที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท และ 2,500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาล ส่วนอีก 500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นสอบสวน โดยประเภทคดีที่ ปปง.ยึดทรัพย์มากที่สุด คือคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นความผิดเกี่ยวข้องกับการค้าหญิงและเด็ก การฉ้อโกงประชาชน การทุจริตต่อหน้าที่ตำแหน่งราชการ และการลักลอบศุลกากร
สำหรับก้าวต่อไปของปปง.นั้น พล.ต.ต.พีรพันธุ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ได้ให้ความเห็นชอบและเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน ทั้งปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ หนี้สินจากสินเชื่อส่วนบุคคล รวมทั้งหนี้จากบัตรเครดิต มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 ส.ค.50 โดยแยกเป็นมาตรการเร่งด่วน คือการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ และธุรกิจผิดกฎหมายทุกประเภท ด้วยการดำเนินคดีอาญา การยึดทรัพย์ทางแพ่ง และมาตรการทางภาษี
มาตรการระยะที่ 2 จะใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเจรจา เพื่อขอเจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้มีทางออกเพื่อนำเงินมาชดใช้ และมาตรการสุดท้าย เป็นการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขจัดความยากจนตามนโยบายของรัฐบาล คือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย 3 ฉบับ คือ
1. พ.ร.บ.ปราบปรามการฟอกเงิน โดยเพิ่มมูลฐานความผิดเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และการแกล้งล้มละลายโดยทุจริต
2. พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อต้องการให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นบุคคลล้มละลายเพื่อขอปลดหนี้ เป็นเวลา 3 ปี โดยบุคคลใดมายื่นเป็นบุคคลล้มละลายต่อศาล ปปง.จะเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ให้เหลือทรัพย์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น บ้านพักอาศัย รถ และเงินเดือนที่เหมาะสม แต่ถ้าบุคคลใดแจ้งเท็จ ก็จะถูกดำเนินคดี ยึดทรัพย์ตามกฎหมายฟอกเงิน
3.การแก้ไขพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ ให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นบุคคลล้มละลาย และยังสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ เนื่องจากกฏหมายเดิมห้ามข้าราชการล้มละลาย ซึ่งหากแก้กฎหมายดังกล่าวแล้วข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถรับราชการ ทำงานในรัฐวิสาหกิจ และประกอบอาชีพได้ต่อไป ทั้งนี้ มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถขจัดปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากการหารือกับธนาคาร ส่วนใหญ่ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ที่ 18 เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงในการฟ้องบังคับชำระหนี้ จะมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าหนังสือทวงหนี้อีก ฉบับละ 300 บาท เฉลี่ยแล้วลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะขัดกับกฎหมาย โดยผู้แทนนจากสถาบันการเงินจะนำปัญหาดังกล่าวไปหารือ และนำไปสู่การแก้ไขเพื่อไม่ให้เอาเปรียบลูหหนี้เกินไป
"ถ้ามาตรการแก้ปัญหาความยากจนของปปง.ดำเนินการไปอย่างเป็นระบบ จะทำให้คนจนที่ประสบปัญหาเงินกู้นอกระบบ สามารถฟื้นฟูสถานภาพทางเศรษฐกิจเพื่อเริ่มต้นใช้ชีวิตใหม่ได้ กฎหมายลักษณะดังกล่าวมีหลายประเทศที่นำมาใช้ เช่น สิงค์โปร์ สหรัฐอมริกา ตำรวจที่นิวยอร์กว่าครึ่งโรงพักเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก กฎหมายฉบับนี้ต้องการให้นายทุนรับผิดชอบต่อการปล่อยกู้ และให้เครดิต ถ้าปล่อยกู้ให้ไม่ตรวจสอบก็ต้องรับผิดหนี้สูญจากการล้มละลาย นอกจกากนี้ ปปง.ยังจับตาบริษัทปล่อยกู้เรียกดอกเบี้ยโหด ซึ่งมีการเปิดร้านผ่อนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบังหน้า 7-8 ราย หากพบหลักฐานความผิดจะทำการยึดทรัพย์ทันที"
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ยังกล่าวถึงการใช้ พ.ร.บ.ปราบปรามการฟอกเงิน ในการปราบปรามการเล่นพนันฟุตบอล ว่า ความผิดฐานการเล่นการพนันไม่ใช่มูลฐานความผิดของปปง.แต่หากนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำผิดอื่นๆ เช่น การค้าประเวณี เพื่อเอาเงินมาจ่ายค่าพนันฟุตบอล ทางปปง.ก็เข้ายึดอายัดทรัพย์สินได้ เพราะความผิดการค้าประเวณี เป็น 1 ใน 8 มูลฐานความผิด สามารถยึดอายัดทรัพย์สินได้ทันที
วานนี้(19 ส.ค.)พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) แถลงผลการปฏิบัติงานของปปง.เนื่องในวันสถาปนาครบรอบ 6 ปีว่า ที่ผ่านมาปปง.ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย และสามารถยึด-อายัดเงินและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด 8 มูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท มีคดี 135 คดี ที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท และ 2,500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาล ส่วนอีก 500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นสอบสวน โดยประเภทคดีที่ ปปง.ยึดทรัพย์มากที่สุด คือคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นความผิดเกี่ยวข้องกับการค้าหญิงและเด็ก การฉ้อโกงประชาชน การทุจริตต่อหน้าที่ตำแหน่งราชการ และการลักลอบศุลกากร
สำหรับก้าวต่อไปของปปง.นั้น พล.ต.ต.พีรพันธุ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ได้ให้ความเห็นชอบและเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน ทั้งปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ หนี้สินจากสินเชื่อส่วนบุคคล รวมทั้งหนี้จากบัตรเครดิต มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 ส.ค.50 โดยแยกเป็นมาตรการเร่งด่วน คือการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ และธุรกิจผิดกฎหมายทุกประเภท ด้วยการดำเนินคดีอาญา การยึดทรัพย์ทางแพ่ง และมาตรการทางภาษี
มาตรการระยะที่ 2 จะใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเจรจา เพื่อขอเจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้มีทางออกเพื่อนำเงินมาชดใช้ และมาตรการสุดท้าย เป็นการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขจัดความยากจนตามนโยบายของรัฐบาล คือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย 3 ฉบับ คือ
1. พ.ร.บ.ปราบปรามการฟอกเงิน โดยเพิ่มมูลฐานความผิดเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และการแกล้งล้มละลายโดยทุจริต
2. พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อต้องการให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นบุคคลล้มละลายเพื่อขอปลดหนี้ เป็นเวลา 3 ปี โดยบุคคลใดมายื่นเป็นบุคคลล้มละลายต่อศาล ปปง.จะเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ให้เหลือทรัพย์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น บ้านพักอาศัย รถ และเงินเดือนที่เหมาะสม แต่ถ้าบุคคลใดแจ้งเท็จ ก็จะถูกดำเนินคดี ยึดทรัพย์ตามกฎหมายฟอกเงิน
3.การแก้ไขพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ ให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นบุคคลล้มละลาย และยังสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ เนื่องจากกฏหมายเดิมห้ามข้าราชการล้มละลาย ซึ่งหากแก้กฎหมายดังกล่าวแล้วข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถรับราชการ ทำงานในรัฐวิสาหกิจ และประกอบอาชีพได้ต่อไป ทั้งนี้ มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถขจัดปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากการหารือกับธนาคาร ส่วนใหญ่ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ที่ 18 เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงในการฟ้องบังคับชำระหนี้ จะมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าหนังสือทวงหนี้อีก ฉบับละ 300 บาท เฉลี่ยแล้วลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะขัดกับกฎหมาย โดยผู้แทนนจากสถาบันการเงินจะนำปัญหาดังกล่าวไปหารือ และนำไปสู่การแก้ไขเพื่อไม่ให้เอาเปรียบลูหหนี้เกินไป
"ถ้ามาตรการแก้ปัญหาความยากจนของปปง.ดำเนินการไปอย่างเป็นระบบ จะทำให้คนจนที่ประสบปัญหาเงินกู้นอกระบบ สามารถฟื้นฟูสถานภาพทางเศรษฐกิจเพื่อเริ่มต้นใช้ชีวิตใหม่ได้ กฎหมายลักษณะดังกล่าวมีหลายประเทศที่นำมาใช้ เช่น สิงค์โปร์ สหรัฐอมริกา ตำรวจที่นิวยอร์กว่าครึ่งโรงพักเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก กฎหมายฉบับนี้ต้องการให้นายทุนรับผิดชอบต่อการปล่อยกู้ และให้เครดิต ถ้าปล่อยกู้ให้ไม่ตรวจสอบก็ต้องรับผิดหนี้สูญจากการล้มละลาย นอกจกากนี้ ปปง.ยังจับตาบริษัทปล่อยกู้เรียกดอกเบี้ยโหด ซึ่งมีการเปิดร้านผ่อนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบังหน้า 7-8 ราย หากพบหลักฐานความผิดจะทำการยึดทรัพย์ทันที"
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ยังกล่าวถึงการใช้ พ.ร.บ.ปราบปรามการฟอกเงิน ในการปราบปรามการเล่นพนันฟุตบอล ว่า ความผิดฐานการเล่นการพนันไม่ใช่มูลฐานความผิดของปปง.แต่หากนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำผิดอื่นๆ เช่น การค้าประเวณี เพื่อเอาเงินมาจ่ายค่าพนันฟุตบอล ทางปปง.ก็เข้ายึดอายัดทรัพย์สินได้ เพราะความผิดการค้าประเวณี เป็น 1 ใน 8 มูลฐานความผิด สามารถยึดอายัดทรัพย์สินได้ทันที