ผู้จัดการรายวัน - กทม.เผยตั้งแต่มิ.ย.-ปัจจุบันมีการระบาดในโรงเรียนแล้ว 28 แห่ง “อภิรักษ์” รับปีนี้ระบาดหนักกว่าปีที่แล้ว ลั่นเจอเมื่อไหร่สั่งปิดทันที ด้าน สธ.สั่งทั่วประเทศ เฝ้าระวังด่วน โดยเฉพาะใน เนิร์สเซอรี่และ ร.ร.อนุบาลทั่วประเทศ ระบุปีนี้มีเด็กป่วยแล้ว 1,473 ราย แต่ไม่มีเสียชีวิต
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.-ปัจจุบัน เป็นผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ถึง 629 ราย สูงกว่าที่ที่แล้วซึ่งมีผู้ป่วยทั่วประเทศเพียง 769 รายเท่านั้น
สำหรับในส่วนของกรุงเทพฯ ฝ่ายระบาดวิทยา กองควบคุมโรค สำนักอนามัย(สนอ.) กทม. ได้เริ่มตรวจพบการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กของเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียนทั่วกทม.ทั้งสิ้น 28 แห่ง โดย สนอ.ได้สั่งปิดโรงเรียนเหล่านี้เป็นเวลา 7-10 วัน หลังตรวจพบเชื้อโรคเพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดมากขึ้น และให้ล้างทำความสะอาดพื้นที่ต่างๆ ในโรงเรียน ทั้งห้องเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์การเรียนและของเล่นต่างๆ
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า โรงเรียนที่ถูกสั่งปิดทั้ง 28 แห่ง ตรวจพบนักเรียนติดเชื้อทั้งสิ้น 259 ราย จากนักเรียนทั้งหมด 11,680 ราย
สำหรับมาตรการป้องกันขณะนี้ กทม. ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากฝ่ายระบาดวิทยา และศูนย์บริการสาธารณสุข เข้าตรวจเยี่ยมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ การแพร่ระบาดของโรคและการป้องกันโรคในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กเล็กต่างๆ แล้ว
ด้านพญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม.ขอความร่วมมือ ให้โรงเรียนอนุบาล สถานเลี้ยงเด็กต่างๆ ทำการตรวจสุขภาพของเด็กนักเรียนทุกคน ก่อนเข้าเรียนหากพบว่าเด็กมีอาการไข้หวัด มีแผลในช่องปาก มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ เท้า ให้ส่งเด็กกลับบ้านทันทีไม่ควรให้เด็กมาเรียนอีกเพราะจะทำให้เด็กนักเรียนคนอื่นๆ ติดเชื้อได้แม้จะพบเด็กติดเชื้อแค่ 1 คน กทม. ก็จะสั่งปิดโรงเรียนทันที
ขณะที่ น.พ.วิชัย เทียนถาวร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น กระทรวงจึงได้ทำหนังสือสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย หากพบให้รายงานอย่างเร่งด่วน ส่วนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขอให้ประชาสัมพันธ์และแจ้งให้โรงเรียนอนุบาล เนิร์สเซอรี่ที่มีในจังหวัดทุกแห่งให้เข้มงวดเรื่องความสะอาดทั้งสถานที่ ของใช้ ของเล่นเด็ก ขอให้ดูแลกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้อง และการรักษาความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็กให้ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังชงนม ป้อนอาหารเด็ก รวมทั้งการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อที่ติดบริเวณมือให้หมดไป และให้เด็กใช้ช้อนกลางตักอาหารเวลากินอาหารร่วมกัน
ที่สำคัญคือ หากพบเด็กมีอาการป่วยและมีตุ่มใสขึ้นที่มือซึ่งลักษณะพิเศษ คือ ตุ่มมักไม่คัน ขอให้นึกถึงโรคนี้และให้เด็กหยุดเรียน ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่น และให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ทันทีเพื่อควบคุมโรค
น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อเอนเทอโรไวรัสที่พบ บ่อยมี 3 ชนิด ได้แก่ คอกซากี เอ, บี และเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นเชื้อที่มีอาการรุนแรงที่สุด ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดบวม หรือมีเลือดออกในปอด อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังเกิดอาหารแทรกซ้อน เคยพบเชื้อนี้ที่สิงคโปร์ ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ.2544-2547
สำหรับประเทศไทยได้จัดระบบเฝ้าระวังเชื้อนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2544 พบผู้ป่วยประปรายเฉลี่ยปีละ 1,490 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยในรอบ 7 เดือนแรกในปี 2548 จนถึงวันที่13 กรกฎาคม 2548 ทั่วประเทศมีรายงานโรคมือเท้าปาก 1,473 ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีรายงานมากที่ กทม. 254 ราย เชียงราย 51 ราย สุพรรณบุรี และลพบุรี 46 ราย ในจำนวนนี้ตรวจพบติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จำนวน 29 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันพบผู้ป่วยสูงกว่าปี 2547 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน
“อยากฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน ให้ช่วยกันสังเกตลูกหลานอย่างใกล้ชิด หากพบมีอาการเป็นไข้หรือมีผื่นตามมือเท้า ในช่องปาก ควรให้หยุดเรียนไปพบ แพทย์ทันที และขอให้แจ้งให้โรงเรียนทราบเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่สู่เด็กอื่น เพราะช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมามีอัตราการป่วยสูงมาก ตั้งแต่ต้นปี 2548 จนถึงวันนี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ 18 เขต มีผู้ป่วยมากถึง 629 ราย แยกเป็นผู้ป่วยเด็ก 259 ราย ในผู้ป่วยเด็กถือว่ามีสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มีเด็กป่วยเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น”
สำหรับโรงเรียนที่ตรวจพบเชื้อทั้ง 28 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนจินดาพงษ์ โรงเรียนปาณยา เขตสวนหลวง อนุบาลมณีรัตน์ โรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ เขตยานนาวา โรงเรียนอนงค์นาฎ สถานรับเลี้ยงเด็กไตรรัตน์เนอสเซอร์รี สถานรับเลี้ยงเด็กชุมชนวัชรปราณี เขตบางเขน โรงเรียนนานาชาติฝรั่งเศส เขตวังทองหลาง สถานรับเลี้ยงเด็กครูจุ๊บ เขตบางซื่อ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
โรงเรียนแย้มสะอาด เขตจตุจักร อนุบาลเลิศนุวัตน์ โรงเรียนพันธะวัฒนา เขตดุสิต อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย อนุบาลบ้านอัมรินทร์ โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ เขตสายไหม อนุบาลแสงอรุณพระนคร โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ เขตบางกะปิ โรงเรียนพิพัฒนา เขตพระโขนง
โรงเรียนชุมชนอินทามระ 41 อนุบาลลีนา เขตดินแดง โรงเรียนปานตะวัน เขตทุ่งครุ อนุบาลคุณแม่ เขตบางพลัด ศูนย์พัฒนาเด็กอ่อนก่อนวัยเรียนชุมชนสวนหลวง เขตบางคอแหลม โรงเรียนวรรณสว่างจิต โรงเรียนรุ่งอรุณ เขตบางขุนเทียน อนุบาลสุวาวรรณ เขตคลองสาน
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.-ปัจจุบัน เป็นผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ถึง 629 ราย สูงกว่าที่ที่แล้วซึ่งมีผู้ป่วยทั่วประเทศเพียง 769 รายเท่านั้น
สำหรับในส่วนของกรุงเทพฯ ฝ่ายระบาดวิทยา กองควบคุมโรค สำนักอนามัย(สนอ.) กทม. ได้เริ่มตรวจพบการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กของเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียนทั่วกทม.ทั้งสิ้น 28 แห่ง โดย สนอ.ได้สั่งปิดโรงเรียนเหล่านี้เป็นเวลา 7-10 วัน หลังตรวจพบเชื้อโรคเพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดมากขึ้น และให้ล้างทำความสะอาดพื้นที่ต่างๆ ในโรงเรียน ทั้งห้องเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์การเรียนและของเล่นต่างๆ
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า โรงเรียนที่ถูกสั่งปิดทั้ง 28 แห่ง ตรวจพบนักเรียนติดเชื้อทั้งสิ้น 259 ราย จากนักเรียนทั้งหมด 11,680 ราย
สำหรับมาตรการป้องกันขณะนี้ กทม. ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากฝ่ายระบาดวิทยา และศูนย์บริการสาธารณสุข เข้าตรวจเยี่ยมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ การแพร่ระบาดของโรคและการป้องกันโรคในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กเล็กต่างๆ แล้ว
ด้านพญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม.ขอความร่วมมือ ให้โรงเรียนอนุบาล สถานเลี้ยงเด็กต่างๆ ทำการตรวจสุขภาพของเด็กนักเรียนทุกคน ก่อนเข้าเรียนหากพบว่าเด็กมีอาการไข้หวัด มีแผลในช่องปาก มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ เท้า ให้ส่งเด็กกลับบ้านทันทีไม่ควรให้เด็กมาเรียนอีกเพราะจะทำให้เด็กนักเรียนคนอื่นๆ ติดเชื้อได้แม้จะพบเด็กติดเชื้อแค่ 1 คน กทม. ก็จะสั่งปิดโรงเรียนทันที
ขณะที่ น.พ.วิชัย เทียนถาวร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น กระทรวงจึงได้ทำหนังสือสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย หากพบให้รายงานอย่างเร่งด่วน ส่วนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขอให้ประชาสัมพันธ์และแจ้งให้โรงเรียนอนุบาล เนิร์สเซอรี่ที่มีในจังหวัดทุกแห่งให้เข้มงวดเรื่องความสะอาดทั้งสถานที่ ของใช้ ของเล่นเด็ก ขอให้ดูแลกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้อง และการรักษาความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็กให้ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังชงนม ป้อนอาหารเด็ก รวมทั้งการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อที่ติดบริเวณมือให้หมดไป และให้เด็กใช้ช้อนกลางตักอาหารเวลากินอาหารร่วมกัน
ที่สำคัญคือ หากพบเด็กมีอาการป่วยและมีตุ่มใสขึ้นที่มือซึ่งลักษณะพิเศษ คือ ตุ่มมักไม่คัน ขอให้นึกถึงโรคนี้และให้เด็กหยุดเรียน ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่น และให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ทันทีเพื่อควบคุมโรค
น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อเอนเทอโรไวรัสที่พบ บ่อยมี 3 ชนิด ได้แก่ คอกซากี เอ, บี และเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นเชื้อที่มีอาการรุนแรงที่สุด ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดบวม หรือมีเลือดออกในปอด อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังเกิดอาหารแทรกซ้อน เคยพบเชื้อนี้ที่สิงคโปร์ ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ.2544-2547
สำหรับประเทศไทยได้จัดระบบเฝ้าระวังเชื้อนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2544 พบผู้ป่วยประปรายเฉลี่ยปีละ 1,490 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยในรอบ 7 เดือนแรกในปี 2548 จนถึงวันที่13 กรกฎาคม 2548 ทั่วประเทศมีรายงานโรคมือเท้าปาก 1,473 ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีรายงานมากที่ กทม. 254 ราย เชียงราย 51 ราย สุพรรณบุรี และลพบุรี 46 ราย ในจำนวนนี้ตรวจพบติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จำนวน 29 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันพบผู้ป่วยสูงกว่าปี 2547 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน
“อยากฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน ให้ช่วยกันสังเกตลูกหลานอย่างใกล้ชิด หากพบมีอาการเป็นไข้หรือมีผื่นตามมือเท้า ในช่องปาก ควรให้หยุดเรียนไปพบ แพทย์ทันที และขอให้แจ้งให้โรงเรียนทราบเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่สู่เด็กอื่น เพราะช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมามีอัตราการป่วยสูงมาก ตั้งแต่ต้นปี 2548 จนถึงวันนี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ 18 เขต มีผู้ป่วยมากถึง 629 ราย แยกเป็นผู้ป่วยเด็ก 259 ราย ในผู้ป่วยเด็กถือว่ามีสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มีเด็กป่วยเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น”
สำหรับโรงเรียนที่ตรวจพบเชื้อทั้ง 28 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนจินดาพงษ์ โรงเรียนปาณยา เขตสวนหลวง อนุบาลมณีรัตน์ โรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ เขตยานนาวา โรงเรียนอนงค์นาฎ สถานรับเลี้ยงเด็กไตรรัตน์เนอสเซอร์รี สถานรับเลี้ยงเด็กชุมชนวัชรปราณี เขตบางเขน โรงเรียนนานาชาติฝรั่งเศส เขตวังทองหลาง สถานรับเลี้ยงเด็กครูจุ๊บ เขตบางซื่อ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
โรงเรียนแย้มสะอาด เขตจตุจักร อนุบาลเลิศนุวัตน์ โรงเรียนพันธะวัฒนา เขตดุสิต อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย อนุบาลบ้านอัมรินทร์ โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ เขตสายไหม อนุบาลแสงอรุณพระนคร โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ เขตบางกะปิ โรงเรียนพิพัฒนา เขตพระโขนง
โรงเรียนชุมชนอินทามระ 41 อนุบาลลีนา เขตดินแดง โรงเรียนปานตะวัน เขตทุ่งครุ อนุบาลคุณแม่ เขตบางพลัด ศูนย์พัฒนาเด็กอ่อนก่อนวัยเรียนชุมชนสวนหลวง เขตบางคอแหลม โรงเรียนวรรณสว่างจิต โรงเรียนรุ่งอรุณ เขตบางขุนเทียน อนุบาลสุวาวรรณ เขตคลองสาน