รักษาการรองเลขาฯสนง.กองทุนฟื้นฟูเกษตรกรฯแฉ มีเหลือบเกษตรกรแจ้งหนี้รายเดียว 200ล้านบาท ระบุ แจ้งจับ"พินิจ"เป็นแค่เกมการเมือง จ้องจัดฉากม็อบไล่ ไม่มุ่งแก้ปัญหาหนี้ อ้าง พ.ร.บ.ไม่ได้ระบุให้ตั้งกก.บริหารซ้ำซ้อน ด้านเกษตรกรฯ ตัวจริงสุดทนจวกส.ส.เหลือบตัวจริง ด้าน"พินิจ"ท้อใจ อยากลาออก
วานนี้(6 มิ.ย.48) นายพิสิทธิ์ พัฒนะนุกิจ รักษาการรองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่โดยระบุว่า หลังจากสมาชิกกองทุนฯ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกฯ ในฐานะประธานกองทุนฯ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรนั้น ขอชี้แจงว่า การแก้ปัญหากองทุนฯนั้นมีปัญหาซับซ้อนมาก โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินเกษตรกร ซึ่งขณะนี้การจัดส่งข้อมูลเรื่องนี้ของเกษตรกรไปให้สถาบันเจ้าหนี้ยังมีปัญหา กล่าวคือ ตัวเลขหนี้สินของสมาชิกกองทุนฯที่เป็นหนี้อยู่กับสถาบันการเงินต่างๆนั้น ไม่ตรงกับหนี้ที่ทางกองทุนฯส่งไปใช้
อย่างไรก็ตาม กลับมีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาจากไหนไม่รู้จำนวนมาก และเกษตรบางรายเป็นหนี้มากถึง 10 ล้านก็มี 20 ล้านก็มี และที่พบมากที่สุดเป็นหนี้มากถึง 200 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขสูงขนาดนี้ คงไม่ใช่เกษตรกรแน่ แต่เป็นนายทุนในคราบเกษตรกร อย่างนี้จะให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
นายพิสิทธิ์ ระบุอีกว่า การที่เกษตรกรเข้ามาแจ้งความดำเนินคดีกับรองนายกฯ ซึ่งเป็นการแจ้งดำเนินคดีทั่วประเทศนั้น ก็เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มีเจตนาในการแก้ปัญหากองทุนฯให้เดินหน้าอย่างบริสุทธิ์ใจ แต่เป็นเกมการเมือง โดยมีพนักงากองทุนบางคน เป็นเหลือบคอยประสานงานให้ และการที่งานกองทุนฯ ไม่เดินก็ไม่ต้องไปโทษใคร ก็พวกเหลือบเหล่านี้ ไปจับมือกับขบวนการนายหน้าค้าความจน คอยหาเศษหาเลยกับชาวไร่-ชาวนา เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆอาทิเช่น ค่าเดินเอกสาร ,ค่าเจรจากับสำนักงานกองทุนฯ ,ค่าพามาสำนักงานกองทุนฯ ,ค่าเดินเรื่องกับแบงก์เจ้าหนี้ โดยเรียกเก็บครั้งละ 150-200บาท
"เหตุที่กองทุนฯไม่คืบหน้าไปไหน เพราะใครที่เข้ามาเป็นประธาน หรือรองประธานกองทุนฯหากดำเนินการอะไรไม่ถูกใจใคร พวกนายหน้าค้าความจนเหล่านี้ ก็มักจะเอาม็อบมาชุมนุมขับไล่ คนที่จริงใจแก้ปัญหาเจอเรื่องเหล่านี้ก็มักจะท้อ เมื่อนายพินิจ อ่านรายงานเรื่องหนี้สิน ก็รู้แล้ว่า มีการเอาชื่อนายทุนสอดไส้มา หวังจะได้รับอานิสงส์ หากมีการแก้ไขหนี้สินภาคเกษตรกร"นายพิสิทธิ์ กล่าว
แหล่งข่าวเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ กล่าวว่า ปัญหานี้ต้องโทษ ส.ส.เพราะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา ผู้สมัคร ส.ส.หลายคนได้ไปหาเสียงกับประชาชนว่า จะปลดหนี้ให้บ้าง จะลดหนี้ให้บ้าง จะยกหนี้ให้บ้าง 100 คนก็พูดกันคนละอย่าง ทำให้เกิดปัญหา ถ้าบอกว่า ใครเป็นเหลือบก็คงเป็นพวกส.ส.
ด้าน นายพินิจ กล่าวว่า การแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร จะต้องตรวจสอบทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการของพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าเกษตรกร 3,000 ราย ถูกฟ้องบังคับคดีที่เป็นหนี้ 600 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้งานเลยเร่งไม่ได้ และต้องใช้เวลา ทางฝ่ายเกษตรกรจะต้องใจเย็น และไม่ต้องห่วงว่ารัฐบาลจะไม่ดูแลหนี้สินของเกษตรกร เพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ที่ต้องให้นำเรื่องกลับไปทบทวนเนื่องจากพบว่า เกษตรกรบางรายมีหนี้สิน 50 ล้านบาท ถ้ากู้เงินและเป็นหนี้สินได้ขนาดนี้ก็ไม่ใช่เกษตรกรรายย่อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้ถือสา และติดใจเอาความกับเกษตรกรที่แจ้งความ แต่ถ้าหากพบว่ามีใครเคลื่อนไหว และมีบุคคลอยู่เบื้องหลังที่จะนำม็อบเกษตรกรมาชุมนุมกันที่หน้าทำเนียบนั้น ถ้าเอามา 10,000 คน ตนก็จะเอาม็อบเกษตรกรตัวจริงมา 30,000 คน แต่ถ้าเกษตรกรแจ้งความด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ไม่มีอะไร การจะช่วยเหลือเกษตรกรตัวจริงได้นั้นจะต้องใช้เวลา แต่ถ้ามาสร้างปัญหากันแบบนี้ ตนก็จะขอลาออกจากประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เพราะตอนนี้รัฐบาลก็มีโครงการอื่นในการช่วยเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งกองทุนฟื้นฟูฯก็อาจะไม่จำเป็น และยกเลิกไป อีกทั้งที่ผ่านมากองทุนฯได้ตั้งมาตั้งแต่ปี 42 จนถึงตอนนี้ยังไม่มีผลงานช่วยเหลือเกษตรกร แต่ใช้เงินเดือนไปแล้ว 400 ล้านบาท
วานนี้(6 มิ.ย.48) นายพิสิทธิ์ พัฒนะนุกิจ รักษาการรองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่โดยระบุว่า หลังจากสมาชิกกองทุนฯ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกฯ ในฐานะประธานกองทุนฯ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรนั้น ขอชี้แจงว่า การแก้ปัญหากองทุนฯนั้นมีปัญหาซับซ้อนมาก โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินเกษตรกร ซึ่งขณะนี้การจัดส่งข้อมูลเรื่องนี้ของเกษตรกรไปให้สถาบันเจ้าหนี้ยังมีปัญหา กล่าวคือ ตัวเลขหนี้สินของสมาชิกกองทุนฯที่เป็นหนี้อยู่กับสถาบันการเงินต่างๆนั้น ไม่ตรงกับหนี้ที่ทางกองทุนฯส่งไปใช้
อย่างไรก็ตาม กลับมีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาจากไหนไม่รู้จำนวนมาก และเกษตรบางรายเป็นหนี้มากถึง 10 ล้านก็มี 20 ล้านก็มี และที่พบมากที่สุดเป็นหนี้มากถึง 200 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขสูงขนาดนี้ คงไม่ใช่เกษตรกรแน่ แต่เป็นนายทุนในคราบเกษตรกร อย่างนี้จะให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
นายพิสิทธิ์ ระบุอีกว่า การที่เกษตรกรเข้ามาแจ้งความดำเนินคดีกับรองนายกฯ ซึ่งเป็นการแจ้งดำเนินคดีทั่วประเทศนั้น ก็เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มีเจตนาในการแก้ปัญหากองทุนฯให้เดินหน้าอย่างบริสุทธิ์ใจ แต่เป็นเกมการเมือง โดยมีพนักงากองทุนบางคน เป็นเหลือบคอยประสานงานให้ และการที่งานกองทุนฯ ไม่เดินก็ไม่ต้องไปโทษใคร ก็พวกเหลือบเหล่านี้ ไปจับมือกับขบวนการนายหน้าค้าความจน คอยหาเศษหาเลยกับชาวไร่-ชาวนา เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆอาทิเช่น ค่าเดินเอกสาร ,ค่าเจรจากับสำนักงานกองทุนฯ ,ค่าพามาสำนักงานกองทุนฯ ,ค่าเดินเรื่องกับแบงก์เจ้าหนี้ โดยเรียกเก็บครั้งละ 150-200บาท
"เหตุที่กองทุนฯไม่คืบหน้าไปไหน เพราะใครที่เข้ามาเป็นประธาน หรือรองประธานกองทุนฯหากดำเนินการอะไรไม่ถูกใจใคร พวกนายหน้าค้าความจนเหล่านี้ ก็มักจะเอาม็อบมาชุมนุมขับไล่ คนที่จริงใจแก้ปัญหาเจอเรื่องเหล่านี้ก็มักจะท้อ เมื่อนายพินิจ อ่านรายงานเรื่องหนี้สิน ก็รู้แล้ว่า มีการเอาชื่อนายทุนสอดไส้มา หวังจะได้รับอานิสงส์ หากมีการแก้ไขหนี้สินภาคเกษตรกร"นายพิสิทธิ์ กล่าว
แหล่งข่าวเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ กล่าวว่า ปัญหานี้ต้องโทษ ส.ส.เพราะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา ผู้สมัคร ส.ส.หลายคนได้ไปหาเสียงกับประชาชนว่า จะปลดหนี้ให้บ้าง จะลดหนี้ให้บ้าง จะยกหนี้ให้บ้าง 100 คนก็พูดกันคนละอย่าง ทำให้เกิดปัญหา ถ้าบอกว่า ใครเป็นเหลือบก็คงเป็นพวกส.ส.
ด้าน นายพินิจ กล่าวว่า การแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร จะต้องตรวจสอบทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการของพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าเกษตรกร 3,000 ราย ถูกฟ้องบังคับคดีที่เป็นหนี้ 600 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้งานเลยเร่งไม่ได้ และต้องใช้เวลา ทางฝ่ายเกษตรกรจะต้องใจเย็น และไม่ต้องห่วงว่ารัฐบาลจะไม่ดูแลหนี้สินของเกษตรกร เพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ที่ต้องให้นำเรื่องกลับไปทบทวนเนื่องจากพบว่า เกษตรกรบางรายมีหนี้สิน 50 ล้านบาท ถ้ากู้เงินและเป็นหนี้สินได้ขนาดนี้ก็ไม่ใช่เกษตรกรรายย่อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้ถือสา และติดใจเอาความกับเกษตรกรที่แจ้งความ แต่ถ้าหากพบว่ามีใครเคลื่อนไหว และมีบุคคลอยู่เบื้องหลังที่จะนำม็อบเกษตรกรมาชุมนุมกันที่หน้าทำเนียบนั้น ถ้าเอามา 10,000 คน ตนก็จะเอาม็อบเกษตรกรตัวจริงมา 30,000 คน แต่ถ้าเกษตรกรแจ้งความด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ไม่มีอะไร การจะช่วยเหลือเกษตรกรตัวจริงได้นั้นจะต้องใช้เวลา แต่ถ้ามาสร้างปัญหากันแบบนี้ ตนก็จะขอลาออกจากประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เพราะตอนนี้รัฐบาลก็มีโครงการอื่นในการช่วยเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งกองทุนฟื้นฟูฯก็อาจะไม่จำเป็น และยกเลิกไป อีกทั้งที่ผ่านมากองทุนฯได้ตั้งมาตั้งแต่ปี 42 จนถึงตอนนี้ยังไม่มีผลงานช่วยเหลือเกษตรกร แต่ใช้เงินเดือนไปแล้ว 400 ล้านบาท